พระสมเด็จวัดระฆัง

พระสมเด็จวัดระฆัง รุ่นแรกแจกทาน ปี 2554

พระสมเด็จวัดระฆัง หลังรูปเหมือนสมเด็จโต รุ่นแรกแจกทาน ปี 2554 เป็ยพระพิมพ์สวยมวลสารดี พิธีเข้มขลัง พระธรรมธีรราชมหามุนี เจ้าอาวาสวัดระฆังโฆษิตารามฯ”เจ้าคุณเที่ยง” ประธานจัดสร้าง อธิษฐานจิตภายในกุฏิ 9 วัน 9 คืน ขอบารมีสมเด็จโตในวิหาร พระสมเด็จที่ประดิษฐานรูปเหมือนสมเด็จพุฒจารย์โต หม่อมเจ้าพระพุทธูปบาทปิลันทน์ และ สมเด็จพระโฆษาจารย์(ม.ร.ว.เจริญ) โดยพระสงฆ์ของวัดระฆังฯ อาทิ พระครูสิริธรรมวิภูษิต(พ่อท่านเจิด)วัดระฆังโฆสิตารามฯ พระครูวิมลธรรมธาดา(หลวงพ่อสวง)วัดระฆังโฆษิตาราม ท่านเจ้าคุณ พนะบวรรังษี วัดระฆังโฆษิตาราม พระครูปลัดธีรวัฒน์ วัดระฆังโฆษิตารามฯ อธิษฐานขอบารมี ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพุฒจารย์โตเป็นที่สุด.

พระสมเด็จวัดระฆัง

พระผงสมเด็จโต ที่ใช้แบบจากพระสมเด็จวัดระฆังที่มีค่ามหาศาล สร้างด้วยมวลสารเก่าที่ประกอบด้วยผงวิเศษทั้ง 5 คือ ผงปถมัง ผงอิทธิเจ ผงตรีนิสิงเห ผงพุทธคุณ และผงมหาราช ผสมน้ำมนต์บ่อสมเด็จโต ด้านหลังเป็นรูปเหมือนองค์สมเด็จพุฒจารย์(โต) และคำว่า”แจกทาน” บารมีสมเด็จโตสร้างพระสมเด็จ เป็นพระเครื่องอันดับหนึ่งมีอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์มากมาย , สมเด็จแจกทานนี้ ขอบารมีสมเด็จโตช่วยดลบันดาลมาเสกให้ ทำพิธีเสกภายในวัดระฆังฯ โดยตั้งสัจจะอธิษฐานว่า “ขอให้สมเด็จแจกทานรุ่นนี้มีพุทธคุณเทียบเท่าพระสมเด็จโตสร้างเองกับมือด้วยเทิญ” สมเด็จรุ่นแจกทานนี้มีตรายางลายเซ็นสมเด็จโต หรือตราระฆังเป็นโค้ดทุกองค์.

พระสมเด็จ พิมพ์ปรกโพธิ์ เนื้อแก่ปูน

พระสมเด็จบางขุนพรหม กรุเก่า

พระสมเด็จบางขุนพรหมเป็นพระในสกุล “พระสมเด็จวัดระฆัง” ที่สร้างโดย เสมียนตาเจิม และปลุกเสกโดยสมเด็จพุฒจารย์(โต) พรหมรังสี เป็นที่พึงปรารถนาแก่ประชาชนที่เคารพกราบไหว้พระเดชพระคุณอันประเสริฐของท่าน นับวันวัตถุมงคลนี้กำลังจะหายากยิ่ง และราคาก็สูงขึ้นเช่นเดียวกัน  เราเองเป็นผู้หนึ่งที่เคารพบูชาท่าน และได้มีโอกาศครอบครองพระในสกุลพระสมเด็จวัดระฆัง และพระสมเด็จบางขุนพรหมหลายรุ่น จึงได้พยายามศึกษาค้นคว้าประวัติของสมเด็จพุฒจารย์(โต) พรหมรังสี และการสร้างพระสมเด็จ เทียบเคียงกันทั้งทางด้านประวัติศาสตร์ ความเป็นมากับหลักการทางวิทยาศาสตร์ และร่วมศึกษาหาความรู้ด้วยกันกับท่านทั้งหลาย เพื่อเผยแพร่เป็นวิทยาทาน.

พระสมเด็จบางขุนพรหม เป็นพระในสกุล พระสมเด็จวัดระฆัง

พระสมเด็จบางขุนพรหม เป็นพระในสกุล พระสมเด็จวัดระฆัง

การสร้างพระสมเด็จของ สมเด็จพุฒจารย์(โต) พรหมรังสี 

ปี พ.ศ. 2410 สมเด็จพุฒจารย์(โต) พรหมรังสี ท่านได้เริ่มสร้างพระพุทธรูปก่ออิฐถือปูนปางโปรดสัตว์ (ยืนอุ้มบาตร) โดยใช้ซุงทั้งต้นเป็นฐานราก และดูแลการก่อสร้างด้วยตัวท่านเองที่วัดอินทรวิหาร ซึ่งเป็นวัดที่ท่านได้จำพรรษาอยู่เมื่อครั้งยังเป็นสามเณร  ในระหว่างการก่อสร้างเสมียนตราด้วง ต้นสกุล ธนโกเศรฐ และเครือญาติได้ปวารณาตนเองเป็นโยมอุปัฏฐากของสมเด็จพุฒจารย์(โต) พรหมรังสี.

ถึงปี พ.ศ. 2411″ เสมียนตราด้วง” ต้นสกุล “ธนโกเศศ” ได้ทำการบูรณะพระอารามวัดใหม่อมตรส และปฏิสังขรณ์พระเจดีย์ไว้เพื่อเป็นมหากุศล และเป็นพระเจดีย์ประจำตระกูล  ตามประเพณีนิยมในสมัยนั้น โดยได้สร้างพระพระเจดีย์ขึ้นสององค์ องค์ใหญ่เพื่อบรรจุพระพิมพ์ต่างๆ ตามโบราณคติในอันที่จะสืบทอดพระพุทธศาสนา และสร้างเจดีย์องค์เล็กเพื่อบรรจุอัฐิธาตุบรรพระบุรุษ โดยเริ่มสร้างตั้งแต่ปี พ.ศ. 2411  จนกระทั่งถึงปี พ.ศ. 2413 จึงแล้วเสร็จ จากนั้นจึงได้กราบนมัสการขอความเห็นจากสมเด็จพุฒจารย์(โต) พรหมรังสี ในการสร้างพระสมเด็จ เพื่อสืบทอดทางพุทธศาสนา และเป็นการสร้างมหาบุญแห่งวงศ์ตระกูล  สมเด็จพุฒจารย์(โต) พรหมรังสี ท่านได้ให้อนุญาติ และมอบผงวิเศษที่ใช้ในการสร้างพระสมเด็จวัดระฆังของท่านให้ส่วนหนึ่ง (จากบทความของนายกนก สัชฌุกร ที่ได้สัมภาษณ์ท่านเจ้าคุณธรรมถาวร ตอนมีชีวิตยุคสมเด็จพุฒจารย์(โต) พรหมรังสี  ได้ความว่า ได้ผงวิเศษประมาณครึ่งบาตรพระ และทุกครั้งที่ตำในครก ท่านเจ้าประคุณสมเด็จจะโรยผงวิเศษของท่านมากบ้างน้อยบ้าง ตามอัธยาศัย จนกระทั่งแล้วเสร็จ) เมื่อได้ผงวิเศษแล้ว เสมียนตราเจิม และทีมงานก็ได้จัดหามวลสารต่างๆ ตรงตามตำราการสร้างพระสมเด็จของ สมเด็จพุฒจารย์(โต) พรหมรังสี ทุกประการ.

พระสมเด็จบางขุนพรหม เป็นพระในสกุล พระสมเด็จวัดระฆัง

พระสมเด็จบางขุนพรหม เป็นพระในสกุล พระสมเด็จวัดระฆัง

การแกะแม่พิมพ์พระสมเด็จของสมเด็จพุฒจารย์(โต) พรหมรังสี 

ในเรื่องของการสร้างพิมพ์ขึ้นมาใหม่นั้น มีการจัดสร้าง และแกะแม่พิมพ์แม่แบบขึ้นมาใหม่ทั้งหมดจำนวน 9 พิมพ์ เป็นพิมพ์ชิ้นเดียวตัดขอบและปาดหลัง โดยฝีมือของช่างสิบหมู่แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ แต่น่าจะเป็นคนละทีมกับช่างที่แกะแม่พิมพ์พระสมเด็จวัดระฆัง แต่เนื่องด้วยเป็นฝีมือช่างในยุคเดียวกัน มีศิลปะในสกุลช่างเดียวกัน และต้นแบบที่สำคัญคือพิมพ์พระสมเด็จวัดระฆัง ดังนั้นพระสมเด็จบางขุนพรหม จึงมีความสวยงามใกล้เคียงกันกับพระสมเด็จวัดระฆังเป็นอย่างยิ่ง.

พระสมเด็จบางขุนพรหม เป็นพระในสกุล พระสมเด็จวัดระฆัง

พระสมเด็จบางขุนพรหม เป็นพระในสกุล พระสมเด็จวัดระฆัง

พิมพ์พระสมเด็จบางขุนพรหมทั้ง9พิมพ์

1 . พิมพ์ใหญ่

2 . พิมพ์ทรงเจดีย์

3 . พิมพ์เกศบัวตูม

4 . พิมพ์เส้นด้าย

5 . พิมพ์ฐานแซม

6 . พิมพ์สังฆาฏิ

7 . พิมพ์ปรกโพธิ์

8 . พิมพ์ฐานคู่

9 . พิมพ์อกครุฑ

จำนวนที่จัดสร้าง สันนิษฐานกันว่า 84,000 องค์ เท่ากับพระธรรมขันธ์ พระสมเด็จที่สร้างเสร็จจะมีเนื้อขาวค่อนข้างแก่ปูน.

การปลุกเสกโดยสมเด็จพุฒจารย์(โต) พรหมรังสี ได้เจริญพระพุทธมนต์ และปลุกเสกเดี่ยว จนกระทั่งบริบูรณ์ด้วยพระสูตรคาถา.

เมื่อผ่านพิธีปลุกเสกเป็นที่สุดแล้ว ได้มีการเรียกชื่อพระสมเด็จนี้ว่า “พระสมเด็จบางขุนพรหม” ตามตำบลของของที่ตั้งพระเจดีย์ และได้ถูกนำเข้าบรรจุกรุในพระเจดีย์ใหญ่ และพระเจดีย์เล็กทั้งสิ้น ไม่มีการแจกจ่ายแก่ผู้ใดผู้หนึ่ง รวมทั้งมีข้อสันนิษฐานว่า ได้นำพระสมเด็จวัดระฆังลงบรรจุกรุด้วย ดังที่หลายๆท่านนิยมเรียกกันว่า “กรุสองคลอง”

พระสมเด็จบางขุนพรหม เป็นพระในสกุล พระสมเด็จวัดระฆัง

พระสมเด็จบางขุนพรหม เป็นพระในสกุล พระสมเด็จวัดระฆัง

การลักลอบเปิดกรุพระสมเด็จ และการตกพระ

หลังจากที่ได้บรรจุพระสมเด็จไว้ในพระเจดีย์ทั้งสองแล้ว ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2413 จนกระทั่งเกิดวิกฤตกับประเทศในกรณีพิพาทกับประเทศฝรั่งเศษ ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 และนกรณีพิพาทอินโดจีน ได้มีการลักลอบเปิดกรุถึงสามครั้ง คือครั้งที่1 พ.ศ. 2425 , ครั้งที่2 พ.ศ. 2436 และครั้งที่3 พ.ศ. 2459

ในการลักลอบเปิดกรุทั้งสามครั้งนั้น ผู้ลักลอบได้ใช้วิธีต่างๆเช่น การตกเบ็ด โดยใช้ดินเหนียวปั้นเป็นก้อนกลมๆ ติดกับปลายเชือก หย่อนเข้าไปทางรูระบายอากาศ ติดพระแล้วดึงขึ้นมา การใช้น้ำกรอกเข้าไปทางรูระบายอากาศ เพื่อให้น้ำไปละลายการเกาะยึดขององค์พระเป็นต้น ซึ่งการลักลอบเปิดกรุทั้งสามครั้งนั้น  พระสมเด็จที่อยู่บนส่วนบนจึงสวย มีความสมบูรณ์  นักนิยมพระสมเด็จเรียกกันว่า “พระสมเด็จบางขุนพรหม กรุเก่า” ซึ่งลักษณะของวรรณะจะปรากฏคราบเพียงเล็กน้อย หรือบางๆเท่านั้น พิมพ์คมชัดสวยงาม เนื้อหนึกนุ่มละเอียด มีน้ำหนัก และแก่ปูนพระสมเด็จบางขุนพรหม.

พระสมเด็จบางขุนพรหม เป็นพระในสกุล พระสมเด็จวัดระฆัง

พระสมเด็จบางขุนพรหม เป็นพระในสกุล พระสมเด็จวัดระฆัง

ารเปิดกรุพระสมเด็จอย่างเป็นทางการ

ท้ายที่สุดคือการลักลอบขุดกรุที่ฐานในปี พ.ศ. 2500 วิธีนี้ได้พระไปเป็นจำนวนมาก(เป็นที่มาของพระสมเด็จบางขุนพรหมกรุธนา เรื่องเล่าจากประสบการณ์ตรง ของพระภิกษุวงศ์ สุธรรมโม หรือพระอาจารย์จิ้ม กันภัย ได้ใจความว่า ในตอนกลางคืนฝนตกไม่หนักมากนัก นักเลงพระทางภาคเหนือ ได้ร่วมกันลักลอบเจาะที่บริเวณใกล้ฐานของพระเจดีย์พอตัวมุดเข้าไปได้  และได้นำพระออกไปได้เป็นจำนวนมาก จนหิ้วพระไม่ไหว ประกอบกับกลัวเจ้าหน้าที่จะพบเห็น จึงทิ้งไว้ข้างวัดก็หลายถุง มีบุคคลผู้หนึ่งชื่อธนา บ้านอยู่ละแวกวัด ได้เก็บพระชุดนี้ไว้เป็นจำนวนมาก  จะเก็บได้จากผู้ที่ลักลอบทิ้งไว้ หรือซื้อมาก็มิอาจทราบได้  แต่ภายหลังได้ขายให้กับ คุณแถกิงเดช คล่องบัญชี ซึ่งเป็นศิษย์ของท่านเอง และต่อมาได้เขียนหนังสือร่วมกับนายสุคนธ์ เพียรพัฒน์ เรื่อง”สี่สมเด็จ ” ซึ่งพระสมเด็จบางขุนพรหมที่ซื้อมามีทั้งที่สวยงาม มีคราบกรุน้อย และคราบกรุหนาจับกันเป็นก้อนก็มี) จนกระทั่งทางวัดใหม่อมตรส ได้ติดต่อกรมศิลปากรเข้ามาดูแล และเปิดกรุอย่างเป็นทางการโดยเชิญ พลเอกประภาส จารุเสถียร เป็นประธานในพิธีเปิดกรุเมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2500 พระที่นำออกมาครั้งนั้น นักนิยมพระสมเด็จเรียกกันว่า “พระสมเด็จบางขุนพรหม กรุใหม่”

เมื่อนำออกมาคัดแยก คงเหลือพระที่มีสภาพดี สวยงาม เพียง 3000 องค์เศษเท่านั้น ที่เหลือจับกันเป็นก้อน หักชำรุดแทบทั้งสิ้น ลักษณะของวรรณะส่วนใหญ่จะมีคราบกรุค่อนข้างหนา และจับเป็นก้อน ที่สภาพดีจะพบว่าผิวของพระเป็นเกร็ดๆทั่วทั้งองค์ หรือที่เรียกว่าเหนอะ มีคราบไขขาว ฟองเต้าหู้ คราบขี้มอด จะตั้งชื่อหรือเรียกว่าอย่างไรก็แล้วแต่ ล้วนเกิดขึ้นจากปฏิกิริยาระหว่างน้ำกับปูน และเนื้อมวลสารที่เป็นองค์ประกรอบของพระสมเด็จทั้งสิ้น ทั้งสภาพเปียกชึ้น ร้อน เย็น และถูกแช่อยู่ในน้ำเป็นเวลานานกับดินโคลนเป็นต้น  แต่แปลกตรงที่ว่า “พระสมเด็จบางขุนพรหม” เมื่อถูกใช้ซักระยะเนื้อจะเริ่มหนึกนุ่ม ใกล้เคียงกับ”พระสมเด็จวัดระฆัง” เป็นอย่างยิ่ง.

พระสมเด็จบางขุนพรหม เป็นพระในสกุล พระสมเด็จวัดระฆัง

พระสมเด็จบางขุนพรหม เป็นพระในสกุล พระสมเด็จวัดระฆัง

พิมพ์นิยม กับ พระสมเด็จบางขุนพรหม

ในเรื่องของทรงพิมพ์ที่เรียกกันว่า พิมพ์นิยม 9 พิมพ์นั้น พิมพ์ที่พบน้อยที่สุดคือ พิมพ์ปรกโพธิ์ กล่าวกันว่ามีไม่ถึง 20 องค์ และที่สำคัญยังพบพิมพ์ไสยาสน์อีกหลายแบบ มีประมาณไม่เกิน 22 องค์ ซึ่งในปัจจุบันหาดูได้ยาก  ในส่วนของกรุพระเจดีย์เล็ก นักเลงพระในยุคนั้น ไม่ค่อยให้ความสนใจ แต่ปรากฏว่าหลังจากเปิดกรุก็ได้พบพระสมเด็จอยู่มากมาย นับได้เป็นพันองค์ ทรงพิมพ์ที่พบได้แก่ พิมพ์ฐานคู่ พิมพ์ฐานหมอน พิมพ์สามเหลี่ยม(หน้าหมอน) พิมพ์จันทร์ลอย ลักษณะของวรรณะคราบกรุจะไม่มาก จะมีความสวยงามกว่ากรุพระเจดีย์ใหญ่ ซึ่งในปัจจุบันหาดูได้ยาก เช่นกัน.

พระสมเด็จ พิมพ์ปรกโพธิ์ เนื้อแก่ปูน

พระสมเด็จบางขุนพรหม เป็นพระในสกุล พระสมเด็จวัดระฆัง

พระสมเด็จบางขุนพรหม กับ ตราประทับ

หลังจากการเปิดกรุอย่างเป็นทางการ ทางวัดได้ประทับตราที่ด้านหลังขององค์พระ เพื่อป้องกันการปลอม เรีกกันว่า “ตราน้ำหนัก” และจำหน่ายในราคามากพอสมควร แต่ก็หมดลงในเวลาไม่นานนัก ในช่วงเวลาดังกล่าว พระที่ถูกขโมยออกจากกรุไป กลับมาจำนวนมาก โดยที่ประมาณในกรุมีทั้งหมด 84,000องค์ เปิดกรุได้ 3000 เศษ (แต่ให้บูชาได้  2750 องค์ พระหาย) ชำรุดประมาณไม่เกิน 1000 องค์ เท่ากับว่า พระหายออกจากกรุประมาณ 70,000 องค์ และกลับมาในเวลาดังกล่าวส่วนหนึ่ง โดยให้คนเข้าไปในวัดแล้วเช่าพระออกมาดูตราน้ำหนักของวัด แล้วปลอมขึ้น จะได้ขายได้ แล้วก็ขายกันข้างวัดเลย  แต่ก็ดูไม่ยาก คือ พระที่ขโมยออกไปมีสภาพสวย คราบกรุน้อย ปั๊มตราจะเห็นชัด ครบทั้งหมด.

ส่วนพระที่เปิดกรุ ปี 2500 หลังจะไม่สวย คราบกรุเยอะ  ตรายางจะไม่ชัด การสังเกตตรายาง ตรายางสมัยก่อนจะเนื้อแข็ง ปั๊มได้บนพื้นที่ราบเรียบ ดังนั้นบนคราบกรุ หรอรูบ่อน้ำตรา และขี้กรุที่สูงๆต่ำๆ จะไม่ติดชัด(ใช้ไม้บรรทัดวางแนวหาองศาดูได้ ว่าตรายางอยู่บนแนว 180 องศาหรือเปล่า) ถ้าเป็นตรายางสมัยใหม่จะเป็นยางซิลิโคลน จะมีความนุ่ม และจะปั๊มชัดมาก แม้กระทั่งในรูเล็กๆ สีของตรายางเองก็ต้องเปลี่ยนไป เป็นสีน้ำเงินม่วง หรือม่วงอมแดง ต้องไม่ใช่สีน้ำเงิน และไม่ใช่สีฟ้า เพราะผ่านมา 60 กว่าปีแล้ว(ปัจจุบัน พ.ศ.2565) , ส่วนองค์พระนั้น ตอนที่บรรจุกรุอยู่ในหลุมถูกวางเรียงหงายหน้าขึ้น และซ้อนกันหลายชั้น พระจึงมีแรงกดจำนวนมาก และมีความชื้นตั้งแต่แรก ทำให้พระบางองค์ติดกัน และบิดงอไปทางด้านหลังส่วนใหญ่ และทำให้เกิดเนื้อเกินหลังองค์พระ ที่มีอายุเท่ากับองค์พระนั้นเอง(ตอนเปิดกรุพบบางขุนพรหมชำรุดด้านหน้าเป็นจำนวนมาก) และพระอยู่ในกรุ 87 ปี ด้านหลังจะไม่เห็นรอยปาดแล้ว มีแต่คราบเหนอะ คราบกรุเท่านั้น.

จากตรงนี้ผู้เขียนในทรรศนะคติผู้ใดที่ครอบครอง”พระกรุบางขุนพรหม” และพระอยู่ในสภาพสวยมากๆ ต้องพิจารณาให้ดี.

พระสมเด็จบางขุนพรหม เป็นพระในสกุล พระสมเด็จวัดระฆัง

พระสมเด็จ กรุวัดกัลยาณมิตร วรมหาวิหาร พิมพ์ใหญ่พระประธาน

พระสมเด็จ กรุวัดกัลยาณมิตร วรมหาวิหาร พิมพ์ใหญ่

พระประธาน ลงรักปิดทอง

พระสมเด็จกรุวัดกัลยาณมิตร ซึ่งเป็นพระสมเด็จที่ได้รับความนิยมในการเก็บเช่าบูชามากที่สุดในขณะนี้ เป็นพระสมเด็จที่สมเด็จโต เป็นผู้สร้าง เนื่องจากผ่านกาลเวลานานนับร้อยกว่าปีมาแล้ว มีการสันนิษฐานว่าพระชุดนี้สร้างราวปี พ.ศ.2411-2415 ซึ่งในขณะนั้น สมเด็จโต ท่านยังมีชีวิตอยู่ อายุพระประมาณ 150 ปี เนื้อพระแห้ง รักระเบิด , ในวงการพระเครื่องเริ่มเป็นที่แพร่หลาย และ เป็นที่ยอมรับกันมากแล้ว

พระสมเด็จ กรุวัดกัลยาณมิตร วรมหาวิหาร พิมพ์ใหญ่พระประธาน
พระสมเด็จ กรุวัดกัลยาณมิตร วรมหาวิหาร พิมพ์ใหญ่พระประธาน
ใบรายงานผลการทดสอบ พระสมเด็จ กรุวัดกัลยาณมิตร วรมหาวิหาร ใบรายงานผลการทดสอบ พระสมเด็จ กรุวัดกัลยาณมิตร วรมหาวิหาร

ประวัติ วัดกัลยาณมิตร วรมหาวิหาร เจ้าพระยานิกรบดินทร์ (โต) ต้นสกุลกัลยาณมิตร ว่าที่สมุหนายก ได้อุทิศหน้าบ้านและที่ดินบริเวณใกล้เคียง ซึ่งแต่เดิมเป็นหมู่บ้านที่มีภิกษุจีนพำนักอยู่ และ เรียกกันต่อๆมาว่า “หมู่บ้านกุฏิจีน” สร้างเป็นวัดขึ้นเมื่อ พ.ศ.2368 และน้อมเกล้าฯถวายเป็นพระอารามหลวง พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 พระราชทานนามว่า ” วัดกัลยาณมิตร ”

พระสมเด็จกรุวัดกัลยาฯ สร้างขึ้นและบรรจุกรุในเจดีย์ต้นสกุลกัลยาณมิตร และ สกุลประวิตร แตกกรุเมื่อปี 2551 พระผงสมเด็จกรุวัดกัลยาณมิตร วัดนี้พบมากมายหลายพิมพ์  พระกรุวัดกัลยาณมิตร วรมหาวิหาร ถูกบรรจุเจดีย์ลักษณะเป็นกรุแห้ง หรือ กรุลอย องค์พระลักษณะคือ ผิวแห้ง เนื้อเปิดเห็นมวลสารชัดเจน รักระเบิด แตกต่างจากกรุวัดบางขุนพรหม(กรุเปียก) อย่างชัดเจน แบบพิมพ์พระใกล้เคียงกัน ดังนั้นท่านที่ศึกษาต้องแยกแยะกันให้ถูกต้อง

พระสมเด็จกรุวัดกัลยาณมิตร เป็นพระสมเด็จที่มีแบบพิมพ์คล้ายใกล้เคียง กับ พระสมเด็จวัดระฆัง พิมพ์นิยม พิมพ์ของหลวงวิจารย์ เจียรนัย เฮง เป็นอันมากอีกแบบพิมพ์หนึ่ง พระสมเด็จกรุวัดกัลยาณมิตรวรมหาวิหาร หลังจากเจดีย์ในวัดกัลยาฯได้ถูกรื้อออก เมื่อต้นปี พ.ศ.2551 พบว่ามีพระพิมพ์สมเด็จ บรรจุอยู่ภายในเป็นจำนวนมาก และ หลายพิมพ์ ซึ่งส่วนใหญ่เป็น พิมพ์พระประธาน , พิมพ์ใหญ่เศียรโต , พิมพ์ใหญ่เกศทะลุซุ้ม , พิมพ์ทรงเจดีย์ , พิมพ์เส้นด้าย , พิมพ์ฐานแซม , พิมพ์ปรกโพธิ์ , พิมพ์ไกลเซอร์เล็ก , พิมพ์ไกลเซอร์ใหญ่ , พิมพ์อกครุฑ และ พิมพ์เกศไชโย ส่วนที่พบน้อยได้แก่ พิมพ์ไสยาสน์ , พิมพ์ใหญ่คู่หลังแบบ , พิมพ์สามเหลี่ยมเล็ก , พิมพ์สามเหลี่ยมใหญ่(เหมือนกับพิมพ์ใหญ่ของวัดสามปลื้ม) , พิมพ์สังกัจจายน์ นอกจากนั้นยังมีพิมพ์แปลกๆอีก แต่ไม่มากนัก , พระในกรุวัดกัลยาณมิตรยังมีแบบติดกันเป็นก้อน ก้อน 9 องค์ , ก้อน 12 องค์ , ก้อน 109 องค์ซึ่งพบน้อยมาก และ แบบเป็นองค์เดี่ยว ซึ่งแบบนี้มักจะลงรักปิดทองเป็นส่วนมาก

ภาพสะถานที่พบพระสมเด็จ กรุวัดกัลยาณมิตร วรมหาวิหาร ภาพสะถานที่พบพระสมเด็จ กรุวัดกัลยาณมิตร วรมหาวิหาร
พระสมเด็จ กรุวัดกัลยาณมิตร วรมหาวิหาร พิมพ์ใหญ่พระประธาน
พระสมเด็จ กรุวัดกัลยาณมิตร วรมหาวิหาร พิมพ์ใหญ่พระประธาน
พระสมเด็จ กรุวัดกัลยาณมิตร วรมหาวิหาร พิมพ์ใหญ่พระประธาน
พระสมเด็จ กรุวัดกัลยาณมิตร วรมหาวิหาร พิมพ์ใหญ่พระประธาน
พระสมเด็จ กรุวัดกัลยาณมิตร วรมหาวิหาร พิมพ์ใหญ่พระประธาน องค์พระแห้ง รักระเบิด เก่าถึงยุค
พระสมเด็จ กรุวัดกัลยาณมิตร วรมหาวิหาร พิมพ์ใหญ่พระประธาน องค์พระแห้ง รักระเบิด เก่าถึงยุค
พระสมเด็จ กรุวัดกัลยาณมิตร วรมหาวิหาร พิมพ์ใหญ่พระประธาน องค์พระแห้ง รักระเบิด เก่าถึงยุค
พระสมเด็จ กรุวัดกัลยาณมิตร วรมหาวิหาร พิมพ์ใหญ่พระประธาน องค์พระแห้ง รักระเบิด เก่าถึงยุค

 

พระสมเด็จวัดระฆัง ผสมมวลสารเก่าเนื้อย้อนยุคโบราณ(108ปี)

ประวัติ วัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร

วัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร หรือ วัดระฆัง , วัดหลวงพ่อโต ตั้งอยู่เลขที่ 250 แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร เป็นพระอารามหลวงชั้นโท ชนิดวรมหาวิหาร อยู่ในเขตการปกครองคณะสงฆ์มหานิกายภาค 1

เจ้าอาวาสพระธรรมธีรราชมหามุนี ( เที่ยง อคฺคธมฺโม ป.ธ.9 ) วัดแห่งนี้ เป็นวัดโบราณ สร้างในสมัยอยุธยา เดิมชื่อวัดบางว้าใหญ่ ( หรือบางหว้าใหญ่ ) ในสมัยธนบุรี  สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงสร้างพระราชวัง ใกล้วัดบางว้าใหญ่ โปรดเกล้า ให้ยกเป็นพระอารามหลวง และ เป็นที่ประทับของสมเด็จพระสังฆราช ในสมัยรัตนโกสินทร์ รัชสมัย  สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช วัดบางว้าใหญ่ อยู่ในพระอุปถัมภ์ของเจ้านายวังหลัง คือ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้ากรมพระยาเทพสุดาวดี ( สา ) พระเชษฐภคินีของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และ เป็นพระราชชนนี ของ กรมพระราชวังสถานพิมุข ทรงมีตำหนักที่ประทับอยู่ติดกับวัด ได่ทรงบูรณะปฏิสังขรณ์ ร่วมกับ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และ ได้ขุดพบระฆังลูกหนึ่งซึ่งโปรดเกล้าฯ ให้นำไปไว้ที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม โดยทรงสร้างระฆังชดเชยให้วัดบางว้าใหญ่ 5 ลูก จากนั้นได้พระราชทานนามวัดใหม่ว่า “วัดระฆังโฆสิตาราม” นอกจากเป็นเพราะขุดพบระฆังที่วัดนี้ และ เพื่อฟื้นฟูแผนครั้งกรุงศรีอยุธยาที่มีวัดชื่อวัดระฆังเช่นกัน

ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯให้เปลี่ยนชื่อ “วัดราชคัณฑิยาราม” ( คัณฑิ แปลว่า ระฆัง ) แต่ไม่มีคนนิยมเรียกชื่อนี้ ยังคงเรียกว่า วัดระฆังต่อมา

วัดระฆังโฆสิตาราม มีหอพระไตรปิฎก ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมที่สวยงามมาก เคยเป็นพระตำหนักหอประทับนั่ง ของ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ขณะทรงรับราชการในสมัยธนบุรี และ โปรดเกล้าฯให้รื้อมาถวายวัด เมื่อเสด็จขึ้นครองราชสมบัติแล้ว มีพระราชประสงค์จะบูรณะปฏิสังขรณ์ ให้สวยงามเพื่อเป็นหอพระไตรปิฎก

สมเด็จพุฒาจารย์ โต พฺรหฺมรํสี

สมเด็จโต , หลวงปู่โต , สมเด็จวัดระฆัง

เกิด 17 เมษายน พ.ศ. 2331

บรรพชา พ.ศ. 2343

อุปสมบม พ.ศ. 2351

มรณภาพ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2415

พรรษา 64 อายุ 84

วัด วัดระฆังโฆสิตาราม

จังหวัด ธนบุรี

สังกัด มหานิกาย

พระสมเด็จวัดระฆัง ผสมมวลสารเก่าเนื้อย้อนยุคโบราณ(108ปี)

พระสมเด็จวัดระฆัง ผสมมวลสารเก่าเนื้อย้อนยุคโบราณ(108ปี)
พระสมเด็จวัดระฆัง ผสมมวลสารเก่าเนื้อย้อนยุคโบราณ(108ปี)
พระสมเด็จวัดระฆัง ผสมมวลสารเก่าเนื้อย้อนยุคโบราณ(108ปี)
พระสมเด็จวัดระฆัง ผสมมวลสารเก่าเนื้อย้อนยุคโบราณ(108ปี)
พระสมเด็จวัดระฆัง ผสมมวลสารเก่าเนื้อย้อนยุคโบราณ(108ปี)