เบี้ยแก้ จักรพรรดิ แห่งเครื่องราง
เบี้ยแก้ นั้นได้รับยกย่องว่าเป็นจักรพรรดิ แห่งเครื่องราง เพราะเหตุใดจึงเป็นเช่นนั้นและทำไมวงการเครื่องรางถึงไม่ยกย่องเครื่องรางอื่นๆ ขื้นมาเป็นจักรพรรดิของเครื่องรางบ้างเล่า? หลายฅนอาจเกิดคำถามชึ่งเรื่องนี้ขอเรียนว่า วงการเครื่องรางนั้นใหญ่มาก หรือก็คือเครื่องรางในเมืองไทยนั้นมีมากมาย หลากหลายชนิดหลายประเภท และเครื่องรางแต่ละชิ้นนั้นล้วนมีคุณค่าน่าสะสมทั้งสิ้น โดยวงการนักสะสมก็ยกย่องตะกรุดเป็นอันมาก เหตุเพราะว่า ตะกรุดมีความสวยงาม มีเสน่ห์น่าค้นหา น่าศึกษาประวัติความเป็นมาและประวัติของท่านผู้สร้างชึ่งล้วนเป็นพระเกจิอาจารย์ผู้ทรงคุณหรือไม่ก็เป็นจอมขมังเวทแห่งแผ่นดินชึ่งหาตัวจับยาก แต่ทว่าตะกรุดนั้นเป็นเครื่องรางที่มีความเด่นเฉพาะทางเฉพาะสายวิชาคือ สายคงกระพัน สายมหาอุด สายเมตตา เป็นต้น
เบี้ยแก้จักรพรรดิ
ส่วนเบี้ยแก้เป็นเครื่องรางที่มีความครบเครื่องในตัวเอง เริ่มจากตัวหอยเบี้ยที่มีประวัติความเป็นมายาวนานและมีตำนานเกี่ยวกับเทพีแห่งโชคลาภนามพระแม่ลักษมี ชายาแห่งพระนารายณ์ หนึ่งในสามมหาเทพผู้ยิ่งใหญ่ประการหนึ่ง เบี้ยจั่นเคยเป็นเงินตรามีคุณค่าในตัวเอง ในสมัยโบราณเคยใช้แลกเปลี่ยนชื้อขายสินค้าได้อย่างถูกต้องตามกฏหมาย และอีกประการหนึ่งนั้น เบี้ยจั่นเป็นเครื่องรางโดยกำเนิด ด้วยความเชื่อว่า เบี้ยจั่นเป็นสมบัติของพระแม่ลักษมีย่อมมีอำนาจวิเศษในตัวของมันเอง และเบี้ยจั่นก็ถูกนำมาสร้างเป็นเครื่องรางด้วยความพิถีพิถันสวยงามพร้อมศิลปะ และสร้างด้วยมวลสารที่มีอานุภาพในตัวเองคือปรอท ที่สำคัญอานุภาพของเบี้ยแก้นั้นครบเครื่องครอบจักรวาลจริงๆ คือเด่นไปทุกเรื่อง คนโบราณจึงมีเบี้ยแก้ติดตัวอยู่ตลอดเวลาไม่ว่าจะเดินทางไปไกลหรือใกล้ เพราะช่วยป้องกันอันตรายนาๆประการได้ ไม่ว่าจะเกิดจากสัตว์หรือผี และการกระทำย่ำยี รวมถึงป้องกันอาวุธนาๆชนิดได้อย่างอัศจรรย์ยิ่งนัก ชึ่งจะเล่าต่อไปในตอนประสบการณ์ปาฏิหาริย์
เบี้ยแก้เป็นเครื่องรางที่มีประวัติการสร้างยาวนาน หากจะเครื่องรางประวัติการสร้างกับเครื่องรางชนิดอื่นๆ ชึ่งก็พอจะเทียบเคียงได้กับตะกรุดที่มีประวัติการสร้างยาวนานพอๆกัน แต่ทว่าเบี้ยแก้กลับมีเสน่ห์ดึงดูดความสนใจของผู้คนได้มากกว่าตะกรุด และเครื่องรางชนิดอื่นๆ ชึ่งอาจเป็นเพราะรูปทรงของเปลือกหอยภควจั่นหรือเบี้ยจั่นที่มีขนาดพอเหมาะสำหรับการห้อยหรือพกพา และมีความเด่นสวยงามยิ่งเมื่อเบี้ยแก้ถูกถักด้วยเชือกปอเส้นเล็กๆ ที่ถักอย่างละเอียดประณีต และลงรักปิดทอง ยิ่งทำให้เบี้ยแก้มีความงดงามจับตาจับใจขื้นมาในทันที อีกทั้งหากเป็นเบี้ยแก้ที่สร้างขื้นโดยพระเกจิอาจารย์ผู้เรืองวิทยาคมด้วยแล้ว มูลค่าของเบี้ยแก้ยิ่งสูงลิ่วขื้นไปอีก เพราะผู้คนต่างก็ต้องการได้มาครอบครองบูชา หากใครมีไว้ครอบครองก็หวงแหนไม่อยากนำออกมาอวดสายตาเซียนเครื่องรางเพราะกลัวถูกตามตื้อขอเช่าต่อ
ชึ่งประวัติความเป็นมาของเบี้ยแก้นั้นเกิดขื้นในยุคที่พราหมณ์รุ่งเรือง เบี้ยถูกนำมาใช้ในพิธีกรรมต่างๆ มากมาย สันนิษฐานว่า เบี้ยแก้ตัวแรกของโลกก็น่าจะมาจากชมพูทวีปหรืออินเดียในปัจจุบัน และถูกนำเข้ามาในแผ่นดินสุวรรณภูมิเมื่อสองพันกว่าปีก่อนโดยคณะพราหมณ์ที่ร่วมเดินทางมากับเรือสินค้า แม้ว่าเบี้ยแก้ในยุคโบราณจะไม่มีการฝังปรอท และถักเชือกสวยงามเหมือนอย่างในปัจจุบันก็ตาม แต่เบี้ยแก้ก็ดำรงคงอยู่ในสถานะของวิเศษแห่งพระผู้เป็นเจ้าเสมอมา แต่เรียกขานกันในนาม ” ภควจั่น หรือ เสมาภควจั่น ” ยังไม่ได้ถูกขนานนามว่า เบี้ยแก้เหมือนปัจจุบันนี้
เบี้ยแก้ จักรพรรดิแห่งเครื่องราง
จากการค้นคว้าข้อมูลความเป็นมาของเบี้ยแก้ก็พบว่าเหตุผลที่ถูกเรียกว่า เบี้ยแก้ ก็เพราะว่าในสมัยโบราณผู้คนนิยมใช้เบี้ยในการแก้บน ชึ่งหมายถึงการนำเอาเบี้ยหอยมาเป็นเครื่องสังเวยบูชาเทวดา หรือ เทพเจ้าที่ผู้คนให้ความเคารพศรัทธา และได้บนบานศาลกล่าวเอาไว้ว่า ขอให้สิ่งที่ตนปรารถณาสำเร็จแล้วจะนำเอาเบี้ยมากองที่ศาลเทพารักษ์ หรือเทวาลัยเพื่อการบูชา ดั่งตัวอย่างในเสภาขุนช้างขุนแผนที่กล่างเอาไว้ว่า ตอนนางเทพทองจะคลอดขุนช้าง
” ท้องลดทศมาศลูกถีบยัน พอใกล้ฤกษ์ยามนั้นเจ็บหนักไป
บิดตัวเรียกผัวหาพ่อแม่ ร้องเปื้อนเชือนแชไม่ส่ำได้
ฝ่ายผัวพ่อแม่แลข้าไท วิ่งวุ้นครุ่นไปที่บนเรือน
บ้างก็เสกมงคลปรายข้าวสาร เอาเบี้ยบนลนลานเหน็บฝาเกลื่อน ”
คำว่า เอาเบี้ยบนลนลานเหน็บฝาเกลื่อน หมายถึง ผู้คนในยุคนั้นนับถือว่าเบี้ยคือเงินตรา การ เอาเบี้ยมาบนก็หมายถึงการติดสินบนเทวดาให้ช่วยเหลือเด็กที่กำลังจะคลอดให้ปลอดภัยนั่นเอง
ความเชื่อเรื่องเบี้ยนี้ในจารึกของสุโขทัยก็ได้กล่าวถึงเบี้ยในลักษณะ ” พนมเบี้ย พนมหมาก ” หมายถึงชาวบ้านร้านตลาดนำเอาหมาก นำเอาเบี้ยมากองจนสูงเป็นภูเขา เพราะคำว่า พนมนั้น หมายถึง ภูเขานั่นเอง และเมื่อเบี้ยถูกนำมาสร้างเป็นเครื่องรางโดยการกรอกปรอทเข้าไป แล้วห่อหุ้มด้วยยันต์ตะกั่ว ถักเชือกลงรักปิดทอง นามเรียกขานก็เปลี่ยนมาเป็น เบี้ยแก้ และเบี้ยแก้กันมาจนถึงทุกวันนี้ แต่มิได้หมายถึงการแก้บนอีกต่อไป ตรงกันข้ามความหมายของเบี้ยแก้กลับกลายเป็น ” แก้ร้ายให้กลายเป็นดี ” เพราะสรรพคุณของ เบี้ยแก้นั้นช่วยป้องกันอันตรายในยามคับขัน ชึ่งอาจถึงแก่ชีวิตให้กลับกลายเป็น แคล้วคลาด อยู่รอดปลอดภัย ไม่ตายโหง และช่วยป้องกันภูตผีปีศาจร้าย คุณไสยมนตร์ดำ การกระทำย่ำยีจากอวิชชา หรือ ศัตรูที่พึ่งพาอาศัยหมอผีให้ทำพิธีปล่อยของเข้าสู่ตน แต่เมื่อเจอเบี้ยแก้ คุณไสยนั้นก็สะท้อนกลับไปยังเจ้าของที่กระทำมา เบี้ยแก้จึงได้รับการยอมรับนับถือจากผู้คนทั่วสารทิศ
จากประสบการณ์ที่เคยเห็นเห็นความวิเศษของเบี้ยแก้มาแล้วหลายครั้ง และยอมรับว่าเบี้ยแก้นั้นไม่ใช่เครื่องรางกระจอกแต่อย่างใด ตรงกันข้ามเบี้ยแก้มีอานุภาพครอบจักรวาลจริงๆ ทั้งในเรื่องแคล้งคลาด คงกระพัน ป้องกันคุณไสย ป้องกันยาสั่ง ป้องกันผี ช่วยถอดถอนพิษงู หรือ พิษของแมลงบางชนิด ช่วยแก้ฝีกัดหนอง และอาราธนารักษาอาการเจ็บป่วยได้อย่างอัศจรรย์ อีกทั้งกันปลิงกันทากได้อย่างดี แม้กระทั่งงูพิษก็ไม่กล้าเข้าใกล้ แต่ต้องเป็นเบี้ยแก้ของแท้ ที่สร้างโดยพระเกจิอาจารย์ผู้ทรงคุณวิเศษเท่านั้น เพราะการสร้างเบี้ยแก้ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ อย่างที่หลายๆคนคิด
ถึงตอนนี้ท่านผู้อ่านคงจะพอเข้าใจแล้วว่า เพราะเหตุใดเบี้ยแก้ จึงได้รับขนานนามว่าเป็น จักรพรรดิ แห่งเครื่องราง บรรดานักเลงอาคมหรือจอมขมังเวทในอดีตที่ผ่านมาต่างก็ยอมรับนับถือคุณวิเศษของเบี้ยแก้และมีเบี้ยแก้พกติดตัวกันทุกคน ไม่ว่าจะเป็นเสือร้าย นักเลง ตำรวจ ทหารในยุคก่อนต่างก็แสวงหาเบี้ยแก้มาบูชากันทุกคน และเบี้ยแก้ก็เคยสร้างชื่อให้ต่างชาติได้เห็นเป็นบุญตามาแล้ว จึงไม่กล้าตอแย หรือพูดจาดูถูกทหารไทย เช่น ในสงครามเวียดนามและลาว ที่ทหารไทยไปรบและสร้างวีรกรรมเอาไว้เป็นที่เล่าขานกันมาไม่รู้จบสิ้นทหารอเมริกันที่ว่าแน่ๆ ยังต้องวิ่งหลบหนีตายเมื่อโดนถล่มจากข้าศึก มีแต่ทหารไทยเท่านั้นที่วิ่งเข้าหาข้าศึก โดนยิงล้มพอหายจุกก็ลุกขื้นวิ่งไล่ยิงใส่ข้าศึกจนหนีกันกระเจิง แม้แต่ทหารเวียดนามเหนือที่ว่าโหดสุดๆ ก็ยังขยาดทหารไทย ถึงกับมีใบแจ้งเตือนทหารของตนว่า ให้สังกัดดูดีๆ ว่าปะทะกับทหารชาติไหน ถ้าเป็นอเมริกันจะใช้ปืนใหญ่ยิงสนับสนุนต่อเนื่องและมีเครื่องบินมาทิ้งระเบิดปูพรมช้ำ ส่วนทหารลาวยิงแล้วหยุดเป็นระยะๆ แต่ถ้าพบเจอทหารที่งิ่งเข้าใส่ และยิงอย่างต่อเนื่องไม่กลัวตาย ไม่มีปืนใหญ่ยิงสนับสนุน ถูกยิงแล้วยังลุกขื้นวิ่งเข้าหาอย่างต่อเนื่องก็ให้ระวังเอาไว้ให้ดี เพราะนั่นคือทหารไทยที่เล่าลือกันว่า เป็นทหารผี ก็เพราะทหารไทยมีของดีติดตัวไปรบทุกคนและหนึ่งในนั้นก็คือเบี้ยแก้ที่ช่วยทหารไทยเอาไว้มากมาย
พระครูปลัดวินัย อุตฺตโม เจ้าอาวาสวัดเวฬุวัน จ.ปทุมธานี
ในอดีตทหารไทย ที่ไปรบในสงครามลับที่ลาวและได้รับการบอกเล่าถึงความศักดิ์สิทธิ์ของเครื่องรางไทยที่สร้างประสบการณ์ให้เห็นเป็นที่ประจักษ์แก่สายตาชาวโลกมาแล้ว ไม่ว่าจะเป็นทหารฝ่ายศัตรู และทหารร่วมรบอย่างอเมริกัน ในช่วงสงครามเวียดนาม-ลาว ทหารอเมริกันที่เข้ามาพักผ่อนในไทยถึงกับลงทุนไปกราบฝากตัวเป็นลูกศิษย์ของพระเกจิอาจารย์ในยุคนั้นมากมาย เพราะความเชื่อมั่นศรัทธาสุดหัวใจ และแสวงหาเครื่องรางเพื่อพกติดตัวไปสู่สนามรบตามอย่างทหารไทยด้วยเช่นกัน
เบี้ยแก้จึงเป็นที่รู้จักของชาวต่างชาติ และเป็นที่นิยมแสวงหาอย่างมาก โดยเฉพาะในยุคปัจจุบันที่ราคาเบี้ยแก้เก่าสภาพดีราคาทะลุหลักแสน สำหรับเบี้ยแก้ยอดนิยมได้แก่ เบี้ยแก้ของหลวงปู่รอด วัดนายโรง เบี้ยแก้หลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว แต่ในวงการ เบี้ยแก้ยังมีเบี้ยแก้คุณภาพดีและมีประสบการณ์มากมายอีกหลายสำนัก ชึ่งจะได้นำมาเสนอในบทเบญจภาคีเบี้ยแก้ แต่ตอนนี้มาคุยเรื่อง ขั้นตอนการสร้างเบี้ยแก้กันก่อนว่า ครูอาจารย์ในยุคเก่านั้น ท่านสร้างเบี้ยแก้อย่างไรถึงสวยงามและเข้มขลังด้วยอำนาจพระพุทธคุณครอบจักรวาล
ขั้นตอนการสร้างเบี้ยแก้
สิ่งแรกสำหรับการสร้างเบี้ยแก้ก็คือขั้นตอนการเตรียมวัตถุดิบสำหรับสร้างเบี้ย ชึ่งต้องเตรียมการดังนี้ :
1 . แสวงหาเบี้ยหอยจั่น หรือ เปลือกหอยทะเลที่มีลักษณะดีคือมีลายสวยงามและมีขนาดพอเหมาะพอดี คือท้องหอยมีขนาดใหญ่พอประมาณและมีความลึก มีพื้นที่ของท้องหอยมากพอสำหรับกรอกปรอทเข้าไป และจะต้องมีฟันเรียงซี่สวยงาม ไม่แตกหัก ไม่บิ่น และมีฟันเรียงกันนับได้ 32 ซี่พอดีชึ่งเป็นอาการ 32 ของมนุษย์ เพื่อเป็นเคล็ดว่าเมื่อสร้างเป็นเบี้ยแก้แล้ว เบี้ยตัวนั้นจะมีชีวิตมีจิตวิญญาณ และเมื่อใครก็ตามที่นำเบี้ยแก้ไปใช้ก็เท่ากับว่า เบี้ยแก้ตัวนั้นช่วยให้ผู้ครอบครองมีอายุยืนยาวนานตามอุปเทห์ที่กำหนด
2 . ปรอทในสมัยโบราณจะใช้วิธีทางไสยศาสตร์ในการดักจับปรอทอาคม แต่ในปัจจุบันนี้ปรอทเป็นสิ่งที่หาได้ทั่วไปไม่ยุ่งยาก
3. ชันโรงใต้ดิน ใช้สำหรับอุดใต้ท้องเบี้ย โดยหลังจากกรอกปรอทแล้วจะต้องรีบเอาชันโรงที่เตรียมไว้มายาอุดให้ทั่วบริเวณปากที่ท้องหอยก่อนที่จะใช้แผ่นยันต์ตะกั่วหุ้มตัวหอยอีกชั้น ซึ่งชันโรงนั้นคือรังของแมลงชนดหนึ่งซึ่งมีขนาดเล็กมากๆ ชอบทำรังตามโคนไม้โพธิ์ ไม้มะเดื่อ ไม้ยาง หรือ ไม้อื่นๆ ที่มียางซึมออกมาจากลำต้น และชอบทำรังในป่าช้า เช่นโกดังเก็บศพ และบริเวณศาลพระภูมิร้างหรือซากปรักหักพัง นอกจากนี้ยังพบว่า ชันโรงทำรังอยู่ใต้ดินเช่นกัน ตังแมลงชันโรงนี้มีสีดำลักษณะคล้ายมดดำหรือผึ้ง บินได้ เป็นแมลงประจำถิ่นในแต่ละภูมิภาคของประเทศไทย ทางเหนือจะเรียกว่าขี้ย้า ภาคกลางจะเรียกว่าชันโรง ภาคตะวันตกเรียกว่าตุ้งติ้ง ภาคอิสานเรียกว่าขี้สูด ภาคใต้เรียกว่าแมงอุง
ชันโรง เป็นแมลงที่ไม่มีพิษไม่มีภัยต่อระบบนิเวศ ตรงกันข้ามกลับสร้างประโยชน์ให้กับสวนผลไม้อย่างมหาศาลด้วยการช่วยผสมพันธุ์ ในทางไสยศาสตร์นิยมใช้ชันโรงเป็นตัวช่วยในการสร้างวัตถุมงคล แต่ปัจจุบันมีการเพาะเลี้ยงชันโรงอย่างเป็นระบบ ชันโรงจึงหาง่ายกว่าสมัยก่อนมาก และส่วนที่เป็นประโยชน์ก็คือรังของชันโรงที่มีลักษณะนุ่มเหนียวเมื่อแห้งจะแข็งใช้อุดรอยรั่วซึมได้อย่างดี
4. แผ่นตะกั่วสำหรับลงยันต์เพื่อห่อหุ้มเบี้ยแก้
5. ด้ายปอซึ่งเป็นด้ายสาวพรหมจรรย์ ( หมายถึงด้ายปอที่ฟั่นด้วยมือของหญิงพรหมจรรย์ ) เท่านั้น ใช้สำหรับถักหุ้มตัวเบี้ยแก้
6. ลวดทองแดง ใช้ขดม้วนหัวท้ายเพื่อถักรวมไปกับตัวเบี้ยสำหรับร้อยเชือกคาดเอว
7. ผ้าแดงสำหรับลงยันต์ปิดท้องเบี้ย โดยใช้ปิดทับชันโรงที่ยาอุดท้องเบี้ยไว้ก่อนที่จะหุ้มแผ่นตะกั่วลงยันต์
8. รัก สำหรับทาเคลือบเบี้ยแก้ให้เงางาม และแข็งแกร่งคงทน
เมื่อเตรียมวัตถุต่างๆ ได้แล้วก็เป็นการสร้างเบี้ยแก้ โดยทำตามขั้นตอนดังนี้ :
1. เตรียมเบี้ยจั่นใส่ถาดพร้อมดอกไม้ธูปเทียน ปรอท ชันโรง แผ่นตะกั่ว ผ้าแดง เพื่อทำพิธีไหว้ครู และ เชิญชุมนุมเทวดา
2. อุดชันโรงที่หัวและท้ายเบี้ยพอให้มีเนื้อที่เหลือสำหรับกรอกปรอทซึ่งวิธีการนี้เรียกว่า ” เสี้ยมหัวเบี้ย ”
3. ปลุกเสกปรอทที่ยังอยู่ในสภาพของเหลวให้จับตัวเป็นก้อน แต่มีความนุ่มพอที่จะกรอกลงไปในตัวเบี้ยได้
4. นำชันโรงมาอุดปิดปากเบี้ยในส่วนที่เหลือให้เป็นเนื้อเดียวกันแล้วใช้ตอกหรือสันมีดบางๆ ปาดให้เรียบเป็นแนวตรงเสมอกัน
5. เขียนยันต์ลงผ้าแดงแล้วตัดให้พอดีกับท้องเบี้ย ปลุกเสกจนขึ้นแล้วนำเอามาปิดทับโดยให้มีขนาดพอดีกับความกว้างของท้องเบี้ย
6. ลงยันต์บนแผ่นตะกั่วแล้งนำเอามาหุ้มให้รอบตัวเบี้ย โดยหุ้มจากหลังเบี้ยให้ปลายทั้ง 4 ด้านของแผ่นตะกั่วมาพับรวมเป็นระเบียบที่ท้องเบี้ย แล้วใช้มือปาดกดหรือรูดให้เนื้อตะกั่วเรียบสนิทแทบจะเป็นเนื้อเดียวกัน
7. ถักหุ้มเบี้ยด้วยด้ายปอ โดยใช้เข็มเย็บผ้าขนาดใหญ่พอประมาณ ถักให้เกิดเป็นลายละเอียดถี่เพื่อให้เกิดความแน่นหนา ซึ่งการถักลายหุ้มเบี้ยขึ้นอยู่กับอารมณ์และฝีมือช่างว่าจะถักให้ออกมาเป็นรูปแบบใด เช่น ลายจระเข้ขบฟัน ลายหัวธนู ลายมังกรพันหลัก และถ้าสำนักที่สร้างมีความพิถีพิถันกับการถักก็มักจะถักช้ำเป็น 2 ชั้น เพื่อให้เกิดความหนาและมั่นคงแข็งแรง อีกทั้งช่วยส่งเสริมให้เบี้ยตัวนั้นๆ มีความสวยงามมากยิ่งขึ้นไปอีก
8. นำเบี้ยที่ถักหุ้มเรียบร้อยแล้วมาจุ่มรัก ซึ่งในขั้นตอนนี้หากสำนักนั้นๆ มีผงวิเศษที่สร้างขึ้นตามตำรับที่เรียนมาก็มักจะคลุกผงวิเศษลงไปด้วย ซึ่งผงวิเศษนี้คือ ผงพระพุทธคุณ หรือ ผงคุณพระตามแต่จะเรียก ซึ่งจะเรียกว่าผงวิเศษก็ไม่ผิด ผงปถมัง ผงอิธะเจ หรือ อิธิเจ ผงตรีนิสิงเห ผงมหาราช เป็นต้น เมื่อจุ่มรักแล้วก็นำเอาเบี้ยไปผึ่งในที่แห้ง ที่ไม่มีลมพัดผ่าน และไม่มีแสงแดดเข้าไปส่องโดยตัวเบี้ย คือเอาไปผึ่งในห้องปิด เพื่อให้รักแห้งไปเอง วิธีการนี้จะไม่ทำให้เนื้อรักย่นเป็นหนังช้าง แต่จะเรียบตึงสวยงามน่าดูน่าชมยิ่งนัก เพราะคุณสมบัติของรักเป็นยางที่มีพิษ ไอระเหยของสารพิษในรักจะทำให้แสบตา และระคายเคือง ถ้านำรักไปตากแดดก็ยิ่งทำให้รักนั้นเหลวเละไม่เป็นเนื้อเดียวกัน เพราะแสงแดดมีความร้อนทำให้รักละลาย
9. เมื่อเบี้ยที่จุ่มรักแห้งสนิทเป็นมันเงาดีแล้ว ก็นำทองคำเปลวมาปิดบนหลังเบี้ย บางสำนักมีการลงยันต์กำกับบนหลังเบี้ยหรือท้องเบี้ยก่อนที่จะปิดทอง ซึ่งในสมัยก่อนนั้นยังไม่มีหมึกสำหรับเขียนยันต์ก็จะใช้ดินสอดำ หรือ เหล็กจารจารลงบนหลังเบี้ยให้เกิดเป็นรอยยันต์ ซึ่งจะเป็นยันต์อะไรก็ขึ้นอยู่กับตำรับของสำนักนั้นๆ แต่โดยส่วนใหญ่แล้งจะลงด้วยยันต์เฑาะมหาวิเศษ หรือ เฑาะครอบจักรวาล เฑาะโสฬสมงคล
10. เมื่อทุกขั้นตอนสำเร็จดีแล้วจึงนำเอาเบี้ยแก้ไปปลุกเสกเดี่ยวในพระอุโบสถตามกำนดเวลาของแต่ละสำนัก หลังจากนั้นจึงนำมาเข้าพิธีมหาพุทธาภิเษกอีกครั้งก่อนจะแจกจ่ายให้ประชาชน หรือ ลูกศิษย์นำไปบูชา.
ความรู้เพิ่มเติม :
บางสำนักจะใช้ลวดทองแดงนำมาฟั่นหัวท้ายตรงกลางเป็นแกนตรงให้มีขนาดยาวพอดีตัวเบี้ย แล้วกดลงตรงแนวของชันโรงที่อุดท้องเบี้ยก่อนจะปิดผ้าแดง และแผ่นตะกั่วเพื่อใช้เป็นตัวร้อยเชือกคาดเอว หรือ ห้อยคอ และบางสำนักเมื่อปลุกเสกแล้วจะนำเอาเบี้ยไปโยนลงบ่อน้ำในวัด หรือท่าน้ำหน้าวัดเพื่อปล่อยเบี้ย แล้วใช้พลังจิตเรียกให้กลับมา หากเบี้ยตัวใดลอยกลับมาหาก็เป็นอันว่าเบี้ยตัวนั้นวิเศษจริง จึงจะนำไปแจกจ่ายให้ ลูกศิษย์ต่อไป.
พิธีอธิษฐานจิตปลุกเสก”เบี้ยแก้”โดยท่านเจ้าอาวาสพระครูปลัดวันัย อุตฺตโม