พระปิดตา พิมพ์ปั้นลอยองค์ หลวงพ่อแก้ว วัดเครือวัลย์

การสร้างพระปิดตาของ หลวงพ่อแก้ว วัดเครือวัลย์

การสร้างพระปิดตาของ หลวงพ่อแก้วนั้น โดยปกติแล้ว หลวงพ่อแก้ว ท่านเป็นผู้มีอุปนิสัยละเอียดรอบคอบ ท่านเป็นผู้เห็นการณ์ไกล กล่าวคือ ในขณะที่ท่านสอนบาลีไวยากรณ์อยู่นั้น ท่านก็ได้เก็บเอาผงที่ลบการเรียนภาษาบาลีซึ่งเขียนเป็นอักษรขอม ที่มีความขลังและศักดิ์สิทธิ์ แล้วท่านก็จะนำผงอักขระที่ได้จากการลบ มาผสมกับผงพระพุทธคุณ หรือผงมหาราช เป็นต้น

เมื่อเอาผงดินสอ และผงพุทธคุณรวมเข้ากันแล้ว ท่านก็เอาเกสรดอกไม้ต่างๆ ตลอดจนใบไม้ เปลือกไม้ และเนื้อไม้ มาบดให้ละเอียดเป็นผง แล้วจึงนำมาผสมกับผงอักขระ(ผงลบ) เอาน้ำข้าวเหนียวมาผสมทำให้เหนียว จึงเอากดลงในแม่พิมพ์ที่ทำจากหินมีดโกน ก็สำเร็จเป็นองค์พระ

พระปิดตา หลวงพ่อแก้ว วัดเครือวัลย์

พระปิดตา หลวงพ่อแก้ว วัดเครือวัลย์ เนื้อผงพุทธคุณ

พระปิดตา หลวงพ่อแก้ว

พระปิดตา หลังแบบ หลวงพ่อแก้ว

กล่าวกันว่าพระปิดตาที่ หลวงพ่อแก้ว สร้างในยุคแรกๆนั้น ท่านสร้างด้วยผงพุทธคุณ สีออกขาวก็มี สีออกเหลืองอ่อนบ้างก็มี และส่วนผสมที่สำคัญยิ่งอีกอย่างหนึ่งคือ “ไม้ไก่กุก” ซึ่งถือเป็นของหายากมาก ทางด้านพุทธคุณนั้นนับว่าเป็นมหาเสน่ห์ มหานิยมสูง ยิ่งถ้าได้พระอาจารย์ที่มีอาคมแก่กล้าปลุกเสกแล้ว จะเป็นของเข้มขลังดีที่ประเสริฐยิ่งนัก

 

 

ระหว่างการสร้างพระปิดตาของ หลวงพ่อแก้ว นั้น จะมีพระภิกษุสามเณร และชาวบ้านทั้งชายและหญิง มาร่วมมือกันตลอดเวลาในการสร้าง ตอนหลังเกิดชอบพอ รักไคร่กัน เป็นเพราะเสน่ห์มหานิยมที่เกิดจากผงพุทธคุณ ที่สร้างพระติดมือ ติดขันน้ำ และปลิวตกลงไปในโอ่งน้ำ เมื่อต่างคนต่างดื่มกิน จึงเกิดความรักไคร่กันขึ้น

เมื่อมีเหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้น หลวงพ่อแก้ว จึงได้เปลี่ยนวิธีการผสมเนื้อพระเสียใหม่ โดยการนำเอาผงพุทธคุณ ผสมคลุกเคล้ากับรักให้เหนียวแน่น ไม่หลุดง่าย เพื่อกันไม่ให้ผงปลิว หรือติดมือ ติดขันน้ำ จึงเกิดเป็น “พระปิดตาเนื้อผงคลุกรัก” ในยุคต่อมา

หลวงพ่อแก้ว วัดเครือวัลย์ จ.ชลบุรี

พระปิดตา หลวงพ่อแก้ว วัดเครือวัลย์

พระปิดตาของ หลวงพ่อแก้วนั้น มิใช่ว่าจะมีพุทธคุณดีทางด้านเมตตามหานิยมเท่านั้น แม้แต่ทางคงกระพันชาตรี ก็มีอยู่มิใช่น้อยเช่นกัน วงการพระเครื่องเมืองไทย จึงได้จัดพระปิดตา ของหลวงพ่อแก้ว วัดเครือวัลย์ ให้อยู่ในชุดพระเบญจภาคี เป็นอันดับ 1 และได้กำหนดแบบพิมพ์มาตรฐานสากล ได้รับความนิยมมากเช่น: พระปิดตา พิมพ์ใหญ่ , พระปิดตา พิมพ์กลาง , พระปิดตา พิมพ์เล็ก และ พระปิดตา พิมพ์ปั้นลอยองค์

ส่วนด้านหลังพระทั้ง 3 พิมพ์แรกนี้ เท่าที่พบเห็นมี 3 แบบ 3 พิมพ์ คือ

1. เป็นแบบหลังรูปพระปิดตา เรียกว่า “หลังแบบ”

2. แบบหลังยันต์

3. แบบหลังเรียบ หรือ “แบบหลังเบี้ย”

ส่วนเนื้อพระเป็นเนื้อผงพุทธคุณล้วน มีสีขาว สร้างยุคต้นซึ่งหายากมาก ต่อมาสร้างเป็นเนื้อคลุกรัก มีสีค่อนข้างดำ , นอกจากนี้หลวงพ่อแก้ว ท่านได้สร้างพระปิดตาเนื้อตะกั่วผสมปรอท แจกแก่ชาวบ้านที่ไปช่วยขนไม้(ซุง) ต้นใหญ่ๆนำมาสร้างกุฏิ เพื่อเอาไว้ป้องกันตัว ป้องกันคุณไสย และภูตผีปีศาจ เพราะเชื่อกันว่าผีกลัวปรอทมาก พระปิดตาเนื้อตะกั่วผสมปรอทของหลวงพ่อแก้วที่ว่านี้ก็คือ “พระปิดตาแลกซุง” สำหรับแจกแก่ชาวบ้านที่ไปช่วยกันลากไม้ซุงมาให้วัดนั้นเอง.

พระปิดตา พิมพ์ปั้น

และมีอีกพิมพ์ที่ถือเป็นพระปิดตาแลกซุง ก็คือ พระปิดตา พิมพ์ปั้นลอยองค์ แต่จะบอกว่าเป็นวัดเครือวัลย์วัดเดียวไม่ได้ เพราะพิมพ์ปั้นนี้มีออกทั้งจากวัดเครือวัลย์ และที่ออกจากวัดปากทะเล อำเภอบ้านแหลม จังหวัดชลบุรี , พิมพ์ปั้นลอยองค์ ทุกองค์จะมีลักษณะเฉพาะตัว ไม่เหมือนกัน เพราะจะปั้นทีละองค์ แต่จะมีลักษณะคล้ายๆกัน.

พระปิดตาเนื้อผงแท้ๆของ หลวงพ่อแก้ว นั้น เนื้อต้องละเอียด เพราะเมื่อท่านตำส่วนผสมเสร็จแล้วก็จะนำมากรอง จากนั้นใช้น้ำรักเป็นตัวประสาน บ้างก็ทารักแดง เรียกว่า “ชาดจอแส” เป็นรักมาจากเมืองจีน ปัจจุบันไม่มีแล้ว และใช้เม็ดรัก ซึ่งได้จากต้นรักที่เป็นมงคลนาม มาตำลงไป บางองค์จะเห็นเม็ดรักโผล่ขึ้นมา อาจเป็นสีดำหรือสีแดง แต่จำนวนไม่มาก ถ้ามีรักหรือทองไปปิดบัง ทองและรักต้องเก่ากว่า ซึ่งดูยาก หากคนที่มีความรู้เรื่องรักและทองจะได้เปรียบ เพราะพระปิดตา ของ หลวงพ่อแก้ว หายากกว่าพระสมเด็จ วัดระฆัง เพราะมีการสร้างจำนวนน้อยกว่า แต่สร้างในช่วงเวลาไล่เลี่ยกัน นั่นคือเมื่อประมาณ 150 – 180 ปีมาแล้ว.

 

พระสมเด็จเกตศไชโย วัดไชโยวรวิหาร

พระสมเด็จเกตศไชโย วัดไชโยวรวิหาร จ.อ่างทอง

“พระสมเด็จเกตศไชโย” เป็นพระเนื้อผงที่ได้รับการยอมรับว่า สร้างโดยสมเด็จพระพุฒาจารย์(โต พรหมรังสี) หนึ่งในสามพระสมเด็จสามวัด คือ วัดระฆังฯ วัดบางขุนพรหม และวัดไชโย ที่ได้รับการยอมรับเป็นพระมาตฐาน ได้รับความนิยมเช่าบูชาสูงที่สุดในเวลานี้

แหล่งกำเนิดของพระสมเด็จเกศไชโยนั้น พบพระด้านในองค์ “พระมหาพุทธพิมพ์” ซึ่งเป็นพระพุทธรูปองค์ใหญ่ที่สมเด็จพรพุฒาจารย์(โต)พรหมรังสี เป็นผู้สร้างในวัดไชโยมหาวรวิหาร เมืองอ่างทอง วัดนี้เป็นวัดที่เจ้าประคุณสมเด็จฯ สร้างขึ้นบนที่ดินของตาของท่าน เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้โยมมารดาและตา โดยนำชื่อของโยมมารดา “เกศ” มารวมกันเป็น “เกศไชโย”

ภายในวัดมีพระพุทธรูปประทับนั่งองค์ใหญ่ กล่าวกันว่า เจ้าประคุณสมเด็จฯ ได้สร้างไว้เป็นองค์ประธานของวัด และท่านได้สร้างพระเนื้อผงพิมพ์สมเด็จบรรจุกรุไว้ด้านในองค์พระประธาน เรียกกันว่า “พระสมเด็จเกศไชโย”

ในปีพ.ศ. 2430 มีการบูรณะปฏิสังขรณ์วัดขึ้นใหม่ การก่อสร้างทำให้พระพุทธรูปสั่นสะเทือนจนเสียหาย ต้องบูรณะขึ้นใหม่ สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงทรงรับไว้ในพระบรมราชูปถัมภ์ให้สร้างขึ้นใหม่จนแล้วเสร็จในปี 2434 พร้อมถวายพระนาม “พระมหาพุทธพิมพ์” และเปลี่ยนชื่อวัดเป็นวัดไชโยวรวิหารเป็นพระอารามหลวง นับแต่นั้นมา…

ป.ล.(การค้นคว้าหาข้อมูลความเป็นอัจฉริยะของท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสี  ในยุคประวัติศาสตร์วิเคราะห์ ไม่ว่าผู้ค้นคว้าจะเก่งกาจรอบรู้สักเพียงใด สิ่งที่ขาดเสียมิได้ก็คือ หลักฐานพยานบุคคล อันเป็นวัตถุอุปจารของเรื่อง ยิ่งค้นคว้าวัตถุข้อมูลเป็นเครื่องยืนยันได้มากเท่าไหร่ ความถูกต้องถ่องแท้ก็มีมากเท่านั้น ถ้าสิ่งต่างๆดังกล่าวไม่มี หรือมีแต่คลุมเคลือไม่ชัดเจน เรื่องที่เขียนก็อาจกลายเป็นประวัติศาสตร์อุปโลกน์ คอยสร้างความเข้าใจผิดแก่ผู้อื่นอีกชั่วฟ้าดินสลาย…)

พระสมเด็จ พิมพ์ปรกโพธิ์ เนื้อแก่ปูน

พระสมเด็จบางขุนพรหม กรุเก่า

พระสมเด็จบางขุนพรหมเป็นพระในสกุล “พระสมเด็จวัดระฆัง” ที่สร้างโดย เสมียนตาเจิม และปลุกเสกโดยสมเด็จพุฒจารย์(โต) พรหมรังสี เป็นที่พึงปรารถนาแก่ประชาชนที่เคารพกราบไหว้พระเดชพระคุณอันประเสริฐของท่าน นับวันวัตถุมงคลนี้กำลังจะหายากยิ่ง และราคาก็สูงขึ้นเช่นเดียวกัน  เราเองเป็นผู้หนึ่งที่เคารพบูชาท่าน และได้มีโอกาศครอบครองพระในสกุลพระสมเด็จวัดระฆัง และพระสมเด็จบางขุนพรหมหลายรุ่น จึงได้พยายามศึกษาค้นคว้าประวัติของสมเด็จพุฒจารย์(โต) พรหมรังสี และการสร้างพระสมเด็จ เทียบเคียงกันทั้งทางด้านประวัติศาสตร์ ความเป็นมากับหลักการทางวิทยาศาสตร์ และร่วมศึกษาหาความรู้ด้วยกันกับท่านทั้งหลาย เพื่อเผยแพร่เป็นวิทยาทาน.

พระสมเด็จบางขุนพรหม เป็นพระในสกุล พระสมเด็จวัดระฆัง

พระสมเด็จบางขุนพรหม เป็นพระในสกุล พระสมเด็จวัดระฆัง

การสร้างพระสมเด็จของ สมเด็จพุฒจารย์(โต) พรหมรังสี 

ปี พ.ศ. 2410 สมเด็จพุฒจารย์(โต) พรหมรังสี ท่านได้เริ่มสร้างพระพุทธรูปก่ออิฐถือปูนปางโปรดสัตว์ (ยืนอุ้มบาตร) โดยใช้ซุงทั้งต้นเป็นฐานราก และดูแลการก่อสร้างด้วยตัวท่านเองที่วัดอินทรวิหาร ซึ่งเป็นวัดที่ท่านได้จำพรรษาอยู่เมื่อครั้งยังเป็นสามเณร  ในระหว่างการก่อสร้างเสมียนตราด้วง ต้นสกุล ธนโกเศรฐ และเครือญาติได้ปวารณาตนเองเป็นโยมอุปัฏฐากของสมเด็จพุฒจารย์(โต) พรหมรังสี.

ถึงปี พ.ศ. 2411″ เสมียนตราด้วง” ต้นสกุล “ธนโกเศศ” ได้ทำการบูรณะพระอารามวัดใหม่อมตรส และปฏิสังขรณ์พระเจดีย์ไว้เพื่อเป็นมหากุศล และเป็นพระเจดีย์ประจำตระกูล  ตามประเพณีนิยมในสมัยนั้น โดยได้สร้างพระพระเจดีย์ขึ้นสององค์ องค์ใหญ่เพื่อบรรจุพระพิมพ์ต่างๆ ตามโบราณคติในอันที่จะสืบทอดพระพุทธศาสนา และสร้างเจดีย์องค์เล็กเพื่อบรรจุอัฐิธาตุบรรพระบุรุษ โดยเริ่มสร้างตั้งแต่ปี พ.ศ. 2411  จนกระทั่งถึงปี พ.ศ. 2413 จึงแล้วเสร็จ จากนั้นจึงได้กราบนมัสการขอความเห็นจากสมเด็จพุฒจารย์(โต) พรหมรังสี ในการสร้างพระสมเด็จ เพื่อสืบทอดทางพุทธศาสนา และเป็นการสร้างมหาบุญแห่งวงศ์ตระกูล  สมเด็จพุฒจารย์(โต) พรหมรังสี ท่านได้ให้อนุญาติ และมอบผงวิเศษที่ใช้ในการสร้างพระสมเด็จวัดระฆังของท่านให้ส่วนหนึ่ง (จากบทความของนายกนก สัชฌุกร ที่ได้สัมภาษณ์ท่านเจ้าคุณธรรมถาวร ตอนมีชีวิตยุคสมเด็จพุฒจารย์(โต) พรหมรังสี  ได้ความว่า ได้ผงวิเศษประมาณครึ่งบาตรพระ และทุกครั้งที่ตำในครก ท่านเจ้าประคุณสมเด็จจะโรยผงวิเศษของท่านมากบ้างน้อยบ้าง ตามอัธยาศัย จนกระทั่งแล้วเสร็จ) เมื่อได้ผงวิเศษแล้ว เสมียนตราเจิม และทีมงานก็ได้จัดหามวลสารต่างๆ ตรงตามตำราการสร้างพระสมเด็จของ สมเด็จพุฒจารย์(โต) พรหมรังสี ทุกประการ.

พระสมเด็จบางขุนพรหม เป็นพระในสกุล พระสมเด็จวัดระฆัง

พระสมเด็จบางขุนพรหม เป็นพระในสกุล พระสมเด็จวัดระฆัง

การแกะแม่พิมพ์พระสมเด็จของสมเด็จพุฒจารย์(โต) พรหมรังสี 

ในเรื่องของการสร้างพิมพ์ขึ้นมาใหม่นั้น มีการจัดสร้าง และแกะแม่พิมพ์แม่แบบขึ้นมาใหม่ทั้งหมดจำนวน 9 พิมพ์ เป็นพิมพ์ชิ้นเดียวตัดขอบและปาดหลัง โดยฝีมือของช่างสิบหมู่แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ แต่น่าจะเป็นคนละทีมกับช่างที่แกะแม่พิมพ์พระสมเด็จวัดระฆัง แต่เนื่องด้วยเป็นฝีมือช่างในยุคเดียวกัน มีศิลปะในสกุลช่างเดียวกัน และต้นแบบที่สำคัญคือพิมพ์พระสมเด็จวัดระฆัง ดังนั้นพระสมเด็จบางขุนพรหม จึงมีความสวยงามใกล้เคียงกันกับพระสมเด็จวัดระฆังเป็นอย่างยิ่ง.

พระสมเด็จบางขุนพรหม เป็นพระในสกุล พระสมเด็จวัดระฆัง

พระสมเด็จบางขุนพรหม เป็นพระในสกุล พระสมเด็จวัดระฆัง

พิมพ์พระสมเด็จบางขุนพรหมทั้ง9พิมพ์

1 . พิมพ์ใหญ่

2 . พิมพ์ทรงเจดีย์

3 . พิมพ์เกศบัวตูม

4 . พิมพ์เส้นด้าย

5 . พิมพ์ฐานแซม

6 . พิมพ์สังฆาฏิ

7 . พิมพ์ปรกโพธิ์

8 . พิมพ์ฐานคู่

9 . พิมพ์อกครุฑ

จำนวนที่จัดสร้าง สันนิษฐานกันว่า 84,000 องค์ เท่ากับพระธรรมขันธ์ พระสมเด็จที่สร้างเสร็จจะมีเนื้อขาวค่อนข้างแก่ปูน.

การปลุกเสกโดยสมเด็จพุฒจารย์(โต) พรหมรังสี ได้เจริญพระพุทธมนต์ และปลุกเสกเดี่ยว จนกระทั่งบริบูรณ์ด้วยพระสูตรคาถา.

เมื่อผ่านพิธีปลุกเสกเป็นที่สุดแล้ว ได้มีการเรียกชื่อพระสมเด็จนี้ว่า “พระสมเด็จบางขุนพรหม” ตามตำบลของของที่ตั้งพระเจดีย์ และได้ถูกนำเข้าบรรจุกรุในพระเจดีย์ใหญ่ และพระเจดีย์เล็กทั้งสิ้น ไม่มีการแจกจ่ายแก่ผู้ใดผู้หนึ่ง รวมทั้งมีข้อสันนิษฐานว่า ได้นำพระสมเด็จวัดระฆังลงบรรจุกรุด้วย ดังที่หลายๆท่านนิยมเรียกกันว่า “กรุสองคลอง”

พระสมเด็จบางขุนพรหม เป็นพระในสกุล พระสมเด็จวัดระฆัง

พระสมเด็จบางขุนพรหม เป็นพระในสกุล พระสมเด็จวัดระฆัง

การลักลอบเปิดกรุพระสมเด็จ และการตกพระ

หลังจากที่ได้บรรจุพระสมเด็จไว้ในพระเจดีย์ทั้งสองแล้ว ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2413 จนกระทั่งเกิดวิกฤตกับประเทศในกรณีพิพาทกับประเทศฝรั่งเศษ ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 และนกรณีพิพาทอินโดจีน ได้มีการลักลอบเปิดกรุถึงสามครั้ง คือครั้งที่1 พ.ศ. 2425 , ครั้งที่2 พ.ศ. 2436 และครั้งที่3 พ.ศ. 2459

ในการลักลอบเปิดกรุทั้งสามครั้งนั้น ผู้ลักลอบได้ใช้วิธีต่างๆเช่น การตกเบ็ด โดยใช้ดินเหนียวปั้นเป็นก้อนกลมๆ ติดกับปลายเชือก หย่อนเข้าไปทางรูระบายอากาศ ติดพระแล้วดึงขึ้นมา การใช้น้ำกรอกเข้าไปทางรูระบายอากาศ เพื่อให้น้ำไปละลายการเกาะยึดขององค์พระเป็นต้น ซึ่งการลักลอบเปิดกรุทั้งสามครั้งนั้น  พระสมเด็จที่อยู่บนส่วนบนจึงสวย มีความสมบูรณ์  นักนิยมพระสมเด็จเรียกกันว่า “พระสมเด็จบางขุนพรหม กรุเก่า” ซึ่งลักษณะของวรรณะจะปรากฏคราบเพียงเล็กน้อย หรือบางๆเท่านั้น พิมพ์คมชัดสวยงาม เนื้อหนึกนุ่มละเอียด มีน้ำหนัก และแก่ปูนพระสมเด็จบางขุนพรหม.

พระสมเด็จบางขุนพรหม เป็นพระในสกุล พระสมเด็จวัดระฆัง

พระสมเด็จบางขุนพรหม เป็นพระในสกุล พระสมเด็จวัดระฆัง

ารเปิดกรุพระสมเด็จอย่างเป็นทางการ

ท้ายที่สุดคือการลักลอบขุดกรุที่ฐานในปี พ.ศ. 2500 วิธีนี้ได้พระไปเป็นจำนวนมาก(เป็นที่มาของพระสมเด็จบางขุนพรหมกรุธนา เรื่องเล่าจากประสบการณ์ตรง ของพระภิกษุวงศ์ สุธรรมโม หรือพระอาจารย์จิ้ม กันภัย ได้ใจความว่า ในตอนกลางคืนฝนตกไม่หนักมากนัก นักเลงพระทางภาคเหนือ ได้ร่วมกันลักลอบเจาะที่บริเวณใกล้ฐานของพระเจดีย์พอตัวมุดเข้าไปได้  และได้นำพระออกไปได้เป็นจำนวนมาก จนหิ้วพระไม่ไหว ประกอบกับกลัวเจ้าหน้าที่จะพบเห็น จึงทิ้งไว้ข้างวัดก็หลายถุง มีบุคคลผู้หนึ่งชื่อธนา บ้านอยู่ละแวกวัด ได้เก็บพระชุดนี้ไว้เป็นจำนวนมาก  จะเก็บได้จากผู้ที่ลักลอบทิ้งไว้ หรือซื้อมาก็มิอาจทราบได้  แต่ภายหลังได้ขายให้กับ คุณแถกิงเดช คล่องบัญชี ซึ่งเป็นศิษย์ของท่านเอง และต่อมาได้เขียนหนังสือร่วมกับนายสุคนธ์ เพียรพัฒน์ เรื่อง”สี่สมเด็จ ” ซึ่งพระสมเด็จบางขุนพรหมที่ซื้อมามีทั้งที่สวยงาม มีคราบกรุน้อย และคราบกรุหนาจับกันเป็นก้อนก็มี) จนกระทั่งทางวัดใหม่อมตรส ได้ติดต่อกรมศิลปากรเข้ามาดูแล และเปิดกรุอย่างเป็นทางการโดยเชิญ พลเอกประภาส จารุเสถียร เป็นประธานในพิธีเปิดกรุเมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2500 พระที่นำออกมาครั้งนั้น นักนิยมพระสมเด็จเรียกกันว่า “พระสมเด็จบางขุนพรหม กรุใหม่”

เมื่อนำออกมาคัดแยก คงเหลือพระที่มีสภาพดี สวยงาม เพียง 3000 องค์เศษเท่านั้น ที่เหลือจับกันเป็นก้อน หักชำรุดแทบทั้งสิ้น ลักษณะของวรรณะส่วนใหญ่จะมีคราบกรุค่อนข้างหนา และจับเป็นก้อน ที่สภาพดีจะพบว่าผิวของพระเป็นเกร็ดๆทั่วทั้งองค์ หรือที่เรียกว่าเหนอะ มีคราบไขขาว ฟองเต้าหู้ คราบขี้มอด จะตั้งชื่อหรือเรียกว่าอย่างไรก็แล้วแต่ ล้วนเกิดขึ้นจากปฏิกิริยาระหว่างน้ำกับปูน และเนื้อมวลสารที่เป็นองค์ประกรอบของพระสมเด็จทั้งสิ้น ทั้งสภาพเปียกชึ้น ร้อน เย็น และถูกแช่อยู่ในน้ำเป็นเวลานานกับดินโคลนเป็นต้น  แต่แปลกตรงที่ว่า “พระสมเด็จบางขุนพรหม” เมื่อถูกใช้ซักระยะเนื้อจะเริ่มหนึกนุ่ม ใกล้เคียงกับ”พระสมเด็จวัดระฆัง” เป็นอย่างยิ่ง.

พระสมเด็จบางขุนพรหม เป็นพระในสกุล พระสมเด็จวัดระฆัง

พระสมเด็จบางขุนพรหม เป็นพระในสกุล พระสมเด็จวัดระฆัง

พิมพ์นิยม กับ พระสมเด็จบางขุนพรหม

ในเรื่องของทรงพิมพ์ที่เรียกกันว่า พิมพ์นิยม 9 พิมพ์นั้น พิมพ์ที่พบน้อยที่สุดคือ พิมพ์ปรกโพธิ์ กล่าวกันว่ามีไม่ถึง 20 องค์ และที่สำคัญยังพบพิมพ์ไสยาสน์อีกหลายแบบ มีประมาณไม่เกิน 22 องค์ ซึ่งในปัจจุบันหาดูได้ยาก  ในส่วนของกรุพระเจดีย์เล็ก นักเลงพระในยุคนั้น ไม่ค่อยให้ความสนใจ แต่ปรากฏว่าหลังจากเปิดกรุก็ได้พบพระสมเด็จอยู่มากมาย นับได้เป็นพันองค์ ทรงพิมพ์ที่พบได้แก่ พิมพ์ฐานคู่ พิมพ์ฐานหมอน พิมพ์สามเหลี่ยม(หน้าหมอน) พิมพ์จันทร์ลอย ลักษณะของวรรณะคราบกรุจะไม่มาก จะมีความสวยงามกว่ากรุพระเจดีย์ใหญ่ ซึ่งในปัจจุบันหาดูได้ยาก เช่นกัน.

พระสมเด็จ พิมพ์ปรกโพธิ์ เนื้อแก่ปูน

พระสมเด็จบางขุนพรหม เป็นพระในสกุล พระสมเด็จวัดระฆัง

พระสมเด็จบางขุนพรหม กับ ตราประทับ

หลังจากการเปิดกรุอย่างเป็นทางการ ทางวัดได้ประทับตราที่ด้านหลังขององค์พระ เพื่อป้องกันการปลอม เรีกกันว่า “ตราน้ำหนัก” และจำหน่ายในราคามากพอสมควร แต่ก็หมดลงในเวลาไม่นานนัก ในช่วงเวลาดังกล่าว พระที่ถูกขโมยออกจากกรุไป กลับมาจำนวนมาก โดยที่ประมาณในกรุมีทั้งหมด 84,000องค์ เปิดกรุได้ 3000 เศษ (แต่ให้บูชาได้  2750 องค์ พระหาย) ชำรุดประมาณไม่เกิน 1000 องค์ เท่ากับว่า พระหายออกจากกรุประมาณ 70,000 องค์ และกลับมาในเวลาดังกล่าวส่วนหนึ่ง โดยให้คนเข้าไปในวัดแล้วเช่าพระออกมาดูตราน้ำหนักของวัด แล้วปลอมขึ้น จะได้ขายได้ แล้วก็ขายกันข้างวัดเลย  แต่ก็ดูไม่ยาก คือ พระที่ขโมยออกไปมีสภาพสวย คราบกรุน้อย ปั๊มตราจะเห็นชัด ครบทั้งหมด.

ส่วนพระที่เปิดกรุ ปี 2500 หลังจะไม่สวย คราบกรุเยอะ  ตรายางจะไม่ชัด การสังเกตตรายาง ตรายางสมัยก่อนจะเนื้อแข็ง ปั๊มได้บนพื้นที่ราบเรียบ ดังนั้นบนคราบกรุ หรอรูบ่อน้ำตรา และขี้กรุที่สูงๆต่ำๆ จะไม่ติดชัด(ใช้ไม้บรรทัดวางแนวหาองศาดูได้ ว่าตรายางอยู่บนแนว 180 องศาหรือเปล่า) ถ้าเป็นตรายางสมัยใหม่จะเป็นยางซิลิโคลน จะมีความนุ่ม และจะปั๊มชัดมาก แม้กระทั่งในรูเล็กๆ สีของตรายางเองก็ต้องเปลี่ยนไป เป็นสีน้ำเงินม่วง หรือม่วงอมแดง ต้องไม่ใช่สีน้ำเงิน และไม่ใช่สีฟ้า เพราะผ่านมา 60 กว่าปีแล้ว(ปัจจุบัน พ.ศ.2565) , ส่วนองค์พระนั้น ตอนที่บรรจุกรุอยู่ในหลุมถูกวางเรียงหงายหน้าขึ้น และซ้อนกันหลายชั้น พระจึงมีแรงกดจำนวนมาก และมีความชื้นตั้งแต่แรก ทำให้พระบางองค์ติดกัน และบิดงอไปทางด้านหลังส่วนใหญ่ และทำให้เกิดเนื้อเกินหลังองค์พระ ที่มีอายุเท่ากับองค์พระนั้นเอง(ตอนเปิดกรุพบบางขุนพรหมชำรุดด้านหน้าเป็นจำนวนมาก) และพระอยู่ในกรุ 87 ปี ด้านหลังจะไม่เห็นรอยปาดแล้ว มีแต่คราบเหนอะ คราบกรุเท่านั้น.

จากตรงนี้ผู้เขียนในทรรศนะคติผู้ใดที่ครอบครอง”พระกรุบางขุนพรหม” และพระอยู่ในสภาพสวยมากๆ ต้องพิจารณาให้ดี.

พระสมเด็จบางขุนพรหม เป็นพระในสกุล พระสมเด็จวัดระฆัง

พระขุนแผน กรุวัดทัพข้าว เนื้อผงพุทธคุณ ยุครัตนโกสินทร์ตอนปลาย

พระขุนแผน กรุวัดทัพข้าว เนื้อผงพุทธคุณ ยุค

รัตนโกสินทร์ตอนปลาย

พระขุนแผน กรุวัดทัพข้าว เนื้อผงพุทธคุณ ยุครัตนโกสินทร์ตอนปลาย
พระขุนแผนเนื้อผง กรุวัดทัพข้าวยุคแรก

พระขุนแผนเนื้อผง กรุวัดทัพข้าว (บางฅนเรียก ทัพเข้า หรือ ทัพข้าว) เป็นพระที่มีอายุการสร้างเก่าแก่ โดยสร้างมาก่อนพระสมวัดระฆัง ของสมเด็จพุฒจารย์โต พรหมรังสี จากการได้รับความรู้จากนักสะสมนิยมพระเครื่องเนื้อผง ผู้อาวุโสเกี่ยวกับเรื่องราวของพระผง กรุวัดทัพข้าว ซึ่งท่านได้กล่าวว่า พระกรุนี้มี 3 ยุคด้วยกัน – ยุคแรกสร้างสมัยสุโขทัย มีอายุมากกว่า 700 ปี เป็นพระเนื้อดินผสมผงพุทธคุณเนื้อขาวสะอาด และ แกร่งเป็นหิน พบเปิดกรุที่ จ.สุโขทัย โดยนายเต็ง ไม่ทราบนามสกุล เป็นชาวบ้าน ต.กรุงเก่า อ.เมือง จ.สุโขทัย เป็นผู้ไปขุดพบพระกรุนี้ เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2480 พระที่พบทั้งหมดมีพิมพ์ต่างๆ อาทิ พิมพ์พระร่วงยืน ปางประธานพร , พิมพ์พระร่วงนั่ง , พิมพ์ยืนลีลา เป็นต้น

พระขุนแผน กรุวัดทัพข้าว เนื้อผงพุทธคุณ ยุครัตนโกสินทร์ตอนปลาย

 

พระขุนแผนเนื้อผง กรุวัดทัพข้าวยุคที่ 2

– ยุคที่ 2 สร้างสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ประมาณรัชกาลที่ 3 ถึงรัชกาลที่ 5 มีอายุประมาณ 150 – 200 ปี เป็นพระผงพุทธคุณที่มีเนื้อหาจัดจ้านคล้ายกับสมเด็จวัดระฆัง และ มีพิมพ์ทรงมากมาย เช่น พิมพ์พระหลวงพ่อโต พระขุนแผนห้าเหลี่ยม พระขุนแผนไข้ผ่า พระสาม พระนารายณ์ทรงปืน พระร่วงฯ โดยจัดสร้างล้อพระพิมพ์ในยุคโบราณเป็นสำคัญ พระยุคนี้สันนิษฐานกันว่า สมเด็จพุฒจารย์โต พรหมรังสี น่าจะมีส่วนในการจัดสร้าง เนื่องจากเมื่อศึกษาเนื้อหามวลสารและสภาพธรรมชาติของพระยุคนี้แล้ว พบว่าหนีไม่ออกจากสูตรการสร้างของพระสมเด็จวัดระฆัง นอกจากนี้ยังพบพระพิมพ์เหล่านี้บางพิมพ์ในกรุ ในองค์พระยืนหลวงพ่อโต วัดอินทรวิหาร อีกด้วย

พระขุนแผน กรุวัดทัพข้าว เนื้อผงพุทธคุณ ยุครัตนโกสินทร์ตอนปลาย

พระขุนแผนเนื้อผง กรุวัดทัพข้าวยุคที่ 3

– ยุคที่ 3 สร้างสมัยรัชกาลที่ 6 ถึงรัชกาลที่ 9 พระยุคนี้มีการสร้างพระพิมพ์โบราณเลียนแบบพระกรุวัดทัพข้าวที่มีอยู่เดิม ผู้สร้างที่มีชื่อเสียงยุคนี้ได้แก่ หลวงพ่ออ้าว หลวงปู่เผือก วัดกิ่งแก้ว เป็นต้น , พระพิมพ์ที่พบ มักมีเนื้อหาอ่อนกว่ายุคที่ 2 แต่มีบางพิมพ์ทำเลียนแบบพระกรุวัดทัพข้าวยุคเก่า เช่น พิมพ์หลวงพ่อโต พิมพ์ขุนแผน เป็นต้น

พระเครื่องยุค 3 นี้ทำให้เกิดการเล่นสับสนกับ พระกรุวัดทัพข้าวยุคแรก และ ยุค 2 ทำให้เซียนบางคนตีเหมารวมว่า พระพิมพ์กรุวัดทัพข้าวเป็นพระเก๊ไปทั้งหมด ดังนั้นการศึกษา พระกรุวัดทัพข้าว จะต้องแยกแยะระหว่างพระที่สร้างยุคเก่า และ ยุคใหม่ให้ออก โดยยึดสภาพธรรมชาติที่เก่าแก่และเนื้อหามวลสารจัดจ้านถึงยุคเป็นสำคัญ.

พระขุนแผน กรุวัดทัพข้าว เนื้อผงพุทธคุณ ยุครัตนโกสินทร์ตอนปลาย
พระขุนแผน กรุวัดทัพข้าว เนื้อผงพุทธคุณ ยุครัตนโกสินทร์ตอนปลาย
พระขุนแผน กรุวัดทัพข้าว เนื้อผงพุทธคุณ ยุครัตนโกสินทร์ตอนปลาย

พระสมเด็จวัดระฆัง ผสมมวลสารเก่าเนื้อย้อนยุคโบราณ(108ปี)

ประวัติ วัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร

วัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร หรือ วัดระฆัง , วัดหลวงพ่อโต ตั้งอยู่เลขที่ 250 แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร เป็นพระอารามหลวงชั้นโท ชนิดวรมหาวิหาร อยู่ในเขตการปกครองคณะสงฆ์มหานิกายภาค 1

เจ้าอาวาสพระธรรมธีรราชมหามุนี ( เที่ยง อคฺคธมฺโม ป.ธ.9 ) วัดแห่งนี้ เป็นวัดโบราณ สร้างในสมัยอยุธยา เดิมชื่อวัดบางว้าใหญ่ ( หรือบางหว้าใหญ่ ) ในสมัยธนบุรี  สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงสร้างพระราชวัง ใกล้วัดบางว้าใหญ่ โปรดเกล้า ให้ยกเป็นพระอารามหลวง และ เป็นที่ประทับของสมเด็จพระสังฆราช ในสมัยรัตนโกสินทร์ รัชสมัย  สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช วัดบางว้าใหญ่ อยู่ในพระอุปถัมภ์ของเจ้านายวังหลัง คือ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้ากรมพระยาเทพสุดาวดี ( สา ) พระเชษฐภคินีของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และ เป็นพระราชชนนี ของ กรมพระราชวังสถานพิมุข ทรงมีตำหนักที่ประทับอยู่ติดกับวัด ได่ทรงบูรณะปฏิสังขรณ์ ร่วมกับ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และ ได้ขุดพบระฆังลูกหนึ่งซึ่งโปรดเกล้าฯ ให้นำไปไว้ที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม โดยทรงสร้างระฆังชดเชยให้วัดบางว้าใหญ่ 5 ลูก จากนั้นได้พระราชทานนามวัดใหม่ว่า “วัดระฆังโฆสิตาราม” นอกจากเป็นเพราะขุดพบระฆังที่วัดนี้ และ เพื่อฟื้นฟูแผนครั้งกรุงศรีอยุธยาที่มีวัดชื่อวัดระฆังเช่นกัน

ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯให้เปลี่ยนชื่อ “วัดราชคัณฑิยาราม” ( คัณฑิ แปลว่า ระฆัง ) แต่ไม่มีคนนิยมเรียกชื่อนี้ ยังคงเรียกว่า วัดระฆังต่อมา

วัดระฆังโฆสิตาราม มีหอพระไตรปิฎก ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมที่สวยงามมาก เคยเป็นพระตำหนักหอประทับนั่ง ของ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ขณะทรงรับราชการในสมัยธนบุรี และ โปรดเกล้าฯให้รื้อมาถวายวัด เมื่อเสด็จขึ้นครองราชสมบัติแล้ว มีพระราชประสงค์จะบูรณะปฏิสังขรณ์ ให้สวยงามเพื่อเป็นหอพระไตรปิฎก

สมเด็จพุฒาจารย์ โต พฺรหฺมรํสี

สมเด็จโต , หลวงปู่โต , สมเด็จวัดระฆัง

เกิด 17 เมษายน พ.ศ. 2331

บรรพชา พ.ศ. 2343

อุปสมบม พ.ศ. 2351

มรณภาพ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2415

พรรษา 64 อายุ 84

วัด วัดระฆังโฆสิตาราม

จังหวัด ธนบุรี

สังกัด มหานิกาย

พระสมเด็จวัดระฆัง ผสมมวลสารเก่าเนื้อย้อนยุคโบราณ(108ปี)

พระสมเด็จวัดระฆัง ผสมมวลสารเก่าเนื้อย้อนยุคโบราณ(108ปี)
พระสมเด็จวัดระฆัง ผสมมวลสารเก่าเนื้อย้อนยุคโบราณ(108ปี)
พระสมเด็จวัดระฆัง ผสมมวลสารเก่าเนื้อย้อนยุคโบราณ(108ปี)
พระสมเด็จวัดระฆัง ผสมมวลสารเก่าเนื้อย้อนยุคโบราณ(108ปี)
พระสมเด็จวัดระฆัง ผสมมวลสารเก่าเนื้อย้อนยุคโบราณ(108ปี)