ผ้ายันต์หลวงปู่ดู่ วัดสะแก จ.อยุธยา
พระเครื่องและวัตถุมงคลเริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2480 หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ แห่งวัดสะแก อำเภออุทัย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ท่านได้สร้างเครื่องรางของขลัง โดยเฉพาะแบบโบราณ เช่นเดียวกับเกจิอาหลายๆรูป ทั้งก่อนและหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช มาเป็นระบอบประชาธิปไตย ระบบรัฐสภาอย่างสมบูรณ์แบบระหว่างปี พ.ศ.2475 เครื่องรางของขลังแบบโบราณดังกล่าวได้แก่จำพวกตะกรุด และผ้ายันต์ต่างๆ ตามภูมิปัญญาที่กลายเป็นกระแสนิยมในสมัยนั้น เพื่อว่าอาจจะเป็นอีกหนึ่งปาฏิหาริย์บันดาลให้แคล้วคลาดจากภยันอันตรายที่มาพร้อมกันกับสงครามขณะนั้นคุกคามประเทศของเราเกือบตลอดเวลาก็ว่าได้…
บารมีหลวงปู่ทิม อิสริโก วัดละหารไร่ จ.ระยอง
ปาฏิหาริย์น้ำมนต์เดือด
เมือราวปี พ.ศ. 2511 ที่วัดตะพงนอก อ.เมือง จ.ระยอง ได้มีพิธีปลุกเสกพระ เครื่องรางของขลัง หลวงพ่อจันทร์ เจ้าอาวาสวัดตะพงนอก , ในพิธีได้นิมนต์เกจิอาจารย์มาหลายรูปด้วยกัน และหลวงปู่ทิมก็ได้รับนิมนต์ด้วย หลังจากเริ่มพิธีปลุกเสก หลวงพ่อต่างๆ ก็ได้ทำพิธีปลุกเสก และในพิธีนี้ อาจารย์รัตน์ ซึ่งเป็นผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัด ได้นำโอ่งใส่น้ำมนต์มาตั้งไว้ และนิมนต์หลวงปู่ทิมทำการปลุกเสกนำ้มนต์เพียงองค์เดียว ท่ามกลางพุทธศาสนิกชนทั้งหลาย พอหลวงปู่ลงมือปลุกเสกน้ำ ปรากฏว่าน้ำมนต์ ที่อยู่ในโอ่งใหญ่ครึ่งโอ่ง ได้เดือดและค่อยๆทวีความสูงขึ้น ท่ามกลางความอัศจรรย์ของผู้ที่ได้พบเห็นเป็นอย่างมาก ปรากฏว่าหลังจากพิธีแล้วเสร็จ น้ำมนต์ได้ถูกชาวบ้านแย่งเอาไปจนหมดสิ้น.
ถ่ายภาพหลวงปู่ไม่ติด ถ้าไม่ขออนุญาต
เมื่อคราวปลุกเสกของที่วัดพลา จ.ระยอง หลวงปู่ทิมได้รับนิมนต์ไปร่วมในพิธีด้วย มีช่างภาพหนังสือพิมพ์ ไปถ่ายรูปโดยไม่ได้รับอนุญาตจากหลวงปู่ก่อน ปรากฏว่ากดชัตเตอร์เท่าไหร่ๆ ชัตเตอร์ก็ไม่ทำงาน แต่พอนึกได้จึงเข้าไปขออนุญาต ก็ถ่ายติดภาพชัดเจน.
เสกตะกรุดใต้น้ำ ที่มหัศจรรย์
คุณป้าอยู่ งามศรี บ้านอยู่ใกล้กับวัดละหารไร่ และเป็นหลานของหลวงปู่ทิม ป้าได้เล่าให้ฟังว่า สมัยหลวงปูทิมอายุประมาณ 60-70 ปี เวลาท่านทำตะกรุด ท่านจะลงไปทำใต้น้ำ โดยถือตะกรุดแล้วเดินลุยน้ำลงไปจากศาลาหน้าวัด มีผู้เห็นกันหลายคน เมื่อหลวงปู่ทิมทำตะกรุดเสร็จ เดินลุยน้ำขึ้นมา ทุกคนต่างประหลาดใจ เพราะเนื้อตัวและจีวรของหลวงปู่ หาได้เปียกน้ำไม่.
เสกตะกรุดลอยได้ อย่างน่าอัศจรรย์
ท่านอาจารย์รัตน์ เจ้าอาวาสวัดหนองกระบอก อ. บ้านค่าย จ.ระยอง เคยเล่าว่า หลวงปู่ทิมเป็นพระที่มีพลังจิตกล้าแข็งมาก สามารถเสกตะกรุดให้ลอยได้ ท่านเล่าว่ามีอยู่ครั้งหนึ่ง ได้นิมนต์พระอาจารย์ชื่อดังของจังหวัดระยองมา 4 รูปด้วยกัน มี หลวงพ่อหอม หลวงพ่ออ่ำ หลวงพ่อชื่น และหลวงปู่ทิม , ให้หลวงพ่อที่มาทั้ง 4 รูป นำตะกรุดสาริกามาด้วย แล้วนำลงใส่บาตร แล้วให้หลวงพ่อทั้ง 4 องค์นั่งล้อมรอบบาตร และขอให้ทุกองค์เรียกตะกรุดให้ลอยให้ลอยขึ้นมาจากบาตร , หลวงพ่อหอม เป็นผู้เรียกก่อน โดยนั่งบริกรรมอยู่พักหนึ่ง แต่ก็ไม่ปรากฏว่าตะกรุดลอยขึ้นมา จากนั้นหลวงพ่ออ่ำ และหลวงพ่อชื่น ก็ได้นั่งบริกรรมทำนองเดียวกัน ตะกรุดก็ไมยอมลอยขึ้น จนถึงหลวงองค์สุดท้ายคือหลวงปู่ทิม ท่านนั่งบริกรรมอยู่สักครู่ ก็ปรากฏว่าตะกรุดลอยขึ้นมาจากก้นบาตร หลวงพ่อหอมและท่านอาจารย์รัตน์ เจ้าอาวาสวัดหนองกระบอก เห็นเช่นนั้น ก็ตกใจและบอกว่า ขอให้ช่วยทำให้วิ่งรอบๆบาตร ท่ามกลางความตะลึงของพระสงฆ์ และเป็นที่โจษขานกันจนถึงปัจจุบัน…
ปั้นเหน่ง เครื่องรางอาถรรพ์
ปั้นเหน่ง มาจากคำว่า ปันดิง หรือ ปันเดง ในภาษาชวาหมายถึงเครื่องรางประดับเอวจำพวกหัวเข็มขัด ถือเป็นอาภรณ์อย่างหนึ่งที่มีหัวโลหะฉลุลวดลายงดงามประดับของมีค่า มีสายคาดประดับไว้ที่เอว ทำให้เห็นว่าเป็นเข็มขัด จึงแปลกันว่า เข็มขัด แต่ถ้าตริตรองให้ชัด คำว่าเข็มขัด กับคำว่าเครื่องประดับเอว ที่ใช้เป็นอาภรณ์นั้นมีในต่างกัน ในบทความถ้าชมปั้นเหน่ง ก็มักชมหัวที่เป็นโลหะฉลุเป็นส่วนใหญ่.
สำหรับปั้นเหน่งในไทยนั้น ตามตำนานเล่ากันว่า สมัยรัชกาลที่ 4 เมื่อครั้งที่แม่นาคออกอาละวาดหลอกหลอนผู้คนอย่างหนัก โดยเฉพาะที่สี่แยกมหานาค(ในปัจจุบัน) ทำให้สมเด็จพุฒาจารย์ โต พรหมรังสี ได้มาทำการสะกดวิญญาณความเฮี้ยน และเจาะกระโหลกผีแม่นาคเอามาขัดจนมัน ลงอักขระอาคม ทำเป็นปั้นเหน่งคาดเอว ซึ่งหลังจากนั้นได้นำปั้นเหน่งไปเก็บรักษาไว้ที่วัดระฆังโฆสิตาราม ครั้นเมื่อท่านชราภาพมากแล้ว ได้มอบปั้นเหน่งกระดูกหน้าผากแม่นาคนั้นไว้กับหม่อมเจ้าพระพุทธบาทปิลันทน์ ซึ่งในภายหลังท่านได้เป็นหม่อมเจ้าสมเด็จพุฒาจารย์(ทัต) ต่อมาท่านได้ประทานปั้นเหน่งแม่นาคให้กับหลวงพ่อพริ้ง หรือพระครูวิสุทธิ์ศิลาจารย์ แห่งวัดบางปะกอก และภายหลังได้นำเอาปั้นเหน่งแม่นาคนั้นมาถวายแด่ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ในเวลาต่อมาก่อนที่ปั้นเหน่งดังกล่าวถูกเปลี่ยนมือไปอีกหลายทอด และได้หายสาบสูญไปอย่างไร้ร่องรอย.
การสร้างปั้นเหน่ง
สำหรับปั้นเหน่งของทางล้านนานั้น เป็นเครื่องรางของชาวไทยใหญ่ที่อาศัยในแผ่นดินล้านนาสร้างไว้เมื่อหลายร้อยกว่าปีมาแล้ว การสร้างปั้นเหน่งตามตำราต้องใช้กะโหลกของผีที่ตายโหงเช่น ตายท้องกลม ถูกฟ้าผ่าตาย… รวมถึงการเลือกเอากะโหลกของผู้ที่ดวงแข็ง อย่างประเภทที่เป็นเสือเป็นโจรเก่ามาทำ จึงจะถูกต้องตามตำราคือมีความเข้มขลังนั่นเอง.
การสร้างปั้นเหน่งไม่ได้ทำง่ายๆ หนึ่งหัวจะทำปั้นเหน่งได้เพียงชิ้นเดียวเท่านั้น ผู้สร้างจึงต้องมีวิชาอาคมที่กล้าแกร่ง และปลุกเสกให้ถูกฤกษ์ยามตามตำรา การสร้างปั้นเหน่งนั้น ถ้าเป็นปั้นเหน่งจากศรีษะคนจะเลือกเอาเฉพาะส่วนหน้าผากมาทำ(ก็มีบ้างที่ไม่ใช่ปั้นเหน่ง แต่เป็นเครื่องรางสายเดียวกันที่ใช้กะโหลกสัตว์ หรือ กะดองเต่ามาทำ แต่ก็พิจารณาแยกได้ว่า ชิ้นไหนทำจากกระดูกของสัตว์) เมื่อนำมาใช้เป็นเครื่องราง.
ตามความเชื่อชาวล้านนา และผู้ที่ชื่นชอบเครื่องรางต่างรู้ดีว่า ปั้นเหน่งนั้นเป็นของดีที่ใช้ได้หลายทางเช่น :
– พกไว้ติดตัวจะช่วยให้แคล้วคลาด มหาอำนาจ และเมตตามหานิยม
– อฐิษฐานพกไว้เมื่อเดินทาง จะทำให้ปลอดภัย เพราะเชื่อว่ามีวิญญาณเจ้าของกะโหลก และเทพ หรือยักษ์ที่ผู้สร้างได้เชิญมาสถิตย์ เพื่อปกปักรักษาผู้ที่ได้ครอบครอง
– เก็บบูชาไว้กับบ้านเรือน ช่วยเจ้าของบ้านทำมาหากิน ให้โชคลาภ ช่วยดูแลบ้านให้ปลอดภัยจากโจรผู้ร้าย
– ป้องกันคุณไสย ตลอดจนภูติผีปีศาจ และสัตรูหมู่มารที่คิดร้าย
จงอธิษฐานขอในเรื่องที่เป็นไปได้ ไม่เกินกรรม เช่น การเจรจา ค้าขาย การขอโชคลาภ เป็นต้น…
สิ่งสำคัญประการหนึ่งที่ผู้มีปั้นเหน่งไว้ครอบครอง ไม่ควญลืมเรื่องการหมั่นทำบุญกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลให้กับเจ้าของกะโหลก เทพยาดา หรือยักษ์ที่สิงสถิตย์ในปั้นเหน่ง ตลอดจนดวงวิญญาณของครูบาอาจารย์ผู้สร้าง ถ้าทำได้ตามนี้เชื่อว่าท่านจะมีแต่ความเจริญรุ่งเรืองชั่วกาลนานตลอดไป.
สุดยอด เครื่องรางของขลัง พร้อมอิทธิปฏิหาริย์ที่ได้รับการกล่าวขานถึง คือ ผู้ใดได้บูชา ย่อมเป็นสิริมงคล นำความสำเร็จ ร่ำรวย รุ่งเรือง สู่ชีวิต.
สนใจสอบถาม LINE ID : 0613608638
ก่อนตัดสินใจเลี้ยงกุมารทอง
กุมารทองถือว่าเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เป็นเครื่องรางของขลังที่สามารถดูแล และให้โชคลาภเราได้ แต่ทุกอย่างมีดีย่อมมีเสีย เพราะฉะนั้นเราต้องตรองดูให้ดีเสียก่อนที่จะตัดสินใจ…
– เราจะต้องคิดก่อนว่า เราจะเลี้ยงเขาเพื่ออะไร ใช่เพียงแค่ว่าต้องการให้เขามากระโดดโลดเต้นเหมือนในละครหรือในหนัง ก็ไม่ควรเลี้ยง
– คุณพร้อมที่จะดูแลและเลี้ยงเขาหรือเปล่า สถานที่บ้านช่องของเราพร้อมไหม กำลังเงินมีพอซื้อของเซ่นไหว้ถวายหรือเปล่า ถ้าไม่พร้อมก็ไม่ควรเลี้ยง
– การเลี้ยงกุมารนั้น เรื่องสัจจะเป็นสำคัญ บอกว่าให้กินตอนไหนก็ต้องให้กินตอนนั้น จะให้อะไรก็ต้องอย่างนั้น จึงจะศักดิ์สิทธิ์
– เมื่อตัดสินใจจะเลี้ยงกุมารทอง ใจจริงแล้วเราต้องการจะเลี้ยงกุมารทอง หรือ พราย หรือ ตุ๊กตาทอง
– เมื่อได้คำตอบกับตัวเอง ให้คุณศึกษาหาวัด หรือสำนักที่มีการสร้างเสกกุมารขึ้นมา ที่สำคัญเราต้องศรัทธาในอาจารย์ผู้สร้าง และองค์กุมารทองที่บูชานั้นด้วย เพราะศรัทธาเป็นแรงที่ทำให้เกิดปาฏิหาริย์
– ศึกษาวิธีการบูชาของแต่ละสำนักที่เราจะนำกุมารทองมา เพื่อความศักดิ์สิทธิ์และถูกต้องนั่นเอง.
สนใจสอบถาม LINE ID : 0613608638
การสร้างกุมารทอง
ในยุคปัจจุบันสภาพสังคมและวัฒนธรรมพัฒนามากขึ้น ทำให้ไม่สามารถสร้างกุมารทองจากศพทารกจริงๆได้ จึงมีการดัดแปลงกรรมวิธีการสร้างกุมารทองขึ้น โดยใช้ดินเจ็ดป่าช้าบ้าง ไม้รักซ้อนบ้าง หรือไม้รักยมบ้าง ไปจนถึงโลหะมาสร้างเป็นรูปกุมารทอง แล้วปลุกเสกตั้งจิต ตั้งธาตุ 4 และเรียกอาการ 32 ให้บังเกิดเป็นจิตวิญญาณของเด็กขึ้นมา.
กุมารทองปัจจุบันนิยมสร้างเป็นรูปปั้นเด็ก ลักษณะเป็นเด็กที่ไว้ผมจุก นุ่งโจมกระเบนอย่างโบราณ กลายเป็นเครื่องรางของขลัง เชื่อกันว่าเสมือนมีวิญญาณเด็กอยู่ในรูปกุมารนั้น.
วิธีบูชากุมารทอง
ผู้บูชาต้องเลี้ยงดูเหมือนลูกของตน ต้องให้ข้าวน้ำเซ่นสรวง และต้องเรียกให้กินข้าวด้วย กล่าวกันว่าหากปฏิบัติดูแลดี กุมารทองก็จะช่วยค้ำคูณ อาทิ ช่วยคุ้มครองป้องกันเจ้าของ และครอบครัวจากสิ่งต่างๆ ที่ไม่ดีทั้งหลายได้ ช่วยให้ทำมาค้าขึ้น ไปจนถึงเตือนภัยล่วงหน้าอีกด้วย และจะคอยติดตามเฝ้าระวังบ้านเรือนจากโจรผู้ร้ายและศัตรูไม่ให้มากล้ำกราย.
พระอาจารย์ ชอ สุชีโว วัดหนองแสง จ.ฉะเชิงเทรา