พระนางพญา

เบญจภาคี พระเครื่องคู่บารมีของคนไทย

นับตั้งแต่ ตรียัมปวาย ได้ขนานนามสุดยอดพระเครื่องแห่งสยามประเทศที่มีมาแต่โบราณกาล จนถึงปัจจุบัน โดยจัดเข้าชุดกันในชื่อ เบญจภาคี ซึ่งประกอบด้วย พระสมเด็จของเจ้าประคุณสมเด็จพุฒาจารย์(โต พรหมรังสี) , พระนางพญา วัดนางพญา จังหวัดพิษณุโลก , พระรอด วัดมหาวัน จังหวัดลำพูน , พระกำแพงซุ้มกอ จังหวัดกำแพงเพชร  และพระผงสุพรรณ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดสุพรรณบุรี พัฒนาการแห่งการศึกษาความรู้เกี่ยวกับพระเครื่อง เริ่มเป็นรูปแบบและมีมาตรฐานมากขึ้น มีการแยกแม่พิมพ์และแบ่งประเภท พระชุดเบญจภาคีอย่างเป็นระบบ สามารถพิสูจน์ และอรรถาธิบายได้ด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ประวัติศาสตร์ อันเป็นหลักแห่งเหตุและผล ส่งผลให้มีผู้ให้ความสนใจศึกษาค้นคว้า ในแวดวงที่กว้างขวาง เป็นที่ยอมรับในระดับประเทศ

นอกจากนี้ พระเครื่อง ยังผูกพันกับคติความเชื่อที่หยั่งรากลึกในมโนคติของสังคมไทยมาช้านาน ลักษณะการแห่งพิมพ์พระที่จำลองมาจากองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า หากเพียงแตกต่างทางด้านศิลปะสกุลช่างตามยุคสมัยที่ปรากฏ ทำให้ เบญจภาคี ทวีความสำคัญมากขึ้นในฐานะรูปแบบแห่งความศักดิ์สิทธิ์ ประกอบไปด้วยพุทธานุภาพ อันเป็นพื้นฐานของความเชื่อทางศาสนา ซึ่งแสดงให้เห็นเอกลักษณ์สำคัญของสังคมไทยเรานั่นเอง….

ปล.

พระราชพิธีตรียัมพวาย ตรีปวาย เป็นพิธีกรรมในศาสนาพราหมณ์ฮินดู เป็นการรับเสด็จพระอิศวรที่จะเสด็จมาเยี่ยมโลกมนุษย์ เป็นเวลา 10 วัน ปัจจุบันประกอบการพระราชพิธีในเทวสถานสำหรับพระนคร 2 หลัง ได้แก่ สถานพระอิศวร สถานพระมหาวิฆเนศวร โดยมีกำหนดพิธี เริ่มตั้งแต่คณะพราหมณ์ผู้ประกอบ วิกิพีเดีย

พระนางพญา

ผ้ายันต์หลวงปู่ดู่

ผ้ายันต์หลวงปู่ดู่ วัดสะแก จ.อยุธยา

พระเครื่องและวัตถุมงคลเริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2480 หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ แห่งวัดสะแก อำเภออุทัย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ท่านได้สร้างเครื่องรางของขลัง โดยเฉพาะแบบโบราณ เช่นเดียวกับเกจิอาหลายๆรูป ทั้งก่อนและหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช มาเป็นระบอบประชาธิปไตย ระบบรัฐสภาอย่างสมบูรณ์แบบระหว่างปี พ​​.ศ.2475 เครื่องรางของขลังแบบโบราณดังกล่าวได้แก่จำพวกตะกรุด และผ้ายันต์ต่างๆ ตามภูมิปัญญาที่กลายเป็นกระแสนิยมในสมัยนั้น เพื่อว่าอาจจะเป็นอีกหนึ่งปาฏิหาริย์บันดาลให้แคล้วคลาดจากภยันอันตรายที่มาพร้อมกันกับสงครามขณะนั้นคุกคามประเทศของเราเกือบตลอดเวลาก็ว่าได้…

พระสมเด็จเกตศไชโย วัดไชโยวรวิหาร

พระสมเด็จเกตศไชโย วัดไชโยวรวิหาร จ.อ่างทอง

“พระสมเด็จเกตศไชโย” เป็นพระเนื้อผงที่ได้รับการยอมรับว่า สร้างโดยสมเด็จพระพุฒาจารย์(โต พรหมรังสี) หนึ่งในสามพระสมเด็จสามวัด คือ วัดระฆังฯ วัดบางขุนพรหม และวัดไชโย ที่ได้รับการยอมรับเป็นพระมาตฐาน ได้รับความนิยมเช่าบูชาสูงที่สุดในเวลานี้

แหล่งกำเนิดของพระสมเด็จเกศไชโยนั้น พบพระด้านในองค์ “พระมหาพุทธพิมพ์” ซึ่งเป็นพระพุทธรูปองค์ใหญ่ที่สมเด็จพรพุฒาจารย์(โต)พรหมรังสี เป็นผู้สร้างในวัดไชโยมหาวรวิหาร เมืองอ่างทอง วัดนี้เป็นวัดที่เจ้าประคุณสมเด็จฯ สร้างขึ้นบนที่ดินของตาของท่าน เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้โยมมารดาและตา โดยนำชื่อของโยมมารดา “เกศ” มารวมกันเป็น “เกศไชโย”

ภายในวัดมีพระพุทธรูปประทับนั่งองค์ใหญ่ กล่าวกันว่า เจ้าประคุณสมเด็จฯ ได้สร้างไว้เป็นองค์ประธานของวัด และท่านได้สร้างพระเนื้อผงพิมพ์สมเด็จบรรจุกรุไว้ด้านในองค์พระประธาน เรียกกันว่า “พระสมเด็จเกศไชโย”

ในปีพ.ศ. 2430 มีการบูรณะปฏิสังขรณ์วัดขึ้นใหม่ การก่อสร้างทำให้พระพุทธรูปสั่นสะเทือนจนเสียหาย ต้องบูรณะขึ้นใหม่ สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงทรงรับไว้ในพระบรมราชูปถัมภ์ให้สร้างขึ้นใหม่จนแล้วเสร็จในปี 2434 พร้อมถวายพระนาม “พระมหาพุทธพิมพ์” และเปลี่ยนชื่อวัดเป็นวัดไชโยวรวิหารเป็นพระอารามหลวง นับแต่นั้นมา…

ป.ล.(การค้นคว้าหาข้อมูลความเป็นอัจฉริยะของท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสี  ในยุคประวัติศาสตร์วิเคราะห์ ไม่ว่าผู้ค้นคว้าจะเก่งกาจรอบรู้สักเพียงใด สิ่งที่ขาดเสียมิได้ก็คือ หลักฐานพยานบุคคล อันเป็นวัตถุอุปจารของเรื่อง ยิ่งค้นคว้าวัตถุข้อมูลเป็นเครื่องยืนยันได้มากเท่าไหร่ ความถูกต้องถ่องแท้ก็มีมากเท่านั้น ถ้าสิ่งต่างๆดังกล่าวไม่มี หรือมีแต่คลุมเคลือไม่ชัดเจน เรื่องที่เขียนก็อาจกลายเป็นประวัติศาสตร์อุปโลกน์ คอยสร้างความเข้าใจผิดแก่ผู้อื่นอีกชั่วฟ้าดินสลาย…)

พระสมเด็จวัดระฆัง

พระสมเด็จวัดระฆัง รุ่นแรกแจกทาน ปี 2554

พระสมเด็จวัดระฆัง หลังรูปเหมือนสมเด็จโต รุ่นแรกแจกทาน ปี 2554 เป็ยพระพิมพ์สวยมวลสารดี พิธีเข้มขลัง พระธรรมธีรราชมหามุนี เจ้าอาวาสวัดระฆังโฆษิตารามฯ”เจ้าคุณเที่ยง” ประธานจัดสร้าง อธิษฐานจิตภายในกุฏิ 9 วัน 9 คืน ขอบารมีสมเด็จโตในวิหาร พระสมเด็จที่ประดิษฐานรูปเหมือนสมเด็จพุฒจารย์โต หม่อมเจ้าพระพุทธูปบาทปิลันทน์ และ สมเด็จพระโฆษาจารย์(ม.ร.ว.เจริญ) โดยพระสงฆ์ของวัดระฆังฯ อาทิ พระครูสิริธรรมวิภูษิต(พ่อท่านเจิด)วัดระฆังโฆสิตารามฯ พระครูวิมลธรรมธาดา(หลวงพ่อสวง)วัดระฆังโฆษิตาราม ท่านเจ้าคุณ พนะบวรรังษี วัดระฆังโฆษิตาราม พระครูปลัดธีรวัฒน์ วัดระฆังโฆษิตารามฯ อธิษฐานขอบารมี ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพุฒจารย์โตเป็นที่สุด.

พระสมเด็จวัดระฆัง

พระผงสมเด็จโต ที่ใช้แบบจากพระสมเด็จวัดระฆังที่มีค่ามหาศาล สร้างด้วยมวลสารเก่าที่ประกอบด้วยผงวิเศษทั้ง 5 คือ ผงปถมัง ผงอิทธิเจ ผงตรีนิสิงเห ผงพุทธคุณ และผงมหาราช ผสมน้ำมนต์บ่อสมเด็จโต ด้านหลังเป็นรูปเหมือนองค์สมเด็จพุฒจารย์(โต) และคำว่า”แจกทาน” บารมีสมเด็จโตสร้างพระสมเด็จ เป็นพระเครื่องอันดับหนึ่งมีอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์มากมาย , สมเด็จแจกทานนี้ ขอบารมีสมเด็จโตช่วยดลบันดาลมาเสกให้ ทำพิธีเสกภายในวัดระฆังฯ โดยตั้งสัจจะอธิษฐานว่า “ขอให้สมเด็จแจกทานรุ่นนี้มีพุทธคุณเทียบเท่าพระสมเด็จโตสร้างเองกับมือด้วยเทิญ” สมเด็จรุ่นแจกทานนี้มีตรายางลายเซ็นสมเด็จโต หรือตราระฆังเป็นโค้ดทุกองค์.

ยันต์สังวาลเป๊ก เครื่องรางล้านนา

ตะกรุดสังวาลเพชรป้องกันภัย หรือยันต์สังวาลเป๊ก เครื่องรางล้านนา

ยันต์สังวาลเป๊ก หรือยันต์ 108 , ยันต์สังวาลเป๊ก หรือ ” ตะกรุดสังวาลเพชรป้องกันภัย ” เป็นตะกรุดคล้องคอ มีเอกลักษณ์อย่างล้านนา นิยมทำด้วยโลหะ หากเป็นทองและเงิน จะเน้นที่ความเป็นมหานิยม หรือถ้าจะเน้นด้านคงกระพัน ป้องกัน จะทำด้วยโลหะอื่นอย่าง ทองแดง ทองเหลือง หรือตะกั่ว เชื่อกันว่ายันต์สังวาลเป๊ก จะช่วยคุ้มภัยได้สารพัด ทั้งป้องกัน ทั้งเข้มขลังมหาอุด.

ยันต์สังวาลเป๊ก แบบโบราณ ผู้สร้างต้องลงอักขระ บนแผ่นโลหะให้ได้ 54 คู่ รวมแล้ว 108 ชิ้นร้อยสลับกัน ไม่ให้ผิด ปิดด้วยพ่อยันต์แม่ยันต์ เพื่อรักษาอาคมนั้น ส่วนสุดท้ายคือยันต์จำปาสี่ต้น หรือยันต์เก้ากุ่ม บ้างก็มีเฉพาะยันต์เก้ากุ่ม ซึ่งเน้นที่เมตตา ป้องกัน แคล้วคลาด ส่วนเส้นด้ายที่ใช้ร้อยสังวาลเป๊ก ต้องเป็นฝ้ายที่ปลูก ปั่น และย้อมเองจึงจะดี แต่ถ้าซื้อก็ห้ามต่อรองราคา

ยันต์อีกประเภทหนึ่ง ที่มีคุณลักษณะคล้ายกับยันต์สังวาลเป๊ก คือ ยันต์หัวใจ 108 สำหรับมัดเอว(บ้างก็เรียกตะกรุด 108 หรือ ยันต์ 108) ต่างกันที่ความยาว และขนาด รวมทั้งวิธีร้อยเชือก ในส่วนอักขระที่เหล่าเกจิอาจารย์จารลงแผ่นโลหะ คือหัวใจของพระคาถา อาจมีสูตรเฉพาะของแต่ละอาจารย์ก็ได้ เล่ากันว่า นิยมลงอักขระเฉพาะวันอังคาร อังคารละดอก หนึ่งเดือนทำได้เพียง 4 ดอก และหากจะได้ครบ 108 ดอก ต้องใช้เวลาเนิ่นนานมาก ดังนั้นจึงพบว่ามีเฉพาะลูกศิษย์ลูกหาใกล้ชิดเท่านั้นที่ได้ครอบครอง.

ตะกรุดจำปา 4 ต้น รุ่นสอง ปี 61 พระอาจารย์กอบชัย วัดแม่ยะ

ตะกรุดจำปา 4 ต้น รุ่นสอง ปี 61 พระอาจารย์กอบชัย วัดแม่ยะ

 

มีดหมอ

มีดหมอ “เทพศาสตรา” สยบไพรี

“มีดหมอ” เป็นเครื่องรางของชลังยุคเก่า ที่ตกทอดมาตั้งแต่สมัยอยุธยา สำเร็จขึ้นด้วยไสยเวทชั้นสูงของเกจิอาจารย์ ผู้แก่กล้าวิชาอาคม ถือเป็นเทพแห่งศาสตราวุธทั้งปวง ใช้พกพาติดตัวสำหรับคุ้มครองป้องกัน และสยบทำลายศัตรู ที่ว่าคุ้มครองป้องกันนั้น คือ ใช้ป้องกันคุณไสย ของอาถรรพ์ ที่มีผู้กระทำขึ้นด้วยจิตคิดร้าย ทั้งยาสั่งยาดำ ใช้กำราบขับไล่มนต์ดำภูตผีปีศาจ และยังเป็นอาวุธสยบไสยเวทของศตรู ” แม้แต่คนที่มีวิชาอาคมหนังเหนียว อยู่ยงคงกระพันฟันไม่เข้า หากถูกแทงด้วยมีดหมอ ก็จะต้องเลือดตก ”

ตำราการสร้างมีดหมอ

ตำราการสร้างมีดหมอมีหลายสำนัก ต่างกันทั้งกรรมวิธี วัสดุส่วนประกอบของตัวมีด พิธีกรรมการปลุกเสก ตามตำราสร้างที่ตกทอดสืบกันมา กล่าวกันว่า ใบมีดตีขึ้นจากโลหะอาถรรพ์หลายชนิด ได้แก่ ” ตะปูสังฆวานร ” เป็นตะปูตะกั่วใช้ตอกยึดเครื่องไม้ภายในโบสถ์ เมื่อมีการรื้อโบสถ์เก่า ก็จะเก็บตะปูไว้ เพราะถือว่าผ่านการสวดปฏิโมกข์ ของพระสงฆ์ภายในโบสถ์มาเป็นเวลายาวนาน , ” ตะปูตอกโลงศพ ” เมื่อสัปเหร่อเผาศพพร้อมโลง แล้วจะเก็บตะปูพร้อมกับ ” เหล็กที่ใช้ทิ่มผี “(เหล็กใช้เขี่ยศพในขณะเผา) นำไปให้หลวงพ่อสร้างมีดหมอ.

นอกจากนี้ ส่วนประกอบของมีดหมอยังมี ” บาตรแตก ” ใช้ลงอักขระยันต์ ” เหล็กน้ำพี้ ” เป็นเหล็กชั้นดีสมัยโบราณใช้ทำดาบออกศึก เมื่อรวบรวมไดครบแล้ว หาฤกษ์ยามบวงสรวงก่อน หลอมกับเหล็กชนวนแล้วตีเป็นใบมีด เบ้าหลอมต้องลงอักขระยันต์ต่างๆ ช่างตีมีกต้องถือศีลนุ่งห่มผ้าขาว เมื่อหลอมโลหะตีเป็นแผ่นแล้ว จึงนำไปให้พระอาจารย์ผู้ปลุกเสกจารยันต์ ลงอักขระยันต์บนแผ่นโลหะ แล้วนำกลับไปหลอมใหม่ ตีเป็นแผ่นโลหะแล้วนำกลับไปให้อาจารย์จารแผ่นโลหะอีกครั้ง ทำเช่นนี้หลายครั้ง ตามแต่ตำรา จะเห็นว่า แม้แต่ขั้นตอนการรวบรวมโลหะ และตีใบมีด ยังยุ่งยากซับซ้อนขนาดนั้น การจัดสร้างมีดหมอทั้งด้าม จึงเป็นงานละเอียดลึกซึ้ง ” พระอาจารย์ผู้สร้าง ต้องทรงคุณวิเศษแก่กล้าเอกอุ จึงจะสามารถประสิทธิ์ประสาทมนตราอาคม ให้มีดหมอทรงมหิทธานุภาพ อย่างเลีศล้ำเป็นพิเศษได้ ”

พระผงใบลาน พิมพ์พระประธาน หลวงปู่โต๊ะ

พระเนื้อผงใบลาน พิมพ์พระประธาน ปี 2521 หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี

พระเนื้อผงใบลาน พิมพ์พระประธาน ปี 2521 หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี จ.กรุงเทพฯ เนื้อใบลานนี้ จัดสร้างน้อย หายากมาก

พระเครื่อง หลวงปู่โต๊ะ พิมพ์ประธานพร เป็นพระเนื้อผงที่จำลององค์ประธานในพระอุโบสถ ลงกรอบในพิมพ์รูปใบโพธิ์ ด้านหลังเป็นยันต์ตรีนิสิงเห สร้างด้วยเนื้อผงใบลาน บรรจุตะกรุดใต้ฐานองค์พระ

พระประธาน เนื้อใบลาน หลวงปู่โต๊ะ

พุทธคุณ : เมตตามหานิยม ช่วยให้ประสบความสำเร็จในหน้าที่การงาน

หลวงปู่โต๊ะ ท่านเป็นพระสงฆ์ที่อุทิศตนบำเพ็ญเพียรอย่างเคร่งครัดสม่ำเสมอ มีวัตรปฎิบัติที่งดงามมาตลอด ชีวิตที่อยู่ในร่มกาสาวพัสตร์ เรื่องพุทธคุณให้โชคลาภนั้นทวีคูณ กับผู้ประพฤติตนดี ตามคำสอนของหลวงปู่โต๊ะ ท่านจะพบแต่โชคลาภ ประสบผลสำเร็จในทุกเรื่อง ถ้าเราเป็นคนดี กตัญญูกับบิดา-มารดา จะได้รับความรักความเมตตาจากผู้คนรอบข้างมากมาย และแคล้วคลาด ปลอดภัย อย่างน่าอัศจรรย์.

หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี และนายหลวง ร.9

หลวงปู่โต๊ะ อินฺทสุวณฺโณ เกิดเมื่อวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2430 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

และหลวงปู่ ท่านมรณภาพลงในวันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2524 เวลา 9:55 น. ด้วยอาการสงบ รวมสิริอายุ 93 ปี 73 พรรษา

พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราชบรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดให้เชิญพระศพไปตั้งที่ศาลา 100 ปี วัดเบญจมบพิตร พระราชทานเกียรติยศศพเป็นพิเศษ เสนอพระราชาคณะชั้นธรรม

พระราชทานโกศโถบรรจุศพ พร้อมฉัตรเบญจาเครื่องประกอบเกียรติยศครบทุกประการ พระราชทานพระบรมราชานุเคราะห์แก่การศพโดยตลอด เสด็จฯ ไปทรงเป็นประธานในการทรงบำเพ็ญพระราชกุศล 7 วัน 50 วัน 100 วัน และตามโอกาสอันควรหลายวาระ พระราชทานเพลิงพระศพ ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิสริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส.

สีวลี เนื้อเกสร หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี

พระสีวลี

พระสีวลีเถระ หรือ พระสีวลี เป็นพระภิกษุสาวกเอตทัตคะ ของพระพุทธเจ้านับเนื่องในพระอสีติมหาสาวก 80 องค์สำคัญในพระพุทธศาสนาในสมัยพุทธกาล

พระสีวลีเถระ เป็นเจ้าชายในโกลิยวงศ์ ออกบวชในสำนักพระสารีบุตร บรรลุพระอรหันต์ในขณะที่ปลงเกศานั่นเอง และหลังจากผนวช ท่านเป็นผู้มีลาภสักการะ มากด้วยกุศลกรรมที่ทำมาแต่อดีต ด้วยเหตุนี้ท่านจึงได้รับยกย่อง จากพระพุทธองค์ให้เป็นเอตทัคคะผู้เลีศในทาง ผู้มีลาภมาก

สีวลี เนื้อผงพรายกุมาร หลวงปู่ทิม

กำเนิดพระสีวลี

พระสีวลี เป็นพระโอรสของพระนางสุปปวาสา ผู้เป็นพระราชธิดาของพระมหากษัตริย์แห่งกรุงโลกิยะ อยู่ในพระครรภ์ถึง 7 ปี 7 เดือน 7 วัน เมื่อทรงพระครรภ์ทำให้พระมารดาสมบูรณ์ด้วยลาภสักการะมาก เมื่อประสูติก็ประสูติง่ายดาย พุทธนุภาพที่ทรงพระราชทานพรว่า “ขอพระนางสุปปวาสา จงมีความสุข ปราศจากโรคพยาธิ ประสูติพระราชบุตรผูไม่มีโรคเถิด”

เมื่อประสูติและพระยูรญาติขนานถวายพระนาว่า สีวลีกุมาร ในวันที่นิมนต์พระพุทธเจ้ามาเสวยภัตตาหารตลอด 7 วัน สีวลีกุมาร ก็ได้ถือธมกรกรองน้ำถวายพระพุทธเจ้า และพระสงฆ์ตลอด 7 วัน

เมื่อเจริญวัย ท่านได้ออกผนวชในสำนักพระสารีบุตร ได้บรรลุอรหันต์ผลในเวลาปลงเกศาเสร็จ จากนั้นมาท่านสมบูรณ์ด้วยลาภสักการะไม่ขาด ด้วยปัจจัย 4 ทั้งปวง ด้วยเหตุนี้จึงได้รับยกย่องจากพระพุทธองค์ให้เป็น เอตทัคคะผู้เลีศในทาง ผู้มีลาภมาก

สีวลี เนื้อเกสร หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี

ในคัมภีร์ทางพุทธศาสนาไม่ระบุว่า ท่านดับขันธปรินิพพานที่ใด แต่ท่านคงดำรงขันธ์อยู่พอสมควรแก่กาล จึงปรินิพพาน

สีวลี เนื้อเกสร หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี

พระสีวลีในความเชื่อของคนไทย

เนื่องจากพระสีวลีเถระ เป็นพระอรหันต์ที่ได้รับการยกย่อง ให้เป็นเอตทัคคะผู้เลีศในทาง ผู้มีลาภมาก คนไทชเชื่อว่าผู้ใดได้บูชาพระสีวลีเถระแล้ว จะได้รับโชคลาภเงินทองไหลมาเทมา ซึ่งคนไทยยังเชื่ออีกว่า เคยมีคนผู้หนึ่งได้รับมาแล้วในสมัยพุทธกาลก็คือ มีหญิงสาวคนหนึ่งซึ่งเกิดในตระกูลพ่อค้า มีนามว่า สุภาวดี นางได้เลื่อมใสศรัทธาพระพุทธศาสนา และเคารพนับถือพระสีวลีเถระเป็นอย่างยิ่ง

เมื่อแม่นางได้ฟังธรรมจนลึกซึ้ง พระสีวลีก็ได้ให้ศีลให้พรว่า “จงเจริญด้วยทรัพย์สิน เงินทองจากการค้าขาย เงินทองไหลมาเทมา สมความมุ่งมาดปรารถนาด้วยเถิด”

หลังจากที่ นางสุภาวดี ได้รับพรจากพระสีวลีเถระแล้ว ไม่ว่านางและผู้เป็นบิดามารดา จะไปค้าขายที่ใด ก็จะขายดีเป็นเทน้ำเทท่า มีแต่กำไรหลั่งไหลเข้ามาทุกครั้งไป ซึ่งนางสุภาวดีนั้น ได้เป็นที่รู้จักของคนไทยเป็นอย่างดี ซึ่งก็คือ “นางกวัก” นั้นเอง.

สีวลี ครูบากฤษณะ

สีวลี หลวงพ่อกวย

แม่นางกวัก หลวงพ่อคง วัดบ้านสวน

พระหูยาน ลพบุรี เนื้อชินเงิน กรุใหม่

พระหูยาน ลพบุรี พิมพ์ใหญ่ กรุใหม่ เนื้อชินเงิน

พระหูยาน ลพบุรี มีการขุดค้นพบที่กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จ.ลพบุรี เป็นหลัก จึงนิยมเรียกกันติดปากว่า ” พระหูยาน ลพบุรี ” นอกจากนี้ยังมีปรากฏที่กรุอื่นๆอีก เช่น กรุวัดอินทาราม กรุวัดปืน กรุวัดราษฎร์บูรณะ อยุธยา , พระหูยาน วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จ.สุพรรณบุรี , พระหูยาน กรุวัดค้างคาว จ.เพชรบุรี และพระหูยานเมือสรรค์ เป็นต้น.

พระหูยาน ลพบุรี มีทั้งหมด 3 พิมพ์คือ พระหูยานพิมพ์ใหญ่ ขนาดสูงประมาณ 5.5 cm. พิมพ์กลาง และพิมพ์เล็ก ซึ่งจะมีขนาดลดหลั่นกันลงมา นอกจากนี้วงการพระเครื่อง ยังมีการกำหนดลักษณะ หรือ ศิลปะของพระหูยาน ลพบุรี แยกเป็นสองแบบคือ พระหูยานหน้ายักษ์ และพระหูยานหน้ามงคล สำหรับด้านหลังพิมพ์ของ พระหูยานลพบุรี จะมีเอกลักษณ์เหมือนกันหมดทุกพิมพ์ คือ เป็นลายผ้ากระสอบความถี่ หยาบเหมือนกันทุกองค์.

พระหูยาน ลพบุรี เนื้อชินเงิน กรุใหม่พระหูยาน ลพบุรี เนื้อชินเงิน กรุใหม่พระหูยาน ลพบุรี เนื้อชินเงิน กรุใหม่

พระหูยาน ลพบุรี เนื้อชินเงิน กรุใหม่

ปั้นเหน่ง ราหูอมจันทร์

วัตถุมงคลเครื่องรางของขลัง อาจารย์เฮง ไพรยวัล

อาจารย์เฮง ท่านเป็นเลีศในหลายๆด้าน ทั้งไสย ทั้งศิลป์ และท่านยังเป็นที่ซี้ปึกกับ ครูเหม เวชกร , ครั้งหนึ่งครูเหมออกปากว่า…”หน้าพรหม ไม่มีใครเขียนให้เห็นได้ทั้งสี่หน้า ที่อาจารย์เฮง คนเดียว ที่เขียนได้ ” ท่านสร้างวัตถุมงคล และเครื่องรางของขลัง.

อาารย์เฮง ไพรยวัล

วัตถุมงคล อาจารย์เฮงไพรยวัล

เครื่องรางของขลัง อาจารย์เฮง สร้างไว้มีหลายอย่างคือ พระพรหมจะทำด้วยงากำจัด งากำจาย โลหะเงิน ทอง นาค ตะกรุดมหาจักรพรรดิ แหวนโลหะ ปลัดขิก ผ้ายันต์ ภาพวาสรูปเทพ ลงอักขระคชสีห์ สิงห์ เสือ เนื่องจากอาจารย์เฮง เป็นผู้อัจฉริยะในด้านการช่างอย่างน่าอัศจรรย์ ดังจะเห็นได้ว่า เครื่องรางของขลังแต่ละชิ้นนั้น ศิลป์วิจิตรงดงาม หากสังเกตรอยจารลายมือสวยมาก การเขียนภาพต่างๆ มีมิติลึกซึ้ง การแกะสลักได้สัดส่วน ยากที่จะมีอาจารย์ใดเสมอเหมือน ด้านพุทธคุณเป็นที่เลื่องลือว่าสุดยอดของคงกระพัน แคล้วคลาดปลอดภัย กันภูตผีปีศาจ เพิ่มพูนในเรื่องของเมตตามหานิยม เช่น เหรียญพรหมสี่หน้า อาจารย์เฮง มีหลายรูปแบบทั้ง หน้าโล่ห์ ทรงกลม ข้าวหลามตัด และเครื่องรางของขลังอีกหลายรูปแบบ…เป็นที่นิยมมานาน ของแท้นั้นหาดูไม่ง่ายนัก…

อาจารย์เฮง ไพรวัล

เหรียญเจริญพรบน เนื้อทองแดง โค้ด ท หลวงปู่ทิม

เหรียญเจริญพรบน เนื้อทองแดง โค้ด ท หลวงปู่ทิม วัดละหารไร่ ปี 17

*เหรียญเจริญพรของหลวงปู่ทิมนี้แบ่งเป็น เนื้อทองคำ 16 เหรียญ เป็นเหรียญเจริญพรล่างทั้งหมด ตอกโค๊ดไว้ที่ซอกแขน ด้านหลังตอกเลขไทย ๑-๑๖ หลวงปู่จารมือเองทุกเหรียญ.

*เนื้อเงินมี 2 ชนิด เจริญพรบน 72 เหรียญ และเจริญพรล่าง 271 เหรียญ ตอกโค๊ด ท ไว้ที่ฐานสิงห์ ด้านหลังตอกเลขไทย ๑-๓๔๓.

*เนื้อนวโลหะ เป็นเจริญพรบน ทั้งหมด 1166 เหรียญ ตอกโค๊ด ท ไว้ที่สังฆาฏิบริเวณหน้าอก ด้านหน้าตอกเลขไทย ๑-๑๑๖๖ (มีเหรียญชำรุด 28 เหรียญ)

*เนื้อทองแดง สร้างจำนวน 15,895 เหรียญ เป็นเจริญพรล่าง 9,000 เหรียญ รมดำทุกเหรียญ , เจริญพรบน 6,895 เหรียญ ไม่มีการรมดำ , เนื้อทองแดงตอกโค๊ด ท ไว้ที่สังฆาฏิบริเวณหน้าตัก ไม่มีการตอกเลขไทยกำกับ แต่ได้มีการตอกโค๊ด ท ผิดไป 400 เหรียญ เนื่องจากช่างรีบ เพราะหลวงปู่ทิมท่านได้ไว้ว่า ต้องให้เสร็จก่อนพระอาทิตย์ตกดิน ช่างเลยเข้าใจผิดคิดว่าเนื้อทองแดงเป็นเนื้อนวโลหะ

*เนื้อชินตะกั่ว 400 เหรียญ บางเหรียญตอกโค๊ด ท ไว้ที่บริเวณสังฆาฏิ , บางเหรียญตอกโค๊ดเลขไทย ๙ ไว้ที่ใต้ฐาน(ที่ตอกโค๊ดเลข ๙ ตั้งใจจะแจกกรรมการ แต่ภายหลังก็ได้นำออกบูชาจนหมด) เหรียญเจริญพร รุ่น แจกกรรมการ เนื้อทองแดงได้ตอกโค๊ด ท ไว้ที่ชายสังฆาฏิ , ตอกเลขไทย ๙ ไว้ที่ฐานมี 800 เหรียญ หลวงปู่ทิมท่านกล่าวไว้ว่า “เหรียญเจริญพรนี้มีดีด้านเมตตามหานิยม” และท่านได้เมตตาปลุกเสกเป็นเวลานานถึง 7วัน7คืน.

 คาถาบูชาพระเครื่องหลวงปู่ทิม อิสริโก

ตั้งนะโม 3 จบ

อิติสุคะโต อะระหัง พุทโธ นะโมพุทธายะ มะอะอุ ทุกขัง อนิจจัง อะนัตตา พุทโธ พุทโธ

( 3 จบ ).

เหรียญเจริญพรบน เนื้อทองแดง โค้ด ท หลวงปู่ทิม

เหรียญเจริญพรบน เนื้อทองแดง โค้ด ท หลวงปู่ทิม

เหรียญเจริญพรบน เนื้อทองแดง โค้ด ท หลวงปู่ทิม

เหรียญเจริญพรบน เนื้อทองแดง โค้ด ท หลวงปู่ทิม

เหรียญเจริญพรบน เนื้อทองแดง โค้ด ท หลวงปู่ทิม

เหรียญเจริญพรบน เนื้อทองแดง โค้ด ท หลวงปู่ทิม

เหรียญเจริญพรบน เนื้อทองแดง โค้ด ท หลวงปู่ทิม

เหรียญเจริญพรบน เนื้อทองแดง โค้ด ท หลวงปู่ทิม

สมเด็จชนะมารบันดาลทรัพย์ รุ่น มหาเศรษฐีมีสุข หลวงพ่อทองคำ วัดถ้ำตะเพียนทอง ปี 52

สมเด็จชนะมารบันดาลทรัพย์ พิมพ์โพธิ์ 9 ใบ หลังพระแม่โพสพ

รุ่น มหาเศรษฐีมีสุข หลวงพ่อทองคำ วัดถ้ำตะเพียนทอง ปี 52

สมเด็จชนะมารบันดาลทรัพย์ รุ่น มหาเศรษฐีมีสุข หลวงพ่อทองคำ วัดถ้ำตะเพียนทอง ปี 52

สมเด็จชนะมารบันดาลทรัพย์ เทพแห่งโชคลาภ ความอุดมสมบูรณ์ ความสำเร็จ มั่งมีศรีสุข พิมพ์โพธิ์ 9 ใบ หลังพระแม่โพสพ รุ่น มหาเศรษฐีมีสุข ฝังตะกรุดสามกษัตริย์ พลอยเสก เส้นเกศาหลวงปู่.

องค์นี้เป็น องค์ครู จากชุดกรรมการ ตอกโค๊ตใต้ฐาน สร้างเพียง 276 ชุดเท่านั้น ฉลองครบรอบ 76 ปี หลวงพ่อทองคำ อินฺทวํโส วัดถ้ำตะเพียนทอง จ.ลพบุรี.

สมเด็จชนะมารบันดาลทรัพย์ รุ่น มหาเศรษฐีมีสุข หลวงพ่อทองคำ วัดถ้ำตะเพียนทอง ปี 52

พิธีพุทธาภิเษก

พิธีพุทธาภิเษก ณ อุโบสถวัดถ้ำตะเพียนทอง เมื่อ 16 สิงหาคม 2552. ร่วมอธิษฐานจิตปลุกเสกโดย หลวงพ่อพูน วัดบ้านแพน อยุธยา , หลวงพ่อแม้น วัดหน้าต่างนอก อยุธยา , หลวงพ่อเอื้อน วัดวังแดง อยุธยา , หลวงพ่อเสน่ห์จันทร์ วัดจันทรังษี ขอนแก่น และพระพิธีธรรมสวดพุทธาภิเษก 4 รูปจากวัดระฆังฯ.

ขนาดองค์พระ 3.5 x 5.5 Cm.

สมเด็จชนะมารบันดาลทรัพย์ รุ่น มหาเศรษฐีมีสุข หลวงพ่อทองคำ วัดถ้ำตะเพียนทอง ปี 52

สมเด็จชนะมารบันดาลทรัพย์

สมเด็จชนะมารบันดาลทรัพย์

องค์นี้มีความพิเศษ มีทั้งข้าวสารก้นบาตร และเกศาหลวงปู่ด้วย

สมเด็จชนะมารบันดาลทรัพย์

สมเด็จชนะมารบันดาลทรัพย์

 หลวงพ่อทองคำ วัดถ้ำตะเพียนทอง

หลวงพ่อทองคำ วัดถ้ำตะเพียนทอง

พระสมเด็จ พิมพ์ปรกโพธิ์ เนื้อแก่ปูน

พระสมเด็จบางขุนพรหม กรุเก่า

พระสมเด็จบางขุนพรหมเป็นพระในสกุล “พระสมเด็จวัดระฆัง” ที่สร้างโดย เสมียนตาเจิม และปลุกเสกโดยสมเด็จพุฒจารย์(โต) พรหมรังสี เป็นที่พึงปรารถนาแก่ประชาชนที่เคารพกราบไหว้พระเดชพระคุณอันประเสริฐของท่าน นับวันวัตถุมงคลนี้กำลังจะหายากยิ่ง และราคาก็สูงขึ้นเช่นเดียวกัน  เราเองเป็นผู้หนึ่งที่เคารพบูชาท่าน และได้มีโอกาศครอบครองพระในสกุลพระสมเด็จวัดระฆัง และพระสมเด็จบางขุนพรหมหลายรุ่น จึงได้พยายามศึกษาค้นคว้าประวัติของสมเด็จพุฒจารย์(โต) พรหมรังสี และการสร้างพระสมเด็จ เทียบเคียงกันทั้งทางด้านประวัติศาสตร์ ความเป็นมากับหลักการทางวิทยาศาสตร์ และร่วมศึกษาหาความรู้ด้วยกันกับท่านทั้งหลาย เพื่อเผยแพร่เป็นวิทยาทาน.

พระสมเด็จบางขุนพรหม เป็นพระในสกุล พระสมเด็จวัดระฆัง

พระสมเด็จบางขุนพรหม เป็นพระในสกุล พระสมเด็จวัดระฆัง

การสร้างพระสมเด็จของ สมเด็จพุฒจารย์(โต) พรหมรังสี 

ปี พ.ศ. 2410 สมเด็จพุฒจารย์(โต) พรหมรังสี ท่านได้เริ่มสร้างพระพุทธรูปก่ออิฐถือปูนปางโปรดสัตว์ (ยืนอุ้มบาตร) โดยใช้ซุงทั้งต้นเป็นฐานราก และดูแลการก่อสร้างด้วยตัวท่านเองที่วัดอินทรวิหาร ซึ่งเป็นวัดที่ท่านได้จำพรรษาอยู่เมื่อครั้งยังเป็นสามเณร  ในระหว่างการก่อสร้างเสมียนตราด้วง ต้นสกุล ธนโกเศรฐ และเครือญาติได้ปวารณาตนเองเป็นโยมอุปัฏฐากของสมเด็จพุฒจารย์(โต) พรหมรังสี.

ถึงปี พ.ศ. 2411″ เสมียนตราด้วง” ต้นสกุล “ธนโกเศศ” ได้ทำการบูรณะพระอารามวัดใหม่อมตรส และปฏิสังขรณ์พระเจดีย์ไว้เพื่อเป็นมหากุศล และเป็นพระเจดีย์ประจำตระกูล  ตามประเพณีนิยมในสมัยนั้น โดยได้สร้างพระพระเจดีย์ขึ้นสององค์ องค์ใหญ่เพื่อบรรจุพระพิมพ์ต่างๆ ตามโบราณคติในอันที่จะสืบทอดพระพุทธศาสนา และสร้างเจดีย์องค์เล็กเพื่อบรรจุอัฐิธาตุบรรพระบุรุษ โดยเริ่มสร้างตั้งแต่ปี พ.ศ. 2411  จนกระทั่งถึงปี พ.ศ. 2413 จึงแล้วเสร็จ จากนั้นจึงได้กราบนมัสการขอความเห็นจากสมเด็จพุฒจารย์(โต) พรหมรังสี ในการสร้างพระสมเด็จ เพื่อสืบทอดทางพุทธศาสนา และเป็นการสร้างมหาบุญแห่งวงศ์ตระกูล  สมเด็จพุฒจารย์(โต) พรหมรังสี ท่านได้ให้อนุญาติ และมอบผงวิเศษที่ใช้ในการสร้างพระสมเด็จวัดระฆังของท่านให้ส่วนหนึ่ง (จากบทความของนายกนก สัชฌุกร ที่ได้สัมภาษณ์ท่านเจ้าคุณธรรมถาวร ตอนมีชีวิตยุคสมเด็จพุฒจารย์(โต) พรหมรังสี  ได้ความว่า ได้ผงวิเศษประมาณครึ่งบาตรพระ และทุกครั้งที่ตำในครก ท่านเจ้าประคุณสมเด็จจะโรยผงวิเศษของท่านมากบ้างน้อยบ้าง ตามอัธยาศัย จนกระทั่งแล้วเสร็จ) เมื่อได้ผงวิเศษแล้ว เสมียนตราเจิม และทีมงานก็ได้จัดหามวลสารต่างๆ ตรงตามตำราการสร้างพระสมเด็จของ สมเด็จพุฒจารย์(โต) พรหมรังสี ทุกประการ.

พระสมเด็จบางขุนพรหม เป็นพระในสกุล พระสมเด็จวัดระฆัง

พระสมเด็จบางขุนพรหม เป็นพระในสกุล พระสมเด็จวัดระฆัง

การแกะแม่พิมพ์พระสมเด็จของสมเด็จพุฒจารย์(โต) พรหมรังสี 

ในเรื่องของการสร้างพิมพ์ขึ้นมาใหม่นั้น มีการจัดสร้าง และแกะแม่พิมพ์แม่แบบขึ้นมาใหม่ทั้งหมดจำนวน 9 พิมพ์ เป็นพิมพ์ชิ้นเดียวตัดขอบและปาดหลัง โดยฝีมือของช่างสิบหมู่แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ แต่น่าจะเป็นคนละทีมกับช่างที่แกะแม่พิมพ์พระสมเด็จวัดระฆัง แต่เนื่องด้วยเป็นฝีมือช่างในยุคเดียวกัน มีศิลปะในสกุลช่างเดียวกัน และต้นแบบที่สำคัญคือพิมพ์พระสมเด็จวัดระฆัง ดังนั้นพระสมเด็จบางขุนพรหม จึงมีความสวยงามใกล้เคียงกันกับพระสมเด็จวัดระฆังเป็นอย่างยิ่ง.

พระสมเด็จบางขุนพรหม เป็นพระในสกุล พระสมเด็จวัดระฆัง

พระสมเด็จบางขุนพรหม เป็นพระในสกุล พระสมเด็จวัดระฆัง

พิมพ์พระสมเด็จบางขุนพรหมทั้ง9พิมพ์

1 . พิมพ์ใหญ่

2 . พิมพ์ทรงเจดีย์

3 . พิมพ์เกศบัวตูม

4 . พิมพ์เส้นด้าย

5 . พิมพ์ฐานแซม

6 . พิมพ์สังฆาฏิ

7 . พิมพ์ปรกโพธิ์

8 . พิมพ์ฐานคู่

9 . พิมพ์อกครุฑ

จำนวนที่จัดสร้าง สันนิษฐานกันว่า 84,000 องค์ เท่ากับพระธรรมขันธ์ พระสมเด็จที่สร้างเสร็จจะมีเนื้อขาวค่อนข้างแก่ปูน.

การปลุกเสกโดยสมเด็จพุฒจารย์(โต) พรหมรังสี ได้เจริญพระพุทธมนต์ และปลุกเสกเดี่ยว จนกระทั่งบริบูรณ์ด้วยพระสูตรคาถา.

เมื่อผ่านพิธีปลุกเสกเป็นที่สุดแล้ว ได้มีการเรียกชื่อพระสมเด็จนี้ว่า “พระสมเด็จบางขุนพรหม” ตามตำบลของของที่ตั้งพระเจดีย์ และได้ถูกนำเข้าบรรจุกรุในพระเจดีย์ใหญ่ และพระเจดีย์เล็กทั้งสิ้น ไม่มีการแจกจ่ายแก่ผู้ใดผู้หนึ่ง รวมทั้งมีข้อสันนิษฐานว่า ได้นำพระสมเด็จวัดระฆังลงบรรจุกรุด้วย ดังที่หลายๆท่านนิยมเรียกกันว่า “กรุสองคลอง”

พระสมเด็จบางขุนพรหม เป็นพระในสกุล พระสมเด็จวัดระฆัง

พระสมเด็จบางขุนพรหม เป็นพระในสกุล พระสมเด็จวัดระฆัง

การลักลอบเปิดกรุพระสมเด็จ และการตกพระ

หลังจากที่ได้บรรจุพระสมเด็จไว้ในพระเจดีย์ทั้งสองแล้ว ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2413 จนกระทั่งเกิดวิกฤตกับประเทศในกรณีพิพาทกับประเทศฝรั่งเศษ ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 และนกรณีพิพาทอินโดจีน ได้มีการลักลอบเปิดกรุถึงสามครั้ง คือครั้งที่1 พ.ศ. 2425 , ครั้งที่2 พ.ศ. 2436 และครั้งที่3 พ.ศ. 2459

ในการลักลอบเปิดกรุทั้งสามครั้งนั้น ผู้ลักลอบได้ใช้วิธีต่างๆเช่น การตกเบ็ด โดยใช้ดินเหนียวปั้นเป็นก้อนกลมๆ ติดกับปลายเชือก หย่อนเข้าไปทางรูระบายอากาศ ติดพระแล้วดึงขึ้นมา การใช้น้ำกรอกเข้าไปทางรูระบายอากาศ เพื่อให้น้ำไปละลายการเกาะยึดขององค์พระเป็นต้น ซึ่งการลักลอบเปิดกรุทั้งสามครั้งนั้น  พระสมเด็จที่อยู่บนส่วนบนจึงสวย มีความสมบูรณ์  นักนิยมพระสมเด็จเรียกกันว่า “พระสมเด็จบางขุนพรหม กรุเก่า” ซึ่งลักษณะของวรรณะจะปรากฏคราบเพียงเล็กน้อย หรือบางๆเท่านั้น พิมพ์คมชัดสวยงาม เนื้อหนึกนุ่มละเอียด มีน้ำหนัก และแก่ปูนพระสมเด็จบางขุนพรหม.

พระสมเด็จบางขุนพรหม เป็นพระในสกุล พระสมเด็จวัดระฆัง

พระสมเด็จบางขุนพรหม เป็นพระในสกุล พระสมเด็จวัดระฆัง

ารเปิดกรุพระสมเด็จอย่างเป็นทางการ

ท้ายที่สุดคือการลักลอบขุดกรุที่ฐานในปี พ.ศ. 2500 วิธีนี้ได้พระไปเป็นจำนวนมาก(เป็นที่มาของพระสมเด็จบางขุนพรหมกรุธนา เรื่องเล่าจากประสบการณ์ตรง ของพระภิกษุวงศ์ สุธรรมโม หรือพระอาจารย์จิ้ม กันภัย ได้ใจความว่า ในตอนกลางคืนฝนตกไม่หนักมากนัก นักเลงพระทางภาคเหนือ ได้ร่วมกันลักลอบเจาะที่บริเวณใกล้ฐานของพระเจดีย์พอตัวมุดเข้าไปได้  และได้นำพระออกไปได้เป็นจำนวนมาก จนหิ้วพระไม่ไหว ประกอบกับกลัวเจ้าหน้าที่จะพบเห็น จึงทิ้งไว้ข้างวัดก็หลายถุง มีบุคคลผู้หนึ่งชื่อธนา บ้านอยู่ละแวกวัด ได้เก็บพระชุดนี้ไว้เป็นจำนวนมาก  จะเก็บได้จากผู้ที่ลักลอบทิ้งไว้ หรือซื้อมาก็มิอาจทราบได้  แต่ภายหลังได้ขายให้กับ คุณแถกิงเดช คล่องบัญชี ซึ่งเป็นศิษย์ของท่านเอง และต่อมาได้เขียนหนังสือร่วมกับนายสุคนธ์ เพียรพัฒน์ เรื่อง”สี่สมเด็จ ” ซึ่งพระสมเด็จบางขุนพรหมที่ซื้อมามีทั้งที่สวยงาม มีคราบกรุน้อย และคราบกรุหนาจับกันเป็นก้อนก็มี) จนกระทั่งทางวัดใหม่อมตรส ได้ติดต่อกรมศิลปากรเข้ามาดูแล และเปิดกรุอย่างเป็นทางการโดยเชิญ พลเอกประภาส จารุเสถียร เป็นประธานในพิธีเปิดกรุเมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2500 พระที่นำออกมาครั้งนั้น นักนิยมพระสมเด็จเรียกกันว่า “พระสมเด็จบางขุนพรหม กรุใหม่”

เมื่อนำออกมาคัดแยก คงเหลือพระที่มีสภาพดี สวยงาม เพียง 3000 องค์เศษเท่านั้น ที่เหลือจับกันเป็นก้อน หักชำรุดแทบทั้งสิ้น ลักษณะของวรรณะส่วนใหญ่จะมีคราบกรุค่อนข้างหนา และจับเป็นก้อน ที่สภาพดีจะพบว่าผิวของพระเป็นเกร็ดๆทั่วทั้งองค์ หรือที่เรียกว่าเหนอะ มีคราบไขขาว ฟองเต้าหู้ คราบขี้มอด จะตั้งชื่อหรือเรียกว่าอย่างไรก็แล้วแต่ ล้วนเกิดขึ้นจากปฏิกิริยาระหว่างน้ำกับปูน และเนื้อมวลสารที่เป็นองค์ประกรอบของพระสมเด็จทั้งสิ้น ทั้งสภาพเปียกชึ้น ร้อน เย็น และถูกแช่อยู่ในน้ำเป็นเวลานานกับดินโคลนเป็นต้น  แต่แปลกตรงที่ว่า “พระสมเด็จบางขุนพรหม” เมื่อถูกใช้ซักระยะเนื้อจะเริ่มหนึกนุ่ม ใกล้เคียงกับ”พระสมเด็จวัดระฆัง” เป็นอย่างยิ่ง.

พระสมเด็จบางขุนพรหม เป็นพระในสกุล พระสมเด็จวัดระฆัง

พระสมเด็จบางขุนพรหม เป็นพระในสกุล พระสมเด็จวัดระฆัง

พิมพ์นิยม กับ พระสมเด็จบางขุนพรหม

ในเรื่องของทรงพิมพ์ที่เรียกกันว่า พิมพ์นิยม 9 พิมพ์นั้น พิมพ์ที่พบน้อยที่สุดคือ พิมพ์ปรกโพธิ์ กล่าวกันว่ามีไม่ถึง 20 องค์ และที่สำคัญยังพบพิมพ์ไสยาสน์อีกหลายแบบ มีประมาณไม่เกิน 22 องค์ ซึ่งในปัจจุบันหาดูได้ยาก  ในส่วนของกรุพระเจดีย์เล็ก นักเลงพระในยุคนั้น ไม่ค่อยให้ความสนใจ แต่ปรากฏว่าหลังจากเปิดกรุก็ได้พบพระสมเด็จอยู่มากมาย นับได้เป็นพันองค์ ทรงพิมพ์ที่พบได้แก่ พิมพ์ฐานคู่ พิมพ์ฐานหมอน พิมพ์สามเหลี่ยม(หน้าหมอน) พิมพ์จันทร์ลอย ลักษณะของวรรณะคราบกรุจะไม่มาก จะมีความสวยงามกว่ากรุพระเจดีย์ใหญ่ ซึ่งในปัจจุบันหาดูได้ยาก เช่นกัน.

พระสมเด็จ พิมพ์ปรกโพธิ์ เนื้อแก่ปูน

พระสมเด็จบางขุนพรหม เป็นพระในสกุล พระสมเด็จวัดระฆัง

พระสมเด็จบางขุนพรหม กับ ตราประทับ

หลังจากการเปิดกรุอย่างเป็นทางการ ทางวัดได้ประทับตราที่ด้านหลังขององค์พระ เพื่อป้องกันการปลอม เรีกกันว่า “ตราน้ำหนัก” และจำหน่ายในราคามากพอสมควร แต่ก็หมดลงในเวลาไม่นานนัก ในช่วงเวลาดังกล่าว พระที่ถูกขโมยออกจากกรุไป กลับมาจำนวนมาก โดยที่ประมาณในกรุมีทั้งหมด 84,000องค์ เปิดกรุได้ 3000 เศษ (แต่ให้บูชาได้  2750 องค์ พระหาย) ชำรุดประมาณไม่เกิน 1000 องค์ เท่ากับว่า พระหายออกจากกรุประมาณ 70,000 องค์ และกลับมาในเวลาดังกล่าวส่วนหนึ่ง โดยให้คนเข้าไปในวัดแล้วเช่าพระออกมาดูตราน้ำหนักของวัด แล้วปลอมขึ้น จะได้ขายได้ แล้วก็ขายกันข้างวัดเลย  แต่ก็ดูไม่ยาก คือ พระที่ขโมยออกไปมีสภาพสวย คราบกรุน้อย ปั๊มตราจะเห็นชัด ครบทั้งหมด.

ส่วนพระที่เปิดกรุ ปี 2500 หลังจะไม่สวย คราบกรุเยอะ  ตรายางจะไม่ชัด การสังเกตตรายาง ตรายางสมัยก่อนจะเนื้อแข็ง ปั๊มได้บนพื้นที่ราบเรียบ ดังนั้นบนคราบกรุ หรอรูบ่อน้ำตรา และขี้กรุที่สูงๆต่ำๆ จะไม่ติดชัด(ใช้ไม้บรรทัดวางแนวหาองศาดูได้ ว่าตรายางอยู่บนแนว 180 องศาหรือเปล่า) ถ้าเป็นตรายางสมัยใหม่จะเป็นยางซิลิโคลน จะมีความนุ่ม และจะปั๊มชัดมาก แม้กระทั่งในรูเล็กๆ สีของตรายางเองก็ต้องเปลี่ยนไป เป็นสีน้ำเงินม่วง หรือม่วงอมแดง ต้องไม่ใช่สีน้ำเงิน และไม่ใช่สีฟ้า เพราะผ่านมา 60 กว่าปีแล้ว(ปัจจุบัน พ.ศ.2565) , ส่วนองค์พระนั้น ตอนที่บรรจุกรุอยู่ในหลุมถูกวางเรียงหงายหน้าขึ้น และซ้อนกันหลายชั้น พระจึงมีแรงกดจำนวนมาก และมีความชื้นตั้งแต่แรก ทำให้พระบางองค์ติดกัน และบิดงอไปทางด้านหลังส่วนใหญ่ และทำให้เกิดเนื้อเกินหลังองค์พระ ที่มีอายุเท่ากับองค์พระนั้นเอง(ตอนเปิดกรุพบบางขุนพรหมชำรุดด้านหน้าเป็นจำนวนมาก) และพระอยู่ในกรุ 87 ปี ด้านหลังจะไม่เห็นรอยปาดแล้ว มีแต่คราบเหนอะ คราบกรุเท่านั้น.

จากตรงนี้ผู้เขียนในทรรศนะคติผู้ใดที่ครอบครอง”พระกรุบางขุนพรหม” และพระอยู่ในสภาพสวยมากๆ ต้องพิจารณาให้ดี.

พระสมเด็จบางขุนพรหม เป็นพระในสกุล พระสมเด็จวัดระฆัง

พญาเต่าเรือน หลวงพ่อสนิท วัดลำบัวลอย ขนาดตั้งบูชา สวยเก่าถึงยุค

พญาเต่าเรือน เนื้อหินสบู่เลือด หลวงพ่อสนิท วัดลำบัวลอย ปี2530

พญาเต่าเรือนของ หลวงพ่อสนิท วัดลำบัวลอย จ.นครนายก เนื้อหินสบู่เลือด ยุคกลาง ช่วงปี 2530 ท่านดำริให้สร้างจากวัสดุหินอ่อน หรือหินสบู่เลือด ที่มีมากแถวเขาชะโงก จ.นครนายก โดยหลวงปู่ กำหนดพิมพ์ที่ช่างต้องแกะมาส่ง มีสองแบบเป็นขนาดตั้งบูชา และขนาดห้อยคอ ซึ่งท่านจะเรียกพิมพ์ของท่านว่า “พิมพ์ขาผุบ” และ “พิมพ์ขาตั้ง” พร้อมถาดรองวาง โดยมีพระเลขาคอยตรวจสอบ งานที่เหล่าบรรดาช่างแกะนำมาส่งไว้ที่วัด  ซึ่งในขณะนั้นมีพระริน หลวงพ่อใช้ พระมิตร คุณเด่น เป็นคนจารอักขระเลขยันต์ลงบนตัวเต่าหิน จารตามที่หลวงปู่บอก ซึ่งในยุคก่อนปี 2535 นั้นเครื่องมือยังไม่ทันสมัยจึงใช้เหล็กจาร จารเต่าหินกัน อักขระเลขยันต์ จะเป็นเส้นบางไม่ค่อยลึก หลังปี 2535 จึงได้มีการนำเครื่องจารเข้ามาใช้ในการจาร.

พญาเต่าเรือน เนื้อหินสบู่เลือด หลวงพ่อสนิท วัดลำบัวลอย

พญาเต่าเรือน เนื้อหินสบู่เลือด หลวงพ่อสนิท วัดลำบัวลอย

พุทธคุณพญาเต่าเรือน 

พญาเต่าเรือนของหลวงพ่อสนิท วัดลำบัวลอย จะเด่นทางด้านให้โชคลาภ ค้าขายดี ช่วยให้แคล้วคลาดปลอดภัยจากภัยอันตรายทั้งหลายทั้งปวง.

คาถาบูชาพญาเต่าเรือน

นาสังสิโม  สังสิโมนา  สิโมนาสัง  โนาสังสิ

ภวนา 3 จบ หรือ 7 จบ , ให้บูชาตอนเช้า และ ก่อนนอน ทุกวัน.

ตำนานพญาเต่าเรือน หลวงพ่อสนิท

พญาเต่าเรือน เนื้อหินสบู่เลือด หลวงพ่อสนิท วัดลำบัวลอย เป็นอีกหนึ่งวัตถุมงคล ที่หลวงพ่อท่านได้สร้างขึ้นตามแบบโบราณ ท่านเมตตาอธิษฐานจิตปลุกเสก ด้วยอันเชิญพระพุทธบารมีลงมาประดิษฐาน ในพญาเต่าเรือน ในวันที่หลวงปู่ทำพิธีบริกรรมคาถาเสกพญาเต่าเรือนนั้น เกิดมีปรากฏการปราฏิหาริย์เกี่ยวกับเต่ามาแล้ว คือ ผู้ที่ร่วมพิธีได้พบเห็นเต่าเดินขึ้นมาจากบึงนับร้อยตัว มาล้อมที่ศาลากลางน้ำ ลูกศิษย์ที่ใกล้ชิดเล่าว่า ท่านเสกจนพญาเต่าหินขยับตัวได้ ราวกับมีชีวิต.

 

พระกริ่งอุปคุต วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร ปี 2512

พระกริ่งอุปคุต วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร ปี 2512 

พระกริ่งอุปคุต ของวัดพระสิงห์วรมหาวิหาร จ.เชียงใหม่ ปี พ.ศ. 2512 เป็นของหายากมากในทุกวันนี้ ,  พิธีพุทธาภิเษกขลังมาก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว(ร.9) ทรงเสด็จเป็นประธานในพิธีเททอง พิธีใหญ่ เจตนาการจัดสร้างดี พุทธาภิเษกพิธีเดียวกันกับพระกริ่งนเรศวร เมืองงาย , พระร่วงรางปืน , พระกริ่งชัยวัฒน์นเรศวร และเหรียญพระนเรศวร อันโด่งดัง พระเกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียงยุคนั้นเข้าร่วมพิธีปลุกเสกมากมายอาทิ หลวงพ่อคล้าย วัดสวนขัน-จันดี นครศรีธรรมราช , หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี กรุงเพทฯ , หลวงพ่อเส่ง วัดกัลยานิมิตร กรุงเพทฯ , หลวงพ่ออั้น วัดพระญาติการาม จ.พระนครศรีอยุธยา , หลวงพ่อพริ้ง วัดโบสถ์โก่งธนู จ.ลพบุรี , หลวงพ่อเมือง วัดท่าแหน จ.ลำปาง , ครูบาวัง วัดบ้านเด่น จ.ตาก , หลวงพ่อเทียม วัดกษัตราธิรา จ.พระนครศรีอยุธยา , หลวงพ่อเตียง วัดเขารูปช้าง จ.พิจิตร , พระอาจารย์ทิม วัดช้างให้ จ.ปัตตานี , หลวงพ่อนอ วัดท่าเรือ จ.พระนครศรีอยุธยา , หลวงพ่อคง วัดบ้านสวน จ.พัทลุง , พระอาจารย์นำ วัดดอนศาลา จ.พัทลุง และอื่นๆ

สนใจสอบถาม :

LINE ID : 0613608638

พระแก้วมรกต ลงรักปิดทอง หลวงพ่อเริ่ม วัดจุกกะเฌอ ชลบุรี พิมพ์เล็ก

พระแก้วมรกต ลงรักปิดทอง หลังยันต์ หลวงพ่อเริ่ม วัดจุกกะเฌอ ชลบุรี

พระแก้วมรกต ลงรักปิดทอง พิมพ์เล็ก และพิมพ์ใหญ่ ลงรักปิดทอง หลังยันต์ดวงประสูติพระพุทธเจ้า หลวงพ่อเริ่ม วัดจุกกะเฌอ จ.ชลบุรี มีพิธีใหญ่ เริ่มหายากแล้ว สององค์นี้ผ่านการใช้ สภาพสวยสมบูรณ์.

พระแก้วมรกต ลงรักปิดทอง หลวงพ่อเริ่ม วัดจุกกะเฌอ ชลบุรี พิมพ์ใหญ่

“หลวงปู่เริ่ม ปรโม” แห่งวัดจุกกะเฌอ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี  ท่านก็เป็นหนึ่งไม่เป็นสองรองใคร แม้สนนราคาค่านิยมในวัตถุมงคลของท่าน จะไม่สูงเทียบเท่าหลวงปู่ทิม วัดละหารไร่ก็ตาม แต่ประสบการณ์อภินิหารในวัตถุมงคลของท่าน ทุกรุ่นทุกแบบ ปรากฎเด่นชัดขึ้นทุกวัน ทำให้ของๆท่านนั้นหายากขึ้นทุกที ใครมีต่างก็หวงแหน ไม่ออกตัวกันง่ายๆ.

พระแก้วมรกต ลงรักปิดทอง หลวงพ่อเริ่ม วัดจุกกะเฌอ ชลบุรี พิมพ์ใหญ่

วัตถุมงคลชุดนี้จัดสร้างราวๆปี พ.ศ.2513 พิธีใหญ่ไม่ธรรมดา ตั้งแต่ช่างที่ออกแบบ แกะแม่พิมพ์ได้สวบงดงามมาก คนแกะแม่พิมพ์คือ ช่างเกษม ที่แกะพระแก้วมรกตชุดไตรภาคีของท่านเจ้าคุณนรฯนั่นเอง.

พิธีปลุกเสก

พิธีปลุกเสก มี หลวงปู่เริ่ม วัดจุกกะเฌอ เป็นประธานเจ้าพิธีจุดเทียนชัย

หลวงปู่บู๊ (พระครูวรกัณฑราจารย์) วัดบางพระวรวิหาร

หลวงพ่อฉิ่ง วัดบางพระวรวิหาร

หลวงพ่อทองเริ่ม วัดบางพระวรวิหาร

และเกจิที่มีชื่อเสียงอีกหลายท่าน ร่วมพิธีปลุกเสกในครั้งนั้น (มีข้อมูลหลายที่ ว่า ท่านเจ้าคุณนรฯ ร่วมอธิษฐานจิตปลุกเสกด้วย)

พระแก้วมรกต ลงรักปิดทอง หลวงพ่อเริ่ม วัดจุกกะเฌอ ชลบุรี พิมพ์ใหญ่

พระแก้วมรกต ลงรักปิดทอง หลวงพ่อเริ่ม วัดจุกกะเฌอ ชลบุรี พิมพ์เล็ก

พระแก้วมรกต ลงรักปิดทอง หลวงพ่อเริ่ม วัดจุกกะเฌอ ชลบุรี พิมพ์เล็ก

พระแก้วมรกต ลงรักปิดทอง หลวงพ่อเริ่ม วัดจุกกะเฌอ ชลบุรี พิมพ์เล็ก

หลวงพ่อเริ่ม วัดจุกกะเฌอ ชลบุรี

สนใจสอบถาม LINE ID : 0613608638