กุมานทองรุ่น2 ปี 2544 ครูบากฤษณะ วัดป่ามหาวัน เนื้อขาว

กุมารทองเนื้อผง พิมพ์วัดซับน้อย รุ่น2 ปี 2544 หลังฝังพลอยเสก ปั๊มตราวัด ครูบากฤษณะ วัดป่ามหาวัน

กุมารทองเนื้อผง พิมพ์วัดซับน้อย รุ่น2 ปี 2544 ครูบากฤษณะ วัดป่ามหาวัน

กุมารทองของ ครูบากฤษณะ องค์นี้เป็นพระยุคต้นที่หายากมากๆในทำเนียบวัตถุมงคลของ ครูบากฤษณะ ถ้าเทียบกับเทพมรจำแลงและสาริกาดงที่มีมากมาย แต่กุมารทองจะเป็นที่หายากสุด จากเจ้าวิชาธีรญาณและเทพพมรจำแลง หมายถึงว่าครูบกฤษณะแห่งวัดป่ามหาวัน เป็นเจ้าแห่งวิชาธีรญาณ ที่ได้ร่ำเรียนมาจริงจากผู้เป็นครูบาอาจารย์ของท่าน

กุมานทองรุ่น2 ปี 2544 ครูบากฤษณะ วัดป่ามหาวัน เนื้อขาว
กุมานทองรุ่น2 ปี 2544 ครูบากฤษณะ วัดป่ามหาวัน เนื้อขาว

กุมารทองเนื้อผง พิมพ์วัดซับน้อย รุ่น2 ปี 2544 ออกหลังรุ่นแรกห้าปี ซึ่งรุ่นแรกออกในปี 2539 มีบล๊อกแม่พิมพ์ที่ทำด้วยพระอาจารย์อิฐ แห่งวัดซับน้อย และ บล๊อกแม่พิมพ์รุ่น 2 ได้ถูกสร้างด้วยอาจารย์ชนน แห่งพิษณุโลกซึ่งได้นำมาให้วัดป่ามหาวัน มอบให้แก่ครูบากฤษณะ เพื่อขออนุญาตสร้างและปลุกเสกสำหรับลูกสิษย์ของท่าน ดังนั้นกุมารทองเนื้อผง พิมพ์วัดซับน้อย รุ่น2นี้ จึงถือว่าถูกสร้างด้วยเมตตาของครูบากฤษณะ ซึงมีมวลสารศักดิ์สิทธิ์มากมายเช่น ผงขาวที่เป็นผงพรายกุมารล้วน ผงกรรมฐาน ผงพุทธคุณ ผงใบลาน ผงว่าน และผงศักดิ์สิทธิ์จากถ้ำต่างๆ และอุดฝังพลอยเสกมหาโภคทรัพย์ สำหรับดึงดูดความร่ำรวย และปั๊มตรายางของวัดอยู่ด้านหลัง จากคำภีร์ที่ท่านได้ทำเป็นผงในปี 2544 จึงถือว่าเป็นพระยุคต้นของ ครูบากฤษณะ รุ่นสองนี้มีเนื้อขาวกับเนื้อดำ และมีรุ่น3ที่มาหลังรุ่นนี้ ที่มีบล็อกแม่พิมพ์สร้างโดยอาจารย์คิม ที่วัดป่ามหาวัน เป็นเมตตาสร้างโดยตรงจาก ครูบากฤษณะ , ดังนั้นกุมารทองเนื้อผงรุ่นสองของครูบากฤษณะ จึงเป็นที่ยกย่องมากในเนื้อหาพุทธคุณและเป็นที่แสวงหาของบรรดาลูกศิษย์ลูกหาและพุทธศาสนิกชนทั่วไปมาก เนื่องจากได้ส้รางปาฏิหาริย์ และ ประสบการณ์มากมาย แก่ผู้ที่ห้อยบูชากุมารทองรุ่นนี้ เคยมีคนได้ถูกหวยจนร่ำรวยกลายเป็นเศรษฐีมาแล้ว และมีคนได้ผันเปลี่ยนชีวิตจากร้ายกลายเป็นดีอย่างน่าอัศจรรย์ ดังนั้นกุมารทองของท่านจึงเป็นที่ต้องการแก่เซียนพระมาก เพราะทุกรุ่รจัดสร้างจำนวนน้อย ราคาเช่าหากันจึงค่อนข้างสูง

กุมารทองเนื้อผง พิมพ์วัดซับน้อย รุ่น2กับรุ่น3 นี้จะมีมวลสารความต่างจากรุ่นแรกคือ รุ่นแรกเนื้อดูนุ่ม มีความเป็นเหลี่ยมและหนากว่า แต่มวลสารรุ่น2กับรุ่น3จะดูเนียนแน่นและบางกว่า แต่รุ่นแรกหายากและมีราคาแพงมาก

พุทธคุณดีทางด้าน เมตตามหานิยม มหาลาภ มหาโภคทรัพย์ ค้าขายดี แคล้วคลาด แก้อาถรรพ์ได้ดีมาก

กุมานทองรุ่น2 ปี 2544 ครูบากฤษณะ วัดป่ามหาวัน เนื้อขาว
กุมานทองรุ่น2 ปี 2544 ครูบากฤษณะ วัดป่ามหาวัน เนื้อขาว
กุมานทองรุ่น2 ปี 2544 ครูบากฤษณะ วัดป่ามหาวัน เนื้อขาว
กุมานทองรุ่น2 ปี 2544 ครูบากฤษณะ วัดป่ามหาวัน เนื้อขาว
กุมานทองรุ่น2 ปี 2544 ครูบากฤษณะ วัดป่ามหาวัน เนื้อขาว
กุมานทองเนื้อผง รุ่น2 ปี 2544 ครูบากฤษณะ วัดป่ามหาวัน เนื้อขาว
กุมานทองเนื้อผง รุ่น2 ปี 2544 ครูบากฤษณะ วัดป่ามหาวัน เนื้อขาว
กุมานทองเนื้อผง รุ่น2 ปี 2544 ครูบากฤษณะ วัดป่ามหาวัน เนื้อขาว
กุมานทองเนื้อผง รุ่น2 ปี 2544 ครูบากฤษณะ วัดป่ามหาวัน เนื้อขาว
กุมานทองเนื้อผง รุ่น2 ปี 2544 ครูบากฤษณะ วัดป่ามหาวัน เนื้อขาว
กุมานทองเนื้อผง รุ่น2 ปี 2544 ครูบากฤษณะ วัดป่ามหาวัน เนื้อขาว
กุมานทองเนื้อผง รุ่น2 ปี 2544 ครูบากฤษณะ วัดป่ามหาวัน เนื้อขาว
กุมานทองเนื้อผง รุ่น2 ปี 2544 ครูบากฤษณะ วัดป่ามหาวัน เนื้อขาว
กุมานทองเนื้อผง รุ่น2 ปี 2544 ครูบากฤษณะ วัดป่ามหาวัน เนื้อขาว
กุมานทองเนื้อผง รุ่น2 ปี 2544 ครูบากฤษณะ วัดป่ามหาวัน เนื้อขาว
กุมารทองเนื้อผง พิมพ์วัดซับน้อย รุ่น2 ปี 2544 เนื้อดำ
กุมารทองเนื้อผง พิมพ์วัดซับน้อย รุ่น2 ปี 2544 เนื้อดำ
ครูบากฤษณะ อินทวันโณ

[ecwid widgets=”productbrowser search minicart” categories_per_row=”3″ grid=”10,3″ list=”60″ table=”60″ default_category_id=”28914364″ default_product_id=”0″ category_view=”grid” search_view=”list” minicart_layout=”MiniAttachToProductBrowser”]

 

พระศิวลีต่อทรัพย์ หลังสาริกาคู่ ครูบากฤษณะ สำนักสงฆ์เวฬุวัน

พระศิวลีต่อทรัพย์ หลังสาริกาคู่ ครูบากฤษณะ สำนักสงฆ์เวฬุวัน

พระศีวลีต่อทรัพย์ หลังสาริกาคู่ 

ครูบากฤษณะ อธิฐานจิตให้สำนักเขาศิลามณีนำไปแจกในงานปริวาสเมื่อปี 2555 จำนวน 380 องค์

มวลสารที่นำมาผสมสร้าง ที่บันทึกไว้ได้จากผู้ดำเนินการสร้างมีดังนี้ :

– มวลสาร ในกรุพระร่วงสุโขทัย

– ดินก้นบ่อกรุวัดชีปะขาวหาย

– แร่เหล็กน้ำพี้ พิจิตร

– ชันโรงเพียงดิน

– รวงผึ้งสามกิ่งรังเดียว

– มะพร้าวลูกเดียวสองหน่อ

– รังต่อหัวเสือ

มวลสารทั้งหมดที่กล่าวมานี้ ได้รวมอยู่ใน พระศีวลีต่อทรัพย์ หลังสาริกาคู่ ชุดนี้

พระศิวลีต่อทรัพย์ หลังสาริกาคู่ ครูบากฤษณะ สำนักสงฆ์เวฬุวัน

คนโบราณมีความเชื่อเกี่ยวกับมวลสารที่นำมาผสมสร้างพระ จนสืบทอดมาถึงพระเกจิอาจารย์ รุ่นปัจจุบัน

– มวลสาร ในกรุพระร่วงสุโขทัย

มวลสารแรกที่จะกล่าวถึงคือ พระร่วงรางปืน กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จ.สุโขทัย ลักษณะพิเศษ คือ จะมีไขคลุมอีกชั้นหนื่ง และมีมากกว่าพระร่วงกรุอื่นๆ แต่ที่ไดรับความนิยมสูงจะเป็นเนื้อชินตะกั่วสนิมดำโบราณ จากเมืองสวรรคโลก ที่เรียกว่าสนิมมันปู ชึ่งมีน้อยมาก ด้วยพุทธลักษณะอันอ่อนช้อยงดงาม แต่แฝงด้วย ความเข้มขลัง ประกอบกับมี พุทธคุุณเป็นเลีศ จึงได้รับการยกย่องให้เป็น จักรพรรดิแห่งพระเนื้อชิน

พระศิวลีต่อทรัพย์ หลังสาริกาคู่ ครูบากฤษณะ สำนักสงฆ์เวฬุวัน

– ดินก้นบ่อกรุวัดชีปะขาวหาย

วัดชีปะขาวหาย จ.พิษณุโลก แห่งนี้มีความผูกพันกับตำนานการสร้างพระพุทธชินราช พระพุทธชินสีห์ และพระศรีศาสดา อยู่ประการหนึ่งอันปรากฏในพงสาวดารเหนือ ดังนี้

พระศรีธรรมไตรปิฎกจึงรำพึงในพระทัยใคร่สร้างพระพุทธรูปให้แล้วด้วยสำฤทธิ์ ครั้นพระองค์รำพึงแล้ว จึงให้ช่างได้ บาพิศณุคนหนึ่ง บาพรหมคนหนึ่ง บาธรรมราชคนหนึ่ง บาราชกุศลคนหนึ่ง บาธรรมราชคนหนึ่ง บาราชกุศล ได้ช่างมาแต่เมืองศรีสัชนาสัย 5 คน มาแต่เมืองหริภุญไชยคนหนึ่ง เป็นช่าง 6 คน จึงมีพระราชโองการตรัสสั่ง ช่างทั้งหลายว่า ท่านทั้งหลาย ให้ช่วยกันรักษาศิล 5 ประการอย่าให้ขาด

พระศิวลีต่อทรัพย์ หลังสาริกาคู่ ครูบากฤษณะ สำนักสงฆ์เวฬุวัน

ครั้นสั่งช่างแล้วจึงพระราชทานรางวัลแก่ไพร่ทั้งหลาย ให้ขนดินและแกลบให้ช่างๆจึงประสมดินปั้นเป็นรูปพระพุทธเจ้าสามรูป ตามมีพระราชโองการตรัสสั่งนั้น ให้เหมือนพิมพ์เดียว และใหญ่น้อยเท่ากัน ครั้นปั้นเบ้าคุมพิมพ์แล้ว ท้าวพระยาทั้งหลายก็นำเอาทองสัมฤทธิ์มาถวายแก่พระองค์เจ้า ชวนกันหล่อพระพุทธรูปเป็นอันมากแล ช่างหล่อชานกันกินบวชเจ็ดวัน ก็ทำพิธีกรรมแก่เทวดาทั้งเจ็ดทิศ

พระศิวลีต่อทรัพย์ หลังสาริกาคู่ ครูบากฤษณะ สำนักสงฆ์เวฬุวัน

ครั้นได้ฤกษ์ดีจึงเอาพิมพ์เข้าเตา วันเธอหล่อนั้น วันพฤหัสบดี เพ็ญเดือนสี่ปีจอ ชุมนุมพระสงฆ์ทั้งหลายมี พระอุบาลี พระศิริมานนท์ เป็นพระประทานและพระสงฆ์เจ้าทั้งหลาย หล่อให้พร้อมกันทั้งสามรูป แลรูปพระศรีศาสดา พระชินสีห์ ทั้งสองพระองค์นั้นทองแล่นเสมอกันบริบูรณ์ ยังแต่พระชินราชเจ้านั้น มิได้เป็นองค์เป็นรูปหามิได้

แต่ช่างหล่อถึงสามทีก็มิได้เป็นองค์ แลพระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎก ก็เกิดเป็นทุกข์ยิ่งนักหนาแลพระองค์ก็ตั้งสัจจาอธิษฐาน ว่า ด้วยบุญเดชะอันกูเรียนพระไตรปิฎก แลได้ทำพิธิกรรมฐานสอนสงฆ์ทั้งหลายให้ท่านอยู่ทางมรรคผลแก่พระสงฆ์เจ้า

พระศิวลีต่อทรัพย์ หลังสาริกาคู่ ครูบากฤษณะ สำนักสงฆ์เวฬุวัน

อนึง จะปรารถนาเป็นพระพุทธเจ้าองค์หนึ่ง ในอนาคตกาลนับมิได้ แต่พระองค์เจ้ารักษาศิลและถือความสัจมิได้ขาด มีใจกรุณาแก่คนและสัตว์ทั้งหลาย ครั้นพระองค์ตั้งสัจอธิษฐานแล้วจึงมีพระราชโองการว่า แก่เจ้าประทมว่า ให้ตั้งจิตอธิษฐานบ้างเถิด ครั้นนางตั้งสัจอธิษฐานแล้ว ก็ร้อนถึงอาสน์พระอินทร์เจ้า จึงนฤมิตเป็นตาปะขาว ลงมาช่วยทำรูปพระคุมพิมพ์ปั้นเบ้า ถ้านฤมิตเป็นไปทีเดียวก็ได้ แต่ว่าจะให้ปรากฏแก่สายตาคนทั้งหลาย ช่วยทำเป็นช่าง น้ำก็มิกิน ข้าวก็มิกิน ตาก็มิหลับ ใจก็แข็งหาที่กลัวมิได้ และมีรูปอันแก่กว่าคนทั้งหลาย แต่เที่ยวไปมาช่วย สองวันทีหนึ่ง สามวันทีหนึ่ง จึงทำตรีศูลในพระพักตร์ให้เป็นสำคัญ ให้รู้ว่าพระอินทร์เจ้าสุลาลัย ลงมาช่วย

พระศิวลีต่อทรัพย์ หลังสาริกาคู่ ครูบากฤษณะ สำนักสงฆ์เวฬุวัน

ครั้นถึงเดือนหนึ่ง พิมพ์พระพุทธรูปแห้งแล้วจึงให้ช่างทั้งหลายตั้งเตาหล่อพระชินราช แต่ ณ วันพฤหัสบดี เดือน6 ขื้น8ค่ำ ปีกุน ตรีศก เพลาเช้า พุทธศักราช 1500 ปีกุน สัมฤทธิศก ด้วยอานุภาพพระอินทราธิราชเจ้าทองแล่นรอบคอบบริบูรณ์ทุกประการหาที่ติมิได้

ครั้นบริบูรณ์แล้วพระอินทร์เจ้าเสด็จออกจากเมือง อำมาตย์จึงเข้าไปกราบทูลแก่ พระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎก ให้รู้อาการว่า ตาปะขาว ที่มาช่วยกันนั้นไปแล้ว พระองค์เจ้าจึงให้ไปตามแลดู ให้รู้เหตุ อำมาตย์ตามไปถึงกลางหนทาง ก็อันตรธานหายไปในที่นั้น อำมาตย์จึงเอาไม้ปักไว้เป็นสำคัญ แล้วจึงเข้ามาทูลให้พระองค์เจ้ารู้เป็นแมนมั่นว่า พระอินทร์เจ้ามาช่วย พระองค์เจ้าจึงให้ตีดินนั้นออก จึงเห็นตรีศูล ในพระพักตร์แห่งพระพุทธรูปนั้น ( พงศาวดารเหนือ พิมพ์เป็นอนุสรณ์ ในงานพระราชทานเพลิงศพนายชุมพร ศรีสัชชนกุล พ.ศ 2516 )

พระศิวลีต่อทรัพย์ หลังสาริกาคู่ ครูบากฤษณะ สำนักสงฆ์เวฬุวัน

ณ ตรงชีปะขาวหายไปนั้น ได้สร้างวัดขื้น ชื่อว่า ” วัดชีปะขาวหาย “นับว่าเป็นวัดที่มีอายุกาลเก่าแก่ทีเดียวของเมืองพิษณุโลก และที่สำคัญยิ่งอีกประการหนึ่ง เป็นสถานที่ พบพระเครื่องตระกูลพระหลวงพ่อโต และเป็นวัดเดียวที่พบมากที่สุด

แร่เหล็กน้ำพี้ พิจิตร

เหล็กน้ำพี้ จากตำรากล่าวไว้ดังนี้

1. เหล็กน้ำพี้เป็นของขลัง มีของดีในตัวเองทุกอนูมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์คุ้มครอง
2. เหล็กน้ำพี้เป็นของอาถรรพณ์ เร้นลับ และมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์อยู่ทุกๆ อณู
3. เหล็กน้ำพี้เป็นเหล็กอาถรรพณ์ ใช้ล้างอาถรรพณ์ได้นับนานาประการ แม้ผู้มีวิชาคงกระพันชาตรีเพียงไร เหล็กน้ำพี้สามารถฟาดฟันได้ทั้งหมด
4. เหล็กน้ำพี้สามารถป้องกันภูติผีปีศาจได้ วิญญาณ ภูติผี ปีศาจไม่กล้าเข้าใกล้
5. เหล็กน้ำพี้กันมนต์ดำ วิชาเดรัจฉานวิชา ป้องกันได้

ผู้ที่นำพกติดตัวจะป้องกันสิ่งเลวร้ายได้ตลอดกาลแล้ว ยังเป็นวัตถุมงคลเมตามหานิยมอยู่ยงคงกระพันชาตรี และแก้กันโรคภัยไข้เจ็บ ปกป้องคุ้มครองตนเองให้แคล้วคลาดจากภัยอันตรายต่างๆได้ทั้งปวง

พระศิวลีต่อทรัพย์ หลังสาริกาคู่ ครูบากฤษณะ สำนักสงฆ์เวฬุวัน

– ชันโรงเพียงดิน

ชันโรงเป็นแมลงตัวเล็กๆคล้ายผึ้ง ชอบกินน้ำหวานจากเกสรดอกไม้เหมือนกัน ทำรังอยู่ใต้ดิน จะอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม และมักชอบทำรังในบริเวณพื้นที่ค่อนข้างเงียบสงบ ห่างไกลจากผู้คนและสัตว์อื่นๆ

เมื่อเวลามันถ่ายออกมาจะมีสีดำเหนียวมีกลิ่น หอมประหลาด ซึ่งมันก็จะนำไปสร้างรังให้กับพวกมันนั่นเอง โบราณถือกันว่าชันโรง เป็นของทนสิทธิ์ ทีอาถรรพ์ลี้ลับ อานุภาพของชันโรงใต้ดินนั้นดีทางป้องกันไฟ กันคุณไสยมนต์ดำ มหาอุด แคล้วคลาด นักไสยเวทย์นิยมนำมาอุดที่หลังเบี้ยแก้ และทำเครื่องรางต่างๆ

พระศิวลีต่อทรัพย์ หลังสาริกาคู่ ครูบากฤษณะ สำนักสงฆ์เวฬุวัน

– รวงผึ้งสามกิ่งรังเดียว

ตามความเชื่อของคนโบราณ ถ้าผึ้งมาทำรังในบริเวณบ้าน ไม่ว่าจะเป็นบนต้นไม้ หรือเกาะทำรังตามเพดาร เชื่อกันว่าบ้านๆนั้นจะพบแต่ความโชคดีและมีโชคลาภ เป็นสิริมงคลแก่คนในบ้าน ยิ่งถ้าเป็นรังผึ้งที่ทำรังบนกิ่งไม้สามกิ่ง ถือว่าเป็นของมงคลที่หายากมาก เพราะถือเป็นเครื่องรางทนสิทธิ์ มีฤทธิ์อำนาจในตัวเอง

– มะพร้าวลูกเดียวสองหน่อ

มะพร้าว เป็นพืชยืนต้นชนิดหนึ่ง อยู่ในตระกูลปาล์ม มะพร้าวเป็นพืชซึ่งสามารถใช้ประโยชน์ได้ในหลายทาง เช่น น้ำและเนื้อใช้รับประทาน เนื้อในผลแก่นำไปขูดคั้นทำกะทิ กะลานำไปประดิษฐ์สิ่งของต่างๆ  นอกจากนี้มะพร้าวจัดเป็นพรรณไม้มงคลชนิดหนึ่ง ตามตำราพรหมชาติฉบับหลวง ได้กำหนดให้ปลูกมะพร้าวไว้ทางทิศตะวันออกของบ้าน เพื่อความเป็นสิริมงคล

พระศิวลีต่อทรัพย์ หลังสาริกาคู่ ครูบากฤษณะ สำนักสงฆ์เวฬุวัน

– รังต่อหัวเสือ

คนโบราณเชื่อกันว่า สัตว์จำพวก ผึ้ง ต่อ แตน เป็นสัตว์มงคล ให้โชคให้ลาภ ฉะนั้นการนำเอารังต่อ รังผึ้ง มาเป็นส่วนผสมในการสร้างวัตถุมงคล เชื่อกันว่าจะทำให้วัตถุมงคล มีความเข้มขลัง และให้โชคลาภ เป็นสิริมงคล แก่ผู้ครอบครอง

พระศิวลีต่อทรัพย์ หลังสาริกาคู่ ครูบากฤษณะ สำนักสงฆ์เวฬุวัน