พระเครื่อง แสนดี Sendy Amulet

Menu

  • โฮม
  • ร้านพระเครื่อง
  • ข่าวพระเครื่อง
  • ประวัติเกจิอาจารย์
  • พระคาถา
  • บัญชีเรา
  • ตะกร้า
  • แผ่นที่เวบ
1เม.ย.

ประวัติ วัดระฆังโฆสิตาราม

Categories: ข่าวพระเครื่อง พระผง
ปิดความเห็น บน ประวัติ วัดระฆังโฆสิตาราม
พระสมเด็จวัดระฆัง ผสมมวลสารเก่าเนื้อย้อนยุคโบราณ(108ปี)

ประวัติ วัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร

วัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร หรือ วัดระฆัง , วัดหลวงพ่อโต ตั้งอยู่เลขที่ 250 แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร เป็นพระอารามหลวงชั้นโท ชนิดวรมหาวิหาร อยู่ในเขตการปกครองคณะสงฆ์มหานิกายภาค 1

เจ้าอาวาสพระธรรมธีรราชมหามุนี ( เที่ยง อคฺคธมฺโม ป.ธ.9 ) วัดแห่งนี้ เป็นวัดโบราณ สร้างในสมัยอยุธยา เดิมชื่อวัดบางว้าใหญ่ ( หรือบางหว้าใหญ่ ) ในสมัยธนบุรี  สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงสร้างพระราชวัง ใกล้วัดบางว้าใหญ่ โปรดเกล้า ให้ยกเป็นพระอารามหลวง และ เป็นที่ประทับของสมเด็จพระสังฆราช ในสมัยรัตนโกสินทร์ รัชสมัย  สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช วัดบางว้าใหญ่ อยู่ในพระอุปถัมภ์ของเจ้านายวังหลัง คือ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้ากรมพระยาเทพสุดาวดี ( สา ) พระเชษฐภคินีของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และ เป็นพระราชชนนี ของ กรมพระราชวังสถานพิมุข ทรงมีตำหนักที่ประทับอยู่ติดกับวัด ได่ทรงบูรณะปฏิสังขรณ์ ร่วมกับ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และ ได้ขุดพบระฆังลูกหนึ่งซึ่งโปรดเกล้าฯ ให้นำไปไว้ที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม โดยทรงสร้างระฆังชดเชยให้วัดบางว้าใหญ่ 5 ลูก จากนั้นได้พระราชทานนามวัดใหม่ว่า “วัดระฆังโฆสิตาราม” นอกจากเป็นเพราะขุดพบระฆังที่วัดนี้ และ เพื่อฟื้นฟูแผนครั้งกรุงศรีอยุธยาที่มีวัดชื่อวัดระฆังเช่นกัน

ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯให้เปลี่ยนชื่อ “วัดราชคัณฑิยาราม” ( คัณฑิ แปลว่า ระฆัง ) แต่ไม่มีคนนิยมเรียกชื่อนี้ ยังคงเรียกว่า วัดระฆังต่อมา

วัดระฆังโฆสิตาราม มีหอพระไตรปิฎก ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมที่สวยงามมาก เคยเป็นพระตำหนักหอประทับนั่ง ของ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ขณะทรงรับราชการในสมัยธนบุรี และ โปรดเกล้าฯให้รื้อมาถวายวัด เมื่อเสด็จขึ้นครองราชสมบัติแล้ว มีพระราชประสงค์จะบูรณะปฏิสังขรณ์ ให้สวยงามเพื่อเป็นหอพระไตรปิฎก

สมเด็จพุฒาจารย์ โต พฺรหฺมรํสี

สมเด็จโต , หลวงปู่โต , สมเด็จวัดระฆัง

เกิด 17 เมษายน พ.ศ. 2331

บรรพชา พ.ศ. 2343

อุปสมบม พ.ศ. 2351

มรณภาพ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2415

พรรษา 64 อายุ 84

วัด วัดระฆังโฆสิตาราม

จังหวัด ธนบุรี

สังกัด มหานิกาย

พระสมเด็จวัดระฆัง ผสมมวลสารเก่าเนื้อย้อนยุคโบราณ(108ปี)

พระสมเด็จวัดระฆัง ผสมมวลสารเก่าเนื้อย้อนยุคโบราณ(108ปี)
พระสมเด็จวัดระฆัง ผสมมวลสารเก่าเนื้อย้อนยุคโบราณ(108ปี)
พระสมเด็จวัดระฆัง ผสมมวลสารเก่าเนื้อย้อนยุคโบราณ(108ปี)
พระสมเด็จวัดระฆัง ผสมมวลสารเก่าเนื้อย้อนยุคโบราณ(108ปี)
พระสมเด็จวัดระฆัง ผสมมวลสารเก่าเนื้อย้อนยุคโบราณ(108ปี)

Tags: วัดระฆัง วัดระฆังโฆสิตาราม สมเด็จพุฒาจารย์โต สมเด็จวัดระฆัง สมเด็จโต หลวงปู่โต
« ปลัดขิกนางครวญ หลวงพ่อคง วัดวังสรรพรส
ประวัติการสร้างพระเนื้อผงพรายกุมาร »
  • facebook
  • Twitter
  • Google +1
  • Pinterest

เรื่องล่าสุด

  • พระปิดตาหลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี รุ่น “กนกข้าง” ปี พ.ศ. 2522
  • พระสมเด็จวัดระฆัง แจกทาน รุ่นแรก ปี 2554 กำเนิด ความสำคัญ และมรดกทางวัฒนธรรม
  • การสร้างวัตถุมงคล หลวงปู่ทิม อิสริโก วัดละหารไร่
  • พระหลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน พิมพ์นิยม
  • ตะกรุดนะหลงใหล (เสกใต้น้ำ) อุดหนังจงอางเข้าคู่
  • เสือหลวงพ่อปาน วัดบางเหี้ย
  • พระสมเด็จเกศไชโย
  • ประวัติวัดละหารไร่ จ.ระยอง
  • ผงพรายกุมาร หลวงปู่ทิม วัดละหารไร่
  • ไสยศาสตร์-มนต์ดำหรือศักดิ์สิทธิ์
  • วัตถุมงคล เครื่องรางของขลัง
  • กำเนิดเครื่องรางของขลัง
  • พระเครื่องหลวงปู่ทิม อิสริโก วัดละหารไร่ จ.ระยอง
  • พระราหูอมจันทร์ กะลาตาเดียว ครูบานันตา
  • พระปิดตาเมืองชลฯ
  • วัตถุมงคลหลวงพ่อกวย วัดโฆสิตาราม จ.ชัยนาท
  • เหรียญดวงให้หวย(เหรียญเลขศาสตร์ทำหวย) หลวงตาช้วน วัดขวาง
  • การสร้างพระปิดตาของ หลวงพ่อแก้ว วัดเครือวัลย์ ชลบุรี

ป้ายกำกับ

กุมารทอง คงกระพัน คาถาบูชา ตะกรุด ธาตุกายสิทธิ์ น้ำมันมหาเสน่ห์ ผงพรายกุมาร พระกรุ พระขุนแผนพรายกุมาร พระปิดตา พระสมเด็จ พระอาจารย์กอบชัย พระอาจารย์ศุภสิทธิ์ พิธีปลุกเสก พิธีพุทธาภิเษก มหานิยม มหาลาภ มหาอุด มหาเสน่ห์ มหาโภคทรัพย์ รักษาโรค วัดบางน้ำชน วัดประดู่ฉิมพลี วัดพุทไธศวรรย์ วัดละหารไร่ วัดแม่ยะ สมเด็จวัดระฆัง สมเด็จโต สิริมงคล หนุนดวง หลวงปู่ทิม หลวงปู่ทิม วัดละหารไร่ หลวงปู่ทิม อิสริโก หลวงปู่โต๊ะ หลวงพ่อโต เครื่องราง เบี้ยแก้ เมตตา เรียกทรัพย์ เสริมดวง เสี่ยงโชค เหล็กไหล แก้คุณไสย แคล้วคลาด โชคลาภ
© www.sendyamulet.com Theme by phonewear
↑