ตะกรุดไม้รวก ลงรักถักเชือก หลวงพ่อทา วัดพะเนียงแตก

ตะกรุดไม่รวกลงรักถักเชือก หลวงพ่อทา วัดพะเนียงแตก

ลวงพ่อทา ในสมัยที่ท่านยังมีชีวิตอยู่ ชาวบ้านนครปฐมมักเรียกท่านว่า “หลวงพ่อเสือ” ซึ่งก็คือ หลวงพ่อทา หรือ พระครูอุตรการบดี วัดพะเนียงแตกนั่นเอง , ท่านเป็นพระเกจิอาจารย์รุ่นเก่าแก่ของนครปฐม การสืบค้นประวัติของท่านที่บันทึกจากปากคำของศิษยานุศิษย์ของท่าน ในจำนวนนั้นก็มีพระเกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียงโด่งดังในยุคต่อๆมาอีกหลายท่าน เช่น หลวงพ่อแช่ม วัดตาก้อง , หลวงพ่อวงศ์ ( พระครูพรหมวิสุทธิ์ ) วัดทุ่งผักกรูด , หลวงพ่อเต๋ วัดสามง่าม เป็นต้น…และหลักฐานรูปถ่ายคู่กับพัดยศ ระบุ ร.ศ. 127 ( พ.ศ.2452 ) ที่จะกล่าวดังต่อไปนี้ :

ตะกรุดไม้รวก ลงรักถักเชือก หลวงพ่อทา วัดพะเนียงแตก

ลวงพ่อทาเป็นชาวโพธาราม จ.ราชบุรี บางกระแสว่าโยมบิดาของท่านมีเชื้อสายมาจากเวียงจันทน์  จากการนับอายุปีที่ท่านมรณภาพ ก็พอสันนิษฐานได้ว่า ท่านเกิดในปี พ.ศ.2366 เมื่อท่านมีอายุได้ 6 ขวบ โยมบิดามารดาได้นำท่านไปฝากเรียนหนังสือที่วัดโพธาราม จนอ่านออกเขียนได้ และ พอท่านอายุได้ 15 ปี พ.ศ.2381 ท่านก็ได้บรรพชาเป็นสามเณรอยู่ที่วัดโพธาราม โดยมีหลวงพ่อทาน เป็นเจ้าอาวาสในขณะนั้น

ตะกรุดไม้รวก ลงรักถักเชือก หลวงพ่อทา วัดพะเนียงแตก
เมื่อท่านมีอายุครบบวช ปี พ.ศ.2386 จึงได้รับอุปสมบทที่วัดบ้านฆ้อง ( วัดฆ้อง ) อ.โพธาราม  ซึ่งในสมัยนั้นเป็นสำนักปฏิบัติธรรม และ สอนวิปัสสนากรรมฐานที่มีชื่อเสียงโด่งดังมาก ท่านก็ได้อยู่จำพรรษา และ ศึกษาวิปัสสนากรรมฐาน เรียนวิชาพุทธาคมต่างๆ จากพระอุปัชฌาย์ และ อาจารย์ชาวมอญรูปหนึ่ง ซึ่งมีวิทยาคมแกร่งกล้ามาก , ลวงพ่อทาเป็นผู้ที่ขยันหมั่นเพียรใฝ่ศึกษาหาความรู้ ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบอย่างจริงจัง จึงเป็นที่รักใคร่ของพระอาจารย์ทั้งสอง และ ได้ถ่ายทอดวิชาให้อย่างไม่หวงแหน.
ตะกรุดไม้รวก ลงรักถักเชือก หลวงพ่อทา วัดพะเนียงแตก
ท่านจำพรรษาที่วัดฆ้องหลายปี ศึกษาวิปัสสนากรรมฐานจนเชี่ยวชาญแล้ว ท่านจึงได้กราบขออนุญาตพระอุปัชฌาย์ เพื่อออกธุดงค์แสวงหาวิเวกและปฏิบัติกรรมฐานต่อไป ท่านออกธุดงค์ตามป่าเขาดงดิบอยู่หลายปี และ ได้พบพระเกจิอาจารย์ในป่าที่มีจิตกล้าแข็ง ท่านก็ได้ศึกษาพุทธาคมด้วย  จนถึงประมาณ ปี พ.ศ.2417 ท่านได้ธุดงค์มาถึงตำบลพะเนียงแตก ( ปัจจุบันเปลี่ยนมาเป็นตำบลมาบแค ) ซึ่งขณะนั้นท่านมีอายุได้ 51 ปี ท่านได้พบสถานที่เป็นป่ารกชัฏนอกเมือง และ เห็นว่าเป็นที่วิเวก เหมาะแก่การเจริญภาวนาธรรม ท่านจึงได้ปักกลดพักแรม และ ได้ทราบต่อมาว่าสถานที่แห่งนี้เคยเป็นวัดที่เจริญรุ่งเรืองมาก่อน แต่กลับมาเป็นวัดรกร้าง.
ตะกรุดไม้รวก ลงรักถักเชือก หลวงพ่อทา วัดพะเนียงแตก
เมื่อชาวบ้านมาพบ หลวงพ่อทา ปักกลดพักแรมอยู่ที่ดังกล่าว จึงพากันขอนิมนต์ท่านให้มาจำพรรษาอยู่ในวัดร้างแห่งนั้น ท่านก็มาอยู่จำพรรษา และ ได้พัฒนาวัดขึ้นมาใหม่ใน ปี พ.ศ.2430 พร้อมทั้งเสนาสนะต่างๆและพระอุโบสถ นอกจากนี้ท่านยังได้สร้างวัดอื่นอีกในแถบนั้นพร้อมๆกันคือ วัดบางหลวง วัดดอนเตาอิฐ วัดสองห้อง เป็นต้น…หลวงพ่อทา เป็นพระสงฆ์ที่ชาวบ้านรักและเคารพนับถือมาก ท่านอบรมสั่งสอนชาวบ้านจนมีชื่อเสียงโด่งดัง มีลูกศิษย์ไปทั่วทั้งในจังหวัดนครปฐม สุพรรณบุรี ชัยนาท เพชรบุรี ราชบุรี และจังหวัดใกล้เคียงอีก จึงมีพระเณรมาบวชอยู่วัดพะเนียงแตกมากมาย เมื่อท่านดำริจะสร้างอะไร ก็มีชาวบ้านและลูกศิษย์พร้อมใจกันร่วมสร้างให้สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี.
ตะกรุดไม้รวก ลงรักถักเชือก หลวงพ่อทา วัดพะเนียงแตก นครปฐม
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ร.5 ทรงทราบถึงเกียรติคุณดังกล่าว จึงมีรับสั่งโปรดเกล้าฯให้เข้าเฝ้าอยู่เสมอๆ ดังจะเห็นได้ว่าในพระราชพิธีต่างๆ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวโปรดฯให้นิมนต์ ลวงพ่อทา วัดพะเนียงแตก บ่อยครั้งเช่น พิธีพระศพสมเด็จพระสังฆราชเจ้ากรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ ท่านก็ได้รับนิมนต์ด้วย และรับถวายพัดยศ เนื่องในพิธีหลวงการพระศพดังกล่าว ซึ่งปรากฏรูปถ่ายของ ลวงพ่อทา ในปี พ.ศ.2452 พัดที่อยู่ทางด้านขวาของท่านเป็นพัดยศพุดตานปักลายใบเทศรักร้อย และ ทางด้านซ้ายของท่านเป็นพัดรองการ พระศพสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์
ตะกรุดไม้รวก ลงรักถักเชือก หลวงพ่อทา วัดพะเนียงแตก
ต่อมา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงบูรณปฏิสังขรณ์องค์พระปฐมเจดีย์ และทรงกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งพระเถระ 4 รูปคือ

    1. พระครูอุตรการบดี ประจำทิศเหนือพระเถระคือ หลวงพ่อทา ได้รับแต่งตั้งเป็นรูปแรกของตำแหน่งนั้น
    2. พระครูทักษินณานุกิจ ประจำทิศใต้พระเถระคือ หลวงพ่อเงิน วัดสรรเพชร
    3. พระครูปริมานุรักษ์ ประจำทิศตาวันออกพระเถระคือ หลวงพ่อคต วัดใหม่
    4. พระครูปัจฉิมทิศบริหาร ประจำทิศตาวันตกพระเถระคือ หลวงพ่อนาค วัดห้วยจรเข้.

 

ตะกรุดไม้รวก ลงรักถักเชือก หลวงพ่อทา วัดพะเนียงแตก
หลวงพ่อทา ยังเป็นที่เกรงขามของบรรดานักเลงหัวไม้ทั้งหลาย ดังจะเห็นได้ว่างานวัดพะเนียงแตก ในสมัยหลวงพ่อทานั้น ท่านไม่เคยขอให้กำนันผู้ใหญ่บ้านหรือทางตำรวจมารักษาความสงบเลย เพราะในยุคนั้นเมื่อมีงานวัด ทุกวัดก็จะเป็นการรวมพวกนักเลงหัวไม้ต่างถิ่นที่เข้ามาเที่ยวงานวัดของทุกวัด และมักมีเรื่องตีรันฟันแทงกันอยู่เนืองนิตย์ แต่ที่วัดพะเนียงแตกกลับไม่มีใครกล้าจะมีเรื่องในเขตวัดเลย , หลวงพ่อแช่ม วัดตาก้อง เล่าให้ฟังว่า พวกนักเลงตำบลตาก้องกับตำบลพะเนียงแตกต่างก็ไม่ถูกกัน เจอกันที่ไหนก็มักจะมีเรื่องกันทุกที แต่ที่ในงานวัดพะเนียงแตกกลับไม่กล้าตีกัน เนื่องจาก หลวงพ่อทา จะถือไม้พลองตรวจตราทั่วงาน เป็นที่ยำเกรงแก่พวกหัวไม้ทั้งหลาย ขนาดคนเมาเอะอะ พอเห็น หลวงพ่อทา เดินมาก็แทบจะหายเมาเลยทีเดียว ทุกคนต่างเคารพยำเกรงหลวงพ่อทามาก จนได้ฉายาว่า ” หลวงพ่อเสือ ”
ตะกรุดไม้รวก ลงรักถักเชือก หลวงพ่อทา วัดพะเนียงแตก

การมรณภาพ

ลวงพ่อทา วัดพะเนียงแตก ท่านมรณภาพลงด้วยอาการสงบ เมื่อปี พ.ศ.2462 สิริอายุได้ 96 ปี พรรษา 76

วัตถุมงคลหลวงพ่อาทา วัดพะเนียงแตก

วัตถุมงคลที่ หลวงพ่อทา ได้สร้างไว้มีหลายอย่างเช่น ะตกรุด พระปิดตาเนื้อสัมฤทธิ์และเนื้อเมฆพัด มีหลายแบบ ทั้งเกลอเดี่ยวและสามเกลอ มีเหรียญหล่อรุ่นแรกและรุ่นสอง , วัตถุมงคลที่ หลวงพ่อทา ได้สร้างไว้ล้วนเป็นที่นิยม เพราะหาชมได้ยากมากๆ.

ตะกรุดไม้รวก ลงรักถักเชือก หลวงพ่อทา วัดพะเนียงแตก
หลวงพ่อทา ฉายา หลวงพ่อเสือ วัดพะเนียงแตก เกจิแห่งนครปฐม หลวงพ่อทา ฉายา “หลวงพ่อเสือ” วัดพะเนียงแตก เกจิแห่งนครปฐม