พระท่ากระดาน กรุศรีสวัสดิ์ กาญจนบุรี เนื้อชินเงิน และตะกั่วสนิมแดง
อาจเป็นเพราะพุทธลักษณะของ พระเครื่องเมืองกาญจน์แบบหนึ่งนี้ ชึ่งได้รับสมัญญานามในเชิงยกย่องทำนองที่ว่ามีคุณวิเศษยอดเยี้ยมในด้านแคล้วคลาด และคงกระพันชาตรีกระมังว่า ” ขุนศึกแห่งลุ่มน้ำแม่กลอง ” อีกชื่อหนึ่ง แต่พุทธลักษณะที่ว่า หมายถึงพระเกศ มองในแง่เชิงช่าง พระเกศของพระพิมพ์นี้ดูแปลกแยก ตรงที่มีลักษณะยาวมากอย่างที่คุณผู้อ่านเห็นในภาพประกอบนี้แหละ พระเกศในลักษณะนี้ ถ้าใครเป็นนักศึกษาวิชาศิลปะกำลังอยู่ในห้องเรียน หากวาดลายเส้นองค์พระออกมาแบบนี้ อาจารย์ผู้สอนจะคอยดูว่า ทำได้สวยลงตัวรึเปล่า ไม่อย่างนั้นแล้ว ก็จะต้องถูกตำหนิอย่างรุนแรง เพราะยาวมากเกินความจำเป็น
ถ้าถามว่าผู้สร้างพระพิมพ์นี้ ให้มีเกศยาวอย่างนี้ในสมัยโบราณนั้น ท่านคิดอะไรอยู่ ตอบได้คงไม่ดี หรือถ้าจะตอบในแง่ดี ก็คงไม่ถูกใจใครต่อใครหลายคน สู้ตอบว่า ” เกิดไม่ทัน ไม่รู้ไม่เห็น ” น่าจะดีกว่า แต่ที่แน่นอน คนเก่าคนแก่ท่านก็เรียกพระพิมพ์พรเครื่องแบบนี้ตามพุทธลักษณะบางอย่างที่ได้กล่าวมาแล้วว่า ” พระเกศปิดตาแดง ” นิยมเรียกกันในชื่อนี้อยู่หลายปีแล้วก็ลืม และเปลี่ยนไปเรียกชื่อใหม่ว่า ” พระท่ากระดาน ” หรือ” พระวัดท่ากระดาน ”
ท่ากระดานเป็นชุมชนเล็กๆ ตำบลหนึ่งอยู่ทางตอนใต้ของเมืองกาญจนบุรีเดิม แต่ว่าอยู่ทางทิดเหนือของตัวจังหวัดกาญจนบุรีใหม่ประมาณ 20 กิโลเมตร ไม่แน่ใจว่าสมัยนั้น บริเวณนี้จะมีแม่น้ำลำคลองอะไรผ่านรึเปล่า คำว่า ท่ากระดาน น่าจะมีความหมายไปในทำนองเป็นชุมชนริมแม่น้ำมากกว่า ไม่อย่างนั้น คงไม่เรียกอย่างนี้ นิสัยคนไทยเราก็รู้อยู่แล้วว่า ชอบเรียกอะไรก็ตามที่ง่ายต่อการจดจำ แต่ว่าเมืองเก่าของกาญจนบุรีนั้น บัดนี้เหลือแต่ซากสลักหัหพังเล็กน้อย กับเนินดินที่ยังพอมีให้เห็นแต่เพียงเค้าดั้งเดิมรางๆ วัดขุนแผนที่คนในแวดวงการพระเคยได้ พระลีลา กับ พระซุ้มระฆัง ตอนนี้ชำรุดทรุดโทรมแทบไม่เหลือดี และก็ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่า วัดนางพิมพ์ และ วัดป่าเลไลยก์ เมืองกาญจน์ เป็นเมืองเพื่อนเก่ารักกันมาก แต่มีเหตุไปเมื่อไหร่ก็ไม่เจอเพื่อนหลายปีแล้ว สมัยนั้น เรือนแพคือที่พักพิงเมืองกาญจนบุรีเดิมอยู่ไปทางตอนใต้ของ ” ด่านเจดีย์ 3 องค์ ” ใครอยู่ที่นี้ต้องหนังเหนียว และฝีเท้าจัด เพราะเวลาที่พม่าก็ดี กะเหรี่ยงก็ดี หากยกกองกำลังเข้ามาปล้นบ้านปล้นเมือง ถ้าหนังไม่เหนียว ตายแน่ไอ้หวัง แต่ถ้าหนังเหนียว ฝีเท้าจัดจะดีกว่า เอาตัวรอดได้แน่กว่า
พระท่ากระดาน พบมีสร้างด้วยโลหะสองอย่าง คือ สร้างด้วยตะกั่วน้ำนม ชึ่งบางเมืองเรียกตะกั่วเถื่อน หรือตะกั่วป่า ที่หาได้ตามภูมิประเทศที่เป็นป่าเขาสูงอย่างเมืองกาญจนบุรี เป็นต้น ที่เรียกว่า ตะกั่วเถื่อน หรือตะกั่วป่า เป็นเพราะยังไม่นำมาหุง เอาเศษวัสดุแร่ธาตุอื่นๆ ที่ปะปนอยู่ในเนื้อออก ตะกั่วเถื่อนที่ว่านี้ ดูโดยรวมครั้งแรกที่เจอจะมีสีสันขาวขุ่นคล้ายน้ำนม จึงนิยมเรียกกันมาแต่โบราณอีกชื่อหนึ่งว่า ตะกั่วน้ำนม ในสายตาของนักโลหะวิทยา ยังเป็นน้ำนมที่สกปรกมากต้องหุง แต่คนไทโบราณเรานำมาใช้งานเลย เพราะไม่มีความรู้ที่จะหุง ถ้ามีก็คงทำไปกันแล้ว อาจเป็นเพราะเหตุนี้กระมัง พระท่ากระดานรุ่นแรกที่ตกไปอยู่ในมือคนเก่าคนแก่หมู่หนึ่ง พบว่าปรากฏเม็ดหินสีแดงติดอยู่ที่ตและใกล้ตาขององค์พระท่ากระดาน เลยอาศัยจุดนี้ตั้งชื่อพระว่า พระเกศปิดตาแดง ต่อมาหลายคนที่มีโอกาศได้เป็นเจ้าของหรือได้พบเห็นพระพิมพ์นี้ และกลับไม่พบจุดหินสีแดงๆ ที่ท่านผู้เฒ่าเขาว่า เป็นไปได้ว่าที่มิได้นิยมเรียกเกศปิดตาแดง ในยุคหลังอาจเป็นเพราะเหตุนี้แหละอีกกรณีหนึ่ง การพบจุดสีแดของหินสีในพระเนตรหรือตา องค์พระท่ากระดาน ก็ทำให้นักเขียนรุ่นสนิมแดงบางท่านไปเขียนข้อเขียนประเภทปั้นน้ำเป็นตัวว่า ฤาษีตาแดงเป็นคนสร้าง และใส่หินสีผสมเข้าไป เพื่อเสริมอิทธิฤทธิ์เป็นเตชะฤทธิ์ เพื่อให้คนใช้ระลึกถึงท่าน โดยไม่รู้ว่า ตะกั่วน้ำนมสร้างพระนั้น ยังไม่ได้หุงเสียก่อน เศษหิน เม็ดกรวดทราย ที่ปะปนเข้าไปในเนื้อพระที่อ่อนตัวลงเวลาเจอความร้อนในธรรมชาติ เนื่องจากเป็นโลหะมีจุดหลอมเหลวต่ำ เนื้อโลหะชนิดนี้ปกติก็อ่อนตัวกว่าโลหะอย่างอื่นอยู่แล้ว ถ้ามีเศษหินสีขนาดเบาเล็กยังหลงอยู่แทนที่จะตกตะกอนเป็นไปได้ว่าพอหล่อพระเสร็จแล้ว จะโผล่ที่พื้นผิวองค์พระเช่น จุดสีแดงที่ตา เป็นต้น
ประวัติที่ว่า พระท่ากระดาน ถูกพบตามบริเวณอุปจาร วัดร้างโบราณ วัดแรกที่พบคือ วัดกลางเป็นวัดที่เหือแต่ซากสลักหักปรัง อยู่ในป่าไม้รวก กิ่งอำเภอศรีสวัสดิ์ ตำบลท่ากระดาน จังหวัดกาญจนบุรี อีกสองวัดเรียกชื่อวัดว่า วัดเหนือ กับ วัดใต้ โดยเฉพาะระหว่าง ปี พ.ศ 2495 นักขุดหาสมบัติโบราณกับพระพิมพ์พระเครื่อง พระบูชาแห่กันไปขุดได้แต่พระท่ากระดานแถวนั้นแหละ ตรวจสอบดูแล้วจากผู้ขุดบอกเล่าต่อๆ กันมาว่า ได้พระจากซากพระเจดีย์องค์กลางเป็นจำนวนมากรวมทั้งซากพระเจดีย์ที่อยู่ทางทิศเหนือและอีกจุดหนึ่งอยู่ใต้ต้นลั่นทมขนาดใหญ่ นิยมเรียกในพายหลังว่า พระท่ากระดาน กรุลั่นทม แต่ก็ยังพบ พระท่ากระดานตกหล่นจนถูกทับถม อยู่ในดินประปรายแถวๆ กำแพงวิหารทิศ ส่วนมากพบตรงมุม กำแพงวัดทั้ง 4 มุม อย่างไรก็ตาม พระพิมพ์นี้ก็คือพระ เหมือนๆกันทั้งรูปแบบพิมพ์ และพุทธลักษณะ ก็เลยนิยมเรียกเป็นกลางไปเลยว่า กรุศรีสวัสดิ์ เป็นชื่อกรุพระพิมพ์โดยรวม ก็ว่ากันไป เพราะผู้ชำนาญเนื้อของวงการพระเครื่อง ดูหลายคนแล้วสรุปว่า เป็นพระเครื่องที่ สร้างในสมัยเดียวกันแทบทั้งสิ้น และก็อย่างว่านั้นแหละ พระเครื่องพิมพ์นี้ดูแปลกแยก ทั้งรูปแบบและพุทธลักษณะบางอย่าง รวมทั้งเนื้อหาที่สร้างคือเป็น ตะกั่วน้ำนม หรือตะกั่วป่า อย่างหนึ่ง อีกอย่างเป็นเนื้อชินเงิน นักพุทธศิลป์นิยมวงการพระจึงต้องการให้การศึกษาพิจารณาเนื้อพระเป็นพิเศษ
เพราะมีเหตุที่มีความโดดเด่นอยู่ที่ ” พระเกศ ” คนรุ่นก่อนท่านก็เลยตั้งชื่อพิมพ์พระตามลักษณะ พระเกศ ดังกล่าวเป็นพิมพ์ๆไป ได้แก่ พระท่ากระดาน พิมพ์เกศยาว หมายความถึงองค์ ที่มีเกศยาวและตรงขื้นไป ชึ่งถ้าไม่ตัดขอบบริเวณพระเกศปลีลึกจนติดกับพระเกศ ก็จะพบว่ามีความสมดุลย์ ทำให้พระเกศยังตั้งตรงขื้นไปได้ตามการณ์อันควรจะเป็น ยกเว้นองค์พระต้องผจญมารไปกระแทกหรือกระทบอะไรที่หนักกว่า แข็งแกร่งกว่า ก็อาจคดโค้งบิดเบี้ยวได้ พระท่ากระดานที่มีเกศยาว แต่มีอันต้องไปกระทบ หรือถูกกระทบ หรือตกหล่นลงมาจากกรุพระเจดีย์ นิยมเรียกว่า พระท่ากระดาน พิมพ์เกศคด แต่ว่าบางองค์ ก็คดเพราะโลหะอ่อนตัวลง เนื่องจากเจอความร้อนในจุดอับ ส่วนที่เล็กที่สุดคือปลายเกศปลีก็จะคดได้ ลักษณะจะงอโค้งต่ำเป็นส่วนมาก ดูด้วยตาเปล่าคล้ายกำลังจะหยดเสียด้วยช้ำ บางองค์อาจหักตั้งแต่จุดที่อ่อนได้ง่ายคือ ตรงปลายลงมาเรื่อยๆ ไม่แปลกที่พบว่า เหลือติดบนกลางมุ่นมาฬีเหมือน ” เกศบัวตูม ” นักนิยมสะสมพระพิมพ์พระเครื่อง ผู้หวังผลการขาย อาจฝนให้ดูกลมกลึงคล้ายเกศบัวตูม และเกศลูกแก้วอย่าง พระเกศ ของพระพุทธรูปสมัยเชียงแสน ใครเห็นเข้าก็ต้องเข้าใจว่า เป็นลักษณะพระเกศศิลปะนิยมสมัยปาละ ที่เข้ามาแพร่หลายในสุวรรณภูมิประเทศ ยุคทราวดี จึงได้ชื่อใหม่เป็นอีกพิมพ์หนึ่งว่า พระท่ากระดาน เกศตุ้ม ที่กล่าวมานี้ เกศที่มาของชื่อพิมพ์พระชึ่งไม่ค่อยนิยมกันแล้ว จะเรียกกันง่ายๆว่า พระท่ากระดาน กรุศรีสวัสดิ์ ไม่ระบุพิมพ์ไม่ว่า ลักษณะพระเกศจะคดไม่คด จะยาวหรือสั้น เพราะความจริงเป็นที่รู้ๆ กันโดยทั่วไปเสียแล้ว แม้กระทั่งชื่อโบราณ คือ พระเกศปิดตาแดง อีกไมาช้าไม่นานนี้ ก็คงจะไม่มีใครรู้จักอีกต่อไป เพราะนิยมเรียก พระท่ากระดาน กันไปเสียแล้ว
พระท่ากระดาน เป็นพระนั่งแสดงปางมารวิชัย นอกจากจะมี พระเกศยาว ตั้งอยู่บนมุ่นเมาฬีดังกล่าวแล้ว มองพรพักตร์โดยรวมด้านบนถึงไรพระศกพบว่า จัดอยู่ในรูปสามเหลี่ยม คือ มีพระปราง หรือ แก้มตอบ พระขนงเป็นรูปปีกกา พระเนตรเนื้อดูโปน โดยมีหางพระเนตรชี้เฉียง แต่แม้จะดูพระเนตรโปน ก็อยู่ในลักษณะหรุบต่ำ ดูเครียดในสมาธิ พระนาสิกเป็นก้อนนูนเข้าใจว่าเบ้าแตก พระโอษฐ์เป็นเส้นนูนโค้งแบบครึ่งวงกลม อาจเพื่อให้กลมกลืนกับพระหนุแบบ ” คางคน ” พระกรขวาออกแบบเป็นเส้นนูน วาดจากพระหัตถ์ ไปตามลำพระองค์เป็นเสมือนขอบองค์พระขื้นไปตามส่วนโค้งและพระหาเกือบจรดพระกรรณ ที่ยานยาวและพระหนุ(คาง) พระอุระเหมือนนักกล้าม มีแนวเส้นให้ดูเข้าใจได้ว่า ครองจีวร ห่มเฉียงและสังฆาฏิพาดลงกึ่งกลางพระอุระยาวจรดอุ้งพระหัตถ์ซ้าย ลักษณะการนั่งเป็นแบบขัดสมาธิราบแบบ “เข่ากว้าง ” บนอาสนะฐานแบบ สำเภาคว่ำ ถึงตรงนี้โปรดสังเกตุว่า การที่พระท่ากระดานดูเหมือน เข่ากว้าง นั้น เป็นพระบาทใหญ่และยาว ไม่ใช่แต่เพียงแค่นั้น พระหัตถ์ทั้งสองก็ใหญ่ ทั้งสองใหญ่ดังกล่าวนี้ เป็นศิลปะนิยมสมัยทราวดียุคเสื่อมและดูเมื่อไร พระศกที่หนาสูงกว่าพระนลาตและพระเนตรที่โปนอย่างจงใจออกแบบ ก็ทำให้นักพุทธศิลป์หลายท่านวินิจฉัยว่า พระท่ากระดาน น่าจะถูกสร้างด้วยการผสมศิลปะ แบบทราวดีตอนปลายๆ กับศิลปแบบลังกาที่ปรากฏ พระเกศยาว ส่วนพระพักตร์ก็น่าจะปรับปรุงมาจากพระพักตร์รูปไข่อย่างลังกาที่เข้าแพร่ในประเทศไทยประมาณปลายสมัยลพบุรี หรือ ต้นๆอยุธยา หมายความว่าอาจจะสร้างอยู่ในระหว่าง พุทธศตวรรษที่ 18-20 แต่ว่าลักษณะพระเนตรที่ออกแบบวางเฉียงๆนั้น น่าสงสัยว่าช่างฝีมือน่าจะมีเชื้อสายจีน และที่ไม่ควรมองข้ามเสียเลยทีเดียวคือ เส้นแสดงผ้าสังฆาฏิที่พาดเอนมาถึงกึ่งกลางพระอุระ และปล่อยชายยาวผ่านจุดที่น่าจะเป็นพระนาภี(สะดือ) ชึ่งเป็นศิลปะยอดนิยมที่แพร่เข้าสู่ประเทศไทยในช่วงระยะเวลาดังกล่าว
เกี่ยวกับธรรมชาติความเก่าแก่ของเนื้อหาที่สร้างพระ ดังกล่าวแล้วว่า พระท่ากระดาน กรุศรีสวัสดิ์ เท่าที่พบแล้ว มีสร้างไว้ด้วยเนื้อตะกั่วป่า เป็นหลัก จึงปรากฏสนิมไข ส่องดูจะเห็นเป็นจุดสีขาว เป็นผลจากปฏิกิริยาเคมี ระหว่างตะกั่วกับก๊าซออกชีเจนที่มากับความเย็นจากความชื้นภายนอกเนื้อพระ และเพราะว่าเป็นปฏิกิริยาอย่างแรกที่เกิดขื้นกับเนื้อพระคนโบราณเรียกว่า สนิมไข ด้วยเหตุนี้บริเวณขอบองค์พระก็จะเป็นจุดที่เกิดความสึกกร่อนและผุพัง ลบความคมของขอบพิมพ์พระหายไป เป็นลำดับแรก ความผุกร่อนจุดอื่นก็เกิดขื้นพร้อมกันแต่ช้ากว่า เพราะสนิมไขชึ่งออกมาไม่ได้ ถ้าไม่เกิดสนิมแดงที่เหล็กชึ่งผสมอยู่ในเนื้อตะกั่วไม่ทำปฏิกิริยากับก๊าซออกชีเจน สนิมแดงเกิดขื้นเพราะว่ายังมีช่องว่างบริเวณรอยต่อระหว่างโลหะคือตะกั่ว และแร่เหล็กที่ปะปนอยู่ ทั้งบนผิวพระ และเนื้อในที่ความชื้นเข้าไปได้ สนิมที่เกิดภายในจะก่อให้เกิดเนื้อพระสึกและผุกร่อน ทำให้สนิมไขออกมาได้ และจะค่อยๆปกคลุมผิวองค์พระ จากนั้นสนิมแดงชึ่งมีปฏิกิริยาทางเคมีช้ากว่าฏ็จะสร้างความผุกร่อน ออกมานอกผิวในที่สุด ส่วนที่เหลือจากปฏิกิริยาดังกล่าวคือ ส่วนที่เราเรียกว่า สนิมแดง จะเกาะอยู่บนผิวพระด้านใน สนิมไขอีกทีหนึ่ง เช่นเดียวกับสนิมไขขาวจะชึ่งออกมาเรื่อยๆ ผสมกันกับสนิมแดงและมวลโมเลกุลสารอื่นๆตามธรรมชาติ ทำให้เมื่อเราดูผิวหน้าองค์พระ เมื่อตอนขื้นกรุใหม่ๆ หลังจากล้างคราบดินออกแล้ว เป็นสีแดงบ้าง สีเหลืองอมแดงบ้าง คนรุ่นเก่าเขาสังเกตุไว้ว่า สีผิวพระยิ่งแดงมากเท่าใด หมายถึงอายุของเนื้อพระยิ่งเก่าแก่ชึ่งเป็นเรื่องถูกต้อง แต่จะต้องคำนึงถึงพื้นที่ที่พระเครื่องฝังอยู่ด้วยว่าแห้งอับ หรือมีความชื้นสูงหรือไม่ เพราะสนิมแดงและสนิมไข เกิดขื้นได้เพราะความร้อน และความชื้นประกอบกัน กล่าวง่ายๆได้ว่า ถ้าอยู่ในพื้นที่ชื้นมากอย่าง พระเมืองสุพรรณบุรี บางรุ่นอายุน้อย แต่สนิมแดงขื้นเขลอะ เป็นต้น
ส่วนเนื้อชินเงินนั้นดูง่ายกว่า เพราะสนิมไขขาวจะชึมขื้นมาก่อน แม้ว่าโลหะที่ผสมค่อนข้างละเอียดและแข็งแกร่งกว่า ในระยะแรกจะดูเหมือนของใหม่ แต่เมื่อมีอายุมากขื้นจะเกิดรอยรานร้าวระหว่างการขยายตัวของเนื้อดีบุกและตะกั่ว ส่งผลให้ความชื้นตามฤดูกาลเล็ดรอดเข้าไปก่อสนิมได้ หลายองค์จึงปรากฏสนิมแดงไม่น้อย แต่ก็ไม่มากปกคลุมผิวองค์พระอยู่ แต่ส่วนใหญ่จะเป็นไขขาว เพราะเนื้อตะกั่วมีน้อยกว่าดีบุกที่ก่อให้เกิดแต่ไขขาว หรือ สนิมไขขาว เป็นเรื่องธรรมดา .