ตะกรุดหน้าผากเสือ หลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว
ตะกรุดหน้าผากเสือ หลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว จ.นครปฐม ถือเป็นตะกรุดชั้นยอดของหลวงปู่เลยก็ว่าได้ เพราะท่านสร้างไว้ไม่มาก วิธีการสร้างของท่านยากยิ่งพอสมควญ เพราะจะต้องดูฤกษ์ดูยาม และ ต้องทำพิธีบายศรี มีหัวหมู ผู้ที่จะทำต้องจัดหาเครื่องทำพิธีมาครบ เอาหนังหน้าผากเสือมาให้ท่าน เสือหนึ่งตัวใช้ทำตะกรุดได้ดอกเดียว เพราะตะบะมหาอำนาจถูกดึงออกมาหมดแล้ว , ตะกรุดหน้าผากเสือของ หลวงปู่บุญ คือท่านกำหนดเอาหนังส่วนเหนือของตาเสือขึ้นไประหว่างทั้งสองเฉพาะช่วงนั้นเท่านั้น เมื่อได้หนังเสือดังกล่าวมาแล้ว ต้องให้หลวงปู่กำหนดฤกษ์ จากนั้นก็ตั้งเครื่องสังเวยบูชาเทวดา ครูอาจารย์ แล้วท่านก็เข้าพิธีลงอักขระเลขยันต์บนแผ่นหนัง ซึ่งพิธีแต่ละครั้งทำได้ครั้งละเพียง 1 ดอกเท่านั้น หลังจากนั้นท่านจะปลุกเสกจนครบ 7 เสาร์ 7 อังคาร จึงเป็นอันเสร็จพิธีอย่างสมบูรณ์แบบ แล้วนำไปใช้ได้เลย.
กรรมวิธีสร้างที่ค่อนข้างยาก โดยเฉพาะหนังหน้าผากเสือ นับว่าหายากมากกว่าจะได้มาชิ้นหนึ่ง จากเสือตัวเดียว ทำได้เพียงดอกเดียวเท่านั้น ดังนั้นในช่วงชีวิตของหลวงปู่บุญ จึงสร้างไว้ได้ไม่มากนัก มีผู้คนจำนวนน้อยมากที่จะมีโอกาสครอบครองเป็นเจ้าของ ตะกรุดหน้าผากเสือ หลวงปู่บุญ แห่งวัดกลางบางแก้ว เทพเจ้าแห่งลุ่มน้ำนครชัยศรี.
หลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว นครปฐม
- หลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว เกิดเมื่อวันจันทร์ขึ้น 3 ค่ำ เดือน 8 ปีวอก จุลศักราช 1210 สัมฤทธิศกเวลาย่ำรุ่งใกล้สว่าง ตรงกับวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2391 เป็นปีที่ 25 แห่งแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ร.3
- ท่านมรณภาพลงเมื่อวันที่ 30มีนาคม พ.ศ. 2478 ตรงกับวันจันทร์ขึ้น 8 ค่ำ เดือน 5 ปีชวด เวลา 10.45 น. ด้วยอาการอาพาธ ณ กุฏิของท่าน สิริอายุ 87 ปี พรรษา 69 .
ลักษณะตะกรุดหน้าผากเสือ หลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว
ตะกรุดหน้าผากเสือ หลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว มีขนาดเล็กใหญ่ไม่เท่ากัน ลักษณะเป็นหนังเสือม้วน ถักเชือกคลุมไว้แน่น เพราะหนังเสือที่แห้งม้วนยาก หากถักพันไม่แน่น หนังตะกรุดที่ตึงจะคลายตัวออกทันที และลงรักอีกให้เชือกแน่น ป้องกันเชือกผุขาดเร็ว และ ยังมีที่ถักเชือกแล้วไม่ลงรัก เชือกเปื่อยขาดคลายตัวออกไป จนเห็นเส้นขนก็มีให้เห็นกันบ้าง , การถักมีหลายแบบไม่แน่นอน มีทั้งถักคลุมหัวท้าย – ถักไม่คลุมหัวท้าย .
ลักษณะตะกรุดหน้าผากเสือ หลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว ดังที่กล่าวมาข้างต้นนี้ เกิดจากการทำมือในยุคสมัยนั้นนั่นเอง.