ยันต์สังวาลเป๊ก เครื่องรางล้านนา

ตะกรุดสังวาลเพชรป้องกันภัย หรือยันต์สังวาลเป๊ก เครื่องรางล้านนา

ยันต์สังวาลเป๊ก หรือยันต์ 108 , ยันต์สังวาลเป๊ก หรือ ” ตะกรุดสังวาลเพชรป้องกันภัย ” เป็นตะกรุดคล้องคอ มีเอกลักษณ์อย่างล้านนา นิยมทำด้วยโลหะ หากเป็นทองและเงิน จะเน้นที่ความเป็นมหานิยม หรือถ้าจะเน้นด้านคงกระพัน ป้องกัน จะทำด้วยโลหะอื่นอย่าง ทองแดง ทองเหลือง หรือตะกั่ว เชื่อกันว่ายันต์สังวาลเป๊ก จะช่วยคุ้มภัยได้สารพัด ทั้งป้องกัน ทั้งเข้มขลังมหาอุด.

ยันต์สังวาลเป๊ก แบบโบราณ ผู้สร้างต้องลงอักขระ บนแผ่นโลหะให้ได้ 54 คู่ รวมแล้ว 108 ชิ้นร้อยสลับกัน ไม่ให้ผิด ปิดด้วยพ่อยันต์แม่ยันต์ เพื่อรักษาอาคมนั้น ส่วนสุดท้ายคือยันต์จำปาสี่ต้น หรือยันต์เก้ากุ่ม บ้างก็มีเฉพาะยันต์เก้ากุ่ม ซึ่งเน้นที่เมตตา ป้องกัน แคล้วคลาด ส่วนเส้นด้ายที่ใช้ร้อยสังวาลเป๊ก ต้องเป็นฝ้ายที่ปลูก ปั่น และย้อมเองจึงจะดี แต่ถ้าซื้อก็ห้ามต่อรองราคา

ยันต์อีกประเภทหนึ่ง ที่มีคุณลักษณะคล้ายกับยันต์สังวาลเป๊ก คือ ยันต์หัวใจ 108 สำหรับมัดเอว(บ้างก็เรียกตะกรุด 108 หรือ ยันต์ 108) ต่างกันที่ความยาว และขนาด รวมทั้งวิธีร้อยเชือก ในส่วนอักขระที่เหล่าเกจิอาจารย์จารลงแผ่นโลหะ คือหัวใจของพระคาถา อาจมีสูตรเฉพาะของแต่ละอาจารย์ก็ได้ เล่ากันว่า นิยมลงอักขระเฉพาะวันอังคาร อังคารละดอก หนึ่งเดือนทำได้เพียง 4 ดอก และหากจะได้ครบ 108 ดอก ต้องใช้เวลาเนิ่นนานมาก ดังนั้นจึงพบว่ามีเฉพาะลูกศิษย์ลูกหาใกล้ชิดเท่านั้นที่ได้ครอบครอง.

ตะกรุดจำปา 4 ต้น รุ่นสอง ปี 61 พระอาจารย์กอบชัย วัดแม่ยะ

ตะกรุดจำปา 4 ต้น รุ่นสอง ปี 61 พระอาจารย์กอบชัย วัดแม่ยะ