หลวงพ่อพรหม ถาวโร วัดช่องแค นครสวรรค์
หลวงพ่อพรหม ถาวโร เกิดเมื่อวันพฤหัสบดี ขึ้น 5 ค่ำ เดือน 5 ปี มะแม ตรงกับวันที่ 12 เมษายน พ.ศ 2426 ที่ ต.บ้านแพรก อ.มหาราช จ.พระนครศรีอยุธยา บิดาชื่อ นายหมี มารดาชื่อ นางล้อม โกสะลัง ท่านมีพี่น้องร่วมสายเลือดเดียวกัน 4 คนคือ
1. นางลอย
2. นายปลิว
3. หลวงพ่อพรหม
4. นางฉาบ
หลวงพ่อพรหม ในวัยเด็กได้ศึกษาเล่าเรียนอ่านเขียนกับพระในวัดใกล้บ้าน ศึกษาอักษรขอมควบคู่กับภาษาไทย ก่อนที่จะบวช เมื่ออายุครบบวช ได้อุปสมบทที่วัดเขียนลาย ต.บ้านแพรก อ.บ้านแพรก จ.อยุธยา เมื่อวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ 2447 ได้รับฉายาว่า ” ถาวโร ” โดยมีหลวงพ่อ ถม วัดเขียนลาย เป็นพระอุปัชฌาย์ และได้ศึกษาเล่าเรียนภาษาขอมจนชำนาญ และเริ่มปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน
หลวงพ่อพรหม เริ่มศึกษาวิชาไสยศาสตร์ และคาถาอาคมกับอาจารย์ที่เป็นฆราวาส ชื่ออาจารย์พ่วง ต่อมาเมื่ออุปสมบทแล้ว จึงได้ศึกษา อสุภกรรมฐาน สมถะกรรมฐาน วิปัสสนา จากหลวงพ่อดำ ซึ่งเป็นพระสงฆ์ไม่ทราบวัดอยู่ประมาณ 4 ปี ในพรรษาที่ 5 อาจารย์พ่วง ได้พาไปฝากอาจารย์ปู่วอน ซึ่งเป็นฆราวาส และได้ศึกษาวิชาแขนงต่างๆ เป็นเวลา 5 ปีเต็ม จนกระทั่ง อาจารย์ปู่วอน ได้ถึงแก่กรรม ซึ่งในภายหลัง หลวงพ่อพรหม ได้นำกระดูกมาเก็บไว้ที่วัดช่องแค จากนั้น หลวงพ่อพรหม ก็ไม่ได้ไปศึกษาเล่าเรียนเล่าเรียนกับอาจารย์ท่านใดโดยตรง มีแต่ศึกษาแลกเปลี่ยนวิชากับอาจารย์รุ่นพี่ และ รุ่นเดียวกันในระหว่างธุดงค์ อาทิ หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพธิ์ เป็นต้น
หลวงพ่อพรหม ถาวโร ท่านจะออกเดินทางธุดงค์ทั้งใกล้และไกล โดยหลวงพ่อเคยเดินธุดงค์ไปประเทศพม่า ถึงเมืองย่างกุ้ง และได้มีโอกาสมนัสการพระเจดีย์ชะเวดากอง และเดินธุดงค์ผ่านทางด่านเจดีย์สามองค์ ผ่านเทือกเขาน้อยใหญ่ และธุดงค์อยู่ในประเทศพม่า เป็นเวลานาน จึงเดินทางกลับประเทศไทย ทางด่านแม่ละเมา จ.ตาก และเดินเรื่อยๆไปจนถึงเขาช่องแค ต.พรหมนิมิตร อ.ตาคลี จ.นครสวรรค์ เกิดฝนตกหนัก หลวงพ่อพรหม ถาวโร ได้หลบเข้าไปอยู่ในถ้ำ ซึ่งเป็นถ้ำเล็กๆ และเป็นสถานที่ๆ หลวงพ่อ เห็นว่าเป็นที่วิเวกเหมาะแก่การบำเพ็ญธรรม จึงเริ่มปลูกต้นไม้แห่งศรัทธา ณ ช่องเขาแห่งนี้
ขณะที่ หลวงพ่อพรหม ถาวโร จำศีลปฏิบัติธรรมอยู่นั้น ที่วัดช่องแค ก็มีพระภิกษุจำพรรษาอยู่แล้ว 2 รูป แต่ยังไม่มีเจ้าอาวาส ภายในวัดยังไม่มีเสนาสนะใดๆ บริเวณวัดก็รกร้าง
ต่อมาชาวบ้านในแถวนั้น ซึ่งมีความนับถือเลื่อมใส หลวงพ่อ ได้นิมนต์ให้ ท่านลงมาจำพรรษาอยู่ข้างล่าง คือวัดช่องแคในปัจจุบัน หลวงพ่อพรหม ถาวโร จึงเป็นเจ้าอาวาสรูปแรกของวัดช่องแค โดยที่ชาวบ้านได้ร่วมกันบริจาคที่ดินเพิ่มขึ้น หลวงพ่อพรหมได้เริ่มต้นสร้างวัด จากวัดที่รกร้างไม่มีเสนาสนะใดๆ เมื่อปี พ.ศ 2460 มาเป็นวัดที่มีกุฏิ ศาลาการเปรียญ โรงครัว ซึ่งส่วนหนึ่งของทรัพย์สินมาจากการขายสมบัติส่วนตัว และมรดกของ หลวงพ่อเอง ต่อมาทางวัดจะสร้างโบสถ์ ซึ่งต้องใช้ทุนทรัพย์สูง คณะกรรมการของวัดจึงขอ อนุญาติ หลวงพ่อจัดสร้างวัตถุมงคลขึ้น
หลวงพ่อพรหม ถาวโร ท่านเป็นคนชอบระฆัง การสร้างวัตถุมงคลของท่าน จึงมีรูประฆัง และ กลายเป็นเอกลักษณ์ อย่างหนึ่ง ของหลวงพ่อพรหม ถาวโร
หลวงพ่อพรหม มีวิธีการปลุกเสกวัตถุมงคล ที่ไม่เหมือนใคร ส่วนใหญ่หลวงพ่อจะปลุกเสกในบาตร ถ้ามีเทียนชัย ท่านจะจุดเทียนชัยหยดน้ำตาเทียน ลงในบาตร น้ำมนต์ แล้วนำเทียนชัยวนรอบๆ 9 รอบ แล้วจึงนำดินสอพองมาเจิมที่ วัตถุมงคล เอามือคนไปรอบๆ โดยที่ หลวงพ่อลืมตาเพ่งกระแสจิตอัดพลังแล้วจึงนำน้ำมนต์ ประพรมวัตถุมงคลทั้งหลาย แล้วหลวงพ่อจับบาตรใส่วัตถุมงคล แล้วเพ่งกระแสจิตอีกครั้ง จนกระทั่งวัตถุมงคลเหล่านั้นมีรังสีพุ่งออกมา จึงนำน้ำมนต์ ประพรมอีกครั้ง เป็นเสร็จพิธี
ดังนั้นเราจะสังเกตุได้ว่า พระเนื้อผงของ หลวงพ่อพรหม ถาวโร จะมีรอยบิ่น เล็กบ้าง ใหญ่บ้าง เพราะเกิดจาก หลวงพ่อ เอามือคนในบาตร ดังนั้นพระที่มีรอยบิ่นจึงสันนิษฐานได้ว่า ได้สัมผ้สกับมือ หลวงพ่อ โดยตรง
การมรณภาพ
หลวงพ่อพรหม ท่านไม่เคยย้ายไปอยู่วัดอื่นเลย ตลอดระยะเวลา 58 ปี โดยที่หลวงพ่อได้ลาออกจากการเป็นเจ้าอาวาสวัดช่องแค เมื่อปี พ.ศ 2514 รวมเวลาที่ดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาส คือ 54 ปี เพื่อให้พระปลัดแบงค์ ธมมวโร เป็นเจ้าอาวาสสืบแทน
หลวงพ่อพรหม ถาวโร มรณภาพ เมื่อวันที่ 30 มกราคม พ.ศ 2518 เมื่อเวลา 15.00 น. ที่โรงพยาบาลบ้านหมี่ จ. ลพบุรี รวมสิริอายุได้ 91 ปี 71 พรรษา
หลังจากที่ หลวงพ่อพรหม มรณภาพแล้ว คณะกรรมการวัดได้บรรจุศพของท่านไว้ในโลงแก้ว อยู่บนศาลาการเปรียญ ศพของหลวงพ่อพรหมไม่เน่าเปื่อย มด แมลงใดๆ ไม่ได้รบกวนทำลายชิ้นส่วนใดๆในร่างกายของท่านแม้แต่น้อย คล้ายกับหลวงพ่อนอนหลับอยู่ แม้ว่าท่านจะมรณภาพมาแล้วถึง ปัจจุบันนี้
หลังจากที่ หลวงพ่อพรหม มรณภาพแล้ว สิ่งมหัศจรรย์ที่เกิดขึ้นคือนอกจากร่างกายไม่เน่าเปื่อยแล้ว ยังมี :
– เส้นผม ขนคิ้ว ขนตา หนวด เครา เล็บมือ เล็บเท้า ที่กล่าวมานี้ล้วนแต่งอกยาว