ขุนแผนผงพรายกุมาร ตะกรุดทองคำสองดอก ฝังเสือไฟหลวงพ่อปาน วัดบางเหี้ย

พุทธคุณเสือหลวงพ่อปาน

” เสือ หลวงพ่อปาน แห่งวัดบางเหี้ย (วัดมงคลโคธาวาส) ถือเป็น อันดับ 1 แห่งเครื่องรางที่มีคุณวิเศษเลิศล้ำสุดยอดและสูงด้วยมูลค่าในการแลกเปลี่ยนบูชา ผู้นิยมเครื่องรางทั้งหลายล้วนปรารถนาจะได้เป็นเจ้าของเพราะประจักษ์แจ้งในอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์มายาวนาน โดยเฉพาะ “แคล้วคลาดคงกระพัน สูงส่งด้วยอำนาจตบะเดชะ เหมาะกับผู้ที่ต้องการบารมีและสง่าราศีสำหรับปกครองคนหมู่มาก อีกทั้งทางโชคลาภวาสนาก็ดีเยี่ยม การงานเจริญรุ่งเรืองไม่มีตกอับ “.

เขี้ยวเสือหลวงพ่อปาน วัดบางเหี้ย

ยุคสมัยของหลวงพ่อปานได้รับการจารึกไว้ในจดหมายเหตุ การเสด็จประพาสต้นมณฑลปราจีนบุรี ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ปี พ.. 2451 ได้ทรงกล่าวถึงหลวงพ่อป่านไว้ว่าพระครูปานเป็นที่นิยมในทางวิปัสสนา และธุดงควัตร มีพระสงฆ์วัดต่างๆ ไปเดินธุดงค์ด้วยสองร้อยสามร้อย มีคุณวิเศษทางลงตะกรุดด้ายผูกมือ รดน้ำมนต์ ที่นิยมกันมาก คือ รูปเสือแกะด้วยเขี้ยวเสือ เล็กบ้าง-ใหญ่บ้าง ฝีมือหยาบๆเวลาปลุกเสกต้องใช้เนื้อหมูเสกเป่า จนเสือกระโดดลงไปในเนื้อหมูได้

หลวงพ่อปานเป็นพระอาจารย์สอนวิปัสสนาชื่อดัง ท่านเป็นเจ้าอธิการ วัดบางเหี้ย สมณศักดิ์พระครูพิพัฒน์นิโรธกิจ เครื่องรางที่ท่านสร้างไม่ว่าจะเป็นตะกรุด ผ้ายันต์ ล้วนเป็นที่ต้องการของผู้ชื่นชอบเครื่องรางของขลัง แต่เหนือสิ่งอื่นใดก็คือ เขี้ยวเสือที่แกะเป็นรูปเสือขนาดต่างๆ ถือเป็นราชันย์แห่งเครื่องรางที่มีความนิยม และราคาสูงที่สูดในปัจจุบัน

เสือ หลวงพ่อปานแกะขึ้นจากเขี้ยวเสือ ฝีมือแกะเรียบง่าย ค่อนข้างหยาบไปบ้าง แต่มีรูปทรงมีเอกลักษณ์ดูคลาสสิค มีคุณค่าทางศิลปะ และมีคุณวิเศษสุดยอดขลังด้วยตบะบารมีมหาอำนาจสูงมาก

เสือ หลวงพ่อปาน รูปแบบมาตรฐานจะต้องอยู่ในรูปทรงเสือนั่ง ชันขาหน้า หางม้วนรอบฐาน หรือม้วนขึ้นพาดหลัง มีทั้งเสือหุบปากและเสืออ้าปาก นิ้วเท้าแต่ละเท้าโดยส่วนมากมี 4 นิ้ว แต่บางตัวอาจมี 5 นิ้ว และ 3 นิ้ว รอบลำตัวและใต้ฐานมีรอยจารอักขระยันต์

เอกลักษณ์โดยรวมของเสือหลวงพ่อปาน เรียงร้อยเป็นวลีว่าเสือหน้าแมว หูหนู ตาลูกเต๋า ยันต์กอหญ้า

จุดสังเกต เสือ หลวงพ่อปาน

  1.   เสือต้องแกะจากเขี้ยวเสือเท่านั้น ไม่มีการแกะจากกระดูก หรือ วัสดุอย่างอื่น เขี้ยวเสือมีเนื้อแน่นทึบ บางตัวสีเหลืองจัด บางตัวสีเหลืองอ่อน ไม่ขาวใส
  2.   เขี้ยวเสือที่นำมาแกะมีทั้งเขี้ยวเต็มอันและเขี้ยวครึ่งซีก (เรียกว่า เขี้ยวซีก) เขี้ยวเต็มอันมีรูกลมตรงกลางผ่านตลอดจากบนลงล่าง มักมีรอยแตกอ้าส่วนเขี้ยวครึ่งซีกไม่มีรอยแตกอ้า มีสีอ่อนแก่ไม่เท่ากัน(ขึ้นอยู่กับการเก็บ การใช้มาก-น้อยของแต่ละท่าน)
  3.   ช่างที่แกะรูปเสือมีหลายคน แต่รูปทรงของเสือมีลักษณะคล้ายกันอาจจะใหญ่เล็ก อ้วนผอม แตกต่างกันบ้าง มีทั้งเสืออ้าปากและเสือหุบปากแต่เอกลักษณ์ตามที่กล่าวมาคือเสือหน้าคล้ายแมว นั่งชันขาหน้า หางม้วน รอบฐานหรือพาดชึ้นหลัง นิ้วเท้าโดยมากมี 4 นิ้ว ตากลมมีหลุมตรงกลางแบบลูกเต๋า ใบหูเล็กแต่มีรูหูใหญ่แบบหูหนู และมีรอยจารอักขระยันต์รอบตัว
  4.  ลายมือจารก็เป็นจุดสำคัญในการพิจารณา ลักษณะการจารแบบหวัดๆ เส้นคมลึกและหนาบางไม่เท่ากันในแต่ละตัว ประกอบด้วยตัว ฤ ฤๅ
  5. จารแบบเอียงตวัดแหลม ดูคล้ายเลขเจ็ดไทย () และเลขสามไทย (๓) และจารเป็นขีดๆ แบบลายเสือ ให้สังเกตุว่าลายมือจารเอียงๆ แหลมๆจารบริเวณลำตัว สะโพก และขาหน้า ส่วนใต้ฐานจารยันต์ตัวเฑาะว์ เป็นตัวกลม รีวนไปมา เกาะกลุ่มกันเหมือนกอหญ้าตัว ฤ ฤๅ และตัว อุ

เสือไฟหลวงพ่อปาน

 เสือหลวงพ่อปานมีอายุไม่ต่ำกว่า 100 ปี ต้องมีความเก่าให้เห็น ทั้งคราบความเก่าแห้งด้านตามชอก และความฉ่ำในบริเวณจุดสัมผัสหากเสือผ่านการใช้มาไม่มาก ผิวจะแห้งเก่าไม่ตึงเรียบ แต่ส่วนใหญ่จะผ่านการใช้ สัมผัสมือเหงื่อความมันและความชื้น ทำให้เนื้อมีความฉ่ำสีเหลืองอมขาวขุ่นเหมือนเนื้อเทียนไข เนื้อมีสีอ่อนแก่เป็นธรรมชาติ มีลายในเนื้อคล้ายลาย สับปะรด มีรอยแตกรานเล็กๆ เป็นกลุ่มเพราะการแห้งหดตัว

หลวงพ่อปานวัดบางเหี้ย

หลวงพ่อปาน เกิดประมาณปี พ.. 2375 ท่านมรณภาพด้วยโรคชรา ในปี พ.. 2453 แต่คุณงามความดีและสิ่งที่ท่านได้สร้างไว้ ไม่เคยตายไปจากใจของคนรุ่นหลังเลย และยังคงสืบเนื่องจารึกไว้ไปชั่วกาลนาน…

คาถาบูชาเสือหลวงพ่อปาน

พระคาถาบูชา เสือ หลวงพ่อปานโอม พยัคโม พยัคฆ สูญญา สัพพะติ อิติ อำ อำ อึม ฮึม (แล้วอธิษฐานตามใจนึก…)