พระผงสุพรรณ เป็นยอดพระเครื่องฯ ในชุดเบญจภาคีที่มีมูลค่าเป็นอันดับหนึ่ง
ตำนานการสร้างพระผงสุพรรณ
ตำนานการสร้างพระผงสุพรรณนั้น ท่านอาจารย์กลิ่น วัดจักรวรรดิ์ ฯ จังหวัดพระนคร ได้บอกเล่าว่า ท่านมหาชื้น วัดจักรวรรดิ์ ฯ เป็นผู้ตัดต่อจากลานทอง ที่ปรางวัดพระธาตุ อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี เมื่อปี พ,ศ 2453 มีใจความดังนี้
ศุภมัสดุ 1265 สิทธิการิยะแสดงบาทไว้ให้รู้ว่ามีฤาษีพิลาลัยเป็นประธาน เราจะทำด้วยฤทธิ์ ทำเครื่องประดิษฐ์มีสุวรรณ เป็นต้น คือ พระบรมกษัตริย์ พระศรีธรรมาโศกราชเป็นผู้ศรัทธา ฤาษีทั้ง 4 ตน จึงพร้อมใจกันนำเอาแร่ว่านทั้งหลายอันมีฤทธิ์กับแร่ต่างๆ ครั้งได้แล้วพระฤาษี จึงอันเชิญเทพยดาเข้ามาช่วยกันทำพิธี เป็นพระพิมพ์สถานหนึ่ง สถานหนึ่งแดง ได้เอาว่านทำผงปั้นพิมพ์ด้วยลายมือ พระมหาเถรปิยทัสสะดิสศรีสาริบุตร คือเป็นใหญ่ เป็นประธานในที่นั้น ได้เอาแร่ต่างๆ ซัดยาสำเร็จแล้วให้นามว่า “แร่สังฆวานร “ ได้หล่อเป็นพิมพ์ต่างๆ มีอานุภาพต่างกัน เสกด้วยมนต์คาถาครบ 3 เดือน แล้วเอาไปประดิษฐานไว้ในสถูปใหญ่แห่งเมืองพรรธม ถ้าผู้ใดได้พบให้รีบเอาไปสักการบูชาเป็นของวิเศษนักแล ฯ
พระผงสุพรรณ พิมพ์หน้าแก่ เนื้อดิน องค์นี้สวยสมบูรณ์มาก(หน้า)
พระผงสุพรรณ พิมพ์หน้าแก่ เนื้อดิน องค์นี้สวยสมบูรณ์มาก(หลัง)
กรุแตกเมื่อปี พ. ศ. 2456
นาย พิน ฯ ได้เล่าว่า ในปี พ. ศ 2456 สมัยนั้นตนยังเป็นเด็กลูกวัดอยู่ ต่อมาได้มีพระธุดงค์รูปหนึ่งมาถามแกว่า :
“วัดพระธาตุไปทางไหน” นายพิน ฯ ก็ชี้บอกทางให้ ครั้งภายหลัง นายพินฯ จึงมาทราบว่าพระธุดงค์รูปนั้น ได้ลายแทงมาขุดหาสมบัติ ของสำคัญได้ผอบทองคำไปใบหนึ่ง และมิได้นำอะไรไปจากกรุเลย แต่ชาวจีนที่พระธุดงค์จ้างมาขุด กับได้พระเครื่องฯ ต่างๆไปเป็นอันมาก อาทิ พระผงสุพรรณ พระกำแพงศอก ฯลฯ แล้วนำออกเร่ขาย ความทราบถึงเจ้าหน้าที่ฝ่ายบ้านเมืองก็รีบไปจัดการอุดช่องที่เจาะพระปรางค์วัดพระศรีรัตนมหาธาตุเสีย
ในปี พ.ศ.2456 (ปีเดียวกับกรุแตก ) พระยาสุนทรบุรี (อี้ กรรณสูต ) ผู้ว่าราชการจังหวัด ได้นำเสด็จพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวไปเปิดกรุได้พบลายแทงแผ่นลายเงิน–ทอง จารึกอักษรขอม
ครั้งต่อมาพระยาสุนทรบุรี ได้นำเอาพระผงสุพรรณ ขึ้นถวายตลอดจนพระเครื่อง ฯ กรุพระปรางค์วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ แด่ล้นเกล้า ฯ ร.6
พระผงสุพรรณ พิมพ์หน้าแก่ เนื้อดิน พร้อมใบรับรองพระแท้(หน้า)
พระผงสุพรรณ พิมพ์หน้าแก่ เนื้อดิน พร้อมใบรับรองพระแท้(หลัง)
อภินิหารพระผงสุพรรณ
สมัยก่อนโน้น ชาวเมืองสุพรรณนิยม กีฬาชนควาย พนันกัน เอาเงินเอาทองและเล่นกันมาก ประจวบกับในระหว่างนั้น พระผงสุพรรณนั้นมีมาก และไม่มีมูลค่า(ราคาของเงิน )เหมือนเช่นปัจบันนี้ จึงได้นำเอาพระผงสุพรรณองค์ที่แตกหัก ไปบดให้ละเอียด ผสมคลุกกับหญ้าให้ควายกิน แล้วนำควายไปชนกัน ปรากฏว่า ควายที่กินเศษผงพระผงสุพรรณเข้าไป ขวิดได้ดีมาก และหนังเหนียวเสียด้วย เป็นที่อัศจรรย์ยิ่งนัก
วิธีการอาราธนา–การใช้
ให้เอาพระผงสุพรรณสรงน้ำหอม นั่งบริกรรม พุทธคุณ, ธรรมคุณ, สังฆคุณ 108 จบ สวดพาหุง 3 จบ
ให้เก็บน้ำมันหอมไว้ใช้ได้เสมอ และถ้าจะให้เพิ่มความขลังให้ว่าบทดังนี้อีก กลั้นลมหายใจให้เป็นสมาธิเพื่อความขลังยิ่งขึ้นว่า คะเต ลิก เก กะระณังมะหา ชัยยังมังคะลัง นะมะพะทะ กิริมิติ กุรุมุธุ เกเรเมเถ กะระมะถะ ประสิทธิ์นักแลฯ
พระผงสุพรรณ พิมพ์หน้าแก่ เนื้อดิน พร้อมใบรับรองพระแท้(หน้า)
ลักษณะพระผงสุพรรณ
– กรอบ เป็นรูปสามเหลี่ยม ยอดตัด ( ตัดด้วยตอก )ตลอดจนขอบข้าง
– แบบชนิดคล้ายพระนางพญาก็มี แต่มีน้อยมาก พระวรกาย เป็นพระพุทธรูป ศิลป์สมัยอู่ทอง
– แบบพิมพ์ที่มารตฐาน มี 3 แบบคือ พิมพ์หน้าแก่ พิมพ์หน้ากลาง และ พิมพ์หน้าหนุ่ม
– พระเกศ ซ้อนกัน 3 ชั้น พระกรรณ หย่อนยาน ปลายพระกรรณซ้ายหักเข้ามุมใน ต้นของพระกรรณติดกับพระเศียร คล้ายหูแพะ พระอุระ คล้ายหัวช้าง พระอุทร แฟบ ด้านหลังจะปรากฏรอยนิ้วมือเกือบทุกองค์
– พระผงสุพรรณ มีสีที่แตกต่างกัน ถึง 4 สี คือ 1 สีดำ 2 สีแดง 3 สีเขียว 4 สีพิกุลแห้ง
พระพุทธคุณ ใช้ดีในทางเมตตามหานิยม คงกระพัน แคล้วคลาด และคงกระพันชาตรี
พระผงสุพรรณ พิมพ์หน้าแก่ เนื้อดิน(หน้า)
พระผงสุพรรณ พิมพ์หน้าแก่ เนื้อดิน(หลัง)