พระปิดตาหลังแบบ หลวงพ่อแก้ว วัดเครือวัลย์

พระปิดตาเมืองชลฯ

พระปิดตาเมืองชล ส่วนมากจะสร้างแบบควัมบดี คือปิดหน้าทั้งสองข้าง ซึ่งสืบสานมาจากพระปิดของหลวงปู่แก้ว วัดเครือวัลย์ เอกองค์บรมครูจักรพรรดิ์ ราชันแห่งพระปิดตาที่วงการพระเครื่องยกย่องให้เป็นหนึ่งในชุดพระปิดตาเบญจะของจังหวัดชลบุรี ครองค่าความนิยมที่โด่งดังทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งเป็นพระปิดตายุคแรก อันเป็นบรมครูของพระปิดตายุคต่อมา เช่น หลวงปู่ภู่ วัดนอก , หลวงพ่อโต วัดเนินสุทธาวาส , หลวงพ่อเจียม วัดกำแพง , หลวงพ่อครีพ วัดสมถะ

ต่อมาได้มีการสืบสานสร้างพระปิดตา ซึ่งส่วนมากจะเอาพิมพ์หลวงปู่แก้วมาเป็นต้นแบบ ดัดแปรงแก้ไข จนเป็นเอกลักษณ์ของตัวเอง นอกจากนั้นยังมีการนำผงแท่งชอล์ค ผงวิเศษของหลวงปู่แก้วผสม เช่น พระปิดตา 19 คณาจารย์แห่งเมืองชลที่เคยนำเสนอของแต่ละเกจิไว้แล้ว. ที่มีพระปิดตา ที่มีผงของหลวงพ่อแก้ว ผสมเป็นมวลสาร ผู้เขียนพยายามสืบเสาะหาพระอันเป็นองค์ตำนานมารวบรวม หากใครเป็นเจ้าของพระที่รับไปจากทางร้าน กราบขอขอบพระคุณมาที่นี้ด้วย.

พระปิดตาหลังแบบ เนื้อผงพุทธคุณ รุ่นแรก หลวงพ่อแก้ว

ในฐานะที่เป็นผู้เรียบเรียง จึงอยากแบ่งปันในฐานะผู้สะสมพระเครื่องเมืองชลอย่างแท้จริง จึงคัดเกร็ดความรู้มาให้บางส่วนเท่านั้น

หวังว่าบทความนี้ จะเป็นเสมือนการจุดเทียนแห่งแสงสว่างทางปัญญาที่ให้ความรู้ ถือเป็นบุญกุศลอันยิ่งใหญ่ที่จะอุทิศให้บูรพาจารย์ทั้งหลาย หากมีสิ่งผิดพลาดแต่ประการใด ต้องขอประทานอภัยมา ณ ที่นี่ด้วย

ขอให้ทุกท่าน จงประสพสุข สมหวัง ด้วยพุทธบารมี ธรรมบารมี สังฆบารมี อย่าเจ็บ อย่าจน…ด้วยเทิญ

พระปิดตาหลังแบบ เนื้อผงพุทธคุณ รุ่นแรก หลวงพ่อแก้ว

เหรียญเสมาหลวงพ่อโสธร เนื้อทองคำ

หลวงพ่อโสธร

วัดโสธรวนารามวรวิหาร

ประวัติความเป็นมา หลวงพ่อพุทธโสธรนั้น ปรากฏชัดเจนในหนังสือของจังหวัดฉะเชิงเทราที่ได้พิมพ์ออกมาเผยแพร่ เมื่อคราวมีงานมนัสการ หลวงพ่อพุทธโสธร ปี พ.ศ. 2496 เป็นปีแรก องค์หลวงพ่อพุทธโสธร เป็นพระพุทธรูป หล่อด้วยทองสำริด แสดงศิลปะลานนา-ลานช้าง ปางสมาธิขัดราบหลวมๆ พระเนตรทราย หน้าตักกว้างประมาณศอกเศษ ไม่เข้าใจเหมือนกันว่า ผู้เขียน ทำไมจึงใช้คำว่า “ศิลปะลานนา-ลานช้าง” เพราะไม่มีคำอธิบาย นอกจากความหมายตามความเข้าใจ ตามชื่อพระพุทธรูปที่ว่า ศิลปะในองค์พระเป็นแบบไตอ้ายลาว “ลานช้าง” ผสมกับศิลปะสมัยเชียงแสนรึเปล่า หรือตีขลุมว่า เป็นศิลปะแนวใหม่ ก็ยังไม่มีความนัยบ่งบอกได้ อธิบายแต่เพียงว่า องค์หลวงพ่อพุทธโสธรนั้น ถูกพอกปูนเสริมองค์จริงไว้ภายใน ด้วยเหตุเพราะเกรงว่า อาจมีหัวขโมยลักลอบตัดเศียรเอาไปขาย , องค์ปัจจุบันที่ถูกพอกปูนหุ้มดังกล่าวนี้ เมื่อวัดขนาดดู ยังมีหน้าตักกว้าง 3 ศอก กับ 5 นิ้ว และระบุด้วยว่า เขียนตามคำบอกเล่าต่อๆกันมา ก็แสดงว่าเป็นเรื่องจริงตามตำนานที่เกิดขึ้นจากคำบอกเล่า ซึ่งอาจมีมาก่อน พ.ศ. 2496 ถ้ามองในแง่ดี องค์หลวงพ่อพุทธโสธร ที่เป็นเนื้อสำริดนั้น ช่างปูนคงจะพอกตามลักษณะเดิมๆทุกประการ ไม่เช่นนั้นแล้ว ย่อมผิดพลาดคลาดเคลื่อนร้อยเปอร์เซ็นต์เต็ม.

เหรียญเสมาใหญ่ หลวงพ่อโสธร

ตำนานหลวงพ่อโสธร

ตามคำอธิบาย กล่าวถึงตำนานพระพุทธรูป 3 พี่น้องได้แก่ หลวงพ่อพุทธโสธร หลวงพ่อวัดบ้านแหลม จ.สมุทรสงคราม และหลวงพ่อโต วัดบางพลี จ.สมุทรปราการ ล่องลอยน้ำมาทางเหนือของประเทศ(ไม่ได้ระบุว่า ที่มีความรู้ว่าพระพุทธรูป 3 พี่น้อง ลอยมาจากทางเหนือ) อย่าถามว่า ลอยมาได้อย่างไร เพราะตำนานกล่าวไว้ว่าล่องลอยมาได้ อาจด้วยอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ ของหลวงพ่อพระพุทธรูปทั้งสามพี่น้อง ในที่สุดก็มาผุดขึ้นที่ แม่น้ำบางปะกง ณ ตำบล สัมปทวน มีชาวบ้านร้านถิ่นแถวนั้นบังเอิญพบเห็น จึงร่วมแรงร่วมใจกัน เอาเชือกพรวนมะลิลาลงไปผูกมัดองค์พระ แล้วฉุดลากขึ้นฝั่ง แต่ฉุดอย่างไรก็ฉุดไม่ขึ้น พยายามฉุดอีกจนเชือกขาดลงในที่สุด พระพุทธรูปทั้งสามพี่น้อง จึงจมหายไป.

ปาฏิหาริย์หรือเหตุบังเอิญ

อาจเป็นเหตุบังเอิญ ลักษณะตำนานพระพุทธรูปสามพี่น้อง ลอยน้ำมา ดูไปคล้ายกับตำนานจามเทวี ที่เขียนโดย ชาวเขลางค์นคร ตรงที่เมื่อพระนางจามเทวี เดินทางไปถึง ณ ที่ตรงไหน หรือจะทำอะไรที่มีลักษณะโดดเด่นเป็นพิเศษ ก็จะชื่อสุสานที่ดังกล่าวตามลักษณะเหตุที่เกิดขึ้น ความประหลาดอยู่ตรงจุดนี้ อย่างเช่น บริเวณที่พระพุทธรูปทั้งสามพี่น้องลอยทวนน้ำ ถูกเรียกชื่อว่า ตำบลสามพระทวน ปัจจุบันเพี้ยนไปเป็น “ตำบลสัมปทวน” อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา และเมื่อพระพุทธรูปสามพี่น้อง ยังคงลอยอยู่ในแม่น้ำบางปะกงผ่านวัดโสธร ไปถึงคุ้งน้ำด้านทิศใต้ของวัดโสธร ก็ได้แสดงอภินิหารผุดขึ้นเหนือน้ำ และลอยเข้าไปในคลองเล็กๆ ชาวบ้านแถวนั้นที่ได้พบเห็น ก็ได้ช่วยกันฉุดขึ้นฝั่ง แต่ไม่สำเร็จ อย่างไรก็ตาม ด้วยเหตุดังกล่าว คลองที่พระพุทธรูปทั้งสามพี่น้องผุดโผล่ ปัจจุบันได้ชื่อว่า “คลองบางพระ” จนกระทั่งทุกวันนี้ เล่ากันอีกต่อมาว่า พระพุทธรูปสามพี่น้อง ได้ลอยทวนน้ำขึ้นไปทางเหนือ และลอยวนอยู่แถวแหลมหัวเลี้ยวหน้า กองพันทะหารช่าง ช.1 พัน 2 ร.อ.ฉ.ช. จากนั้นก็ลอยเข้าไปในฝั่งตรงกันข้าม กับกองพันทะหารช่าง สถานที่ลอยวนอยู่นั้น เรียกว่า “แหลมหัววน” ส่วนคลองนั้นก็ไดชื่อเรียกเช่นกันว่า “คลองสามพี่น้อง” ความคล้ายคลึงเกี่ยวกับการตั้งชื่อสถานที่ หรือตำบลที่พระพุทธรูปสามพี่น้องลอยผ่าน นักคิดนักเขียน หรือนักเล่าตำนานที่ว่า คงจะเป็นผู้มีความรู้เกี่ยวกับตำนานต่างๆพอตัวทีเดียว จึงสามารถเล่าเรื่องมีเชิงปรัมปราคติให้คนอื่นเรียกชื่อเป็นตุเป็นตะ แม้จะรู้ทั้งรู้ว่า ก็คือตำนานควรเชื่อได้บ้าง แต่ไม่ใช่ทั้งหมด คือที่เชื่อไม่ได้ก็มีมาก ไม่มีใครตอบได้ว่า พระพุทธรูปเนื้อสำริดสามารถล่องลอยจากแม่น้ำปิง จ.เชียงใหม่ ไปถึงแม่น้ำบางปะกงได้ยังไง เว้นไว้เสียแต่จะมีปาฏิหาริย์  ในกรณีนี้ปาฏิหาริย์เกิดขึ้นได้จริงๆ หรือว่าเป็นแค่เรื่องที่มีเจตนา จะให้ชาวบ้านญาติโยมเกิดความศรัทธาในพระพุทธรูปเท่านั้น ว่าเป็นพี่น้องกันมาสามองค์ เช่นเดียวกับตำนานที่เกี่ยวข้องกับศาสนาทุกเรื่องในประเทศนี้.

เหรียญหลวงพ่อโสธร เนื้อเงิน

พระพุทธรูปสามพี่น้อง ลอยผ่านตำแหน่งต่างๆ ซึ่งทำให้ชาวบ้านได้ตั้งชื่อ หรือมีคนตั้งอย่างมีเจตนาให้เป็นชื่อเกี่ยวกับการลอยผ่านของพระพุทธรูปเรียบร้อยแล้ว พระพุทธรูปองค์ใหญ่ หรือองค์พี่ ก็ได้ลอยตามน้ำต่อไปจนถึงลำน้ำแม่กลอง จ.สมุทรสงคราม ประชาชนรุ่นตำนานได้เห็นพระพุทธรูปผุดขึ้นเหนือน้ำ จึงได้อารธนาขึ้นประดิษฐานอยู่ ณ วัดบ้านแหลม องค์นี้แหละมีปัญหาเถียงกันไม่จบ ชาวบ้านญาติโยมเรียกชื่อพระพุทธรูปองค์พี่นี้ ตามความคิดของคนรุ่นนั้นว่า หลวงพ่อวัดบ้านแหลม ตำนานว่า วัดนี้เป็นวัดเก่าแก่ หลวงพ่อวัดบ้านแหลมเป็นพระพุทธรูปยืน  องค์กลางคือ พระพุทธโสธร หรือที่นิยมเรียกกันในปัจจุบันว่า หลวงพ่อโสธร  และอีกองค์เล็กคือ หลวงพ่อวัดไร่ขิง แตกต่างออกไปจากตำนานในหนังสือของจังหวัดฉะเชิงเทรา เพราะปี พ.ศ. 2496 ว่า องค์สุดท้องหรือองค์เล็ก ก็คือ หลวงพ่อโต วัดบางพลี จ.สมุทรปราการ.

พระพุทธโสธร

ในทัศนะของผู้เขียน คงไม่ต้องอธิบายต่อว่า ทำไมประชาชนจำนวนมหึมา จึงนิยมวัตถุมงมงคลทุกประเภท ของวัดโสธร และทำไมผู้สร้างวัตถุมงคลเหล่านั้นของวัดนี้ จึงนิยมและชื่นชมที่จะสร้างจำลองแบบ พระพุทธโสธร โดยเฉพาะเหรียญแบบต่างๆ หลายรุ่น ส่วนใหญ่จะเป็นจำลองแบบพระพุทธโสธร เป็นเอกลักษณ์แทบทั้งสิ้น วัตถุมงคลรุ่นแรกเริ่มสร้าง พ.ศ. 2460 และมีการจัดสร้างมาเรื่อยๆ จนถึงปัจจุบัน ยังมีการจัดสร้างออกมาให้ประชาชนที่เลื่อมใส ศรัทธา นิยมชมชอบ ในองค์หลวงพ่อโสธร ให้บูชาสะสม…

เหรียญเสมาหลวงพ่อโสธร

พระสมเด็จ พิมพ์ปรกโพธิ์ เนื้อแก่ปูน

พระสมเด็จบางขุนพรหม กรุเก่า

พระสมเด็จบางขุนพรหมเป็นพระในสกุล “พระสมเด็จวัดระฆัง” ที่สร้างโดย เสมียนตาเจิม และปลุกเสกโดยสมเด็จพุฒจารย์(โต) พรหมรังสี เป็นที่พึงปรารถนาแก่ประชาชนที่เคารพกราบไหว้พระเดชพระคุณอันประเสริฐของท่าน นับวันวัตถุมงคลนี้กำลังจะหายากยิ่ง และราคาก็สูงขึ้นเช่นเดียวกัน  เราเองเป็นผู้หนึ่งที่เคารพบูชาท่าน และได้มีโอกาศครอบครองพระในสกุลพระสมเด็จวัดระฆัง และพระสมเด็จบางขุนพรหมหลายรุ่น จึงได้พยายามศึกษาค้นคว้าประวัติของสมเด็จพุฒจารย์(โต) พรหมรังสี และการสร้างพระสมเด็จ เทียบเคียงกันทั้งทางด้านประวัติศาสตร์ ความเป็นมากับหลักการทางวิทยาศาสตร์ และร่วมศึกษาหาความรู้ด้วยกันกับท่านทั้งหลาย เพื่อเผยแพร่เป็นวิทยาทาน.

พระสมเด็จบางขุนพรหม เป็นพระในสกุล พระสมเด็จวัดระฆัง

พระสมเด็จบางขุนพรหม เป็นพระในสกุล พระสมเด็จวัดระฆัง

การสร้างพระสมเด็จของ สมเด็จพุฒจารย์(โต) พรหมรังสี 

ปี พ.ศ. 2410 สมเด็จพุฒจารย์(โต) พรหมรังสี ท่านได้เริ่มสร้างพระพุทธรูปก่ออิฐถือปูนปางโปรดสัตว์ (ยืนอุ้มบาตร) โดยใช้ซุงทั้งต้นเป็นฐานราก และดูแลการก่อสร้างด้วยตัวท่านเองที่วัดอินทรวิหาร ซึ่งเป็นวัดที่ท่านได้จำพรรษาอยู่เมื่อครั้งยังเป็นสามเณร  ในระหว่างการก่อสร้างเสมียนตราด้วง ต้นสกุล ธนโกเศรฐ และเครือญาติได้ปวารณาตนเองเป็นโยมอุปัฏฐากของสมเด็จพุฒจารย์(โต) พรหมรังสี.

ถึงปี พ.ศ. 2411″ เสมียนตราด้วง” ต้นสกุล “ธนโกเศศ” ได้ทำการบูรณะพระอารามวัดใหม่อมตรส และปฏิสังขรณ์พระเจดีย์ไว้เพื่อเป็นมหากุศล และเป็นพระเจดีย์ประจำตระกูล  ตามประเพณีนิยมในสมัยนั้น โดยได้สร้างพระพระเจดีย์ขึ้นสององค์ องค์ใหญ่เพื่อบรรจุพระพิมพ์ต่างๆ ตามโบราณคติในอันที่จะสืบทอดพระพุทธศาสนา และสร้างเจดีย์องค์เล็กเพื่อบรรจุอัฐิธาตุบรรพระบุรุษ โดยเริ่มสร้างตั้งแต่ปี พ.ศ. 2411  จนกระทั่งถึงปี พ.ศ. 2413 จึงแล้วเสร็จ จากนั้นจึงได้กราบนมัสการขอความเห็นจากสมเด็จพุฒจารย์(โต) พรหมรังสี ในการสร้างพระสมเด็จ เพื่อสืบทอดทางพุทธศาสนา และเป็นการสร้างมหาบุญแห่งวงศ์ตระกูล  สมเด็จพุฒจารย์(โต) พรหมรังสี ท่านได้ให้อนุญาติ และมอบผงวิเศษที่ใช้ในการสร้างพระสมเด็จวัดระฆังของท่านให้ส่วนหนึ่ง (จากบทความของนายกนก สัชฌุกร ที่ได้สัมภาษณ์ท่านเจ้าคุณธรรมถาวร ตอนมีชีวิตยุคสมเด็จพุฒจารย์(โต) พรหมรังสี  ได้ความว่า ได้ผงวิเศษประมาณครึ่งบาตรพระ และทุกครั้งที่ตำในครก ท่านเจ้าประคุณสมเด็จจะโรยผงวิเศษของท่านมากบ้างน้อยบ้าง ตามอัธยาศัย จนกระทั่งแล้วเสร็จ) เมื่อได้ผงวิเศษแล้ว เสมียนตราเจิม และทีมงานก็ได้จัดหามวลสารต่างๆ ตรงตามตำราการสร้างพระสมเด็จของ สมเด็จพุฒจารย์(โต) พรหมรังสี ทุกประการ.

พระสมเด็จบางขุนพรหม เป็นพระในสกุล พระสมเด็จวัดระฆัง

พระสมเด็จบางขุนพรหม เป็นพระในสกุล พระสมเด็จวัดระฆัง

การแกะแม่พิมพ์พระสมเด็จของสมเด็จพุฒจารย์(โต) พรหมรังสี 

ในเรื่องของการสร้างพิมพ์ขึ้นมาใหม่นั้น มีการจัดสร้าง และแกะแม่พิมพ์แม่แบบขึ้นมาใหม่ทั้งหมดจำนวน 9 พิมพ์ เป็นพิมพ์ชิ้นเดียวตัดขอบและปาดหลัง โดยฝีมือของช่างสิบหมู่แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ แต่น่าจะเป็นคนละทีมกับช่างที่แกะแม่พิมพ์พระสมเด็จวัดระฆัง แต่เนื่องด้วยเป็นฝีมือช่างในยุคเดียวกัน มีศิลปะในสกุลช่างเดียวกัน และต้นแบบที่สำคัญคือพิมพ์พระสมเด็จวัดระฆัง ดังนั้นพระสมเด็จบางขุนพรหม จึงมีความสวยงามใกล้เคียงกันกับพระสมเด็จวัดระฆังเป็นอย่างยิ่ง.

พระสมเด็จบางขุนพรหม เป็นพระในสกุล พระสมเด็จวัดระฆัง

พระสมเด็จบางขุนพรหม เป็นพระในสกุล พระสมเด็จวัดระฆัง

พิมพ์พระสมเด็จบางขุนพรหมทั้ง9พิมพ์

1 . พิมพ์ใหญ่

2 . พิมพ์ทรงเจดีย์

3 . พิมพ์เกศบัวตูม

4 . พิมพ์เส้นด้าย

5 . พิมพ์ฐานแซม

6 . พิมพ์สังฆาฏิ

7 . พิมพ์ปรกโพธิ์

8 . พิมพ์ฐานคู่

9 . พิมพ์อกครุฑ

จำนวนที่จัดสร้าง สันนิษฐานกันว่า 84,000 องค์ เท่ากับพระธรรมขันธ์ พระสมเด็จที่สร้างเสร็จจะมีเนื้อขาวค่อนข้างแก่ปูน.

การปลุกเสกโดยสมเด็จพุฒจารย์(โต) พรหมรังสี ได้เจริญพระพุทธมนต์ และปลุกเสกเดี่ยว จนกระทั่งบริบูรณ์ด้วยพระสูตรคาถา.

เมื่อผ่านพิธีปลุกเสกเป็นที่สุดแล้ว ได้มีการเรียกชื่อพระสมเด็จนี้ว่า “พระสมเด็จบางขุนพรหม” ตามตำบลของของที่ตั้งพระเจดีย์ และได้ถูกนำเข้าบรรจุกรุในพระเจดีย์ใหญ่ และพระเจดีย์เล็กทั้งสิ้น ไม่มีการแจกจ่ายแก่ผู้ใดผู้หนึ่ง รวมทั้งมีข้อสันนิษฐานว่า ได้นำพระสมเด็จวัดระฆังลงบรรจุกรุด้วย ดังที่หลายๆท่านนิยมเรียกกันว่า “กรุสองคลอง”

พระสมเด็จบางขุนพรหม เป็นพระในสกุล พระสมเด็จวัดระฆัง

พระสมเด็จบางขุนพรหม เป็นพระในสกุล พระสมเด็จวัดระฆัง

การลักลอบเปิดกรุพระสมเด็จ และการตกพระ

หลังจากที่ได้บรรจุพระสมเด็จไว้ในพระเจดีย์ทั้งสองแล้ว ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2413 จนกระทั่งเกิดวิกฤตกับประเทศในกรณีพิพาทกับประเทศฝรั่งเศษ ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 และนกรณีพิพาทอินโดจีน ได้มีการลักลอบเปิดกรุถึงสามครั้ง คือครั้งที่1 พ.ศ. 2425 , ครั้งที่2 พ.ศ. 2436 และครั้งที่3 พ.ศ. 2459

ในการลักลอบเปิดกรุทั้งสามครั้งนั้น ผู้ลักลอบได้ใช้วิธีต่างๆเช่น การตกเบ็ด โดยใช้ดินเหนียวปั้นเป็นก้อนกลมๆ ติดกับปลายเชือก หย่อนเข้าไปทางรูระบายอากาศ ติดพระแล้วดึงขึ้นมา การใช้น้ำกรอกเข้าไปทางรูระบายอากาศ เพื่อให้น้ำไปละลายการเกาะยึดขององค์พระเป็นต้น ซึ่งการลักลอบเปิดกรุทั้งสามครั้งนั้น  พระสมเด็จที่อยู่บนส่วนบนจึงสวย มีความสมบูรณ์  นักนิยมพระสมเด็จเรียกกันว่า “พระสมเด็จบางขุนพรหม กรุเก่า” ซึ่งลักษณะของวรรณะจะปรากฏคราบเพียงเล็กน้อย หรือบางๆเท่านั้น พิมพ์คมชัดสวยงาม เนื้อหนึกนุ่มละเอียด มีน้ำหนัก และแก่ปูนพระสมเด็จบางขุนพรหม.

พระสมเด็จบางขุนพรหม เป็นพระในสกุล พระสมเด็จวัดระฆัง

พระสมเด็จบางขุนพรหม เป็นพระในสกุล พระสมเด็จวัดระฆัง

ารเปิดกรุพระสมเด็จอย่างเป็นทางการ

ท้ายที่สุดคือการลักลอบขุดกรุที่ฐานในปี พ.ศ. 2500 วิธีนี้ได้พระไปเป็นจำนวนมาก(เป็นที่มาของพระสมเด็จบางขุนพรหมกรุธนา เรื่องเล่าจากประสบการณ์ตรง ของพระภิกษุวงศ์ สุธรรมโม หรือพระอาจารย์จิ้ม กันภัย ได้ใจความว่า ในตอนกลางคืนฝนตกไม่หนักมากนัก นักเลงพระทางภาคเหนือ ได้ร่วมกันลักลอบเจาะที่บริเวณใกล้ฐานของพระเจดีย์พอตัวมุดเข้าไปได้  และได้นำพระออกไปได้เป็นจำนวนมาก จนหิ้วพระไม่ไหว ประกอบกับกลัวเจ้าหน้าที่จะพบเห็น จึงทิ้งไว้ข้างวัดก็หลายถุง มีบุคคลผู้หนึ่งชื่อธนา บ้านอยู่ละแวกวัด ได้เก็บพระชุดนี้ไว้เป็นจำนวนมาก  จะเก็บได้จากผู้ที่ลักลอบทิ้งไว้ หรือซื้อมาก็มิอาจทราบได้  แต่ภายหลังได้ขายให้กับ คุณแถกิงเดช คล่องบัญชี ซึ่งเป็นศิษย์ของท่านเอง และต่อมาได้เขียนหนังสือร่วมกับนายสุคนธ์ เพียรพัฒน์ เรื่อง”สี่สมเด็จ ” ซึ่งพระสมเด็จบางขุนพรหมที่ซื้อมามีทั้งที่สวยงาม มีคราบกรุน้อย และคราบกรุหนาจับกันเป็นก้อนก็มี) จนกระทั่งทางวัดใหม่อมตรส ได้ติดต่อกรมศิลปากรเข้ามาดูแล และเปิดกรุอย่างเป็นทางการโดยเชิญ พลเอกประภาส จารุเสถียร เป็นประธานในพิธีเปิดกรุเมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2500 พระที่นำออกมาครั้งนั้น นักนิยมพระสมเด็จเรียกกันว่า “พระสมเด็จบางขุนพรหม กรุใหม่”

เมื่อนำออกมาคัดแยก คงเหลือพระที่มีสภาพดี สวยงาม เพียง 3000 องค์เศษเท่านั้น ที่เหลือจับกันเป็นก้อน หักชำรุดแทบทั้งสิ้น ลักษณะของวรรณะส่วนใหญ่จะมีคราบกรุค่อนข้างหนา และจับเป็นก้อน ที่สภาพดีจะพบว่าผิวของพระเป็นเกร็ดๆทั่วทั้งองค์ หรือที่เรียกว่าเหนอะ มีคราบไขขาว ฟองเต้าหู้ คราบขี้มอด จะตั้งชื่อหรือเรียกว่าอย่างไรก็แล้วแต่ ล้วนเกิดขึ้นจากปฏิกิริยาระหว่างน้ำกับปูน และเนื้อมวลสารที่เป็นองค์ประกรอบของพระสมเด็จทั้งสิ้น ทั้งสภาพเปียกชึ้น ร้อน เย็น และถูกแช่อยู่ในน้ำเป็นเวลานานกับดินโคลนเป็นต้น  แต่แปลกตรงที่ว่า “พระสมเด็จบางขุนพรหม” เมื่อถูกใช้ซักระยะเนื้อจะเริ่มหนึกนุ่ม ใกล้เคียงกับ”พระสมเด็จวัดระฆัง” เป็นอย่างยิ่ง.

พระสมเด็จบางขุนพรหม เป็นพระในสกุล พระสมเด็จวัดระฆัง

พระสมเด็จบางขุนพรหม เป็นพระในสกุล พระสมเด็จวัดระฆัง

พิมพ์นิยม กับ พระสมเด็จบางขุนพรหม

ในเรื่องของทรงพิมพ์ที่เรียกกันว่า พิมพ์นิยม 9 พิมพ์นั้น พิมพ์ที่พบน้อยที่สุดคือ พิมพ์ปรกโพธิ์ กล่าวกันว่ามีไม่ถึง 20 องค์ และที่สำคัญยังพบพิมพ์ไสยาสน์อีกหลายแบบ มีประมาณไม่เกิน 22 องค์ ซึ่งในปัจจุบันหาดูได้ยาก  ในส่วนของกรุพระเจดีย์เล็ก นักเลงพระในยุคนั้น ไม่ค่อยให้ความสนใจ แต่ปรากฏว่าหลังจากเปิดกรุก็ได้พบพระสมเด็จอยู่มากมาย นับได้เป็นพันองค์ ทรงพิมพ์ที่พบได้แก่ พิมพ์ฐานคู่ พิมพ์ฐานหมอน พิมพ์สามเหลี่ยม(หน้าหมอน) พิมพ์จันทร์ลอย ลักษณะของวรรณะคราบกรุจะไม่มาก จะมีความสวยงามกว่ากรุพระเจดีย์ใหญ่ ซึ่งในปัจจุบันหาดูได้ยาก เช่นกัน.

พระสมเด็จ พิมพ์ปรกโพธิ์ เนื้อแก่ปูน

พระสมเด็จบางขุนพรหม เป็นพระในสกุล พระสมเด็จวัดระฆัง

พระสมเด็จบางขุนพรหม กับ ตราประทับ

หลังจากการเปิดกรุอย่างเป็นทางการ ทางวัดได้ประทับตราที่ด้านหลังขององค์พระ เพื่อป้องกันการปลอม เรีกกันว่า “ตราน้ำหนัก” และจำหน่ายในราคามากพอสมควร แต่ก็หมดลงในเวลาไม่นานนัก ในช่วงเวลาดังกล่าว พระที่ถูกขโมยออกจากกรุไป กลับมาจำนวนมาก โดยที่ประมาณในกรุมีทั้งหมด 84,000องค์ เปิดกรุได้ 3000 เศษ (แต่ให้บูชาได้  2750 องค์ พระหาย) ชำรุดประมาณไม่เกิน 1000 องค์ เท่ากับว่า พระหายออกจากกรุประมาณ 70,000 องค์ และกลับมาในเวลาดังกล่าวส่วนหนึ่ง โดยให้คนเข้าไปในวัดแล้วเช่าพระออกมาดูตราน้ำหนักของวัด แล้วปลอมขึ้น จะได้ขายได้ แล้วก็ขายกันข้างวัดเลย  แต่ก็ดูไม่ยาก คือ พระที่ขโมยออกไปมีสภาพสวย คราบกรุน้อย ปั๊มตราจะเห็นชัด ครบทั้งหมด.

ส่วนพระที่เปิดกรุ ปี 2500 หลังจะไม่สวย คราบกรุเยอะ  ตรายางจะไม่ชัด การสังเกตตรายาง ตรายางสมัยก่อนจะเนื้อแข็ง ปั๊มได้บนพื้นที่ราบเรียบ ดังนั้นบนคราบกรุ หรอรูบ่อน้ำตรา และขี้กรุที่สูงๆต่ำๆ จะไม่ติดชัด(ใช้ไม้บรรทัดวางแนวหาองศาดูได้ ว่าตรายางอยู่บนแนว 180 องศาหรือเปล่า) ถ้าเป็นตรายางสมัยใหม่จะเป็นยางซิลิโคลน จะมีความนุ่ม และจะปั๊มชัดมาก แม้กระทั่งในรูเล็กๆ สีของตรายางเองก็ต้องเปลี่ยนไป เป็นสีน้ำเงินม่วง หรือม่วงอมแดง ต้องไม่ใช่สีน้ำเงิน และไม่ใช่สีฟ้า เพราะผ่านมา 60 กว่าปีแล้ว(ปัจจุบัน พ.ศ.2565) , ส่วนองค์พระนั้น ตอนที่บรรจุกรุอยู่ในหลุมถูกวางเรียงหงายหน้าขึ้น และซ้อนกันหลายชั้น พระจึงมีแรงกดจำนวนมาก และมีความชื้นตั้งแต่แรก ทำให้พระบางองค์ติดกัน และบิดงอไปทางด้านหลังส่วนใหญ่ และทำให้เกิดเนื้อเกินหลังองค์พระ ที่มีอายุเท่ากับองค์พระนั้นเอง(ตอนเปิดกรุพบบางขุนพรหมชำรุดด้านหน้าเป็นจำนวนมาก) และพระอยู่ในกรุ 87 ปี ด้านหลังจะไม่เห็นรอยปาดแล้ว มีแต่คราบเหนอะ คราบกรุเท่านั้น.

จากตรงนี้ผู้เขียนในทรรศนะคติผู้ใดที่ครอบครอง”พระกรุบางขุนพรหม” และพระอยู่ในสภาพสวยมากๆ ต้องพิจารณาให้ดี.

พระสมเด็จบางขุนพรหม เป็นพระในสกุล พระสมเด็จวัดระฆัง

พระขุนแผน กรุวัดทัพข้าว เนื้อผงพุทธคุณ ยุครัตนโกสินทร์ตอนปลาย

พระขุนแผน กรุวัดทัพข้าว เนื้อผงพุทธคุณ ยุค

รัตนโกสินทร์ตอนปลาย

พระขุนแผน กรุวัดทัพข้าว เนื้อผงพุทธคุณ ยุครัตนโกสินทร์ตอนปลาย
พระขุนแผนเนื้อผง กรุวัดทัพข้าวยุคแรก

พระขุนแผนเนื้อผง กรุวัดทัพข้าว (บางฅนเรียก ทัพเข้า หรือ ทัพข้าว) เป็นพระที่มีอายุการสร้างเก่าแก่ โดยสร้างมาก่อนพระสมวัดระฆัง ของสมเด็จพุฒจารย์โต พรหมรังสี จากการได้รับความรู้จากนักสะสมนิยมพระเครื่องเนื้อผง ผู้อาวุโสเกี่ยวกับเรื่องราวของพระผง กรุวัดทัพข้าว ซึ่งท่านได้กล่าวว่า พระกรุนี้มี 3 ยุคด้วยกัน – ยุคแรกสร้างสมัยสุโขทัย มีอายุมากกว่า 700 ปี เป็นพระเนื้อดินผสมผงพุทธคุณเนื้อขาวสะอาด และ แกร่งเป็นหิน พบเปิดกรุที่ จ.สุโขทัย โดยนายเต็ง ไม่ทราบนามสกุล เป็นชาวบ้าน ต.กรุงเก่า อ.เมือง จ.สุโขทัย เป็นผู้ไปขุดพบพระกรุนี้ เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2480 พระที่พบทั้งหมดมีพิมพ์ต่างๆ อาทิ พิมพ์พระร่วงยืน ปางประธานพร , พิมพ์พระร่วงนั่ง , พิมพ์ยืนลีลา เป็นต้น

พระขุนแผน กรุวัดทัพข้าว เนื้อผงพุทธคุณ ยุครัตนโกสินทร์ตอนปลาย

 

พระขุนแผนเนื้อผง กรุวัดทัพข้าวยุคที่ 2

– ยุคที่ 2 สร้างสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ประมาณรัชกาลที่ 3 ถึงรัชกาลที่ 5 มีอายุประมาณ 150 – 200 ปี เป็นพระผงพุทธคุณที่มีเนื้อหาจัดจ้านคล้ายกับสมเด็จวัดระฆัง และ มีพิมพ์ทรงมากมาย เช่น พิมพ์พระหลวงพ่อโต พระขุนแผนห้าเหลี่ยม พระขุนแผนไข้ผ่า พระสาม พระนารายณ์ทรงปืน พระร่วงฯ โดยจัดสร้างล้อพระพิมพ์ในยุคโบราณเป็นสำคัญ พระยุคนี้สันนิษฐานกันว่า สมเด็จพุฒจารย์โต พรหมรังสี น่าจะมีส่วนในการจัดสร้าง เนื่องจากเมื่อศึกษาเนื้อหามวลสารและสภาพธรรมชาติของพระยุคนี้แล้ว พบว่าหนีไม่ออกจากสูตรการสร้างของพระสมเด็จวัดระฆัง นอกจากนี้ยังพบพระพิมพ์เหล่านี้บางพิมพ์ในกรุ ในองค์พระยืนหลวงพ่อโต วัดอินทรวิหาร อีกด้วย

พระขุนแผน กรุวัดทัพข้าว เนื้อผงพุทธคุณ ยุครัตนโกสินทร์ตอนปลาย

พระขุนแผนเนื้อผง กรุวัดทัพข้าวยุคที่ 3

– ยุคที่ 3 สร้างสมัยรัชกาลที่ 6 ถึงรัชกาลที่ 9 พระยุคนี้มีการสร้างพระพิมพ์โบราณเลียนแบบพระกรุวัดทัพข้าวที่มีอยู่เดิม ผู้สร้างที่มีชื่อเสียงยุคนี้ได้แก่ หลวงพ่ออ้าว หลวงปู่เผือก วัดกิ่งแก้ว เป็นต้น , พระพิมพ์ที่พบ มักมีเนื้อหาอ่อนกว่ายุคที่ 2 แต่มีบางพิมพ์ทำเลียนแบบพระกรุวัดทัพข้าวยุคเก่า เช่น พิมพ์หลวงพ่อโต พิมพ์ขุนแผน เป็นต้น

พระเครื่องยุค 3 นี้ทำให้เกิดการเล่นสับสนกับ พระกรุวัดทัพข้าวยุคแรก และ ยุค 2 ทำให้เซียนบางคนตีเหมารวมว่า พระพิมพ์กรุวัดทัพข้าวเป็นพระเก๊ไปทั้งหมด ดังนั้นการศึกษา พระกรุวัดทัพข้าว จะต้องแยกแยะระหว่างพระที่สร้างยุคเก่า และ ยุคใหม่ให้ออก โดยยึดสภาพธรรมชาติที่เก่าแก่และเนื้อหามวลสารจัดจ้านถึงยุคเป็นสำคัญ.

พระขุนแผน กรุวัดทัพข้าว เนื้อผงพุทธคุณ ยุครัตนโกสินทร์ตอนปลาย
พระขุนแผน กรุวัดทัพข้าว เนื้อผงพุทธคุณ ยุครัตนโกสินทร์ตอนปลาย
พระขุนแผน กรุวัดทัพข้าว เนื้อผงพุทธคุณ ยุครัตนโกสินทร์ตอนปลาย

หลวงพ่อโต วัดวิหารทอง ชัยนาท

พระพิมพ์ของหลวงพ่อโต วิหารทอง-พระดีมีมนต์ขลัง

การที่พระเถราจารย์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ  แต่ก่อนเก่าสามารถปลุกเสกพระเครื่อง เครื่องราง  ของขลัง  ที่มีประสิทธิภาพ เปี่ยมอานุภาพ ทั้งๆที่อักษรเลขยันต์ก็พื้นๆ  มิได้พิสดารดังเช่นในปัจจุบัน  เป็นเพราะอำนาจจิตที่ท่านได้ฝึกฝนมานั้น ชำนาญดีแล้ว โดยเฉพาะธาตุทั้งสี่ มี  ดิน  น้ำ  ลม  ไฟ  นั้นโบราณเรียก มหาภูต ทั้ง 4 เป็นพื้นฐานที่สำคัญ  เป็นบ่อเกิดแห่งอำนาจอิทธิฤทธิ์ ทางใจเลยที่เดียว  สฎฆรับการสำเร็จวิชาชั้นสูงเรียกว่า  มายาการ คือความสามารถในการใช้อำนาจเหนือธรรมชาติ  บังคับให้สิ่งทั้งหลาย เป็นไปตามที่ตนต้องการ เช่น ท่านเสกใบมะขาม ให้เป็นต่อเป็นแตน  เสกหัวปลี ให้เป็นกระต่าย  ผูกหุ่นหญ้าสารพัด  หนึ่งในสำนักที่เกรียงไกรแห่งยุค  สยามยุทธ-พุทธาคมนี้ ก็ต้องยกให้  สำนักวัดปากคลองมะขามเฒ่า เป็นหนึ่งในนั้น จึงขอนำเรื่องราว ของศิษย์ยุคเก่าของวัดปากคลองมะขามเฒ่า มาแนะนำให้ท่านผู้อ่าน ได้รู้จัก หลวงพ่อโต วัดวิหารทอง

พระเนื้อชินตะกั่ว พิมพ์ลีลา หลวงพ่อโต วัดวิหารทอง

การอุปสมบท

หลวงพ่อโต ท่านเกิดที่ ต.ดงคอน อ.สรรคบุรี ปี พ.ศ 2401 โยมบิดาชื่อนายเงิน โยมมารดาชื่อนางปุ้น  เมื่อท่านอายุได้ 7 ขวบ ได้บรรพชาเป็นสามเณร และ เมื่ออายุได้ 20 ปีบริบูรณ์ ท่านจึงได้อุปสมบทที่ วัดท่าทวน อ.สรรคบุรี  โดยมีพระอุปัชฌาย์อ่วม เป็นพระอุปัชฌาย์

พระพุทธลีลา หลวงพ่อโต วัดวิหารทอง

เมื่อท่านอุปสมบทแล้ว ก็ได้เดินทางมาศึกษาบาลี ที่วัดจักรวรรดิ กรุงเทพฯ  ต่อมาภายหลัง จึงได้กลับมาจำพรรษาอยู่ที่ วัดวิหารทอง อ.สรรคบุรี  จ.ชัยนาท ระหว่างนี้ท่านก็ได้ศึกษาวิปัสสนากรรมฐาน และ วิทยาคมกับ พระอุปัชฌาย์อ่วม , หลวงพ่อเฒ่า วัดค้างคาว องค์นี้เป็นสหธรรมิก ของ หลวงปู่สุข แต่อาวุโสกว่ามาก  มีเรื่องเล่าต่อๆกันมาตั้งแต่สมัยโบราณจนถึงสมัยปัจจุบันว่า” หลวงพ่อเฒ่า ท่านนี้เป็นผู้วิเศษ จุดเทียนเดินใต้น้ำ มาหา หลวงปู่สุขได้โดยที่เทียนไม่ดับ จีวรไม่เปียก ,ผ้ายันต์อาฬาวกยักษ์ ของท่าน  ตัดขายกัน  ตัวอักขระละ 100 บาท  ตั้งแต่ยุคทองคำบาทละไม่ถึง 4 พัน ”

พระพุทธลีลา หลวงพ่อโต วัดวิหารทอง

นอกจากนี้ หลวงพ่อโต ท่านยังมาศึกษาวิชาต่างๆ กับ หลวงปู่สุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า จะเรียกว่าเป็นศิษย์ ยังแทบไม่ได้ เพราะทั้งสองท่านมีอายุที่แก่-อ่อนกว่ากันไม่กี่ปี ต้องเรียกว่าศิษย์ผู้น้องด้วยช้ำ  หลังจากที่หลวงพ่อเมฆ เจ้าอาววาสวัดวิหารทองได้มรณภาพลง  ชาวบ้านต่างพร้อมใจกันนิมนต์ หลวงพ่อโต ขึ้นเป็นเจ้าอาวาสสืบแทนต่อมา

เหรียญหลวงพ่อโต วัดวิหารทอง ชัยนาท เนื้อตะกั่ว ลป สุข ร่วมปลุกเสก ปี 2460

หลังจากที่ ท่านได้เป็นเจ้าอาวาสแล้ว ท่านก็ได้ก็ได้บูรณปฏิสังขรณ์ และ พัฒนาวัดวิหารทอง และ วัดวาอารามในเขตนั้น ให้มีความเจริญรุ่งเรือง  โดย หลวงพ่อโต ท่านเป็นศูนย์รวมใจของชาวบ้านสร้าง  มณฑปพระพุทธบาทจำลองวัดวิหารทอง , ศาลาการเปรียญวัดบ้านเชี่ยน , สร้างพระอุโบสถ , วอหาร , หอประชุม , ศาลาการเปรียญวัดดงคอน , ศาลาการเปรียญวัดสระแก้ว , ศาลาการเปรียญวัดนก , ศาลาการเปรียญวัดบางขุด , ศาลาการเปรียญวัดท่าโบสถ์ , ศาลาการเปรียญวัดมหาธาตุ , ศาลาการเปรียญวัดกำแพง , ศาลาการเปรียญวัดสระไม้แดง  เป็นต้น

เหรียญหลวงพ่อโต วัดวิหารทอง ชัยนาท เนื้อตะกั่ว ลป สุข ร่วมปลุกเสก ปี 2460

การสร้าง และ ปลุกเสกวัตถุมงคล

หลวงพ่อโต ท่านเริ่มสร้างวัตถุมงคลเป็นครั้งแรก ราวปี พ.ศ 2457 โดยสร้างเป็น พระเนื้อชินตะกั่ว , พระพุทธลีลา บนบัวสองชั้น ด้านหลังเรียบ และ มักจะจารอักขระตัว นะ ไว้แทบทุกองค์ , นอกจากนี้ ท่านยังสร้างพระพุทธรูปปางนั่งสมาธิ  พิมพ์เล็บมือด้านหลังเรียบ และ จารอักขระขอมไว้เช่นเดียวกัน และยังมี พระพุทธพิมพ์เสมา ที่เชื่อกันว่า พระเนื้อชินตะกั่วของ หลวงพ่อโต นั้นท่านได้นำเนื้อชนวนตะกั่ว ที่เหลือจากการสร้างพระของ หลวงปู่สุข  มาหลอมผสมเป็นชนวนด้วย และ ยังได้นิมนต์ หลวงปู่สุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า มาร่วมปลุกเสกด้วย , เหรียญหล่อทองเหลือง พิมพ์ลีลา , เหรียญปั๊มรูปท่าน และ เหรียญพระพุทธลีลาก็มีสร้างไว้เช่นกัน  เหรียญปั๊มรูปท่านมีลักษณะ เป็น เหรียญรูปไข่ เป็นรูปท่านครึ่งองค์ ไม่ปรากฏอักขระใดๆ ด้านหลังเป็นยันต์ซ้อนกันอยู่สองยันต์  เป็นเหรียญเนื้ออัลปาก้า อีกเหรียญที่เป็นพระพุทธลีลานั้นเป็นเหรียญรูปทรงเสมา ไม่มีอักษรระบุไว้เช่นกัน แต่มีอักขระขอม มะ อะ อุ ด้านหลังเป็นยันต์  เป็นเหรียญเนื้อทองแดงกะไหล่ทอง

เหรียญหล่อพระพุทธลีลา เนื้อทองเหลือง หลวงพ่อโต วัดวิหารทอง ปี 2468

พระเครื่องของ หลวงพ่อโต วัดวิหารทองนี้เป็นที่นิยมกันมาก และ เป็นที่หวงแหนของชาว สรรคบุรี เป็นอย่างมาก  ปัจจุบันหาชมได้อยาก ไม่ค่อยได้พบเห็นกันนัก

นอกจากที่กล่าวมาแล้ว ยังมีเครื่องรางของขลังอีกหลายอย่าง ที่ท่านได้สร้างไว้เช่น  ตะกรุด  ผ้ายันต์  เสื้อยันต์มงคลแขน  โดยท่านจะเขียนยันต์เป็นภาษาไทย  ก  พุทธคุณวัตถุมงคลของ หลวงพ่อโต วัดวิหารทอง เด่นในด้าน คงกระพัน  แคล้วคลาด  และมีประสบการณ์ต่างๆมากมาย  พระเครื่องหลวงพ่อโตนั้น เชื่อมั่นได้ในพุทธคุณได้เหมือนกับ พระเครื่องของ หลวงปู่สุข ดีครบในทุกๆด้าน  เรียกได้ว่าหากหาพระเครื่องของ หลวงปู่สุขซึ่งขณะนี้แพงมาก อยู่ในหลักหมื่น หลักแสนหมดแล้ว  หาพระเครื่องของ หลวงพ่อโตใช้แทนได้สบาย  อีกทั้งหลวงพ่อโต ท่านเองก็ขึ้นชื่อผู้เลืองลือวิทยาคมสุดยอดอยู่แล้ว

เหรียญหล่อพระพุทธลีลา เนื้อทองเหลือง หลวงพ่อโต วัดวิหารทอง ปี 2468

การมรณภาพ

หลวงพ่อโต ท่านมรณภาพ เมื่อปี พ.ศ 2485 สิริอายุได้ 84 ปี พรรษาที่ 63