ขุนแผนผงพรายกุมาร ตะกรุดทองคำสองดอก ฝังเสือไฟหลวงพ่อปาน วัดบางเหี้ย

พุทธคุณเสือหลวงพ่อปาน

” เสือ หลวงพ่อปาน แห่งวัดบางเหี้ย (วัดมงคลโคธาวาส) ถือเป็น อันดับ 1 แห่งเครื่องรางที่มีคุณวิเศษเลิศล้ำสุดยอดและสูงด้วยมูลค่าในการแลกเปลี่ยนบูชา ผู้นิยมเครื่องรางทั้งหลายล้วนปรารถนาจะได้เป็นเจ้าของเพราะประจักษ์แจ้งในอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์มายาวนาน โดยเฉพาะ “แคล้วคลาดคงกระพัน สูงส่งด้วยอำนาจตบะเดชะ เหมาะกับผู้ที่ต้องการบารมีและสง่าราศีสำหรับปกครองคนหมู่มาก อีกทั้งทางโชคลาภวาสนาก็ดีเยี่ยม การงานเจริญรุ่งเรืองไม่มีตกอับ “.

เขี้ยวเสือหลวงพ่อปาน วัดบางเหี้ย

ยุคสมัยของหลวงพ่อปานได้รับการจารึกไว้ในจดหมายเหตุ การเสด็จประพาสต้นมณฑลปราจีนบุรี ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ปี พ.. 2451 ได้ทรงกล่าวถึงหลวงพ่อป่านไว้ว่าพระครูปานเป็นที่นิยมในทางวิปัสสนา และธุดงควัตร มีพระสงฆ์วัดต่างๆ ไปเดินธุดงค์ด้วยสองร้อยสามร้อย มีคุณวิเศษทางลงตะกรุดด้ายผูกมือ รดน้ำมนต์ ที่นิยมกันมาก คือ รูปเสือแกะด้วยเขี้ยวเสือ เล็กบ้าง-ใหญ่บ้าง ฝีมือหยาบๆเวลาปลุกเสกต้องใช้เนื้อหมูเสกเป่า จนเสือกระโดดลงไปในเนื้อหมูได้

หลวงพ่อปานเป็นพระอาจารย์สอนวิปัสสนาชื่อดัง ท่านเป็นเจ้าอธิการ วัดบางเหี้ย สมณศักดิ์พระครูพิพัฒน์นิโรธกิจ เครื่องรางที่ท่านสร้างไม่ว่าจะเป็นตะกรุด ผ้ายันต์ ล้วนเป็นที่ต้องการของผู้ชื่นชอบเครื่องรางของขลัง แต่เหนือสิ่งอื่นใดก็คือ เขี้ยวเสือที่แกะเป็นรูปเสือขนาดต่างๆ ถือเป็นราชันย์แห่งเครื่องรางที่มีความนิยม และราคาสูงที่สูดในปัจจุบัน

เสือ หลวงพ่อปานแกะขึ้นจากเขี้ยวเสือ ฝีมือแกะเรียบง่าย ค่อนข้างหยาบไปบ้าง แต่มีรูปทรงมีเอกลักษณ์ดูคลาสสิค มีคุณค่าทางศิลปะ และมีคุณวิเศษสุดยอดขลังด้วยตบะบารมีมหาอำนาจสูงมาก

เสือ หลวงพ่อปาน รูปแบบมาตรฐานจะต้องอยู่ในรูปทรงเสือนั่ง ชันขาหน้า หางม้วนรอบฐาน หรือม้วนขึ้นพาดหลัง มีทั้งเสือหุบปากและเสืออ้าปาก นิ้วเท้าแต่ละเท้าโดยส่วนมากมี 4 นิ้ว แต่บางตัวอาจมี 5 นิ้ว และ 3 นิ้ว รอบลำตัวและใต้ฐานมีรอยจารอักขระยันต์

เอกลักษณ์โดยรวมของเสือหลวงพ่อปาน เรียงร้อยเป็นวลีว่าเสือหน้าแมว หูหนู ตาลูกเต๋า ยันต์กอหญ้า

จุดสังเกต เสือ หลวงพ่อปาน

  1.   เสือต้องแกะจากเขี้ยวเสือเท่านั้น ไม่มีการแกะจากกระดูก หรือ วัสดุอย่างอื่น เขี้ยวเสือมีเนื้อแน่นทึบ บางตัวสีเหลืองจัด บางตัวสีเหลืองอ่อน ไม่ขาวใส
  2.   เขี้ยวเสือที่นำมาแกะมีทั้งเขี้ยวเต็มอันและเขี้ยวครึ่งซีก (เรียกว่า เขี้ยวซีก) เขี้ยวเต็มอันมีรูกลมตรงกลางผ่านตลอดจากบนลงล่าง มักมีรอยแตกอ้าส่วนเขี้ยวครึ่งซีกไม่มีรอยแตกอ้า มีสีอ่อนแก่ไม่เท่ากัน(ขึ้นอยู่กับการเก็บ การใช้มาก-น้อยของแต่ละท่าน)
  3.   ช่างที่แกะรูปเสือมีหลายคน แต่รูปทรงของเสือมีลักษณะคล้ายกันอาจจะใหญ่เล็ก อ้วนผอม แตกต่างกันบ้าง มีทั้งเสืออ้าปากและเสือหุบปากแต่เอกลักษณ์ตามที่กล่าวมาคือเสือหน้าคล้ายแมว นั่งชันขาหน้า หางม้วน รอบฐานหรือพาดชึ้นหลัง นิ้วเท้าโดยมากมี 4 นิ้ว ตากลมมีหลุมตรงกลางแบบลูกเต๋า ใบหูเล็กแต่มีรูหูใหญ่แบบหูหนู และมีรอยจารอักขระยันต์รอบตัว
  4.  ลายมือจารก็เป็นจุดสำคัญในการพิจารณา ลักษณะการจารแบบหวัดๆ เส้นคมลึกและหนาบางไม่เท่ากันในแต่ละตัว ประกอบด้วยตัว ฤ ฤๅ
  5. จารแบบเอียงตวัดแหลม ดูคล้ายเลขเจ็ดไทย () และเลขสามไทย (๓) และจารเป็นขีดๆ แบบลายเสือ ให้สังเกตุว่าลายมือจารเอียงๆ แหลมๆจารบริเวณลำตัว สะโพก และขาหน้า ส่วนใต้ฐานจารยันต์ตัวเฑาะว์ เป็นตัวกลม รีวนไปมา เกาะกลุ่มกันเหมือนกอหญ้าตัว ฤ ฤๅ และตัว อุ

เสือไฟหลวงพ่อปาน

 เสือหลวงพ่อปานมีอายุไม่ต่ำกว่า 100 ปี ต้องมีความเก่าให้เห็น ทั้งคราบความเก่าแห้งด้านตามชอก และความฉ่ำในบริเวณจุดสัมผัสหากเสือผ่านการใช้มาไม่มาก ผิวจะแห้งเก่าไม่ตึงเรียบ แต่ส่วนใหญ่จะผ่านการใช้ สัมผัสมือเหงื่อความมันและความชื้น ทำให้เนื้อมีความฉ่ำสีเหลืองอมขาวขุ่นเหมือนเนื้อเทียนไข เนื้อมีสีอ่อนแก่เป็นธรรมชาติ มีลายในเนื้อคล้ายลาย สับปะรด มีรอยแตกรานเล็กๆ เป็นกลุ่มเพราะการแห้งหดตัว

หลวงพ่อปานวัดบางเหี้ย

หลวงพ่อปาน เกิดประมาณปี พ.. 2375 ท่านมรณภาพด้วยโรคชรา ในปี พ.. 2453 แต่คุณงามความดีและสิ่งที่ท่านได้สร้างไว้ ไม่เคยตายไปจากใจของคนรุ่นหลังเลย และยังคงสืบเนื่องจารึกไว้ไปชั่วกาลนาน…

คาถาบูชาเสือหลวงพ่อปาน

พระคาถาบูชา เสือ หลวงพ่อปานโอม พยัคโม พยัคฆ สูญญา สัพพะติ อิติ อำ อำ อึม ฮึม (แล้วอธิษฐานตามใจนึก…)

กำเนิดเครื่องรางของขลัง

กำเนิดความเป็นมาเครื่องรางของขลัง

จากบันทึกในตำราพิชัยสงครามกล่าวว่า นักรบจะมีเครื่องรางของขลังติดตัวเพื่อสร้างผลให้เกิดเป็นมงคล คงกระพัน แคล้วคลาด ยามออกศึกสงคราม โดยมีหลากหลายชนิด หลายลักษณะ ซึ่งมักจะได้รับมาจากพระสงฆ์ซึ่งชาวบ้านนับถือ มีจิตญาณสูง เก่งทางวิชาอาคม และนักรบจะมีความเชื่อต่อของขลังนั้นๆ อย่างมั่นคง จะเห็นได้จากการสืบทอดสรรพตำราตกทอดกันมาหลายรุ่นหลายสมัย ซึ่งเครื่องราง สามารถแบ่งออกได้เป็นประเภทต่างๆดังนี้

เครื่องรางของขลัง

แบ่งตามการเกิดมาของเครื่องราง ได้แก่

  1.   เป็นสิ่งที่เกิดมาจากธรรมชาติ ไม่มีการสรรค์สร้าง ถือว่ามีดีในตัวและมีเทวดารักษาสิ่งนั้น เช่น เหล็กไหล คดต่างๆ เขากวางคุด เขี้ยวหมูตัน เขี้ยวเสือกลวง เถาวัลย์ ฯลฯ
  2.   เป็นสิ่งที่สร้างขึ้นมาใหม่ ด้วยการนำแร่ธาตุต่างชนิด มาหลอมตามสูตรการเล่นแร่แปรธาตุในสมัยก่อน เช่น เมฆสิทธิ์ เมฆพัดเหล็กละลาย ตัวสัมฤทธิ์นวโลหะ สัตตะโลหะ ปัญจโลหะ เป็นต้น ทั้งนี้ครอบคลุมไปถึงเครื่องรางลักษณะต่างๆ ที่สร้างขึ้นมาเพื่อวัตถุประสงน์คุ้มกันภัยอันตราย

เครื่องรางของขลัง

 เครื่องคาด อันได้แก่เครื่องรางที่ใช้คาดศีรษะ คาดเอว และคาดแขน ฯลฯ

  1.   เครื่องสวม อันได้แก่เครื่องรางที่ใช้สวมคอ สวมศีรษะ สวมแขน สวมนิ้ว ฯลฯ
  2.   เครื่องฝัง อันได้แก่เครื่องรางที่ใช้ฝังลงไปในเนื้อหนังของคน เช่น เข็มทอง ตะกรุดทอง ตะกรุดสาลิกา (ใส่ลูกตา) และการฝั้งเหล็กไหลหรือฝังโลหะมงคลต่างๆ ลงไปในเนื้อ จะรวมอยู่ในพวกนี้ทั้งสิ้น
  3.   เครื่องอม อันได้แก่เครื่องรางที่ใช้อมในปาก อาทิเช่น ลูกอม ตะกรุดลูกอม (สำหรับในข้อนี้ไม่รวมถึงการอมเครื่องรางชนิดต่างๆ ที่มขนาดเล็กไว้ในปาก เพราะไม่เข้าชุด)

แบ่งตามวัสดุของเครื่องราง ได้แก่

  1.   โลหะ
  2.   ผง
  3.   ดิน
  4.   วัสดุอย่างอื่น เช่น กระดาษสา ชัน โรงดิน ขุยปู
  5.   จากสัตว์ เช่น เขี้ยวสัตว์ เขาสัตว์ งาสัตว์ เล็บสัตว์ หนังสัตว์
  6.   จากชิ้นส่วนคนตาย เช่น ผมผีพราย ผ้าตราสัง ผ้าห่อศพ ผ้าผูกคอตาย
  7.   จากทั่ว ๆ ไป เช่น ผ้าทอ

เครื่องรางของขลัง

แบ่งตามรูปแบบลักษณะที่เห็นของเครื่องราง ได้แก่

  1.   เพศชาย อันได้แก่ รักยม กุมารทอง ฤๅษีพ่อเฒ่า ชูชก หุ่นพยนต์พระสีสแลงแงง และสิ่งที่เป็นรูปของเพศชายต่างๆ
  2.   เพศหญิง อันได้แก่ แม่นางกวัก แม่พระโพสพ แม่ครีเรือน แม่ซื้อ แม่หม่อมกวัก เทพนางจันทร์ พระแม่ธรณี และสิ่งที่เป็นรูปของ ผู้หญิงต่างๆ
  3.   สัตว์ ในที่นี้หมายถึงพระโพธิสัตว์ อาทิ เสือ ช้าง วัว เต่า จระเข้ งู ดังนี้เป็นต้น…

เครื่องลางของขลัง

แบ่งตามขั้นลำดับและระดับชั้นของการปลุกเสกเครื่องราง ได้แก่

  1.   เครื่องรางชั้นสูง อันได้แก่ เครื่องรางที่ใช้บนส่วนสูงของ ร่างกายซึ่งนับตั้งแต่ศีรษะลงมาถึงบั้นเอว สำเร็จด้วยพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ
  2.   เครื่องรางชั้นต่ำ อันได้แก่ เครื่องรางที่เป็นของต่ำ เช่น ปลัดขิก อีเป๋อ (แม่เป๋อ) ไอ้งั่ง (พ่องั่ง) ไม่ได้สำเร็จด้วยของสูง
  3.   เครื่องรางที่ใช้แขวน อันได้แก่ ธงรูปนก รูปตั๊กแตน รูปปลาหรือกระบอกใส่ยันต์ และอื่นๆ

เมื่อเราแบ่งแยกออกเป็นหมวดหมู่ให้เห็นกันง่ายๆ ขึ้นแล้ว เราก็ต้องมาทำความเข้าใจกันว่า ที่มาของการสร้างเครื่องรางนั้นแต่เดินสร้างขึ้นมาเพื่ออะไร ซึ่งขออธิบายง่ายๆ คือ ในสมัยก่อนนั้นโลกยังไม่มีศาสนา มนุษย์รู้จักเพียงปรากฏการณ์ทางธรรมชาติเท่านั้น เช่นดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ ดวงดาว ฟ้าแลบ ฟ้าร้อง ฟ้าผ่า และดาวตกหรือแม้กระทั่งไฟ

ดังนั้นเมื่อคนสมัยก่อนเห็นพระอาทิตย์มีแสงสว่างก็เกิดความเคารพ แล้วเขียนภาพดวงอาทิตย์ไว้ในผนังถ้ำ เพื่อให้เกิดความอุ่นใจในยามค่ำคืน เมื่อเขียนใส่ผนังถ้ำแล้วก็มาสลักลงบนหินเพื่อติดตัวไปมาได้ ก็กลายเป็นเครื่องรางไปโดยบังเอิญ ต่อมาเมื่อรู้จักไฟก็คิดว่าไฟเป็นเทพเจ้า เกิดการบูชาไฟ ทำรูปดวงไฟ

ต่อมาเมื่อมีการเดินทางมากได้พบเห็นสิ่งประหลาดต่างๆ เช่น นก ที่มีรูปร่างประหลาด ก็คิดว่าเป็นเทพ จึงสร้างรูปเคารพของเทพต่างๆและค่อยๆ เปลี่ยนรูปมาเรื่อยๆ ดังจะเห็นได้จากประเทศอียิปต์ กรีกและโรมัน เพราะเป็นประเทศที่มีเครื่องรางมากมาย

ต่อมาในช่วงพุทธกาลราวเมื่อ 2,000 ปีเศษ ศาสนาพราหมซึ่งถือเอาพระผู้เป็นเจ้าเป็นสรณะก็บังเกิดขึ้น พระผู้เป็นเจ้านั้นคือพระศิวะ พระนารายณ์ พระพรหม และเมื่อต้องการความสำเร็จผลในสิ่งใด ก็มีการสวดอ้อนวอนอันเชิญ ขออำนาจของเทพเจ้าทั้งสามให้มา บันดาลผลสำเร็จที่ต้องการนั้นๆ การกระทำดังกล่าวนี้ จะต้องมีเครื่องหมายทางใจเพื่อการสำรวม ฉะนั้นภาพจำหลักของเทพเจ้าจึงมีกิดขึ้น จะเห็นได้จากรูปหะริหะระ” (HariHara) แห่งประสาทอันเดต (PrasatAndet) ที่พิพิธภัณฑ์เมืองพนมเปญ อันเป็นภาพจำหลักของพระนารายณ์ในศาสนาพราหมณ์ หรือเทวรูปมหาพรหมแห่งพิพิธภัณฑ์กีเมต์ที่ประเทศฝรั่งเศส นับเป็นประติมากรรมที่สร้างขึ้นมาด้วยความมุ่งหมายเอาเป็นที่พึ่งยึดเหนี่ยวทางใจในศาสนาพราหมณ์ ซึ่งเป็นศาสนาเก่าแก่ในประเทศอินเดีย

ในเวลาต่อมาพระพุทธศาสนาก็เกิดขึ้นในโลกโดยพระบรมศาสดา(เจ้าชายสิทธัตถะ) เป็นผู้ทรงค้นพบอมตะธรรมอันวิเศษ โดยมีผู้เลื่อมใส สักการะแล้วยึดเป็นสรณะ ดังนั้นพระพุทธองค์ทรงมีพระสาวกตามเสด็จ และร่วมประพฤติปฏิบัติด้วยมากมาย จนเป็นพระอสีติมหาสาวกขึ้น ซึ่งท่านมหาสาวกเหล่านี้ล้วนเป็นผู้ทรงไว้ในความเป็นเอตทัลคะในด้านต่างๆกัน ได้แก่ พระสารีบุตรทรงความเป็นยอดเยี่ยมทางปัญญา พระโมคคัลลานะทรงความเป็นยอดเยี่ยมทางอิทธิฤทธิ์ (ในพระพุทธศาสนานั้นผู้ที่สำเร็จญาณสมาบัติได้ต้องเป็นผู้ที่มีจิตใจบริสุทธิ์ย่อมแสดงอิทธิฤทธิ์ได้หลายอย่างเป็นอเนกประการ อิทธิฤทธิ์เหล่านี้เรียกว่า อิทธิปาฏิหาริย์เป็นการกระทำที่สามัญชนไม่สามารถจะกระทำได้ ดังมีหลักฐานปรากฏอยู่ในพระไตรปิฎกมากมาย) ซึ่งพระพุทธเจ้านั้นพระองค์ทรงไว้ด้วยคุณ 3 ประการคือ

  1.   พระเมตตาคุณ
  2.   พระปัญญาคุณ
  3.   พระบริสุทธิคุณ

ดังนั้นพระเถระผู้มีญาณสมาบัติก็มักจะใช้ฤทธิ์ของท่านช่วยมนุษย์ และสัตว์โลกซึ่งถือเอาหลักพระเมตตาคุณ เป็นการเจริญรอยตามสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า หรือพระบรมศาสนานั้นเอง

เครื่องรางของขลัง

เครื่องราง – เครื่องลาง

คำว่าเครื่องรางกับเครื่องลางคำใดจึงเป็นคำที่ถูกต้อง ซึ่งในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานระบุว่าเครื่องรางหมายถึงเครื่องป้องกันภัยที่ทำสำเร็จด้วย ราง หรือ ร่อง แต่สำหรับนักนิยมสะสมเครื่องรางระดับสากลนิยมที่จะเรียกว่าเครื่องลางมากกว่า โดยหมายถึงเครื่องที่ใช้เกี่ยวกับโชคลาง เครื่องคุ้มครอง ปกป้อง กันภัย เพราะแต่เดิมนั้นมนุษย์ทำของเช่นนี้ขึ้นมาเพื่อป้องกันเหตุร้ายที่เรียกว่า ลางหรือสิ่งป้องกันภัย อันจะเกิดในอนาคต ให้แคล้วคลาด นั่นเอง.

พระกริ่งชินบัญชร เนื้อเปียกทอง

พระเครื่องหลวงปู่ทิม อิสริโก วัดละหารไร่ จ.ระยอง

พระครูภาวนาภิรัต หรือ หลวงปู่ทิม อิสริโก วัดละหารไร่ จังหวัดระยอง อมตะพระเกจิแห่งภาคตะวันออก ท่านเป็นพระสุปฏิปันโน เป็นผู้ทรงอภิญญา และเป็นผู้ทรงวิทยาคม แม้ว่าท่านจะละสังขารไปนานหลายสิบปีแล้วก็ตาม แต่วัตถุมงคลที่สร้างเอง หรือลูกศิษย์ลูกหาสร้างแล้วนำมาให้ท่านอธิษฐานจิต พุทธคุณก็เข้มขลังไม่ต่างกัน จึงเป็นที่นิยมชมชอบของเซียนพระและนักสะสมในปัจจุบัน เมื่อความต้องการมีมาก แต่วัตถุมงคลมีน้อย ย่อมทำให้ราคาเช่าหาวัตถุมงคลของท่านในปัจจุบันมีราคาสูงมาก เช่น พระกริ่งชินบัญชรเนื้อทองคำ ปัจจุบันเช่าหากันถึงหลักสิบล้านขึ้นไป และพระผงขุนแผนพรายกุมาร ที่มีตำนานการสร้างอย่างมหัศจรรพันลึก ที่เชื่อกันว่า ผู้ใดมีไว้บูชาจะเป็นเมตตามหานิยมยิ่งนัก ทุกวันนี้แทบจะหาของแท้ๆได้ยากมาก เพราะผู้ครอบครองไม่ยอมปล่อยให้หลุดมือไปง่ายๆ เพราะโอกาสจะได้กลับคืนนั้นยากมาก.

พระกริ่งชินบัญชร หลวงปู่ทิม วัดละหารไร่ ระยอง

เข้มขลังด้วยพลังจิต

ถึงแม้ว่าปัจจุบันนี้การสร้างวัตถุมงคล จะไม่ใช่เรื่องยาก เพราะเป็นยุคเทคโนโลยีการผลิดต่างๆ เจริญรุดหน้าเป็นอย่างมาก แต่การจะเสกวัตถุมงคลให้เข้มขลัง ก็ไม่ได้อาศัยเทคโนโลยีต่างๆมาช่วยได้เลย เป็นเรื่องของพระเกจิฌานสมาบัติหรือพลังจิตล้วนๆ พระเกจิคณาจารย์ที่อธิษฐานจิต ต้องเป็นพระผู้ทรงวิทยาคมแก่กล้า พิธีกรรมต่างๆจะต้องถูกต้องตามตำราโบราณ วัตถุมงคลที่สร้างจะมีพุทธคุณเข้มขลังศักดิ์สิทธิ์ ด้วยพลังแห่งพุทธานุภาพ ธรรมมานุภาพ สังฆานุภาพ เป็นสิริมงคลแก่ผู้เคารพศรัทธา ที่อาราธนาติดตัวไป จะได้แคล้วคลาดปลอดภัย ดังที่ปรากฏเป็นข่าวตามสื่อต่างๆ ถึงประสบการณ์วัตถุมงคล ที่พระเกจิอาจารย์ ท่านได้สร้างไว้แสดงอภินิหารความศักดิ์สิทธิ์ เช่น ยิงฟันแทงไม่เข้า รถยนต์พลิกคว่ำหลายตลบแต่ไม่เป็นไร หรือแม้กระทั่ง ฮ.ตก แต่คนบน ฮ.ไม่ได้รับอันตราย.

พระกริ่งชินบัญชร เนื้อตะกั่วอาบนวะ

วัตถุมงคลหลวงปู่ทิม

วัตถุมงคลหลวงปู่ทิมก็เช่นกัน หากไม่มีประสบการณ์ความขลังความศักดิ์สิทธิ์แล้ว ก็คงจะไม่มีความต้องการ จนราคาเช่าสูงลิ่วดังเช่นปัจจุบัน , อาจารย์ชินพร สุขสถิตย์ ศิษย์ฆราวาสผู้สืบทอดวิทยาคม หลวงปู่ทิม และเป็นผู้สร้างพระกริ่งชินบัญชร ได้กล่าวไว้ว่า เมื่อแรกสร้างพระกริ่งชินบัญชรนั้น มีคนมาสั่งจองเป็นจำนวนมาก แตเมื่อพระออกมาแล้ว คนส่วนใหญ่บอกพระไม่สวยและเอามาคืน ทำให้อาจารย์ชินพรเป็นทุกข์ใจเป็นอย่างยิ่ง จนหลวงปู่ทิมได้บอกกับอาจารย์ชินพรว่า “เขาเอามาคืนก็รับไว้เถิด อีกหน่อยพลิกแผ่นดินหาก็ไม่เจอ” เป็นอมตะวาจาสิทธิ์ของ หลวงปู่ทิม โดยแท้ เพราะหลังจากนั้นเรื่องราวประสบการณ์ปาฏิหาริย์ของ พระกริ่งชินบัญชร ก็ได้แสดงออกมาเรื่อยๆ และบ่อยครั้งจนเป็นที่ล่ำลือกันไปทั่วฟ้าเมืองไทย และกลายเป็นพระกริ่งอันดับต้นๆของสยามประเทศ.

พระครูภาวนาภิรัต หรือหลวงปู่ทิม

ขออาราธนาดวงวิญญาณหลวงปู่ทิม อิสริโก จงคุ้มครอง ปกป้อง ท่านทั้งหลายให้ประสบแต่ความสุข ความเจริญ ด้วยอายุ วรรณะ สุขะ พละ ตลอดกาลนานเทอญ…

พระกริ่งชินบัญชร เนื้อตะกั่วอาบนวะ

ราหูอมจันทร์ กะลาตาเดียว ครูบานันตา

พระราหูอมจันทร์ กะลาตาเดียว

ครูบานันตา วัดทุงม่านใต้ ลำปาง

เราอาจเคยได้ยินคำทำนายทายทักกันว่า ช่วงนี้ให้ระวัง..เพราะพระศุกร์เข้า พระเสาร์แทรก พระราหูเสวยอายุคุณอีกต่างหาก อาจทำให้ถึงขั้นก่ายหน้าผากกันได้หากโดนทักอย่างนี้ จากความเชื่อเรื่องโชคลาง การทำนายทายทัก จึงก่อให้เกิดการแก้เคล็ด เพื่อแก้จากเรื่องร้ายให้กลายเป็นดี โดยการบูชาเทวดานพเคราะห์ตามวันที่เราเกิด รวมถึงเทวดาที่อาจบันดาลสุข หนึ่งในความเชื่อที่ผู้คนบูชาคือ “พระราหู” หากจะกล่าวถึง พระราหู กับความเชื่อของคนไทย น้อยคนนักที่จะไม่รู้จัก พระราหูโด่งดังขึ้นมาในระดับต้นๆ ของการบูชาเทพไท้เทวา อีกทั้งมีการนำมาประยุคต์เข้ากับพิธีกรรมสืบชะตา สะเดาะพระเคราะห์ และจัดสร้างวัตถุมงคลมากมายของบรรดาเกจิอาจารย์ ตั้งแต่โบราณเป็นเวลาหลายร้อยปีมาแล้ว สืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน.

พระกะลาตาเดียว ครูบานันตา วัดทุ่งม่านใต้ ลำปาง

 

พระราหูกับตำนานความเชื่อ

ในคัมภีร์พระเวทได้กล่าวไว้ว่า “พระราหู คือเทพอสูร ที่เป็นอมตะไม่มีวันตาย ” เพราะตอนที่เหล่าทวยเทพทำพิธีกวนน้ำอมฤตในเกษียรสมุทร(ทะเลน้ำนม) อันเป็นที่ประทับขององค์พระนารายณ์ พระราหู ได้แปลงกายเป็นเทวดาแฝงตัวเข้าไปอยู่ในพิธีกรรมด้วย เพราะมิได้รับเชิญ พอน้ำอมฤตเสร็จ ลอยขึ้นมาจากสะดือทะเล แล้วพระราหูก็รอบเข้าไปดื่มกินก่อน พระนารายณ์รับรู้เข้าก็ขว้างจักรไปต้องลำตัวของพระราหู ทำให้ขาดจากกันเป็นสองท่อน ซึ่งพระราหูนั้นเดิมทีมีหัวเป็นยักษ์ ลำตัวเป็นมนุษย์ ท่อนล่างตั้งแต่เอวลงไปเป็นงู เมื่อโดนตัดด้วยจักรพระนารายณ์ ท่อนล่างจึงหลุดลอยไปในอากาศ กลายเป็นพระเกตุเทวา ส่วนพระราหูก็เหลือแต่ท่อนบนเท่านั้น , พระราหู จึงผูกอาฆาตโกรธแค้น พระสุริยะเทพ และพระจันทราเทพมาก ที่เอาความไปบอกแก่ พระนารายณ์ ให้ล่วงรู้ในเรื่องที่ตนเอง ดื่มกินน้ำอมฤตเข้าไป ดังนั้นในเวลาที่พระราหู เจอ พระอาทิตย์ หรือพระจันทร์คราวใด ก็จะจับกินเสียทุกทีไป จึงได้เกิดคติความเชื่อเรื่องสุริยุปราคา และจันทรุปราคาขึ้น.

พรพราหูอมจันทร์ กะลาตาเดียว ครูบานันตา

ราหูอมจันทร์

ในคัมภีร์โหราศาสตร์ถือว่า เมื่อบุคคนใดที่พระราหูเสวยอายุในช่วงเวลานั้น จะเกิดความรุ่มร้อน มีเคราะห์กรรม จะต้องแก้ไข ทำพิธีรับดาวและแก้เคล็ด จึงจะกลับร้ายกลายเป็นดี ซึ่งในคัมภีร์ทางไสยศาสตร์ ได้มีการสร้างหลักวิชาเพื่อเป็นขวัญกำลังใจให้กับคนเชื่อเรื่องพระราหู ช่วยในการแก้ไขดวงชะตา ในความเชื่อว่า ต้องการค้านฤทธิ์อำนาจด้านมืดของพระราหู เอาพลังด้านดีมาช่วยส่งเสริมชะตาชีวิต เรียกว่า “เลี่ยงลางร้ายรับลางดี” จึงมีการสร้างเครื่องรางออกมาในรูปแบบพระราหูอมจันทร์ ซึ่งนิยมทำจากกะลามะพร้าวตาเดียวแกะสลัก ที่เรียกกันว่า “กะลาตาเดียวพระราหูอมจันทร์”

ราหูอมจันทร์ ครูบานันตา

กะลาตาเดียวราหูอมจันทร์

เหตุที่ต้องใช้กะลาตาเดียว เพราะถือเป็นของทนสิทธิ์ มีดีในตัว และหายาก , การนำกะลามาแกะเป็นพระราหูนั้น มีการแกะทั้งลูก และแกะเป็นหลายชิ้น จะได้จำนวนมากน้อย ขึ้นอยู่กับจำนวนที่ต้องการ และขนาดกะลาด้วย เมื่อแกะลวดลายเป็นพระราหูอมจันทร์ ขัดแต่งให้สวยงามแล้ว ตามตำราเกจิที่สร้างจะนำมาลงอักขระเลขยันต์ ซึ่งไม่ใช่ของง่าย เพราะต้องทำในช่วงเกิดสุริยะคราสและจันทรคราสก่อน แล้วเพ่งมองดูเงาดับที่เข้าจับพระอาทิตย์และพระจันทร์ จากนั้นใช้เหล็กจารลงอักขระไปบนกะลา หลังจากนั้นเกจิอาจารย์ ท่านจะนำไปปลุกเสกอีกครั้ง จนมั่นใจในความเข้มขลัง แล้วจึงนำออกแจกจ่ายให้บูชา ผู้ใดมีไว้ในครอบครอง ถือเป็นผู้มีบุญ ได้รับกุศลยิ่งนักแล…

การบูชาวัตถุมงคลใดๆต้องมี ศรัทธา บารมีจึงเกิดผล จงหมั่นสร้างแต่ความดี ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ กตัญญูรู้คุณของพ่อแม่ และครูอาจารย์ที่อบรมสอนสั่ง อันมีคุณพระรัตนตรัยเป็นที่ตั้ง การบูชาจึงสัมฤทธิ์ผลตามความเชื่อที่โบราณกาลพาทำสืบเนื่องมา…

พระราหูอมจันทร์ กะลาตาเดียว ครูบานันตา วัดทุ่งม่านใต้

พระขุนแผนปลุกกุมาร หลวงพ่อกวย

วัตถุมงคลหลวงพ่อกวย วัดโฆสิตาราม

พระเครื่องและวัตถุมงคลของหลวงพ่อกวย ชุตินฺธโร วัดโฆษิตาราม อ.สรรคบุรี จ.ชัยนาท ถือเป็นที่นิยมของนักสะสมตามหา เนื่องจากหลวงพ่อกวยมีศิษยานุศิษย์และประชาชนที่เคารพนับถือมากมาย ท่านเป็นผู้ที่ชื่นชอบการทำพระผง ด้วยแม่พิมพ์บีบมือ ซึ่งพุทธคุณโดดเด่นและโด่งดังมากด้านเมตตามหานิยม จนถูกนำไปแต่งเพลง “คาถาขุนแผน” ของกานต์ ทศน

พระเครื่องหลวงพ่อกวย และวัตถุมงคลของหลวงพ่อกวย เป็นที่นิยมมีชื่อเสียง ได้แก่ พระสมเด็จ พิมพ์ต่างๆ , พระขุนแผน , พระสังกัจจายน์ , มีดหมอ , ตะกรุด , ผ้ายันต์ , เหรียญหลังหนุมาร , เหรียญรูปเหมือนหลังยันต์มงกุฎรุ่นแรก และเครื่องรางของขลังต่างอีกมากมาย ซึ่งท่านได้สร้างไว้ตอนที่ยังมีชีวิตอยู่.

พระขุนแผนปลุกกุมาร หลวงพ่อกวย

คำสอนหลวงพ่อกวย ชุตินฺธโร

“ ขอศิษย์ทั้งหลาย จงอย่าอด อย่าอยาก อย่ายาก อย่าจน อย่าต่ำกว่าคน อย่าจนกว่าเขา ”

เพื่อเป็นคติเตือนใจให้แก่ประชาชนที่เลื่อมใสศรัทธา และบรรดาลูกศิษย์ได้มุงมานะทำสัมมาอาชีพ ไม่กลัวต่ออุปสรรคใดๆ ที่นับถือหลวงพ่อ จงอย่าลืมมุ่งหน้าตั้งใจประพฤติอยู่ในศีลธรรม เพื่อทำมาค้าขายอะไร จะได้ขึ้น ได้ร่ำ ได้รวย สมใจปรารถนา…

พระขุนแผนปลุกกุมาร เนื้อผงดินอาถรรพ หลวงพ่อกวย

พระขุนแผนปลุกกุมาร

พระปิดตา พิมพ์ปั้นลอยองค์ หลวงพ่อแก้ว วัดเครือวัลย์

การสร้างพระปิดตาของ หลวงพ่อแก้ว วัดเครือวัลย์

การสร้างพระปิดตาของ หลวงพ่อแก้วนั้น โดยปกติแล้ว หลวงพ่อแก้ว ท่านเป็นผู้มีอุปนิสัยละเอียดรอบคอบ ท่านเป็นผู้เห็นการณ์ไกล กล่าวคือ ในขณะที่ท่านสอนบาลีไวยากรณ์อยู่นั้น ท่านก็ได้เก็บเอาผงที่ลบการเรียนภาษาบาลีซึ่งเขียนเป็นอักษรขอม ที่มีความขลังและศักดิ์สิทธิ์ แล้วท่านก็จะนำผงอักขระที่ได้จากการลบ มาผสมกับผงพระพุทธคุณ หรือผงมหาราช เป็นต้น

เมื่อเอาผงดินสอ และผงพุทธคุณรวมเข้ากันแล้ว ท่านก็เอาเกสรดอกไม้ต่างๆ ตลอดจนใบไม้ เปลือกไม้ และเนื้อไม้ มาบดให้ละเอียดเป็นผง แล้วจึงนำมาผสมกับผงอักขระ(ผงลบ) เอาน้ำข้าวเหนียวมาผสมทำให้เหนียว จึงเอากดลงในแม่พิมพ์ที่ทำจากหินมีดโกน ก็สำเร็จเป็นองค์พระ

พระปิดตา หลวงพ่อแก้ว วัดเครือวัลย์

พระปิดตา หลวงพ่อแก้ว วัดเครือวัลย์ เนื้อผงพุทธคุณ

พระปิดตา หลวงพ่อแก้ว

พระปิดตา หลังแบบ หลวงพ่อแก้ว

กล่าวกันว่าพระปิดตาที่ หลวงพ่อแก้ว สร้างในยุคแรกๆนั้น ท่านสร้างด้วยผงพุทธคุณ สีออกขาวก็มี สีออกเหลืองอ่อนบ้างก็มี และส่วนผสมที่สำคัญยิ่งอีกอย่างหนึ่งคือ “ไม้ไก่กุก” ซึ่งถือเป็นของหายากมาก ทางด้านพุทธคุณนั้นนับว่าเป็นมหาเสน่ห์ มหานิยมสูง ยิ่งถ้าได้พระอาจารย์ที่มีอาคมแก่กล้าปลุกเสกแล้ว จะเป็นของเข้มขลังดีที่ประเสริฐยิ่งนัก

 

 

ระหว่างการสร้างพระปิดตาของ หลวงพ่อแก้ว นั้น จะมีพระภิกษุสามเณร และชาวบ้านทั้งชายและหญิง มาร่วมมือกันตลอดเวลาในการสร้าง ตอนหลังเกิดชอบพอ รักไคร่กัน เป็นเพราะเสน่ห์มหานิยมที่เกิดจากผงพุทธคุณ ที่สร้างพระติดมือ ติดขันน้ำ และปลิวตกลงไปในโอ่งน้ำ เมื่อต่างคนต่างดื่มกิน จึงเกิดความรักไคร่กันขึ้น

เมื่อมีเหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้น หลวงพ่อแก้ว จึงได้เปลี่ยนวิธีการผสมเนื้อพระเสียใหม่ โดยการนำเอาผงพุทธคุณ ผสมคลุกเคล้ากับรักให้เหนียวแน่น ไม่หลุดง่าย เพื่อกันไม่ให้ผงปลิว หรือติดมือ ติดขันน้ำ จึงเกิดเป็น “พระปิดตาเนื้อผงคลุกรัก” ในยุคต่อมา

หลวงพ่อแก้ว วัดเครือวัลย์ จ.ชลบุรี

พระปิดตา หลวงพ่อแก้ว วัดเครือวัลย์

พระปิดตาของ หลวงพ่อแก้วนั้น มิใช่ว่าจะมีพุทธคุณดีทางด้านเมตตามหานิยมเท่านั้น แม้แต่ทางคงกระพันชาตรี ก็มีอยู่มิใช่น้อยเช่นกัน วงการพระเครื่องเมืองไทย จึงได้จัดพระปิดตา ของหลวงพ่อแก้ว วัดเครือวัลย์ ให้อยู่ในชุดพระเบญจภาคี เป็นอันดับ 1 และได้กำหนดแบบพิมพ์มาตรฐานสากล ได้รับความนิยมมากเช่น: พระปิดตา พิมพ์ใหญ่ , พระปิดตา พิมพ์กลาง , พระปิดตา พิมพ์เล็ก และ พระปิดตา พิมพ์ปั้นลอยองค์

ส่วนด้านหลังพระทั้ง 3 พิมพ์แรกนี้ เท่าที่พบเห็นมี 3 แบบ 3 พิมพ์ คือ

1. เป็นแบบหลังรูปพระปิดตา เรียกว่า “หลังแบบ”

2. แบบหลังยันต์

3. แบบหลังเรียบ หรือ “แบบหลังเบี้ย”

ส่วนเนื้อพระเป็นเนื้อผงพุทธคุณล้วน มีสีขาว สร้างยุคต้นซึ่งหายากมาก ต่อมาสร้างเป็นเนื้อคลุกรัก มีสีค่อนข้างดำ , นอกจากนี้หลวงพ่อแก้ว ท่านได้สร้างพระปิดตาเนื้อตะกั่วผสมปรอท แจกแก่ชาวบ้านที่ไปช่วยขนไม้(ซุง) ต้นใหญ่ๆนำมาสร้างกุฏิ เพื่อเอาไว้ป้องกันตัว ป้องกันคุณไสย และภูตผีปีศาจ เพราะเชื่อกันว่าผีกลัวปรอทมาก พระปิดตาเนื้อตะกั่วผสมปรอทของหลวงพ่อแก้วที่ว่านี้ก็คือ “พระปิดตาแลกซุง” สำหรับแจกแก่ชาวบ้านที่ไปช่วยกันลากไม้ซุงมาให้วัดนั้นเอง.

พระปิดตา พิมพ์ปั้น

และมีอีกพิมพ์ที่ถือเป็นพระปิดตาแลกซุง ก็คือ พระปิดตา พิมพ์ปั้นลอยองค์ แต่จะบอกว่าเป็นวัดเครือวัลย์วัดเดียวไม่ได้ เพราะพิมพ์ปั้นนี้มีออกทั้งจากวัดเครือวัลย์ และที่ออกจากวัดปากทะเล อำเภอบ้านแหลม จังหวัดชลบุรี , พิมพ์ปั้นลอยองค์ ทุกองค์จะมีลักษณะเฉพาะตัว ไม่เหมือนกัน เพราะจะปั้นทีละองค์ แต่จะมีลักษณะคล้ายๆกัน.

พระปิดตาเนื้อผงแท้ๆของ หลวงพ่อแก้ว นั้น เนื้อต้องละเอียด เพราะเมื่อท่านตำส่วนผสมเสร็จแล้วก็จะนำมากรอง จากนั้นใช้น้ำรักเป็นตัวประสาน บ้างก็ทารักแดง เรียกว่า “ชาดจอแส” เป็นรักมาจากเมืองจีน ปัจจุบันไม่มีแล้ว และใช้เม็ดรัก ซึ่งได้จากต้นรักที่เป็นมงคลนาม มาตำลงไป บางองค์จะเห็นเม็ดรักโผล่ขึ้นมา อาจเป็นสีดำหรือสีแดง แต่จำนวนไม่มาก ถ้ามีรักหรือทองไปปิดบัง ทองและรักต้องเก่ากว่า ซึ่งดูยาก หากคนที่มีความรู้เรื่องรักและทองจะได้เปรียบ เพราะพระปิดตา ของ หลวงพ่อแก้ว หายากกว่าพระสมเด็จ วัดระฆัง เพราะมีการสร้างจำนวนน้อยกว่า แต่สร้างในช่วงเวลาไล่เลี่ยกัน นั่นคือเมื่อประมาณ 150 – 180 ปีมาแล้ว.

 

พระนางพญา

เบญจภาคี พระเครื่องคู่บารมีของคนไทย

นับตั้งแต่ ตรียัมปวาย ได้ขนานนามสุดยอดพระเครื่องแห่งสยามประเทศที่มีมาแต่โบราณกาล จนถึงปัจจุบัน โดยจัดเข้าชุดกันในชื่อ เบญจภาคี ซึ่งประกอบด้วย พระสมเด็จของเจ้าประคุณสมเด็จพุฒาจารย์(โต พรหมรังสี) , พระนางพญา วัดนางพญา จังหวัดพิษณุโลก , พระรอด วัดมหาวัน จังหวัดลำพูน , พระกำแพงซุ้มกอ จังหวัดกำแพงเพชร  และพระผงสุพรรณ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดสุพรรณบุรี พัฒนาการแห่งการศึกษาความรู้เกี่ยวกับพระเครื่อง เริ่มเป็นรูปแบบและมีมาตรฐานมากขึ้น มีการแยกแม่พิมพ์และแบ่งประเภท พระชุดเบญจภาคีอย่างเป็นระบบ สามารถพิสูจน์ และอรรถาธิบายได้ด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ประวัติศาสตร์ อันเป็นหลักแห่งเหตุและผล ส่งผลให้มีผู้ให้ความสนใจศึกษาค้นคว้า ในแวดวงที่กว้างขวาง เป็นที่ยอมรับในระดับประเทศ

นอกจากนี้ พระเครื่อง ยังผูกพันกับคติความเชื่อที่หยั่งรากลึกในมโนคติของสังคมไทยมาช้านาน ลักษณะการแห่งพิมพ์พระที่จำลองมาจากองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า หากเพียงแตกต่างทางด้านศิลปะสกุลช่างตามยุคสมัยที่ปรากฏ ทำให้ เบญจภาคี ทวีความสำคัญมากขึ้นในฐานะรูปแบบแห่งความศักดิ์สิทธิ์ ประกอบไปด้วยพุทธานุภาพ อันเป็นพื้นฐานของความเชื่อทางศาสนา ซึ่งแสดงให้เห็นเอกลักษณ์สำคัญของสังคมไทยเรานั่นเอง….

ปล.

พระราชพิธีตรียัมพวาย ตรีปวาย เป็นพิธีกรรมในศาสนาพราหมณ์ฮินดู เป็นการรับเสด็จพระอิศวรที่จะเสด็จมาเยี่ยมโลกมนุษย์ เป็นเวลา 10 วัน ปัจจุบันประกอบการพระราชพิธีในเทวสถานสำหรับพระนคร 2 หลัง ได้แก่ สถานพระอิศวร สถานพระมหาวิฆเนศวร โดยมีกำหนดพิธี เริ่มตั้งแต่คณะพราหมณ์ผู้ประกอบ วิกิพีเดีย

พระนางพญา

พระสมเด็จเกตศไชโย วัดไชโยวรวิหาร

พระสมเด็จเกตศไชโย วัดไชโยวรวิหาร จ.อ่างทอง

“พระสมเด็จเกตศไชโย” เป็นพระเนื้อผงที่ได้รับการยอมรับว่า สร้างโดยสมเด็จพระพุฒาจารย์(โต พรหมรังสี) หนึ่งในสามพระสมเด็จสามวัด คือ วัดระฆังฯ วัดบางขุนพรหม และวัดไชโย ที่ได้รับการยอมรับเป็นพระมาตฐาน ได้รับความนิยมเช่าบูชาสูงที่สุดในเวลานี้

แหล่งกำเนิดของพระสมเด็จเกศไชโยนั้น พบพระด้านในองค์ “พระมหาพุทธพิมพ์” ซึ่งเป็นพระพุทธรูปองค์ใหญ่ที่สมเด็จพรพุฒาจารย์(โต)พรหมรังสี เป็นผู้สร้างในวัดไชโยมหาวรวิหาร เมืองอ่างทอง วัดนี้เป็นวัดที่เจ้าประคุณสมเด็จฯ สร้างขึ้นบนที่ดินของตาของท่าน เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้โยมมารดาและตา โดยนำชื่อของโยมมารดา “เกศ” มารวมกันเป็น “เกศไชโย”

ภายในวัดมีพระพุทธรูปประทับนั่งองค์ใหญ่ กล่าวกันว่า เจ้าประคุณสมเด็จฯ ได้สร้างไว้เป็นองค์ประธานของวัด และท่านได้สร้างพระเนื้อผงพิมพ์สมเด็จบรรจุกรุไว้ด้านในองค์พระประธาน เรียกกันว่า “พระสมเด็จเกศไชโย”

ในปีพ.ศ. 2430 มีการบูรณะปฏิสังขรณ์วัดขึ้นใหม่ การก่อสร้างทำให้พระพุทธรูปสั่นสะเทือนจนเสียหาย ต้องบูรณะขึ้นใหม่ สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงทรงรับไว้ในพระบรมราชูปถัมภ์ให้สร้างขึ้นใหม่จนแล้วเสร็จในปี 2434 พร้อมถวายพระนาม “พระมหาพุทธพิมพ์” และเปลี่ยนชื่อวัดเป็นวัดไชโยวรวิหารเป็นพระอารามหลวง นับแต่นั้นมา…

ป.ล.(การค้นคว้าหาข้อมูลความเป็นอัจฉริยะของท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสี  ในยุคประวัติศาสตร์วิเคราะห์ ไม่ว่าผู้ค้นคว้าจะเก่งกาจรอบรู้สักเพียงใด สิ่งที่ขาดเสียมิได้ก็คือ หลักฐานพยานบุคคล อันเป็นวัตถุอุปจารของเรื่อง ยิ่งค้นคว้าวัตถุข้อมูลเป็นเครื่องยืนยันได้มากเท่าไหร่ ความถูกต้องถ่องแท้ก็มีมากเท่านั้น ถ้าสิ่งต่างๆดังกล่าวไม่มี หรือมีแต่คลุมเคลือไม่ชัดเจน เรื่องที่เขียนก็อาจกลายเป็นประวัติศาสตร์อุปโลกน์ คอยสร้างความเข้าใจผิดแก่ผู้อื่นอีกชั่วฟ้าดินสลาย…)

พระสมเด็จวัดระฆัง

พระสมเด็จวัดระฆัง รุ่นแรกแจกทาน ปี 2554

พระสมเด็จวัดระฆัง หลังรูปเหมือนสมเด็จโต รุ่นแรกแจกทาน ปี 2554 เป็ยพระพิมพ์สวยมวลสารดี พิธีเข้มขลัง พระธรรมธีรราชมหามุนี เจ้าอาวาสวัดระฆังโฆษิตารามฯ”เจ้าคุณเที่ยง” ประธานจัดสร้าง อธิษฐานจิตภายในกุฏิ 9 วัน 9 คืน ขอบารมีสมเด็จโตในวิหาร พระสมเด็จที่ประดิษฐานรูปเหมือนสมเด็จพุฒจารย์โต หม่อมเจ้าพระพุทธูปบาทปิลันทน์ และ สมเด็จพระโฆษาจารย์(ม.ร.ว.เจริญ) โดยพระสงฆ์ของวัดระฆังฯ อาทิ พระครูสิริธรรมวิภูษิต(พ่อท่านเจิด)วัดระฆังโฆสิตารามฯ พระครูวิมลธรรมธาดา(หลวงพ่อสวง)วัดระฆังโฆษิตาราม ท่านเจ้าคุณ พนะบวรรังษี วัดระฆังโฆษิตาราม พระครูปลัดธีรวัฒน์ วัดระฆังโฆษิตารามฯ อธิษฐานขอบารมี ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพุฒจารย์โตเป็นที่สุด.

พระสมเด็จวัดระฆัง

พระผงสมเด็จโต ที่ใช้แบบจากพระสมเด็จวัดระฆังที่มีค่ามหาศาล สร้างด้วยมวลสารเก่าที่ประกอบด้วยผงวิเศษทั้ง 5 คือ ผงปถมัง ผงอิทธิเจ ผงตรีนิสิงเห ผงพุทธคุณ และผงมหาราช ผสมน้ำมนต์บ่อสมเด็จโต ด้านหลังเป็นรูปเหมือนองค์สมเด็จพุฒจารย์(โต) และคำว่า”แจกทาน” บารมีสมเด็จโตสร้างพระสมเด็จ เป็นพระเครื่องอันดับหนึ่งมีอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์มากมาย , สมเด็จแจกทานนี้ ขอบารมีสมเด็จโตช่วยดลบันดาลมาเสกให้ ทำพิธีเสกภายในวัดระฆังฯ โดยตั้งสัจจะอธิษฐานว่า “ขอให้สมเด็จแจกทานรุ่นนี้มีพุทธคุณเทียบเท่าพระสมเด็จโตสร้างเองกับมือด้วยเทิญ” สมเด็จรุ่นแจกทานนี้มีตรายางลายเซ็นสมเด็จโต หรือตราระฆังเป็นโค้ดทุกองค์.

ยันต์สังวาลเป๊ก เครื่องรางล้านนา

ตะกรุดสังวาลเพชรป้องกันภัย หรือยันต์สังวาลเป๊ก เครื่องรางล้านนา

ยันต์สังวาลเป๊ก หรือยันต์ 108 , ยันต์สังวาลเป๊ก หรือ ” ตะกรุดสังวาลเพชรป้องกันภัย ” เป็นตะกรุดคล้องคอ มีเอกลักษณ์อย่างล้านนา นิยมทำด้วยโลหะ หากเป็นทองและเงิน จะเน้นที่ความเป็นมหานิยม หรือถ้าจะเน้นด้านคงกระพัน ป้องกัน จะทำด้วยโลหะอื่นอย่าง ทองแดง ทองเหลือง หรือตะกั่ว เชื่อกันว่ายันต์สังวาลเป๊ก จะช่วยคุ้มภัยได้สารพัด ทั้งป้องกัน ทั้งเข้มขลังมหาอุด.

ยันต์สังวาลเป๊ก แบบโบราณ ผู้สร้างต้องลงอักขระ บนแผ่นโลหะให้ได้ 54 คู่ รวมแล้ว 108 ชิ้นร้อยสลับกัน ไม่ให้ผิด ปิดด้วยพ่อยันต์แม่ยันต์ เพื่อรักษาอาคมนั้น ส่วนสุดท้ายคือยันต์จำปาสี่ต้น หรือยันต์เก้ากุ่ม บ้างก็มีเฉพาะยันต์เก้ากุ่ม ซึ่งเน้นที่เมตตา ป้องกัน แคล้วคลาด ส่วนเส้นด้ายที่ใช้ร้อยสังวาลเป๊ก ต้องเป็นฝ้ายที่ปลูก ปั่น และย้อมเองจึงจะดี แต่ถ้าซื้อก็ห้ามต่อรองราคา

ยันต์อีกประเภทหนึ่ง ที่มีคุณลักษณะคล้ายกับยันต์สังวาลเป๊ก คือ ยันต์หัวใจ 108 สำหรับมัดเอว(บ้างก็เรียกตะกรุด 108 หรือ ยันต์ 108) ต่างกันที่ความยาว และขนาด รวมทั้งวิธีร้อยเชือก ในส่วนอักขระที่เหล่าเกจิอาจารย์จารลงแผ่นโลหะ คือหัวใจของพระคาถา อาจมีสูตรเฉพาะของแต่ละอาจารย์ก็ได้ เล่ากันว่า นิยมลงอักขระเฉพาะวันอังคาร อังคารละดอก หนึ่งเดือนทำได้เพียง 4 ดอก และหากจะได้ครบ 108 ดอก ต้องใช้เวลาเนิ่นนานมาก ดังนั้นจึงพบว่ามีเฉพาะลูกศิษย์ลูกหาใกล้ชิดเท่านั้นที่ได้ครอบครอง.

ตะกรุดจำปา 4 ต้น รุ่นสอง ปี 61 พระอาจารย์กอบชัย วัดแม่ยะ

ตะกรุดจำปา 4 ต้น รุ่นสอง ปี 61 พระอาจารย์กอบชัย วัดแม่ยะ

 

มีดหมอ

มีดหมอ “เทพศาสตรา” สยบไพรี

“มีดหมอ” เป็นเครื่องรางของชลังยุคเก่า ที่ตกทอดมาตั้งแต่สมัยอยุธยา สำเร็จขึ้นด้วยไสยเวทชั้นสูงของเกจิอาจารย์ ผู้แก่กล้าวิชาอาคม ถือเป็นเทพแห่งศาสตราวุธทั้งปวง ใช้พกพาติดตัวสำหรับคุ้มครองป้องกัน และสยบทำลายศัตรู ที่ว่าคุ้มครองป้องกันนั้น คือ ใช้ป้องกันคุณไสย ของอาถรรพ์ ที่มีผู้กระทำขึ้นด้วยจิตคิดร้าย ทั้งยาสั่งยาดำ ใช้กำราบขับไล่มนต์ดำภูตผีปีศาจ และยังเป็นอาวุธสยบไสยเวทของศตรู ” แม้แต่คนที่มีวิชาอาคมหนังเหนียว อยู่ยงคงกระพันฟันไม่เข้า หากถูกแทงด้วยมีดหมอ ก็จะต้องเลือดตก ”

ตำราการสร้างมีดหมอ

ตำราการสร้างมีดหมอมีหลายสำนัก ต่างกันทั้งกรรมวิธี วัสดุส่วนประกอบของตัวมีด พิธีกรรมการปลุกเสก ตามตำราสร้างที่ตกทอดสืบกันมา กล่าวกันว่า ใบมีดตีขึ้นจากโลหะอาถรรพ์หลายชนิด ได้แก่ ” ตะปูสังฆวานร ” เป็นตะปูตะกั่วใช้ตอกยึดเครื่องไม้ภายในโบสถ์ เมื่อมีการรื้อโบสถ์เก่า ก็จะเก็บตะปูไว้ เพราะถือว่าผ่านการสวดปฏิโมกข์ ของพระสงฆ์ภายในโบสถ์มาเป็นเวลายาวนาน , ” ตะปูตอกโลงศพ ” เมื่อสัปเหร่อเผาศพพร้อมโลง แล้วจะเก็บตะปูพร้อมกับ ” เหล็กที่ใช้ทิ่มผี “(เหล็กใช้เขี่ยศพในขณะเผา) นำไปให้หลวงพ่อสร้างมีดหมอ.

นอกจากนี้ ส่วนประกอบของมีดหมอยังมี ” บาตรแตก ” ใช้ลงอักขระยันต์ ” เหล็กน้ำพี้ ” เป็นเหล็กชั้นดีสมัยโบราณใช้ทำดาบออกศึก เมื่อรวบรวมไดครบแล้ว หาฤกษ์ยามบวงสรวงก่อน หลอมกับเหล็กชนวนแล้วตีเป็นใบมีด เบ้าหลอมต้องลงอักขระยันต์ต่างๆ ช่างตีมีกต้องถือศีลนุ่งห่มผ้าขาว เมื่อหลอมโลหะตีเป็นแผ่นแล้ว จึงนำไปให้พระอาจารย์ผู้ปลุกเสกจารยันต์ ลงอักขระยันต์บนแผ่นโลหะ แล้วนำกลับไปหลอมใหม่ ตีเป็นแผ่นโลหะแล้วนำกลับไปให้อาจารย์จารแผ่นโลหะอีกครั้ง ทำเช่นนี้หลายครั้ง ตามแต่ตำรา จะเห็นว่า แม้แต่ขั้นตอนการรวบรวมโลหะ และตีใบมีด ยังยุ่งยากซับซ้อนขนาดนั้น การจัดสร้างมีดหมอทั้งด้าม จึงเป็นงานละเอียดลึกซึ้ง ” พระอาจารย์ผู้สร้าง ต้องทรงคุณวิเศษแก่กล้าเอกอุ จึงจะสามารถประสิทธิ์ประสาทมนตราอาคม ให้มีดหมอทรงมหิทธานุภาพ อย่างเลีศล้ำเป็นพิเศษได้ ”

พระหูยาน ลพบุรี เนื้อชินเงิน กรุใหม่

พระหูยาน ลพบุรี พิมพ์ใหญ่ กรุใหม่ เนื้อชินเงิน

พระหูยาน ลพบุรี มีการขุดค้นพบที่กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จ.ลพบุรี เป็นหลัก จึงนิยมเรียกกันติดปากว่า ” พระหูยาน ลพบุรี ” นอกจากนี้ยังมีปรากฏที่กรุอื่นๆอีก เช่น กรุวัดอินทาราม กรุวัดปืน กรุวัดราษฎร์บูรณะ อยุธยา , พระหูยาน วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จ.สุพรรณบุรี , พระหูยาน กรุวัดค้างคาว จ.เพชรบุรี และพระหูยานเมือสรรค์ เป็นต้น.

พระหูยาน ลพบุรี มีทั้งหมด 3 พิมพ์คือ พระหูยานพิมพ์ใหญ่ ขนาดสูงประมาณ 5.5 cm. พิมพ์กลาง และพิมพ์เล็ก ซึ่งจะมีขนาดลดหลั่นกันลงมา นอกจากนี้วงการพระเครื่อง ยังมีการกำหนดลักษณะ หรือ ศิลปะของพระหูยาน ลพบุรี แยกเป็นสองแบบคือ พระหูยานหน้ายักษ์ และพระหูยานหน้ามงคล สำหรับด้านหลังพิมพ์ของ พระหูยานลพบุรี จะมีเอกลักษณ์เหมือนกันหมดทุกพิมพ์ คือ เป็นลายผ้ากระสอบความถี่ หยาบเหมือนกันทุกองค์.

พระหูยาน ลพบุรี เนื้อชินเงิน กรุใหม่พระหูยาน ลพบุรี เนื้อชินเงิน กรุใหม่

พระหูยาน .ลพบุรี แตกกรุครั้งแรกเมื่อประมาณปี ..2450 เราเรียกว่าพระกรุเก่าผิวจะปลอดจากคราบผิวปรอทขาวโพลน จนกระทั่งปี ..2508 ก็แตกกรุออกมาอีกเป็นจำนวนมากที่บริเวณพระเจดีย์องค์เล็กหน้าพระปรางค์ จึงให้ชื่อว่าพระกรุใหม่ส่วนมากจะมีพรายปรอทขาวชีด ทั้งอยู่ในสภาพสมบูรณ์งดงามมาก พระกรุใหม่บางส่วนถูกฝังรวมไว้กับ พระพุทธรูปบูชาซึ่งเมื่อเวลาเกิดคราบสนิม จะเป็นสีเขียวคราบเขียวของพระพุทธรูปบูชานี้ได้ลุกลามไปติดเป็นคราบสนิมของพระหูยานกรุใหม่ด้วย จึงกลายเป็นตำหนิสำคัญที่นักเลงพระเครื่องเนื้อชินเขาใช้ประกอบในการพินิจ พิจารณาพระหูยานกรุใหม่พระหูยาน ลพบุรีทั้งกรุเก่า กรุใหม่ พุทธคุณเด่นทั้งด้านคงกระพันชาตรี และเมตตามหานิยม

อมตะพระเครื่องเมืองสยามเด่น ดัง ขลัง นิยม

พระหูยาน ลพบุรี เนื้อชินเงิน กรุใหม่

พระหูยาน ลพบุรี เนื้อชินเงิน กรุใหม่

ปั้นเหน่ง ราหูอมจันทร์

วัตถุมงคลเครื่องรางของขลัง อาจารย์เฮง ไพรยวัล

อาจารย์เฮง ท่านเป็นเลีศในหลายๆด้าน ทั้งไสย ทั้งศิลป์ และท่านยังเป็นที่ซี้ปึกกับ ครูเหม เวชกร , ครั้งหนึ่งครูเหมออกปากว่า…”หน้าพรหม ไม่มีใครเขียนให้เห็นได้ทั้งสี่หน้า ที่อาจารย์เฮง คนเดียว ที่เขียนได้ ” ท่านสร้างวัตถุมงคล และเครื่องรางของขลัง.

อาารย์เฮง ไพรยวัล

วัตถุมงคล อาจารย์เฮงไพรยวัล

เครื่องรางของขลัง อาจารย์เฮง สร้างไว้มีหลายอย่างคือ พระพรหมจะทำด้วยงากำจัด งากำจาย โลหะเงิน ทอง นาค ตะกรุดมหาจักรพรรดิ แหวนโลหะ ปลัดขิก ผ้ายันต์ ภาพวาสรูปเทพ ลงอักขระคชสีห์ สิงห์ เสือ เนื่องจากอาจารย์เฮง เป็นผู้อัจฉริยะในด้านการช่างอย่างน่าอัศจรรย์ ดังจะเห็นได้ว่า เครื่องรางของขลังแต่ละชิ้นนั้น ศิลป์วิจิตรงดงาม หากสังเกตรอยจารลายมือสวยมาก การเขียนภาพต่างๆ มีมิติลึกซึ้ง การแกะสลักได้สัดส่วน ยากที่จะมีอาจารย์ใดเสมอเหมือน ด้านพุทธคุณเป็นที่เลื่องลือว่าสุดยอดของคงกระพัน แคล้วคลาดปลอดภัย กันภูตผีปีศาจ เพิ่มพูนในเรื่องของเมตตามหานิยม เช่น เหรียญพรหมสี่หน้า อาจารย์เฮง มีหลายรูปแบบทั้ง หน้าโล่ห์ ทรงกลม ข้าวหลามตัด และเครื่องรางของขลังอีกหลายรูปแบบ…เป็นที่นิยมมานาน ของแท้นั้นหาดูไม่ง่ายนัก…

อาจารย์เฮง ไพรวัล

สมเด็จชนะมารบันดาลทรัพย์ รุ่น มหาเศรษฐีมีสุข หลวงพ่อทองคำ วัดถ้ำตะเพียนทอง ปี 52

สมเด็จชนะมารบันดาลทรัพย์ พิมพ์โพธิ์ 9 ใบ หลังพระแม่โพสพ

รุ่น มหาเศรษฐีมีสุข หลวงพ่อทองคำ วัดถ้ำตะเพียนทอง ปี 52

สมเด็จชนะมารบันดาลทรัพย์ รุ่น มหาเศรษฐีมีสุข หลวงพ่อทองคำ วัดถ้ำตะเพียนทอง ปี 52

สมเด็จชนะมารบันดาลทรัพย์ เทพแห่งโชคลาภ ความอุดมสมบูรณ์ ความสำเร็จ มั่งมีศรีสุข พิมพ์โพธิ์ 9 ใบ หลังพระแม่โพสพ รุ่น มหาเศรษฐีมีสุข ฝังตะกรุดสามกษัตริย์ พลอยเสก เส้นเกศาหลวงปู่.

องค์นี้เป็น องค์ครู จากชุดกรรมการ ตอกโค๊ตใต้ฐาน สร้างเพียง 276 ชุดเท่านั้น ฉลองครบรอบ 76 ปี หลวงพ่อทองคำ อินฺทวํโส วัดถ้ำตะเพียนทอง จ.ลพบุรี.

สมเด็จชนะมารบันดาลทรัพย์ รุ่น มหาเศรษฐีมีสุข หลวงพ่อทองคำ วัดถ้ำตะเพียนทอง ปี 52

พิธีพุทธาภิเษก

พิธีพุทธาภิเษก ณ อุโบสถวัดถ้ำตะเพียนทอง เมื่อ 16 สิงหาคม 2552. ร่วมอธิษฐานจิตปลุกเสกโดย หลวงพ่อพูน วัดบ้านแพน อยุธยา , หลวงพ่อแม้น วัดหน้าต่างนอก อยุธยา , หลวงพ่อเอื้อน วัดวังแดง อยุธยา , หลวงพ่อเสน่ห์จันทร์ วัดจันทรังษี ขอนแก่น และพระพิธีธรรมสวดพุทธาภิเษก 4 รูปจากวัดระฆังฯ.

ขนาดองค์พระ 3.5 x 5.5 Cm.

สมเด็จชนะมารบันดาลทรัพย์ รุ่น มหาเศรษฐีมีสุข หลวงพ่อทองคำ วัดถ้ำตะเพียนทอง ปี 52

สมเด็จชนะมารบันดาลทรัพย์

สมเด็จชนะมารบันดาลทรัพย์

องค์นี้มีความพิเศษ มีทั้งข้าวสารก้นบาตร และเกศาหลวงปู่ด้วย

สมเด็จชนะมารบันดาลทรัพย์

สมเด็จชนะมารบันดาลทรัพย์

 หลวงพ่อทองคำ วัดถ้ำตะเพียนทอง

หลวงพ่อทองคำ วัดถ้ำตะเพียนทอง

พระสมเด็จ พิมพ์ปรกโพธิ์ เนื้อแก่ปูน

พระสมเด็จบางขุนพรหม กรุเก่า

พระสมเด็จบางขุนพรหมเป็นพระในสกุล “พระสมเด็จวัดระฆัง” ที่สร้างโดย เสมียนตาเจิม และปลุกเสกโดยสมเด็จพุฒจารย์(โต) พรหมรังสี เป็นที่พึงปรารถนาแก่ประชาชนที่เคารพกราบไหว้พระเดชพระคุณอันประเสริฐของท่าน นับวันวัตถุมงคลนี้กำลังจะหายากยิ่ง และราคาก็สูงขึ้นเช่นเดียวกัน  เราเองเป็นผู้หนึ่งที่เคารพบูชาท่าน และได้มีโอกาศครอบครองพระในสกุลพระสมเด็จวัดระฆัง และพระสมเด็จบางขุนพรหมหลายรุ่น จึงได้พยายามศึกษาค้นคว้าประวัติของสมเด็จพุฒจารย์(โต) พรหมรังสี และการสร้างพระสมเด็จ เทียบเคียงกันทั้งทางด้านประวัติศาสตร์ ความเป็นมากับหลักการทางวิทยาศาสตร์ และร่วมศึกษาหาความรู้ด้วยกันกับท่านทั้งหลาย เพื่อเผยแพร่เป็นวิทยาทาน.

พระสมเด็จบางขุนพรหม เป็นพระในสกุล พระสมเด็จวัดระฆัง

พระสมเด็จบางขุนพรหม เป็นพระในสกุล พระสมเด็จวัดระฆัง

การสร้างพระสมเด็จของ สมเด็จพุฒจารย์(โต) พรหมรังสี 

ปี พ.ศ. 2410 สมเด็จพุฒจารย์(โต) พรหมรังสี ท่านได้เริ่มสร้างพระพุทธรูปก่ออิฐถือปูนปางโปรดสัตว์ (ยืนอุ้มบาตร) โดยใช้ซุงทั้งต้นเป็นฐานราก และดูแลการก่อสร้างด้วยตัวท่านเองที่วัดอินทรวิหาร ซึ่งเป็นวัดที่ท่านได้จำพรรษาอยู่เมื่อครั้งยังเป็นสามเณร  ในระหว่างการก่อสร้างเสมียนตราด้วง ต้นสกุล ธนโกเศรฐ และเครือญาติได้ปวารณาตนเองเป็นโยมอุปัฏฐากของสมเด็จพุฒจารย์(โต) พรหมรังสี.

ถึงปี พ.ศ. 2411″ เสมียนตราด้วง” ต้นสกุล “ธนโกเศศ” ได้ทำการบูรณะพระอารามวัดใหม่อมตรส และปฏิสังขรณ์พระเจดีย์ไว้เพื่อเป็นมหากุศล และเป็นพระเจดีย์ประจำตระกูล  ตามประเพณีนิยมในสมัยนั้น โดยได้สร้างพระพระเจดีย์ขึ้นสององค์ องค์ใหญ่เพื่อบรรจุพระพิมพ์ต่างๆ ตามโบราณคติในอันที่จะสืบทอดพระพุทธศาสนา และสร้างเจดีย์องค์เล็กเพื่อบรรจุอัฐิธาตุบรรพระบุรุษ โดยเริ่มสร้างตั้งแต่ปี พ.ศ. 2411  จนกระทั่งถึงปี พ.ศ. 2413 จึงแล้วเสร็จ จากนั้นจึงได้กราบนมัสการขอความเห็นจากสมเด็จพุฒจารย์(โต) พรหมรังสี ในการสร้างพระสมเด็จ เพื่อสืบทอดทางพุทธศาสนา และเป็นการสร้างมหาบุญแห่งวงศ์ตระกูล  สมเด็จพุฒจารย์(โต) พรหมรังสี ท่านได้ให้อนุญาติ และมอบผงวิเศษที่ใช้ในการสร้างพระสมเด็จวัดระฆังของท่านให้ส่วนหนึ่ง (จากบทความของนายกนก สัชฌุกร ที่ได้สัมภาษณ์ท่านเจ้าคุณธรรมถาวร ตอนมีชีวิตยุคสมเด็จพุฒจารย์(โต) พรหมรังสี  ได้ความว่า ได้ผงวิเศษประมาณครึ่งบาตรพระ และทุกครั้งที่ตำในครก ท่านเจ้าประคุณสมเด็จจะโรยผงวิเศษของท่านมากบ้างน้อยบ้าง ตามอัธยาศัย จนกระทั่งแล้วเสร็จ) เมื่อได้ผงวิเศษแล้ว เสมียนตราเจิม และทีมงานก็ได้จัดหามวลสารต่างๆ ตรงตามตำราการสร้างพระสมเด็จของ สมเด็จพุฒจารย์(โต) พรหมรังสี ทุกประการ.

พระสมเด็จบางขุนพรหม เป็นพระในสกุล พระสมเด็จวัดระฆัง

พระสมเด็จบางขุนพรหม เป็นพระในสกุล พระสมเด็จวัดระฆัง

การแกะแม่พิมพ์พระสมเด็จของสมเด็จพุฒจารย์(โต) พรหมรังสี 

ในเรื่องของการสร้างพิมพ์ขึ้นมาใหม่นั้น มีการจัดสร้าง และแกะแม่พิมพ์แม่แบบขึ้นมาใหม่ทั้งหมดจำนวน 9 พิมพ์ เป็นพิมพ์ชิ้นเดียวตัดขอบและปาดหลัง โดยฝีมือของช่างสิบหมู่แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ แต่น่าจะเป็นคนละทีมกับช่างที่แกะแม่พิมพ์พระสมเด็จวัดระฆัง แต่เนื่องด้วยเป็นฝีมือช่างในยุคเดียวกัน มีศิลปะในสกุลช่างเดียวกัน และต้นแบบที่สำคัญคือพิมพ์พระสมเด็จวัดระฆัง ดังนั้นพระสมเด็จบางขุนพรหม จึงมีความสวยงามใกล้เคียงกันกับพระสมเด็จวัดระฆังเป็นอย่างยิ่ง.

พระสมเด็จบางขุนพรหม เป็นพระในสกุล พระสมเด็จวัดระฆัง

พระสมเด็จบางขุนพรหม เป็นพระในสกุล พระสมเด็จวัดระฆัง

พิมพ์พระสมเด็จบางขุนพรหมทั้ง9พิมพ์

1 . พิมพ์ใหญ่

2 . พิมพ์ทรงเจดีย์

3 . พิมพ์เกศบัวตูม

4 . พิมพ์เส้นด้าย

5 . พิมพ์ฐานแซม

6 . พิมพ์สังฆาฏิ

7 . พิมพ์ปรกโพธิ์

8 . พิมพ์ฐานคู่

9 . พิมพ์อกครุฑ

จำนวนที่จัดสร้าง สันนิษฐานกันว่า 84,000 องค์ เท่ากับพระธรรมขันธ์ พระสมเด็จที่สร้างเสร็จจะมีเนื้อขาวค่อนข้างแก่ปูน.

การปลุกเสกโดยสมเด็จพุฒจารย์(โต) พรหมรังสี ได้เจริญพระพุทธมนต์ และปลุกเสกเดี่ยว จนกระทั่งบริบูรณ์ด้วยพระสูตรคาถา.

เมื่อผ่านพิธีปลุกเสกเป็นที่สุดแล้ว ได้มีการเรียกชื่อพระสมเด็จนี้ว่า “พระสมเด็จบางขุนพรหม” ตามตำบลของของที่ตั้งพระเจดีย์ และได้ถูกนำเข้าบรรจุกรุในพระเจดีย์ใหญ่ และพระเจดีย์เล็กทั้งสิ้น ไม่มีการแจกจ่ายแก่ผู้ใดผู้หนึ่ง รวมทั้งมีข้อสันนิษฐานว่า ได้นำพระสมเด็จวัดระฆังลงบรรจุกรุด้วย ดังที่หลายๆท่านนิยมเรียกกันว่า “กรุสองคลอง”

พระสมเด็จบางขุนพรหม เป็นพระในสกุล พระสมเด็จวัดระฆัง

พระสมเด็จบางขุนพรหม เป็นพระในสกุล พระสมเด็จวัดระฆัง

การลักลอบเปิดกรุพระสมเด็จ และการตกพระ

หลังจากที่ได้บรรจุพระสมเด็จไว้ในพระเจดีย์ทั้งสองแล้ว ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2413 จนกระทั่งเกิดวิกฤตกับประเทศในกรณีพิพาทกับประเทศฝรั่งเศษ ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 และนกรณีพิพาทอินโดจีน ได้มีการลักลอบเปิดกรุถึงสามครั้ง คือครั้งที่1 พ.ศ. 2425 , ครั้งที่2 พ.ศ. 2436 และครั้งที่3 พ.ศ. 2459

ในการลักลอบเปิดกรุทั้งสามครั้งนั้น ผู้ลักลอบได้ใช้วิธีต่างๆเช่น การตกเบ็ด โดยใช้ดินเหนียวปั้นเป็นก้อนกลมๆ ติดกับปลายเชือก หย่อนเข้าไปทางรูระบายอากาศ ติดพระแล้วดึงขึ้นมา การใช้น้ำกรอกเข้าไปทางรูระบายอากาศ เพื่อให้น้ำไปละลายการเกาะยึดขององค์พระเป็นต้น ซึ่งการลักลอบเปิดกรุทั้งสามครั้งนั้น  พระสมเด็จที่อยู่บนส่วนบนจึงสวย มีความสมบูรณ์  นักนิยมพระสมเด็จเรียกกันว่า “พระสมเด็จบางขุนพรหม กรุเก่า” ซึ่งลักษณะของวรรณะจะปรากฏคราบเพียงเล็กน้อย หรือบางๆเท่านั้น พิมพ์คมชัดสวยงาม เนื้อหนึกนุ่มละเอียด มีน้ำหนัก และแก่ปูนพระสมเด็จบางขุนพรหม.

พระสมเด็จบางขุนพรหม เป็นพระในสกุล พระสมเด็จวัดระฆัง

พระสมเด็จบางขุนพรหม เป็นพระในสกุล พระสมเด็จวัดระฆัง

ารเปิดกรุพระสมเด็จอย่างเป็นทางการ

ท้ายที่สุดคือการลักลอบขุดกรุที่ฐานในปี พ.ศ. 2500 วิธีนี้ได้พระไปเป็นจำนวนมาก(เป็นที่มาของพระสมเด็จบางขุนพรหมกรุธนา เรื่องเล่าจากประสบการณ์ตรง ของพระภิกษุวงศ์ สุธรรมโม หรือพระอาจารย์จิ้ม กันภัย ได้ใจความว่า ในตอนกลางคืนฝนตกไม่หนักมากนัก นักเลงพระทางภาคเหนือ ได้ร่วมกันลักลอบเจาะที่บริเวณใกล้ฐานของพระเจดีย์พอตัวมุดเข้าไปได้  และได้นำพระออกไปได้เป็นจำนวนมาก จนหิ้วพระไม่ไหว ประกอบกับกลัวเจ้าหน้าที่จะพบเห็น จึงทิ้งไว้ข้างวัดก็หลายถุง มีบุคคลผู้หนึ่งชื่อธนา บ้านอยู่ละแวกวัด ได้เก็บพระชุดนี้ไว้เป็นจำนวนมาก  จะเก็บได้จากผู้ที่ลักลอบทิ้งไว้ หรือซื้อมาก็มิอาจทราบได้  แต่ภายหลังได้ขายให้กับ คุณแถกิงเดช คล่องบัญชี ซึ่งเป็นศิษย์ของท่านเอง และต่อมาได้เขียนหนังสือร่วมกับนายสุคนธ์ เพียรพัฒน์ เรื่อง”สี่สมเด็จ ” ซึ่งพระสมเด็จบางขุนพรหมที่ซื้อมามีทั้งที่สวยงาม มีคราบกรุน้อย และคราบกรุหนาจับกันเป็นก้อนก็มี) จนกระทั่งทางวัดใหม่อมตรส ได้ติดต่อกรมศิลปากรเข้ามาดูแล และเปิดกรุอย่างเป็นทางการโดยเชิญ พลเอกประภาส จารุเสถียร เป็นประธานในพิธีเปิดกรุเมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2500 พระที่นำออกมาครั้งนั้น นักนิยมพระสมเด็จเรียกกันว่า “พระสมเด็จบางขุนพรหม กรุใหม่”

เมื่อนำออกมาคัดแยก คงเหลือพระที่มีสภาพดี สวยงาม เพียง 3000 องค์เศษเท่านั้น ที่เหลือจับกันเป็นก้อน หักชำรุดแทบทั้งสิ้น ลักษณะของวรรณะส่วนใหญ่จะมีคราบกรุค่อนข้างหนา และจับเป็นก้อน ที่สภาพดีจะพบว่าผิวของพระเป็นเกร็ดๆทั่วทั้งองค์ หรือที่เรียกว่าเหนอะ มีคราบไขขาว ฟองเต้าหู้ คราบขี้มอด จะตั้งชื่อหรือเรียกว่าอย่างไรก็แล้วแต่ ล้วนเกิดขึ้นจากปฏิกิริยาระหว่างน้ำกับปูน และเนื้อมวลสารที่เป็นองค์ประกรอบของพระสมเด็จทั้งสิ้น ทั้งสภาพเปียกชึ้น ร้อน เย็น และถูกแช่อยู่ในน้ำเป็นเวลานานกับดินโคลนเป็นต้น  แต่แปลกตรงที่ว่า “พระสมเด็จบางขุนพรหม” เมื่อถูกใช้ซักระยะเนื้อจะเริ่มหนึกนุ่ม ใกล้เคียงกับ”พระสมเด็จวัดระฆัง” เป็นอย่างยิ่ง.

พระสมเด็จบางขุนพรหม เป็นพระในสกุล พระสมเด็จวัดระฆัง

พระสมเด็จบางขุนพรหม เป็นพระในสกุล พระสมเด็จวัดระฆัง

พิมพ์นิยม กับ พระสมเด็จบางขุนพรหม

ในเรื่องของทรงพิมพ์ที่เรียกกันว่า พิมพ์นิยม 9 พิมพ์นั้น พิมพ์ที่พบน้อยที่สุดคือ พิมพ์ปรกโพธิ์ กล่าวกันว่ามีไม่ถึง 20 องค์ และที่สำคัญยังพบพิมพ์ไสยาสน์อีกหลายแบบ มีประมาณไม่เกิน 22 องค์ ซึ่งในปัจจุบันหาดูได้ยาก  ในส่วนของกรุพระเจดีย์เล็ก นักเลงพระในยุคนั้น ไม่ค่อยให้ความสนใจ แต่ปรากฏว่าหลังจากเปิดกรุก็ได้พบพระสมเด็จอยู่มากมาย นับได้เป็นพันองค์ ทรงพิมพ์ที่พบได้แก่ พิมพ์ฐานคู่ พิมพ์ฐานหมอน พิมพ์สามเหลี่ยม(หน้าหมอน) พิมพ์จันทร์ลอย ลักษณะของวรรณะคราบกรุจะไม่มาก จะมีความสวยงามกว่ากรุพระเจดีย์ใหญ่ ซึ่งในปัจจุบันหาดูได้ยาก เช่นกัน.

พระสมเด็จ พิมพ์ปรกโพธิ์ เนื้อแก่ปูน

พระสมเด็จบางขุนพรหม เป็นพระในสกุล พระสมเด็จวัดระฆัง

พระสมเด็จบางขุนพรหม กับ ตราประทับ

หลังจากการเปิดกรุอย่างเป็นทางการ ทางวัดได้ประทับตราที่ด้านหลังขององค์พระ เพื่อป้องกันการปลอม เรีกกันว่า “ตราน้ำหนัก” และจำหน่ายในราคามากพอสมควร แต่ก็หมดลงในเวลาไม่นานนัก ในช่วงเวลาดังกล่าว พระที่ถูกขโมยออกจากกรุไป กลับมาจำนวนมาก โดยที่ประมาณในกรุมีทั้งหมด 84,000องค์ เปิดกรุได้ 3000 เศษ (แต่ให้บูชาได้  2750 องค์ พระหาย) ชำรุดประมาณไม่เกิน 1000 องค์ เท่ากับว่า พระหายออกจากกรุประมาณ 70,000 องค์ และกลับมาในเวลาดังกล่าวส่วนหนึ่ง โดยให้คนเข้าไปในวัดแล้วเช่าพระออกมาดูตราน้ำหนักของวัด แล้วปลอมขึ้น จะได้ขายได้ แล้วก็ขายกันข้างวัดเลย  แต่ก็ดูไม่ยาก คือ พระที่ขโมยออกไปมีสภาพสวย คราบกรุน้อย ปั๊มตราจะเห็นชัด ครบทั้งหมด.

ส่วนพระที่เปิดกรุ ปี 2500 หลังจะไม่สวย คราบกรุเยอะ  ตรายางจะไม่ชัด การสังเกตตรายาง ตรายางสมัยก่อนจะเนื้อแข็ง ปั๊มได้บนพื้นที่ราบเรียบ ดังนั้นบนคราบกรุ หรอรูบ่อน้ำตรา และขี้กรุที่สูงๆต่ำๆ จะไม่ติดชัด(ใช้ไม้บรรทัดวางแนวหาองศาดูได้ ว่าตรายางอยู่บนแนว 180 องศาหรือเปล่า) ถ้าเป็นตรายางสมัยใหม่จะเป็นยางซิลิโคลน จะมีความนุ่ม และจะปั๊มชัดมาก แม้กระทั่งในรูเล็กๆ สีของตรายางเองก็ต้องเปลี่ยนไป เป็นสีน้ำเงินม่วง หรือม่วงอมแดง ต้องไม่ใช่สีน้ำเงิน และไม่ใช่สีฟ้า เพราะผ่านมา 60 กว่าปีแล้ว(ปัจจุบัน พ.ศ.2565) , ส่วนองค์พระนั้น ตอนที่บรรจุกรุอยู่ในหลุมถูกวางเรียงหงายหน้าขึ้น และซ้อนกันหลายชั้น พระจึงมีแรงกดจำนวนมาก และมีความชื้นตั้งแต่แรก ทำให้พระบางองค์ติดกัน และบิดงอไปทางด้านหลังส่วนใหญ่ และทำให้เกิดเนื้อเกินหลังองค์พระ ที่มีอายุเท่ากับองค์พระนั้นเอง(ตอนเปิดกรุพบบางขุนพรหมชำรุดด้านหน้าเป็นจำนวนมาก) และพระอยู่ในกรุ 87 ปี ด้านหลังจะไม่เห็นรอยปาดแล้ว มีแต่คราบเหนอะ คราบกรุเท่านั้น.

จากตรงนี้ผู้เขียนในทรรศนะคติผู้ใดที่ครอบครอง”พระกรุบางขุนพรหม” และพระอยู่ในสภาพสวยมากๆ ต้องพิจารณาให้ดี.

พระสมเด็จบางขุนพรหม เป็นพระในสกุล พระสมเด็จวัดระฆัง

พระแก้วมรกต ลงรักปิดทอง หลวงพ่อเริ่ม วัดจุกกะเฌอ ชลบุรี พิมพ์เล็ก

พระแก้วมรกต ลงรักปิดทอง หลังยันต์ หลวงพ่อเริ่ม วัดจุกกะเฌอ ชลบุรี

พระแก้วมรกต ลงรักปิดทอง พิมพ์เล็ก และพิมพ์ใหญ่ ลงรักปิดทอง หลังยันต์ดวงประสูติพระพุทธเจ้า หลวงพ่อเริ่ม วัดจุกกะเฌอ จ.ชลบุรี มีพิธีใหญ่ เริ่มหายากแล้ว สององค์นี้ผ่านการใช้ สภาพสวยสมบูรณ์.

พระแก้วมรกต ลงรักปิดทอง หลวงพ่อเริ่ม วัดจุกกะเฌอ ชลบุรี พิมพ์ใหญ่

“หลวงปู่เริ่ม ปรโม” แห่งวัดจุกกะเฌอ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี  ท่านก็เป็นหนึ่งไม่เป็นสองรองใคร แม้สนนราคาค่านิยมในวัตถุมงคลของท่าน จะไม่สูงเทียบเท่าหลวงปู่ทิม วัดละหารไร่ก็ตาม แต่ประสบการณ์อภินิหารในวัตถุมงคลของท่าน ทุกรุ่นทุกแบบ ปรากฎเด่นชัดขึ้นทุกวัน ทำให้ของๆท่านนั้นหายากขึ้นทุกที ใครมีต่างก็หวงแหน ไม่ออกตัวกันง่ายๆ.

พระแก้วมรกต ลงรักปิดทอง หลวงพ่อเริ่ม วัดจุกกะเฌอ ชลบุรี พิมพ์ใหญ่

วัตถุมงคลชุดนี้จัดสร้างราวๆปี พ.ศ.2513 พิธีใหญ่ไม่ธรรมดา ตั้งแต่ช่างที่ออกแบบ แกะแม่พิมพ์ได้สวบงดงามมาก คนแกะแม่พิมพ์คือ ช่างเกษม ที่แกะพระแก้วมรกตชุดไตรภาคีของท่านเจ้าคุณนรฯนั่นเอง.

พิธีปลุกเสก

พิธีปลุกเสก มี หลวงปู่เริ่ม วัดจุกกะเฌอ เป็นประธานเจ้าพิธีจุดเทียนชัย

หลวงปู่บู๊ (พระครูวรกัณฑราจารย์) วัดบางพระวรวิหาร

หลวงพ่อฉิ่ง วัดบางพระวรวิหาร

หลวงพ่อทองเริ่ม วัดบางพระวรวิหาร

และเกจิที่มีชื่อเสียงอีกหลายท่าน ร่วมพิธีปลุกเสกในครั้งนั้น (มีข้อมูลหลายที่ ว่า ท่านเจ้าคุณนรฯ ร่วมอธิษฐานจิตปลุกเสกด้วย)

พระแก้วมรกต ลงรักปิดทอง หลวงพ่อเริ่ม วัดจุกกะเฌอ ชลบุรี พิมพ์ใหญ่

พระแก้วมรกต ลงรักปิดทอง หลวงพ่อเริ่ม วัดจุกกะเฌอ ชลบุรี พิมพ์เล็ก

พระแก้วมรกต ลงรักปิดทอง หลวงพ่อเริ่ม วัดจุกกะเฌอ ชลบุรี พิมพ์เล็ก

พระแก้วมรกต ลงรักปิดทอง หลวงพ่อเริ่ม วัดจุกกะเฌอ ชลบุรี พิมพ์เล็ก

หลวงพ่อเริ่ม วัดจุกกะเฌอ ชลบุรี

สนใจสอบถาม LINE ID : 0613608638