หลวงปู่ทวดเนื้อว่าน รุ่นแรก ปี 2505 เนื้อลังเม้ง วัดปราสาทบุญญาวาส กรุงเทพมหานคร  พิมพ์อาปาเช่

ประวัติ และ จุดประสงค์ในการสร้างพระหลวงปู่ทวดรุ่นนี้

พระวัดประสาทได้ทำการจัดสร้างขึ้นในปี พ.ศ 2505-2506 เหตุในการที่จัดสร้างพระ  เนื่องจากในขณะนั้น วัดปราสาทเกิดเหตุเพลิงไหม้ใหญ่  จึงทำให้วัดปราสาทถูกไฟไหม้จนหมดสิ้น เจ้าอาวาสในขณะนั้นคือ พระสมุหอำพล ได้ทำการจัดสร้างพระขึ้น เพื่อหาทุนในการบูรณะวัด และได้ทำการบอกข่าว พระเกจิในขณะนั้นที่มีจิตที่ต้องการเข้าร่วมบูรณะวัดได้ประมาณ 200 กว่ารูป  หนึ่งในนั้นก็มี อาจารย์ทิม วัดช้างให้ เข้าร่วมด้วย โดยที่ท่านเองไม่มีความรู้จักเรื่องวัดปราสาท และพระสมุหอำพล มาก่อนเลย  อาจารย์ทิม วัดช้างให้ได้เล่าว่า “ท่านได้นิมิตเห็น หลวงปู่ทวด และ ได้ทำการบอกท่าน ให้ท่านขึ้นมากรุงเทพฯ” เมื่อท่านได้ขึ้นมาที่กรุงเทพฯ และ ได้มาพักที่วัดเอี่ยม และ ได้ทำการเช็คข่าวว่า วัดปราสาทถูกไฟไหม้ ตามที่หลวงปู่ทวดมาบอกหรือไม่ และเมื่อได้ข่าวว่าเกิดขึ้นจริง ท่านจึงได้เข้าร่วม และ ที่สำคัญท่านได้นำ พระพิมพ์ พระหลวงปู่ทวด มาเป็นแม่พิมพ์ในการจัดสร้าง รวมทั้งมวลสารในการจัดสร้างพระหลวงปู่ทวดปี 2497 มาเป็นมวลสาร และ ยังมีมวลสารที่สำคัญอีกได้แก่ ผงที่พระเกจิที่เข้าร่วมการปลุกเสก , ผงพระกรุบางขุนพรหม ที่ได้ทำการเปิดกรุ เมื่อปี 2500 เป็นจำนวนหลายบุ้งกี๋
พระหลวงปู่ทวดวัดปราสาทบุญญาวาส เนื้อลังเม้ง ปี 2505 พิมพ์เล็ก
พระหลวงปู่ทวด วัดปราสาทบุญญาวาส จะมีด้วยกัน แบ่งออกเป็น 4 พิมพ์ใหญ่คือ :
1. หลวงปู่ทวด พิมพ์ใหญ่ จะมีเนื้อพระแบ่งออกเป็นสี ทั้งหมด 4 สี ได้แก่
– เนื้อขาว , เนื้อขาวก้านมะลิ ( นิยม )
– เนื้อแก่ว่าน , เนื้อลังเม้ง สร้างปี 2505 ( นิยมมาก )
– เนื้อเทา สร้างปี 2505 ( นิยมบล๊อกประกบ ) – 2506
– เนื้อดำ สร้างปี 2505  ( นิยมบล๊อกประกบ ) – 2506 ( นิยมบล๊อกเล็บเหยี่ยว )
2. หลวงปู่ทวด พิมพ์กลาง จะมีเนื้อพระแบ่งออกเป็นสี ทั้งหมด 4 สี ได้แก่
– เนื้อขาวฐานสูง , ฐานเตี้ย แบบไม่มีรูเสียบ
– เนื้อว่านอมน้ำตาลฐานสูง , ฐานเตี้ย แบบไม่มีรูเสียบ
– เนื้อเทาฐานสูง , ฐานสูง แบบไม่มีรูเสียบ
– เนื้อเทา แบบมีรูเสียบ
– เนื้อดำ แบบมีรูเสียบ
3. หลวงปู่ทวด พิมพ์เล็ก (อาปาเช่ ) จะมีเนื้อพระแบ่งออกเป็นสี ทั้งหมด 4 สี ได้แก่
– เนื้อขาว , เนื้อขาวอมเขียว
– เนื้อเทา
– เนื้อดำ
– เนื้อชมพู
4. หลวงปู่ทวด พิมพ์จิ๋ว
พระหลวงปู่ทวดวัดปราสาทบุญญาวาส เนื้อลังเม้ง ปี 2505 พิมพ์เล็ก

มวลสารที่สำคัญ ที่จัดสร้างพระ หลวงปู่ทวด ชุดนี้ได้แก่

– ชิ้นส่วนที่แตกหัก ของ พระสมเด็จบางขุนพรหม ที่ขึ้นจากกรุ เมื่อปี 2500

– ว่านแร่ดินกากยา

– ผงพุทธคุณจากเกจิต่างๆ

– ผงอิทธิเจ  ผงมหาราช  ผงปถมัง

– ผงดิน

– สีผึ้ง

– ว่านจำปาศักดิ์

– ขี้เหล็กไหล

– แผ่นโลหะ

– ชนวนโลหะ

พระหลวงปู่ทวดวัดปราสาทบุญญาวาส เนื้อลังเม้ง ปี 2505 พิมพ์เล็ก

พระเกจิ ที่เข้ารวมพิธีปลุกเสก

1. พระอาจารย์ทิม วัดช้างให้ จ.ปัตานี

2. หลวงปู่โต๊ะ วัดประดูาฉิมพลี กรุงเทพฯ

3. หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก จ.อยุธยา

4. หลวงพ่อโบ๊ย วัดมะนาว จ.สุพรรณบุรี

5. พ่อท่านคล้าย วัสวนขัน จ. นครศรีธรรมราช

6.  หลวงพ่ออั้น วัดพระญาติ จ.อยุธยา

7.  หลวงพ่อน้อย วัดธรรมศาลา จ.นครปฐม

8. หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม จ.นครปฐม

9. หลวงพ่อเพิ่ม วัดกลางบางแก้ว จ.นครปฐม

10. หลวงปู่ทิม วัดละหารไร่ จ.ระยอง

11.หลวงพ่อพรหม วัดช่องแค จ.นครสวรรค์

12. พ่อท่านเขียว วัดหรงบน จ. นครศรีธรรมราช

13. หลวงปู่หิน วัดระฆัง กรุงเทพฯ

14. หลวงพ่อสุด วัดกาหลง จ.สมุทรสาคร

15. หลวงพ่อกวย วัดโฆสิตาราม จ.ชัยนาท

16. หลวงพ่อแดง วัดเขาบันใดอิฐ จ.เพชรบุรี และ พระอาจารย์อีก 200กว่ารูป ที่ยังไม่ได้กล่าวถึง

พระหลวงปู่ทวดวัดปราสาทบุญญาวาส เนื้อลังเม้ง ปี 2505 พิมพ์เล็ก

พระวัดปราสาท ที่จัดสร้างขึ้นในครั้งนั้นพิธียิ่งใหญ่มาก ที่มีพระสงฆ์ที่มีพุทธคุณสูงได้มารวมตัวกัน  จึงนับได้ว่าเป็นพระที่น่าบูชาอย่างยิ่ง  สำหรับองค์ที่นำภาพมาแสดง เป็นพิมพ์เล็ก หน้าอาปาเช่ เนื้อลังเม้ง ซึ่งหาอยากมากๆ

พระหลวงปู่ทวดวัดปราสาทบุญญาวาส เนื้อลังเม้ง ปี 2505 พิมพ์เล็ก