พระนางพญา

เบญจภาคี พระเครื่องคู่บารมีของคนไทย

นับตั้งแต่ ตรียัมปวาย ได้ขนานนามสุดยอดพระเครื่องแห่งสยามประเทศที่มีมาแต่โบราณกาล จนถึงปัจจุบัน โดยจัดเข้าชุดกันในชื่อ เบญจภาคี ซึ่งประกอบด้วย พระสมเด็จของเจ้าประคุณสมเด็จพุฒาจารย์(โต พรหมรังสี) , พระนางพญา วัดนางพญา จังหวัดพิษณุโลก , พระรอด วัดมหาวัน จังหวัดลำพูน , พระกำแพงซุ้มกอ จังหวัดกำแพงเพชร  และพระผงสุพรรณ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดสุพรรณบุรี พัฒนาการแห่งการศึกษาความรู้เกี่ยวกับพระเครื่อง เริ่มเป็นรูปแบบและมีมาตรฐานมากขึ้น มีการแยกแม่พิมพ์และแบ่งประเภท พระชุดเบญจภาคีอย่างเป็นระบบ สามารถพิสูจน์ และอรรถาธิบายได้ด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ประวัติศาสตร์ อันเป็นหลักแห่งเหตุและผล ส่งผลให้มีผู้ให้ความสนใจศึกษาค้นคว้า ในแวดวงที่กว้างขวาง เป็นที่ยอมรับในระดับประเทศ

นอกจากนี้ พระเครื่อง ยังผูกพันกับคติความเชื่อที่หยั่งรากลึกในมโนคติของสังคมไทยมาช้านาน ลักษณะการแห่งพิมพ์พระที่จำลองมาจากองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า หากเพียงแตกต่างทางด้านศิลปะสกุลช่างตามยุคสมัยที่ปรากฏ ทำให้ เบญจภาคี ทวีความสำคัญมากขึ้นในฐานะรูปแบบแห่งความศักดิ์สิทธิ์ ประกอบไปด้วยพุทธานุภาพ อันเป็นพื้นฐานของความเชื่อทางศาสนา ซึ่งแสดงให้เห็นเอกลักษณ์สำคัญของสังคมไทยเรานั่นเอง….

ปล.

พระราชพิธีตรียัมพวาย ตรีปวาย เป็นพิธีกรรมในศาสนาพราหมณ์ฮินดู เป็นการรับเสด็จพระอิศวรที่จะเสด็จมาเยี่ยมโลกมนุษย์ เป็นเวลา 10 วัน ปัจจุบันประกอบการพระราชพิธีในเทวสถานสำหรับพระนคร 2 หลัง ได้แก่ สถานพระอิศวร สถานพระมหาวิฆเนศวร โดยมีกำหนดพิธี เริ่มตั้งแต่คณะพราหมณ์ผู้ประกอบ วิกิพีเดีย

พระนางพญา

พระหูยาน ลพบุรี เนื้อชินเงิน กรุใหม่

พระหูยาน ลพบุรี พิมพ์ใหญ่ กรุใหม่ เนื้อชินเงิน

พระหูยาน ลพบุรี มีการขุดค้นพบที่กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จ.ลพบุรี เป็นหลัก จึงนิยมเรียกกันติดปากว่า ” พระหูยาน ลพบุรี ” นอกจากนี้ยังมีปรากฏที่กรุอื่นๆอีก เช่น กรุวัดอินทาราม กรุวัดปืน กรุวัดราษฎร์บูรณะ อยุธยา , พระหูยาน วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จ.สุพรรณบุรี , พระหูยาน กรุวัดค้างคาว จ.เพชรบุรี และพระหูยานเมือสรรค์ เป็นต้น.

พระหูยาน ลพบุรี มีทั้งหมด 3 พิมพ์คือ พระหูยานพิมพ์ใหญ่ ขนาดสูงประมาณ 5.5 cm. พิมพ์กลาง และพิมพ์เล็ก ซึ่งจะมีขนาดลดหลั่นกันลงมา นอกจากนี้วงการพระเครื่อง ยังมีการกำหนดลักษณะ หรือ ศิลปะของพระหูยาน ลพบุรี แยกเป็นสองแบบคือ พระหูยานหน้ายักษ์ และพระหูยานหน้ามงคล สำหรับด้านหลังพิมพ์ของ พระหูยานลพบุรี จะมีเอกลักษณ์เหมือนกันหมดทุกพิมพ์ คือ เป็นลายผ้ากระสอบความถี่ หยาบเหมือนกันทุกองค์.

พระหูยาน ลพบุรี เนื้อชินเงิน กรุใหม่พระหูยาน ลพบุรี เนื้อชินเงิน กรุใหม่พระหูยาน ลพบุรี เนื้อชินเงิน กรุใหม่

พระหูยาน ลพบุรี เนื้อชินเงิน กรุใหม่

พระสมเด็จ พิมพ์ปรกโพธิ์ เนื้อแก่ปูน

พระสมเด็จบางขุนพรหม กรุเก่า

พระสมเด็จบางขุนพรหมเป็นพระในสกุล “พระสมเด็จวัดระฆัง” ที่สร้างโดย เสมียนตาเจิม และปลุกเสกโดยสมเด็จพุฒจารย์(โต) พรหมรังสี เป็นที่พึงปรารถนาแก่ประชาชนที่เคารพกราบไหว้พระเดชพระคุณอันประเสริฐของท่าน นับวันวัตถุมงคลนี้กำลังจะหายากยิ่ง และราคาก็สูงขึ้นเช่นเดียวกัน  เราเองเป็นผู้หนึ่งที่เคารพบูชาท่าน และได้มีโอกาศครอบครองพระในสกุลพระสมเด็จวัดระฆัง และพระสมเด็จบางขุนพรหมหลายรุ่น จึงได้พยายามศึกษาค้นคว้าประวัติของสมเด็จพุฒจารย์(โต) พรหมรังสี และการสร้างพระสมเด็จ เทียบเคียงกันทั้งทางด้านประวัติศาสตร์ ความเป็นมากับหลักการทางวิทยาศาสตร์ และร่วมศึกษาหาความรู้ด้วยกันกับท่านทั้งหลาย เพื่อเผยแพร่เป็นวิทยาทาน.

พระสมเด็จบางขุนพรหม เป็นพระในสกุล พระสมเด็จวัดระฆัง

พระสมเด็จบางขุนพรหม เป็นพระในสกุล พระสมเด็จวัดระฆัง

การสร้างพระสมเด็จของ สมเด็จพุฒจารย์(โต) พรหมรังสี 

ปี พ.ศ. 2410 สมเด็จพุฒจารย์(โต) พรหมรังสี ท่านได้เริ่มสร้างพระพุทธรูปก่ออิฐถือปูนปางโปรดสัตว์ (ยืนอุ้มบาตร) โดยใช้ซุงทั้งต้นเป็นฐานราก และดูแลการก่อสร้างด้วยตัวท่านเองที่วัดอินทรวิหาร ซึ่งเป็นวัดที่ท่านได้จำพรรษาอยู่เมื่อครั้งยังเป็นสามเณร  ในระหว่างการก่อสร้างเสมียนตราด้วง ต้นสกุล ธนโกเศรฐ และเครือญาติได้ปวารณาตนเองเป็นโยมอุปัฏฐากของสมเด็จพุฒจารย์(โต) พรหมรังสี.

ถึงปี พ.ศ. 2411″ เสมียนตราด้วง” ต้นสกุล “ธนโกเศศ” ได้ทำการบูรณะพระอารามวัดใหม่อมตรส และปฏิสังขรณ์พระเจดีย์ไว้เพื่อเป็นมหากุศล และเป็นพระเจดีย์ประจำตระกูล  ตามประเพณีนิยมในสมัยนั้น โดยได้สร้างพระพระเจดีย์ขึ้นสององค์ องค์ใหญ่เพื่อบรรจุพระพิมพ์ต่างๆ ตามโบราณคติในอันที่จะสืบทอดพระพุทธศาสนา และสร้างเจดีย์องค์เล็กเพื่อบรรจุอัฐิธาตุบรรพระบุรุษ โดยเริ่มสร้างตั้งแต่ปี พ.ศ. 2411  จนกระทั่งถึงปี พ.ศ. 2413 จึงแล้วเสร็จ จากนั้นจึงได้กราบนมัสการขอความเห็นจากสมเด็จพุฒจารย์(โต) พรหมรังสี ในการสร้างพระสมเด็จ เพื่อสืบทอดทางพุทธศาสนา และเป็นการสร้างมหาบุญแห่งวงศ์ตระกูล  สมเด็จพุฒจารย์(โต) พรหมรังสี ท่านได้ให้อนุญาติ และมอบผงวิเศษที่ใช้ในการสร้างพระสมเด็จวัดระฆังของท่านให้ส่วนหนึ่ง (จากบทความของนายกนก สัชฌุกร ที่ได้สัมภาษณ์ท่านเจ้าคุณธรรมถาวร ตอนมีชีวิตยุคสมเด็จพุฒจารย์(โต) พรหมรังสี  ได้ความว่า ได้ผงวิเศษประมาณครึ่งบาตรพระ และทุกครั้งที่ตำในครก ท่านเจ้าประคุณสมเด็จจะโรยผงวิเศษของท่านมากบ้างน้อยบ้าง ตามอัธยาศัย จนกระทั่งแล้วเสร็จ) เมื่อได้ผงวิเศษแล้ว เสมียนตราเจิม และทีมงานก็ได้จัดหามวลสารต่างๆ ตรงตามตำราการสร้างพระสมเด็จของ สมเด็จพุฒจารย์(โต) พรหมรังสี ทุกประการ.

พระสมเด็จบางขุนพรหม เป็นพระในสกุล พระสมเด็จวัดระฆัง

พระสมเด็จบางขุนพรหม เป็นพระในสกุล พระสมเด็จวัดระฆัง

การแกะแม่พิมพ์พระสมเด็จของสมเด็จพุฒจารย์(โต) พรหมรังสี 

ในเรื่องของการสร้างพิมพ์ขึ้นมาใหม่นั้น มีการจัดสร้าง และแกะแม่พิมพ์แม่แบบขึ้นมาใหม่ทั้งหมดจำนวน 9 พิมพ์ เป็นพิมพ์ชิ้นเดียวตัดขอบและปาดหลัง โดยฝีมือของช่างสิบหมู่แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ แต่น่าจะเป็นคนละทีมกับช่างที่แกะแม่พิมพ์พระสมเด็จวัดระฆัง แต่เนื่องด้วยเป็นฝีมือช่างในยุคเดียวกัน มีศิลปะในสกุลช่างเดียวกัน และต้นแบบที่สำคัญคือพิมพ์พระสมเด็จวัดระฆัง ดังนั้นพระสมเด็จบางขุนพรหม จึงมีความสวยงามใกล้เคียงกันกับพระสมเด็จวัดระฆังเป็นอย่างยิ่ง.

พระสมเด็จบางขุนพรหม เป็นพระในสกุล พระสมเด็จวัดระฆัง

พระสมเด็จบางขุนพรหม เป็นพระในสกุล พระสมเด็จวัดระฆัง

พิมพ์พระสมเด็จบางขุนพรหมทั้ง9พิมพ์

1 . พิมพ์ใหญ่

2 . พิมพ์ทรงเจดีย์

3 . พิมพ์เกศบัวตูม

4 . พิมพ์เส้นด้าย

5 . พิมพ์ฐานแซม

6 . พิมพ์สังฆาฏิ

7 . พิมพ์ปรกโพธิ์

8 . พิมพ์ฐานคู่

9 . พิมพ์อกครุฑ

จำนวนที่จัดสร้าง สันนิษฐานกันว่า 84,000 องค์ เท่ากับพระธรรมขันธ์ พระสมเด็จที่สร้างเสร็จจะมีเนื้อขาวค่อนข้างแก่ปูน.

การปลุกเสกโดยสมเด็จพุฒจารย์(โต) พรหมรังสี ได้เจริญพระพุทธมนต์ และปลุกเสกเดี่ยว จนกระทั่งบริบูรณ์ด้วยพระสูตรคาถา.

เมื่อผ่านพิธีปลุกเสกเป็นที่สุดแล้ว ได้มีการเรียกชื่อพระสมเด็จนี้ว่า “พระสมเด็จบางขุนพรหม” ตามตำบลของของที่ตั้งพระเจดีย์ และได้ถูกนำเข้าบรรจุกรุในพระเจดีย์ใหญ่ และพระเจดีย์เล็กทั้งสิ้น ไม่มีการแจกจ่ายแก่ผู้ใดผู้หนึ่ง รวมทั้งมีข้อสันนิษฐานว่า ได้นำพระสมเด็จวัดระฆังลงบรรจุกรุด้วย ดังที่หลายๆท่านนิยมเรียกกันว่า “กรุสองคลอง”

พระสมเด็จบางขุนพรหม เป็นพระในสกุล พระสมเด็จวัดระฆัง

พระสมเด็จบางขุนพรหม เป็นพระในสกุล พระสมเด็จวัดระฆัง

การลักลอบเปิดกรุพระสมเด็จ และการตกพระ

หลังจากที่ได้บรรจุพระสมเด็จไว้ในพระเจดีย์ทั้งสองแล้ว ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2413 จนกระทั่งเกิดวิกฤตกับประเทศในกรณีพิพาทกับประเทศฝรั่งเศษ ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 และนกรณีพิพาทอินโดจีน ได้มีการลักลอบเปิดกรุถึงสามครั้ง คือครั้งที่1 พ.ศ. 2425 , ครั้งที่2 พ.ศ. 2436 และครั้งที่3 พ.ศ. 2459

ในการลักลอบเปิดกรุทั้งสามครั้งนั้น ผู้ลักลอบได้ใช้วิธีต่างๆเช่น การตกเบ็ด โดยใช้ดินเหนียวปั้นเป็นก้อนกลมๆ ติดกับปลายเชือก หย่อนเข้าไปทางรูระบายอากาศ ติดพระแล้วดึงขึ้นมา การใช้น้ำกรอกเข้าไปทางรูระบายอากาศ เพื่อให้น้ำไปละลายการเกาะยึดขององค์พระเป็นต้น ซึ่งการลักลอบเปิดกรุทั้งสามครั้งนั้น  พระสมเด็จที่อยู่บนส่วนบนจึงสวย มีความสมบูรณ์  นักนิยมพระสมเด็จเรียกกันว่า “พระสมเด็จบางขุนพรหม กรุเก่า” ซึ่งลักษณะของวรรณะจะปรากฏคราบเพียงเล็กน้อย หรือบางๆเท่านั้น พิมพ์คมชัดสวยงาม เนื้อหนึกนุ่มละเอียด มีน้ำหนัก และแก่ปูนพระสมเด็จบางขุนพรหม.

พระสมเด็จบางขุนพรหม เป็นพระในสกุล พระสมเด็จวัดระฆัง

พระสมเด็จบางขุนพรหม เป็นพระในสกุล พระสมเด็จวัดระฆัง

ารเปิดกรุพระสมเด็จอย่างเป็นทางการ

ท้ายที่สุดคือการลักลอบขุดกรุที่ฐานในปี พ.ศ. 2500 วิธีนี้ได้พระไปเป็นจำนวนมาก(เป็นที่มาของพระสมเด็จบางขุนพรหมกรุธนา เรื่องเล่าจากประสบการณ์ตรง ของพระภิกษุวงศ์ สุธรรมโม หรือพระอาจารย์จิ้ม กันภัย ได้ใจความว่า ในตอนกลางคืนฝนตกไม่หนักมากนัก นักเลงพระทางภาคเหนือ ได้ร่วมกันลักลอบเจาะที่บริเวณใกล้ฐานของพระเจดีย์พอตัวมุดเข้าไปได้  และได้นำพระออกไปได้เป็นจำนวนมาก จนหิ้วพระไม่ไหว ประกอบกับกลัวเจ้าหน้าที่จะพบเห็น จึงทิ้งไว้ข้างวัดก็หลายถุง มีบุคคลผู้หนึ่งชื่อธนา บ้านอยู่ละแวกวัด ได้เก็บพระชุดนี้ไว้เป็นจำนวนมาก  จะเก็บได้จากผู้ที่ลักลอบทิ้งไว้ หรือซื้อมาก็มิอาจทราบได้  แต่ภายหลังได้ขายให้กับ คุณแถกิงเดช คล่องบัญชี ซึ่งเป็นศิษย์ของท่านเอง และต่อมาได้เขียนหนังสือร่วมกับนายสุคนธ์ เพียรพัฒน์ เรื่อง”สี่สมเด็จ ” ซึ่งพระสมเด็จบางขุนพรหมที่ซื้อมามีทั้งที่สวยงาม มีคราบกรุน้อย และคราบกรุหนาจับกันเป็นก้อนก็มี) จนกระทั่งทางวัดใหม่อมตรส ได้ติดต่อกรมศิลปากรเข้ามาดูแล และเปิดกรุอย่างเป็นทางการโดยเชิญ พลเอกประภาส จารุเสถียร เป็นประธานในพิธีเปิดกรุเมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2500 พระที่นำออกมาครั้งนั้น นักนิยมพระสมเด็จเรียกกันว่า “พระสมเด็จบางขุนพรหม กรุใหม่”

เมื่อนำออกมาคัดแยก คงเหลือพระที่มีสภาพดี สวยงาม เพียง 3000 องค์เศษเท่านั้น ที่เหลือจับกันเป็นก้อน หักชำรุดแทบทั้งสิ้น ลักษณะของวรรณะส่วนใหญ่จะมีคราบกรุค่อนข้างหนา และจับเป็นก้อน ที่สภาพดีจะพบว่าผิวของพระเป็นเกร็ดๆทั่วทั้งองค์ หรือที่เรียกว่าเหนอะ มีคราบไขขาว ฟองเต้าหู้ คราบขี้มอด จะตั้งชื่อหรือเรียกว่าอย่างไรก็แล้วแต่ ล้วนเกิดขึ้นจากปฏิกิริยาระหว่างน้ำกับปูน และเนื้อมวลสารที่เป็นองค์ประกรอบของพระสมเด็จทั้งสิ้น ทั้งสภาพเปียกชึ้น ร้อน เย็น และถูกแช่อยู่ในน้ำเป็นเวลานานกับดินโคลนเป็นต้น  แต่แปลกตรงที่ว่า “พระสมเด็จบางขุนพรหม” เมื่อถูกใช้ซักระยะเนื้อจะเริ่มหนึกนุ่ม ใกล้เคียงกับ”พระสมเด็จวัดระฆัง” เป็นอย่างยิ่ง.

พระสมเด็จบางขุนพรหม เป็นพระในสกุล พระสมเด็จวัดระฆัง

พระสมเด็จบางขุนพรหม เป็นพระในสกุล พระสมเด็จวัดระฆัง

พิมพ์นิยม กับ พระสมเด็จบางขุนพรหม

ในเรื่องของทรงพิมพ์ที่เรียกกันว่า พิมพ์นิยม 9 พิมพ์นั้น พิมพ์ที่พบน้อยที่สุดคือ พิมพ์ปรกโพธิ์ กล่าวกันว่ามีไม่ถึง 20 องค์ และที่สำคัญยังพบพิมพ์ไสยาสน์อีกหลายแบบ มีประมาณไม่เกิน 22 องค์ ซึ่งในปัจจุบันหาดูได้ยาก  ในส่วนของกรุพระเจดีย์เล็ก นักเลงพระในยุคนั้น ไม่ค่อยให้ความสนใจ แต่ปรากฏว่าหลังจากเปิดกรุก็ได้พบพระสมเด็จอยู่มากมาย นับได้เป็นพันองค์ ทรงพิมพ์ที่พบได้แก่ พิมพ์ฐานคู่ พิมพ์ฐานหมอน พิมพ์สามเหลี่ยม(หน้าหมอน) พิมพ์จันทร์ลอย ลักษณะของวรรณะคราบกรุจะไม่มาก จะมีความสวยงามกว่ากรุพระเจดีย์ใหญ่ ซึ่งในปัจจุบันหาดูได้ยาก เช่นกัน.

พระสมเด็จ พิมพ์ปรกโพธิ์ เนื้อแก่ปูน

พระสมเด็จบางขุนพรหม เป็นพระในสกุล พระสมเด็จวัดระฆัง

พระสมเด็จบางขุนพรหม กับ ตราประทับ

หลังจากการเปิดกรุอย่างเป็นทางการ ทางวัดได้ประทับตราที่ด้านหลังขององค์พระ เพื่อป้องกันการปลอม เรีกกันว่า “ตราน้ำหนัก” และจำหน่ายในราคามากพอสมควร แต่ก็หมดลงในเวลาไม่นานนัก ในช่วงเวลาดังกล่าว พระที่ถูกขโมยออกจากกรุไป กลับมาจำนวนมาก โดยที่ประมาณในกรุมีทั้งหมด 84,000องค์ เปิดกรุได้ 3000 เศษ (แต่ให้บูชาได้  2750 องค์ พระหาย) ชำรุดประมาณไม่เกิน 1000 องค์ เท่ากับว่า พระหายออกจากกรุประมาณ 70,000 องค์ และกลับมาในเวลาดังกล่าวส่วนหนึ่ง โดยให้คนเข้าไปในวัดแล้วเช่าพระออกมาดูตราน้ำหนักของวัด แล้วปลอมขึ้น จะได้ขายได้ แล้วก็ขายกันข้างวัดเลย  แต่ก็ดูไม่ยาก คือ พระที่ขโมยออกไปมีสภาพสวย คราบกรุน้อย ปั๊มตราจะเห็นชัด ครบทั้งหมด.

ส่วนพระที่เปิดกรุ ปี 2500 หลังจะไม่สวย คราบกรุเยอะ  ตรายางจะไม่ชัด การสังเกตตรายาง ตรายางสมัยก่อนจะเนื้อแข็ง ปั๊มได้บนพื้นที่ราบเรียบ ดังนั้นบนคราบกรุ หรอรูบ่อน้ำตรา และขี้กรุที่สูงๆต่ำๆ จะไม่ติดชัด(ใช้ไม้บรรทัดวางแนวหาองศาดูได้ ว่าตรายางอยู่บนแนว 180 องศาหรือเปล่า) ถ้าเป็นตรายางสมัยใหม่จะเป็นยางซิลิโคลน จะมีความนุ่ม และจะปั๊มชัดมาก แม้กระทั่งในรูเล็กๆ สีของตรายางเองก็ต้องเปลี่ยนไป เป็นสีน้ำเงินม่วง หรือม่วงอมแดง ต้องไม่ใช่สีน้ำเงิน และไม่ใช่สีฟ้า เพราะผ่านมา 60 กว่าปีแล้ว(ปัจจุบัน พ.ศ.2565) , ส่วนองค์พระนั้น ตอนที่บรรจุกรุอยู่ในหลุมถูกวางเรียงหงายหน้าขึ้น และซ้อนกันหลายชั้น พระจึงมีแรงกดจำนวนมาก และมีความชื้นตั้งแต่แรก ทำให้พระบางองค์ติดกัน และบิดงอไปทางด้านหลังส่วนใหญ่ และทำให้เกิดเนื้อเกินหลังองค์พระ ที่มีอายุเท่ากับองค์พระนั้นเอง(ตอนเปิดกรุพบบางขุนพรหมชำรุดด้านหน้าเป็นจำนวนมาก) และพระอยู่ในกรุ 87 ปี ด้านหลังจะไม่เห็นรอยปาดแล้ว มีแต่คราบเหนอะ คราบกรุเท่านั้น.

จากตรงนี้ผู้เขียนในทรรศนะคติผู้ใดที่ครอบครอง”พระกรุบางขุนพรหม” และพระอยู่ในสภาพสวยมากๆ ต้องพิจารณาให้ดี.

พระสมเด็จบางขุนพรหม เป็นพระในสกุล พระสมเด็จวัดระฆัง

พระกรุวัดเชิงท่า นนทบุรี พิมพ์พระประธาน เนื้อชินตะกั่วทาทองลงรักแดง พิมพ์ใหญ่

พระกรุ วัดเชิงท่า นนทบุรี

พิมพ์พระประธาน

เนื้อชินตะกั่ว ทาทองลงรักแดง พิมพ์ใหญ่

พระกรุวัดเชิงท่า นนทบุรี เป็นพระกรุเก่าที่ราคาไม่สูงมาก มีหลากหลายพิมพ์และหลายสภาพ ฝีมือช่างหลวง สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น บ้างว่าเป็นพระอยุธยาตอนปลาย อายุราวสองร้อยกว่าปี แตกกรุออกมาเมื่อประมาณปี พ.ศ.2508 ลักษณะเป็นพระพุทธ และพระสาวกหล่อลอยองค์ พระสร้างจากตะกั่ว มีไขและสนิมแดง พระทุกองค์ปิดทองลงกรุหมด มีหลายสิบพิมพ์ นอกจากนี้ยังมีผู้พบพระขุนแผนเคลือบอีกจำนวนหนึ่งที่วัดเชิงท่า เป็นพิมพ์เดียวกันกับวัดใหญ่ชัยมงคลทุกประการ แต่ต่างกันที่น้ำยาเคลือบของวัดเชิงท่า สีจะอ่อนกว่า เข้าใจว่าโดนน้ำเซาะจนทำให้โดนผิวของน้ำยาเคลือบจางลงไป น่าจะเล่นหาเป็นของวัดใหญ่ชัยมงคลกันเกือบหมดแล้ว

พระกรุวัดเชิงท่า นนทบุรี เป็นพระกรุเก่าที่มีประสบการณ์ทางด้าน คงกระพัน แคล้วคลาด เมตตามหานิยม บูชาได้อย่างสนิทใจ เพราะเป็นอีกหนึ่งพระกรุเก่าที่ราคาไม่สูง แต่มากด้วยพุทธคุณที่น่าสะสมบูชา.

พระกรุวัดเชิงท่า นนทบุรี พิมพ์พระประธาน เนื้อชินตะกั่วทาทองลงรักแดง พิมพ์ใหญ่
พระกรุวัดเชิงท่า นนทบุรี พิมพ์พระประธาน เนื้อชินตะกั่วทาทองลงรักแดง พิมพ์ใหญ่
พระกรุวัดเชิงท่า นนทบุรี พิมพ์พระประธาน เนื้อชินตะกั่วทาทองลงรักแดง พิมพ์ใหญ่
พระกรุวัดเชิงท่า นนทบุรี พิมพ์พระประธาน เนื้อชินตะกั่วทาทองลงรักแดง พิมพ์ใหญ่
พระกรุวัดเชิงท่า นนทบุรี พิมพ์พระประธาน เนื้อชินตะกั่วทาทองลงรักแดง พิมพ์ใหญ่
พระกรุวัดเชิงท่า นนทบุรี พิมพ์พระประธาน เนื้อชินตะกั่วทาทองลงรักแดง พิมพ์ใหญ่
พระกรุวัดเชิงท่า นนทบุรี พิมพ์พระประธาน เนื้อชินตะกั่วทาทองลงรักแดง พิมพ์ใหญ่
พระกรุวัดเชิงท่า นนทบุรี พิมพ์พระประธาน เนื้อชินตะกั่วทาทองลงรักแดง พิมพ์ใหญ่
พระกรุวัดเชิงท่า นนทบุรี พิมพ์พระประธาน เนื้อชินตะกั่วทาทองลงรักแดง พิมพ์ใหญ่
พระกรุวัดเชิงท่า นนทบุรี พิมพ์พระประธาน เนื้อชินตะกั่วทาทองลงรักแดง พิมพ์ใหญ่
พระกรุวัดเชิงท่า นนทบุรี พิมพ์พระประธาน เนื้อชินตะกั่วทาทองลงรักแดง พิมพ์ใหญ่
พระกรุวัดเชิงท่า นนทบุรี พิมพ์พระประธาน เนื้อชินตะกั่วทาทองลงรักแดง พิมพ์ใหญ่
พระกรุวัดเชิงท่า นนทบุรี พิมพ์พระประธาน เนื้อชินตะกั่วทาทองลงรักแดง พิมพ์ใหญ่
พระกรุวัดเชิงท่า นนทบุรี พิมพ์พระประธาน เนื้อชินตะกั่วทาทองลงรักแดง พิมพ์ใหญ่
พระกรุวัดเชิงท่า นนทบุรี พิมพ์พระประธาน เนื้อชินตะกั่วทาทองลงรักแดง พิมพ์ใหญ่
พระกรุวัดเชิงท่า นนทบุรี พิมพ์พระประธาน เนื้อชินตะกั่วทาทองลงรักแดง พิมพ์ใหญ่
พระกรุวัดเชิงท่า นนทบุรี พิมพ์พระประธาน เนื้อชินตะกั่วทาทองลงรักแดง พิมพ์ใหญ่
พระกรุวัดเชิงท่า นนทบุรี พิมพ์พระประธาน เนื้อชินตะกั่วทาทองลงรักแดง พิมพ์ใหญ่
พระกรุวัดเชิงท่า นนทบุรี พิมพ์พระประธาน เนื้อชินตะกั่วทาทองลงรักแดง พิมพ์ใหญ่
พระกรุวัดเชิงท่า นนทบุรี พิมพ์พระประธาน เนื้อชินตะกั่วทาทองลงรักแดง พิมพ์ใหญ่
พระกรุวัดเชิงท่า นนทบุรี พิมพ์พระประธาน เนื้อชินตะกั่วทาทองลงรักแดง พิมพ์ใหญ่
พระกรุวัดเชิงท่า นนทบุรี พิมพ์พระประธาน เนื้อชินตะกั่วทาทองลงรักแดง พิมพ์ใหญ่
พระกรุวัดเชิงท่า นนทบุรี พิมพ์พระประธาน เนื้อชินตะกั่วทาทองลงรักแดง พิมพ์ใหญ่
พระกรุวัดเชิงท่า นนทบุรี พิมพ์พระประธาน เนื้อชินตะกั่วทาทองลงรักแดง พิมพ์ใหญ่
พระกรุวัดเชิงท่า นนทบุรี พิมพ์พระประธาน เนื้อชินตะกั่วทาทองลงรักแดง พิมพ์ใหญ่
พระกรุวัดเชิงท่า นนทบุรี พิมพ์พระประธาน เนื้อชินตะกั่วทาทองลงรักแดง พิมพ์ใหญ่
พระกรุวัดเชิงท่า นนทบุรี พิมพ์พระประธาน เนื้อชินตะกั่วทาทองลงรักแดง พิมพ์ใหญ่
พระกรุวัดเชิงท่า นนทบุรี พิมพ์พระประธาน เนื้อชินตะกั่วทาทองลงรักแดง พิมพ์ใหญ่
พระกรุวัดเชิงท่า พิมพ์ใหญ่

[ecwid widgets=”productbrowser search minicart” categories_per_row=”3″ grid=”10,3″ list=”60″ table=”60″ default_category_id=”26080265″ default_product_id=”0″ category_view=”grid” search_view=”list” minicart_layout=”MiniAttachToProductBrowser”]

พระกรุวัดเชิงท่า นนทบุรี เนื้อชินตะกั่วทาทองลงรักแดง พิมพ์กลาง

พระกรุ วัดเชิงท่า นนทบุรี พิมพ์สมาธิ เนื้อชินตะกั่ว ทาทองลงรักแดง พิมพ์กลาง

พระกรุวัดเชิงท่า ตามบันทึกทางประวัติศาสตร์กล่าวว่า พญาเจ่ง หรือ เจ้าพระยามหาโยธานราธิบดี ( เจ่ง เป็นภาษามอญแปลว่า ช้าง ) เป็นโอรสของเจ้าเมืองเมียวดี ผู้ซึ่งเป็นพระอนุชาของพระยาทะละ กษัตริย์ราชอาณาจักรมอญองค์สุดท้าย ได้นิพนธ์เป็นคำกลอนเกี่ยวกับการสร้างวัดเชิงท่าไว้ดังนี้ “เสร็จศึก สร้างวัด สลัดบาป แสวงบุญ คือวัดเชิงท่าบางตลาด วัดเกาะบางพูด นุสสรณ์บุญ” นำพล 3000 จากรัฐมอญมาพึ่งพระบารมี เมื่อปี 2318 โปรดให้อยู่ที่ปากเกร็ด สามโคก เป็นนายทัพรบศึก ชราสร้างวัดเชิงท่าก่อนวัดเกาะ ตมะปี 2365 อายุ 83 ปี , วัดเกาะพญาเจ่ง หรือ วัดเกาะบางพูด สร้างขึ้นตั้งแต่ปี 2318 โดยพญาเจ่ง อดีตแม่ทัพมอญผู้พาไพร่พลเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารกษัตริย์ไทย ณ ที่ดินซึ่งได้รับพระราชทานโปรดเกล้าจากพระสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชเมื่อปี 2319 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ พ.ศ.2330 (สมัยรัชากาลที่ 1) พญาเจ่ง ได้ช่วยไทยรบกับทัพพม่า มีความดีความชอบมาก พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก จึงทรงพระราชทานยศให้เป็นเจ้าพระยามหาโยธานราธิบดีศรีพิชัยณรงค์  ต่อมาบุตรชายคนโตได้รับพระราชทานยศให้เป็นเจ้าพระยามหาโยธาเช่นกัน ซึ่งท่านได้สร้างวัดนี้ต่อจากบิดา และถึงแก่อสัญกรรมในสมัยรัชกาลที่ 4 ท่านเป็นต้นสกุล “คชเสนี” พระอุโสถวัดเกาะพญาเจ่ง เป็นเขตโบราณสถานกรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียน และ กำหนดเขตที่ดินเมื่อ พ.ศ.2541 ภายในพระอุโบสถมีภาพจิตรกรรมฝาผนัง ศิลปะสมัยกรุงรัตนโกสินทร์เรื่องทศชาติชาดก จากบันทึกนี้ทำให้เราทราบว่า วัดเชิงท่าเป็นวัดที่สร้างช่วงปี พ.ศ.2318 (หลังการเสียกรุงศรีอยุธยาประมาณ 8 ปี).

พระกรุวัดเชิงท่า นนทบุรี เนื้อชินตะกั่ว พิมพ์กลาง

พระกรุวัดเชิงท่า นนทบุรี เนื้อชินตะกั่ว พิมพ์กลาง
พระกรุวัดเชิงท่า นนทบุรี เนื้อชินตะกั่ว พิมพ์กลาง
พระกรุวัดเชิงท่า นนทบุรี เนื้อชินตะกั่ว พิมพ์กลาง
พระกรุวัดเชิงท่า นนทบุรี พิมพ์สมธิ เนื้อชินตะกั่ว พิมพ์กลาง
พระกรุวัดเชิงท่า นนทบุรี พิมพ์สมธิ เนื้อชินตะกั่ว พิมพ์กลาง
พระกรุวัดเชิงท่า นนทบุรี พิมพ์สมาธิ เนื้อชินตะกั่ว พิมพ์กลาง
พระกรุวัดเชิงท่า นนทบุรี พิมพ์สมาธิ เนื้อชินตะกั่ว พิมพ์กลาง
พระกรุวัดเชิงท่า นนทบุรี พิมพ์สมาธิ เนื้อชินตะกั่ว พิมพ์กลาง
พระกรุวัดเชิงท่า นนทบุรี พิมพ์สมาธิ เนื้อชินตะกั่ว พิมพ์กลาง
พระกรุวัดเชิงท่า นนทบุรี พิมพ์สมาธิ เนื้อชินตะกั่ว พิมพ์กลาง
พระกรุวัดเชิงท่า นนทบุรี เนื้อชินตะกั่ว พิมพ์กลาง
พระกรุวัดเชิงท่า นนทบุรี พิมพ์สมาธิ เนื้อชินตะกั่ว พิมพ์กลาง
พระกรุวัดเชิงท่า นนทบุรี พิมพ์สมาธิ เนื้อชินตะกั่ว พิมพ์กลาง
พระกรุวัดเชิงท่า นนทบุรี พิมพ์สมาธิ เนื้อชินตะกั่ว พิมพ์กลาง

[ecwid widgets=”productbrowser search minicart” categories_per_row=”3″ grid=”10,3″ list=”60″ table=”60″ default_category_id=”26080265″ default_product_id=”0″ category_view=”grid” search_view=”list” minicart_layout=”MiniAttachToProductBrowser”]

 

 

พระกรุวัดเชิงท่า นนทบุรี พิมพ์พระประธาน เนื้อชินตะกั่ว พิมพ์เล็ก

พระกรุ วัดเชิงท่า นนทบุรี เนื้อชินตะกั่ว พิมพ์พระประธาน ( พิมพ์เล็ก )

วัดเชิงท่าเดิมเป็นวัดที่สำคัญของชุมชนในย่านปากด่าน สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยอยุธยาตอนปลาย ปัจจุบันเป็นวัดร้างตั้งอยู่ในเขตกรมชลประทาน ต.บางตลาด จ.นนทบุรี และอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันออก เนื่องจากกรมชลประทานต้องการเวนคืนที่ดินในท้องที่ ต.บางตลาด เพื่อสร้างท่าเรือ ซึ่งครอบคลุมบริเวณวัดหน้าโบสถ์ และ วัดเชิงท่า ทางกรมชลประทานจึงได้สร้างวัดชลประทานรังสฤษฏ์ให้ใหม่เป็นการทดแทน โบราณสถานของวัดหน้าโบสถ์ ยังมีพระอุโบสถเก่าซึ่งมีร่องรอยจิตรกรรมฝาผนังด้วย ในพระอุโบสถมีพระประธานค่อนข้างสมบูรณ์ ชาวบ้านเรียกว่า “หลวงพ่อโต” เทศบาลนนทบุรีและกรมศิลปากร ได้ทำการปรับปรุงและเปลี่ยนชื่อเป็น “พุทธสถานเชิงท่า – หน้าโบสถ์” โดยมีพระอุโบสถของวัดหน้าโบสถ์ และ ศาลเจ้าพ่อเสืออยู่ด้านข้างของวัด เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์และเคารพนับถือของผู้คนในบริเวณนั้นมาก และ บุคคลทั่วไปที่ได้รับรู้จากการเล่าประวัติความเป็นมาของวัดเชิงท่าจากรุ่นสู่รุ่นต่อๆกันมาได้ไปกราบไหว้ จนถึงปัจจุบันนี้.

พระกรุวัดเชิงท่า นนทบุรี พิมพ์พระประธาน เนื้อชินตะกั่ว พิมพ์เล็ก

พระกรุวัดเชิงท่า นนทบุรี พิมพ์พระประธาน เนื้อชินตะกั่ว พิมพ์เล็ก
พระกรุวัดเชิงท่า นนทบุรี พิมพ์พระประธาน เนื้อชินตะกั่ว พิมพ์เล็ก
พระกรุวัดเชิงท่า นนทบุรี พิมพ์พระประธาน เนื้อชินตะกั่ว พิมพ์เล็ก
พระกรุวัดเชิงท่า นนทบุรี พิมพ์พระประธาน เนื้อชินตะกั่ว พิมพ์เล็ก
พระกรุวัดเชิงท่า นนทบุรี พิมพ์พระประธาน เนื้อชินตะกั่ว พิมพ์เล็ก
พระกรุวัดเชิงท่า นนทบุรี พิมพ์พระประธาน เนื้อชินตะกั่ว พิมพ์เล็ก
พระกรุวัดเชิงท่า นนทบุรี พิมพ์พระประธาน เนื้อชินตะกั่ว พิมพ์เล็ก
พระกรุวัดเชิงท่า นนทบุรี พิมพ์พระประธาน เนื้อชินตะกั่ว พิมพ์เล็ก
พระกรุวัดเชิงท่า นนทบุรี พิมพ์พระประธาน เนื้อชินตะกั่ว พิมพ์เล็ก
พระกรุวัดเชิงท่า นนทบุรี พิมพ์พระประธาน เนื้อชินตะกั่ว พิมพ์เล็ก
พระกรุวัดเชิงท่า นนทบุรี พิมพ์พระประธาน เนื้อชินตะกั่ว พิมพ์เล็ก
พระกรุวัดเชิงท่า นนทบุรี พิมพ์พระประธาน เนื้อชินตะกั่ว พิมพ์เล็ก

[ecwid widgets=”productbrowser search minicart” categories_per_row=”3″ grid=”10,3″ list=”60″ table=”60″ default_category_id=”26080265″ default_product_id=”0″ category_view=”grid” search_view=”list” minicart_layout=”MiniAttachToProductBrowser”]

 

พระขุนแผน กรุวัดทัพข้าว เนื้อผงพุทธคุณ ยุครัตนโกสินทร์ตอนปลาย

พระขุนแผน กรุวัดทัพข้าว เนื้อผงพุทธคุณ ยุค

รัตนโกสินทร์ตอนปลาย

พระขุนแผน กรุวัดทัพข้าว เนื้อผงพุทธคุณ ยุครัตนโกสินทร์ตอนปลาย
พระขุนแผนเนื้อผง กรุวัดทัพข้าวยุคแรก

พระขุนแผนเนื้อผง กรุวัดทัพข้าว (บางฅนเรียก ทัพเข้า หรือ ทัพข้าว) เป็นพระที่มีอายุการสร้างเก่าแก่ โดยสร้างมาก่อนพระสมวัดระฆัง ของสมเด็จพุฒจารย์โต พรหมรังสี จากการได้รับความรู้จากนักสะสมนิยมพระเครื่องเนื้อผง ผู้อาวุโสเกี่ยวกับเรื่องราวของพระผง กรุวัดทัพข้าว ซึ่งท่านได้กล่าวว่า พระกรุนี้มี 3 ยุคด้วยกัน – ยุคแรกสร้างสมัยสุโขทัย มีอายุมากกว่า 700 ปี เป็นพระเนื้อดินผสมผงพุทธคุณเนื้อขาวสะอาด และ แกร่งเป็นหิน พบเปิดกรุที่ จ.สุโขทัย โดยนายเต็ง ไม่ทราบนามสกุล เป็นชาวบ้าน ต.กรุงเก่า อ.เมือง จ.สุโขทัย เป็นผู้ไปขุดพบพระกรุนี้ เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2480 พระที่พบทั้งหมดมีพิมพ์ต่างๆ อาทิ พิมพ์พระร่วงยืน ปางประธานพร , พิมพ์พระร่วงนั่ง , พิมพ์ยืนลีลา เป็นต้น

พระขุนแผน กรุวัดทัพข้าว เนื้อผงพุทธคุณ ยุครัตนโกสินทร์ตอนปลาย

 

พระขุนแผนเนื้อผง กรุวัดทัพข้าวยุคที่ 2

– ยุคที่ 2 สร้างสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ประมาณรัชกาลที่ 3 ถึงรัชกาลที่ 5 มีอายุประมาณ 150 – 200 ปี เป็นพระผงพุทธคุณที่มีเนื้อหาจัดจ้านคล้ายกับสมเด็จวัดระฆัง และ มีพิมพ์ทรงมากมาย เช่น พิมพ์พระหลวงพ่อโต พระขุนแผนห้าเหลี่ยม พระขุนแผนไข้ผ่า พระสาม พระนารายณ์ทรงปืน พระร่วงฯ โดยจัดสร้างล้อพระพิมพ์ในยุคโบราณเป็นสำคัญ พระยุคนี้สันนิษฐานกันว่า สมเด็จพุฒจารย์โต พรหมรังสี น่าจะมีส่วนในการจัดสร้าง เนื่องจากเมื่อศึกษาเนื้อหามวลสารและสภาพธรรมชาติของพระยุคนี้แล้ว พบว่าหนีไม่ออกจากสูตรการสร้างของพระสมเด็จวัดระฆัง นอกจากนี้ยังพบพระพิมพ์เหล่านี้บางพิมพ์ในกรุ ในองค์พระยืนหลวงพ่อโต วัดอินทรวิหาร อีกด้วย

พระขุนแผน กรุวัดทัพข้าว เนื้อผงพุทธคุณ ยุครัตนโกสินทร์ตอนปลาย

พระขุนแผนเนื้อผง กรุวัดทัพข้าวยุคที่ 3

– ยุคที่ 3 สร้างสมัยรัชกาลที่ 6 ถึงรัชกาลที่ 9 พระยุคนี้มีการสร้างพระพิมพ์โบราณเลียนแบบพระกรุวัดทัพข้าวที่มีอยู่เดิม ผู้สร้างที่มีชื่อเสียงยุคนี้ได้แก่ หลวงพ่ออ้าว หลวงปู่เผือก วัดกิ่งแก้ว เป็นต้น , พระพิมพ์ที่พบ มักมีเนื้อหาอ่อนกว่ายุคที่ 2 แต่มีบางพิมพ์ทำเลียนแบบพระกรุวัดทัพข้าวยุคเก่า เช่น พิมพ์หลวงพ่อโต พิมพ์ขุนแผน เป็นต้น

พระเครื่องยุค 3 นี้ทำให้เกิดการเล่นสับสนกับ พระกรุวัดทัพข้าวยุคแรก และ ยุค 2 ทำให้เซียนบางคนตีเหมารวมว่า พระพิมพ์กรุวัดทัพข้าวเป็นพระเก๊ไปทั้งหมด ดังนั้นการศึกษา พระกรุวัดทัพข้าว จะต้องแยกแยะระหว่างพระที่สร้างยุคเก่า และ ยุคใหม่ให้ออก โดยยึดสภาพธรรมชาติที่เก่าแก่และเนื้อหามวลสารจัดจ้านถึงยุคเป็นสำคัญ.

พระขุนแผน กรุวัดทัพข้าว เนื้อผงพุทธคุณ ยุครัตนโกสินทร์ตอนปลาย
พระขุนแผน กรุวัดทัพข้าว เนื้อผงพุทธคุณ ยุครัตนโกสินทร์ตอนปลาย
พระขุนแผน กรุวัดทัพข้าว เนื้อผงพุทธคุณ ยุครัตนโกสินทร์ตอนปลาย

พระสมเด็จ กรุวัดกัลยาณมิตร วรมหาวิหาร พิมพ์ใหญ่พระประธาน

พระสมเด็จ กรุวัดกัลยาณมิตร วรมหาวิหาร พิมพ์ใหญ่

พระประธาน ลงรักปิดทอง

พระสมเด็จกรุวัดกัลยาณมิตร ซึ่งเป็นพระสมเด็จที่ได้รับความนิยมในการเก็บเช่าบูชามากที่สุดในขณะนี้ เป็นพระสมเด็จที่สมเด็จโต เป็นผู้สร้าง เนื่องจากผ่านกาลเวลานานนับร้อยกว่าปีมาแล้ว มีการสันนิษฐานว่าพระชุดนี้สร้างราวปี พ.ศ.2411-2415 ซึ่งในขณะนั้น สมเด็จโต ท่านยังมีชีวิตอยู่ อายุพระประมาณ 150 ปี เนื้อพระแห้ง รักระเบิด , ในวงการพระเครื่องเริ่มเป็นที่แพร่หลาย และ เป็นที่ยอมรับกันมากแล้ว

พระสมเด็จ กรุวัดกัลยาณมิตร วรมหาวิหาร พิมพ์ใหญ่พระประธาน
พระสมเด็จ กรุวัดกัลยาณมิตร วรมหาวิหาร พิมพ์ใหญ่พระประธาน
ใบรายงานผลการทดสอบ พระสมเด็จ กรุวัดกัลยาณมิตร วรมหาวิหาร ใบรายงานผลการทดสอบ พระสมเด็จ กรุวัดกัลยาณมิตร วรมหาวิหาร

ประวัติ วัดกัลยาณมิตร วรมหาวิหาร เจ้าพระยานิกรบดินทร์ (โต) ต้นสกุลกัลยาณมิตร ว่าที่สมุหนายก ได้อุทิศหน้าบ้านและที่ดินบริเวณใกล้เคียง ซึ่งแต่เดิมเป็นหมู่บ้านที่มีภิกษุจีนพำนักอยู่ และ เรียกกันต่อๆมาว่า “หมู่บ้านกุฏิจีน” สร้างเป็นวัดขึ้นเมื่อ พ.ศ.2368 และน้อมเกล้าฯถวายเป็นพระอารามหลวง พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 พระราชทานนามว่า ” วัดกัลยาณมิตร ”

พระสมเด็จกรุวัดกัลยาฯ สร้างขึ้นและบรรจุกรุในเจดีย์ต้นสกุลกัลยาณมิตร และ สกุลประวิตร แตกกรุเมื่อปี 2551 พระผงสมเด็จกรุวัดกัลยาณมิตร วัดนี้พบมากมายหลายพิมพ์  พระกรุวัดกัลยาณมิตร วรมหาวิหาร ถูกบรรจุเจดีย์ลักษณะเป็นกรุแห้ง หรือ กรุลอย องค์พระลักษณะคือ ผิวแห้ง เนื้อเปิดเห็นมวลสารชัดเจน รักระเบิด แตกต่างจากกรุวัดบางขุนพรหม(กรุเปียก) อย่างชัดเจน แบบพิมพ์พระใกล้เคียงกัน ดังนั้นท่านที่ศึกษาต้องแยกแยะกันให้ถูกต้อง

พระสมเด็จกรุวัดกัลยาณมิตร เป็นพระสมเด็จที่มีแบบพิมพ์คล้ายใกล้เคียง กับ พระสมเด็จวัดระฆัง พิมพ์นิยม พิมพ์ของหลวงวิจารย์ เจียรนัย เฮง เป็นอันมากอีกแบบพิมพ์หนึ่ง พระสมเด็จกรุวัดกัลยาณมิตรวรมหาวิหาร หลังจากเจดีย์ในวัดกัลยาฯได้ถูกรื้อออก เมื่อต้นปี พ.ศ.2551 พบว่ามีพระพิมพ์สมเด็จ บรรจุอยู่ภายในเป็นจำนวนมาก และ หลายพิมพ์ ซึ่งส่วนใหญ่เป็น พิมพ์พระประธาน , พิมพ์ใหญ่เศียรโต , พิมพ์ใหญ่เกศทะลุซุ้ม , พิมพ์ทรงเจดีย์ , พิมพ์เส้นด้าย , พิมพ์ฐานแซม , พิมพ์ปรกโพธิ์ , พิมพ์ไกลเซอร์เล็ก , พิมพ์ไกลเซอร์ใหญ่ , พิมพ์อกครุฑ และ พิมพ์เกศไชโย ส่วนที่พบน้อยได้แก่ พิมพ์ไสยาสน์ , พิมพ์ใหญ่คู่หลังแบบ , พิมพ์สามเหลี่ยมเล็ก , พิมพ์สามเหลี่ยมใหญ่(เหมือนกับพิมพ์ใหญ่ของวัดสามปลื้ม) , พิมพ์สังกัจจายน์ นอกจากนั้นยังมีพิมพ์แปลกๆอีก แต่ไม่มากนัก , พระในกรุวัดกัลยาณมิตรยังมีแบบติดกันเป็นก้อน ก้อน 9 องค์ , ก้อน 12 องค์ , ก้อน 109 องค์ซึ่งพบน้อยมาก และ แบบเป็นองค์เดี่ยว ซึ่งแบบนี้มักจะลงรักปิดทองเป็นส่วนมาก

ภาพสะถานที่พบพระสมเด็จ กรุวัดกัลยาณมิตร วรมหาวิหาร ภาพสะถานที่พบพระสมเด็จ กรุวัดกัลยาณมิตร วรมหาวิหาร
พระสมเด็จ กรุวัดกัลยาณมิตร วรมหาวิหาร พิมพ์ใหญ่พระประธาน
พระสมเด็จ กรุวัดกัลยาณมิตร วรมหาวิหาร พิมพ์ใหญ่พระประธาน
พระสมเด็จ กรุวัดกัลยาณมิตร วรมหาวิหาร พิมพ์ใหญ่พระประธาน
พระสมเด็จ กรุวัดกัลยาณมิตร วรมหาวิหาร พิมพ์ใหญ่พระประธาน
พระสมเด็จ กรุวัดกัลยาณมิตร วรมหาวิหาร พิมพ์ใหญ่พระประธาน องค์พระแห้ง รักระเบิด เก่าถึงยุค
พระสมเด็จ กรุวัดกัลยาณมิตร วรมหาวิหาร พิมพ์ใหญ่พระประธาน องค์พระแห้ง รักระเบิด เก่าถึงยุค
พระสมเด็จ กรุวัดกัลยาณมิตร วรมหาวิหาร พิมพ์ใหญ่พระประธาน องค์พระแห้ง รักระเบิด เก่าถึงยุค
พระสมเด็จ กรุวัดกัลยาณมิตร วรมหาวิหาร พิมพ์ใหญ่พระประธาน องค์พระแห้ง รักระเบิด เก่าถึงยุค