ปั้นเหน่ง ราหูอมจันทร์

วัตถุมงคลเครื่องรางของขลัง อาจารย์เฮง ไพรยวัล

อาจารย์เฮง ท่านเป็นเลีศในหลายๆด้าน ทั้งไสย ทั้งศิลป์ และท่านยังเป็นที่ซี้ปึกกับ ครูเหม เวชกร , ครั้งหนึ่งครูเหมออกปากว่า…”หน้าพรหม ไม่มีใครเขียนให้เห็นได้ทั้งสี่หน้า ที่อาจารย์เฮง คนเดียว ที่เขียนได้ ” ท่านสร้างวัตถุมงคล และเครื่องรางของขลัง.

อาารย์เฮง ไพรยวัล

วัตถุมงคล อาจารย์เฮงไพรยวัล

เครื่องรางของขลัง อาจารย์เฮง สร้างไว้มีหลายอย่างคือ พระพรหมจะทำด้วยงากำจัด งากำจาย โลหะเงิน ทอง นาค ตะกรุดมหาจักรพรรดิ แหวนโลหะ ปลัดขิก ผ้ายันต์ ภาพวาสรูปเทพ ลงอักขระคชสีห์ สิงห์ เสือ เนื่องจากอาจารย์เฮง เป็นผู้อัจฉริยะในด้านการช่างอย่างน่าอัศจรรย์ ดังจะเห็นได้ว่า เครื่องรางของขลังแต่ละชิ้นนั้น ศิลป์วิจิตรงดงาม หากสังเกตรอยจารลายมือสวยมาก การเขียนภาพต่างๆ มีมิติลึกซึ้ง การแกะสลักได้สัดส่วน ยากที่จะมีอาจารย์ใดเสมอเหมือน ด้านพุทธคุณเป็นที่เลื่องลือว่าสุดยอดของคงกระพัน แคล้วคลาดปลอดภัย กันภูตผีปีศาจ เพิ่มพูนในเรื่องของเมตตามหานิยม เช่น เหรียญพรหมสี่หน้า อาจารย์เฮง มีหลายรูปแบบทั้ง หน้าโล่ห์ ทรงกลม ข้าวหลามตัด และเครื่องรางของขลังอีกหลายรูปแบบ…เป็นที่นิยมมานาน ของแท้นั้นหาดูไม่ง่ายนัก…

อาจารย์เฮง ไพรวัล

ปั้นเหน่ง เครื่องรางอาถรรพ์

ปั้นเหน่ง มาจากคำว่า ปันดิง หรือ ปันเดง ในภาษาชวาหมายถึงเครื่องรางประดับเอวจำพวกหัวเข็มขัด ถือเป็นอาภรณ์อย่างหนึ่งที่มีหัวโลหะฉลุลวดลายงดงามประดับของมีค่า มีสายคาดประดับไว้ที่เอว ทำให้เห็นว่าเป็นเข็มขัด จึงแปลกันว่า เข็มขัด แต่ถ้าตริตรองให้ชัด คำว่าเข็มขัด กับคำว่าเครื่องประดับเอว ที่ใช้เป็นอาภรณ์นั้นมีในต่างกัน ในบทความถ้าชมปั้นเหน่ง ก็มักชมหัวที่เป็นโลหะฉลุเป็นส่วนใหญ่.

สำหรับปั้นเหน่งในไทยนั้น ตามตำนานเล่ากันว่า สมัยรัชกาลที่ 4 เมื่อครั้งที่แม่นาคออกอาละวาดหลอกหลอนผู้คนอย่างหนัก โดยเฉพาะที่สี่แยกมหานาค(ในปัจจุบัน) ทำให้สมเด็จพุฒาจารย์ โต พรหมรังสี ได้มาทำการสะกดวิญญาณความเฮี้ยน และเจาะกระโหลกผีแม่นาคเอามาขัดจนมัน ลงอักขระอาคม ทำเป็นปั้นเหน่งคาดเอว ซึ่งหลังจากนั้นได้นำปั้นเหน่งไปเก็บรักษาไว้ที่วัดระฆังโฆสิตาราม ครั้นเมื่อท่านชราภาพมากแล้ว ได้มอบปั้นเหน่งกระดูกหน้าผากแม่นาคนั้นไว้กับหม่อมเจ้าพระพุทธบาทปิลันทน์ ซึ่งในภายหลังท่านได้เป็นหม่อมเจ้าสมเด็จพุฒาจารย์(ทัต) ต่อมาท่านได้ประทานปั้นเหน่งแม่นาคให้กับหลวงพ่อพริ้ง หรือพระครูวิสุทธิ์ศิลาจารย์ แห่งวัดบางปะกอก และภายหลังได้นำเอาปั้นเหน่งแม่นาคนั้นมาถวายแด่ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ในเวลาต่อมาก่อนที่ปั้นเหน่งดังกล่าวถูกเปลี่ยนมือไปอีกหลายทอด และได้หายสาบสูญไปอย่างไร้ร่องรอย.

การสร้างปั้นเหน่ง

สำหรับปั้นเหน่งของทางล้านนานั้น เป็นเครื่องรางของชาวไทยใหญ่ที่อาศัยในแผ่นดินล้านนาสร้างไว้เมื่อหลายร้อยกว่าปีมาแล้ว การสร้างปั้นเหน่งตามตำราต้องใช้กะโหลกของผีที่ตายโหงเช่น ตายท้องกลม ถูกฟ้าผ่าตาย… รวมถึงการเลือกเอากะโหลกของผู้ที่ดวงแข็ง อย่างประเภทที่เป็นเสือเป็นโจรเก่ามาทำ จึงจะถูกต้องตามตำราคือมีความเข้มขลังนั่นเอง.

การสร้างปั้นเหน่งไม่ได้ทำง่ายๆ หนึ่งหัวจะทำปั้นเหน่งได้เพียงชิ้นเดียวเท่านั้น ผู้สร้างจึงต้องมีวิชาอาคมที่กล้าแกร่ง และปลุกเสกให้ถูกฤกษ์ยามตามตำรา  การสร้างปั้นเหน่งนั้น ถ้าเป็นปั้นเหน่งจากศรีษะคนจะเลือกเอาเฉพาะส่วนหน้าผากมาทำ(ก็มีบ้างที่ไม่ใช่ปั้นเหน่ง แต่เป็นเครื่องรางสายเดียวกันที่ใช้กะโหลกสัตว์ หรือ กะดองเต่ามาทำ แต่ก็พิจารณาแยกได้ว่า ชิ้นไหนทำจากกระดูกของสัตว์) เมื่อนำมาใช้เป็นเครื่องราง.

ตามความเชื่อชาวล้านนา และผู้ที่ชื่นชอบเครื่องรางต่างรู้ดีว่า ปั้นเหน่งนั้นเป็นของดีที่ใช้ได้หลายทางเช่น :

– พกไว้ติดตัวจะช่วยให้แคล้วคลาด มหาอำนาจ และเมตตามหานิยม

– อฐิษฐานพกไว้เมื่อเดินทาง จะทำให้ปลอดภัย เพราะเชื่อว่ามีวิญญาณเจ้าของกะโหลก และเทพ หรือยักษ์ที่ผู้สร้างได้เชิญมาสถิตย์ เพื่อปกปักรักษาผู้ที่ได้ครอบครอง

– เก็บบูชาไว้กับบ้านเรือน ช่วยเจ้าของบ้านทำมาหากิน ให้โชคลาภ ช่วยดูแลบ้านให้ปลอดภัยจากโจรผู้ร้าย

– ป้องกันคุณไสย ตลอดจนภูติผีปีศาจ และสัตรูหมู่มารที่คิดร้าย

จงอธิษฐานขอในเรื่องที่เป็นไปได้ ไม่เกินกรรม เช่น การเจรจา ค้าขาย การขอโชคลาภ เป็นต้น…

สิ่งสำคัญประการหนึ่งที่ผู้มีปั้นเหน่งไว้ครอบครอง ไม่ควญลืมเรื่องการหมั่นทำบุญกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลให้กับเจ้าของกะโหลก เทพยาดา หรือยักษ์ที่สิงสถิตย์ในปั้นเหน่ง ตลอดจนดวงวิญญาณของครูบาอาจารย์ผู้สร้าง ถ้าทำได้ตามนี้เชื่อว่าท่านจะมีแต่ความเจริญรุ่งเรืองชั่วกาลนานตลอดไป.

สุดยอด เครื่องรางของขลัง พร้อมอิทธิปฏิหาริย์ที่ได้รับการกล่าวขานถึง คือ ผู้ใดได้บูชา ย่อมเป็นสิริมงคล นำความสำเร็จ ร่ำรวย รุ่งเรือง สู่ชีวิต.

สนใจสอบถาม LINE ID : 0613608638