ประวัติหลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ วัดบ้านไร่ จ.นครราชสีมา
หลวงพ่อคูณ ถือกำเนิดที่บ้านไร่ ม.6 ต.กุดพิมาน อ.ด่านขุนทด จ.นครราชสีมา บิดาชื่อ นายบุญ ฉัตรพลกรัง มารดาชื่อ นางทองขาว ฉัตรพลกรัง เมื่อวันพฤหัสบดี ที่ 14 ตุลาคม พ.ศ 2466 ( บางตำราว่าวันที่ 4 ตุลาคม ) ตรงกับวันแรม 10 ค่ำ เดือน 10 ปีกุน เป็นบุตรชายคนหัวปี มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน 3 คน คือ :
1.หลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ
2.นายคำมั่ง แจ้งแสงใส
3.นางทองหล่อ เพ็ญจันทร์
มารดาคือ นางทองขาว เล่าให้เพื่อนบ้านฟังว่า ก่อนตั้งครรภ์ กลางดึกของคืนวันหนึ่ง เวลาประมานตี 3 นางได้ฝันเห็นเทพองค์หนึ่ง มีกายเรืองแสงงดงาม ลอยลงมาจากสวรรค์ มาที่บ้านของนางและกล่าวว่า เจ้าและสามีเป็นผู้มีศีลธรรม เมตตาต่อสรรพสัตว์ทั้งปวง ประกอบการงานอาชีพ ด้วยความชื่อสัตย์สุจริต ทั้งยังสร้างคุณงาม ความดีมาตลอดหลายชาติ เราขออำนวยพรให้เจ้าและครอบครัวมีแต่ความสุขสวัสดิ์ตลอดไป และเทพองค์นั้นยังได้มอบดวงแก้วใสสะอาดสุกสว่างให้แก่นางด้วย ” ดวงมณีนี้ เจ้าจงรับไปและรักษาให้ดี ต่อไปภายหน้า จะได้เป็นพระพุทธสาวกหน่อเนื้อพระชินวร เพื่อสืบพระพุทธศาสนา เป็นเนื้อนาบุญ ที่พึ่งของสัตว์โลกทั้งปวง “
การศึกษา
เนื่องด้วยบรพกรรม และสังขารเป็นสิ่งไม่เที่ยงแท้แน่นอน บิดามารดา ของหลวงพ่อคูณ ได้เสียชีวิตลงในขณะที่ลูกทั้งสามคน ยังเป็นเด็ก หลวงพ่อคูณกับน้องๆ จึงอยู่ในความอุปการะของน้าสาว สมัยที่ หลวงพ่อคูณ อยู่ในวัยเยาว์ 6-7 ขวบ ได้เข้าเรียนหนังสือกับพระอาจารย์เชื่อม วิรโธ พระอาจารย์ฉาย และพระอาจารย์หลี ทั้งภาษาไทยและภาษาขอม ที่วัดบ้านไร่ สถานการศึกษาแห่งเดียว ในหมู่บ้าน มิได้มีโรงเรียนทำการสอนเช่นในสมัยปัจจุบัน นอกจากเรียนภาษาไทยและขอมแล้ว พระอาจารย์ทั้งสาม ยังมีเมตตาอบรม สั่งสอนวิชาคาถาอาคม เพื่อป้องกันอันตรายต่างๆ ให้แก่ หลวงพ่อคูณด้วย นับว่าหลวงพ่อคูณรู้วิชาไสยศาสตร์มาแต่เยาว์วัย
อุปสมบท
หลวงพ่อคูณ อุปสมบท เมื่ออายุได้ 21 ปี ณ พัทธสีมา วัดถนนหักใหญ่ ต.กุดพิมาน อ.ด่านขุนทด จ.นครราชสีมา เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2487 ( หนังสือบางแห่งว่า 2486 ) ตรงกับวันศุกร์ เดือน 6 ปีวอก โดยพระครูวิจารย์ดีกิจ อดีตเจ้าอาวาสคณะอำเภอด่านขุนทด เป็นพระอุปัชฌาย์ พระกรรมวาจาจารย์ คือ พระอาจารย์สุข วัดโคกรักษ์ หลวงพ่อคูณได้รับฉายาว่า ปริสุทโธ หลังจากที่หลวงพ่อคูณอุปสมบทเป็น พระภิษุเรียบร้อยแล้ว ท่านได้ฝากตัวเป็นศิษย์หลวงพ่อแดง วัดบ้านหนองโพธิ์ ต.สำนัก ตะคร้อ อ.ด่านขุนทด จ.นครราชสีมา ( บางตำรากล่าวว่าเมื่อบรรพชาแล้วได้เล่าเรียนกับหลวงพ่อคง ชึ่งเป็นเจ้าอาวาสวัดถนนหักใหญ่ก่อน แล้วหลวงพ่อคงจึงนำไปฝากกับหลวงพ่อแดง ) หลวงพ่อแดงเป็นพระนักปฏิบติ ทางด้านคันถธุระ และวิปัสสนาธุระ อย่างเคร่งครัด และทั้งเป็นพระเกจิอาจารย์ที่เรืองวิทยาคมเป็นอย่างยิ่ง จนเป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของผู้คนและลูกศิษย์ เป็นอย่างมาก หลวงพ่อคูณตั้งใจร่ำเรียนพระธรรมวินัย ตามรอยพระพุทธองค์ที่ตรัสไว้ว่า ” เทว เม ภิกขเว วิชชา ภาฃิยา ” ดูก่อนพระภิกษุทั้งหลาย วิชานั้นมีอยู่ 2 อย่างคือ :
1.สมถะ ความสงบระงับแห่งจิต ที่ปราสจาก กิเลสอาสวะทั้งปวง
2.วิปัสสนา ความเห็นแจ้งชึ่งธรรมเบื้องสูงอันสุขุมลุ่มลึกในทางพุทธศาสนา และจงเดินตามหนทางนั้นเถิด
หลวงพ่อคูณได้อยู่ปรนนิบัติรับใช้หลวงพ่อแดงมานานพอสมควร หลวงพ่อแดงจึงพาหลวงพ่อคูณไปฝากตัวเป็นลูกศิษย์หลวงพ่อคง พุทธฺสโร ชึ่งหลวงพ่อทั้งสองรูปนี้ เป็นเพื่อนกัน ต่างให้ความเคารพชึ่งกันและกัน เมื่อมีโอกาสได้พบปะ มักแลกเปลี่ยนธรรมะ ตลอดจนวิชาอาคม แก่กันเสมอ หลวงพ่อคง พุทธฺสโร เป็นพระอาจารย์ผู้ทรงคุณทั้งทางธรรม และทางไสยเวทย์ และได้อบรมสั่งสอนให้กับหลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ ด้วยความรักไคร่มิได้ปิดบังอำพราง โดยการให้การศึกษาพระธรรมควบคู่กับการปฏิบัติพระกัมมัฏฐาน เน้นเรื่องการมี ” สติ ” ระลึกรู้ พิจารณาอารมณ์ต่างๆ ที่มากระทบ และให้เกิดความรู้เท่ากัน ในอารมณ์นั้น เช่น เมื่อเกิดอารมณ์ ” หลง” ท่านให้พิจารณาว่า ” อนิจจัง ไม่เที่ยง ทุกขัง เป็นความทุกข์ อนัตตา ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่ของเขา สักแต่ว่าเป็นรูป เป็นนาม จึงมิใช่ของเรา และของเขา ” และท่านจึงให้แนวทางพิจารณา 5 ประการ คือ พิจารณาว่า ความเกิดเป็นเรื่องธรรมดา
หาล่วงความเกิดนี้ได้พิจารณาว่า ความแก่เป็นเรื่องธรรมดา
หาล่วงความแก่นี้ได้พิจารณาว่า ความเจ็บเป็นเรื่องธรรมดา
หาล่วงความเจ็บนี้ได้พิจารณาว่า ความตายเป็นเรื่องธรรมดา
หาล่วงความตายนี้ได้พิจารณาว่า เรามีกรรมเป็นเรื่องธรรมดา
เรามีกรรมเป็นของตนเอง เรากระทำความดีจักได้ดี
เรากระทำความชั่วจักได้ชั่ว ส่วนพระกัมมัฏฐานนั้น หลวงพ่อคงได้สอนให้ใช้หมวดอนุสติ โดยดึงเอาวิธีกำนด ” ความตาย ” เป็นอารมณ์ เรียกว่า ” มรณัส สติ ” เพื่อให้ เกิดความรู้เท่ากัน ไม่หลงในอารมณ์ รูป รส กลิ่น เสียง ไม่ประมาทในความโลภ ความโกรธ และความหลง กำหนดลมหายใจเข้าออกทำจิตให้เกิด สัมมาสมาธิ เรียกว่า ” อานาปานสติ ” เวลาล่วงเลยนานพอสมควร กระทั่งหลวงพ่อคงเห็นว่า ลูกศิษย์ของตนมีความรอบรู้ชำนาญการปฏิบัติธรรมดีแล้ว จึงแนะนำให้ออกธุดงค์จาริกไปตามป่าเขาลำเนาไพร ฝึกปฏิบัติธรรมเบื้องสูงต่อไป แรกๆ หลวงพ่อคูณก็ธุดงค์จาริกอยูในเขต จ.นครราชสีมา จากนั้นจึงได้จาริกออกไปไกลๆ กระทั่งถึงประเทศลาว และประเทศเขมร มุ่งเข้าสู่ป่าลึก เพื่อทำความเพียรให้เกิดสติปัญญา เพื่อการหลุดพ้น จากกิเลส ตัณหา และอุปทานทั้งปวง สู่มาตุภูมิ
หลังจากที่พิจารณาเห็นสมควรแก่การปฏิบัติแล้ว หลวงพ่อคูณ จึงออกเดินทางจากประเทศเขมรสู่ประเทศไทย เดินข้ามเขตด้านจังหวัดสุรินทร์ สู่ จ.นครราชสีมา กลับบ้านเกิดที่บ้านไร่ จากนั้นจึงเริ่มดำเนินการสร้างถาวรวัตถุทางพระพุทธศาสนา โดยเริ่มสร้างอุโบสถ พ.ศ 2496 โดยชาวบ้านได้ช่วยกันเข้าป่าตัดไม้ ชึ่งสมัยก่อนมีอยู่มาก การตัดไม้ในสมัยนั้น ไม่ค่อยสะดวกนัก เพราะไม่มีเครื่องจักร ไม่มีถนน กว่าจะได้ไม้ที่เลื่อยแปรสภาพสำเร็จแล้ว ต้องเผชิญกับการขนย้ายที่ยากลำบาก โดยอาศัยโคเทียมเกวียนบ้าง ใช้แรงงานคนลากจูงบนทางที่แสนทุรกันดาร เนื่องจากถนนทางเกวียนนั้น เป็นดินทรายเสียส่วนใหญ่ มื่อต้องรับน้ำหนักมากก็มักทำให้ล้อเกวียนจมลงในทราย การชักจูงไม้แต่ละเที่ยวจึงต้องใช้เวลาถึง 3-4 วัน แต่กระนั้น หลวงพ่อคูณ ก็สามารถนำชาวบ้านช่วยกันสร้างอุโบสถจนสำเร็จ ( ปัจจุบันได้รื้อลงแล้ว และก่อสร้างหลังใหม่แทน )
นอกจากการสร้างอุโบสถแล้ว หลวงพ่อคูณยังสร้างโรงเรียน กุฏิสงฆ์ ศาลาการเปรียญ รวมทั้งขุดสระน้ำเพื่อการอุปโภคและบริโภค ยังความสะดวกสบายและความเจริญในบ้านไร่ยิ่งนัก แม้ปัจจุบันจะไม่ได้เห็นสิ่งดังกล่าว เนื่องจากหลวงพ่อได้เปลี่ยนสิ่งก่อสร้างดังกล่าวทั้งหมด มาเป็นปูนเป็นอิฐให้สวยงามและทนทานยิ่งขึ้น นอกเหนือจากนั้น หลวงพ่อคูณยังสร้างโรงพยาบาล ตลอดจนบริจาคเงินทอง เพื่อช่วยเหลือสาธารณะสุขต่างๆ
การสร้างวัตถุมงคล
หลวงพ่อคูณ สร้างวัตถุมงคลมาตั้งแต่บวชแล้ว 7 พรรษา โดยเริ่มทำวัตถุมงคล ชึ่งเป็นตะกรุดโทน ตะกรุดทองคำเพื่ฝังไว้ใต้ท้องแขน ณ วัดบ้านไร่ ราว พ.ศ 2493 ” ใครขอกูก็ให้ ไม่เลือกยากดีมีจน ” เป็นคำกล่าวของท่าน เนื่องจากวัตถุมงคลของหลวงพ่อได้ชื่อว่ามีความศักดิ์สิทดิ์ เมื่อมีผู้ถามว่า หลวงพ่อแจกให้กับคนไม่ดีเป็นโจรผู้ร้ายอย่างนี้ หลวงพ่อไม่บาปหรือ ” กูจะไปรู้หรือว่ามันเป็นใคร ถ้ามันเป็นโจร เมื่อมันได้รับประโยชน์ จากของที่กูแจก มันคงคิดได้ว่า เป็นเพราะพระศสา มันจะได้สนใจเข้ามาปฏิบัติธรรม …” ” ถ้ามีใจอยู่กับ ” พุทโธ ” ให้เป็นกลางๆไม่สอดส่ายไปไหน นั่นหมายความว่า ใจเป็นสมาธิ จะช่วยปกป้องคุ้มครองเราได้ดียิ่ง….ยิ่งกว่ามีวัตถุมงคลใดๆในโลก ”
การปลุกเสกวัตถุมงคลของหลวงพ่อคูณ ท่านจะใช้คาถาไม่กี่บท หัวใจพระคาถามีว่า
มะอะอุ นะมะพะธะ นะโมพุทธายะ
พุทโธ และยานะ แต่ในการปลุกเสก หลวงพ่อคูณจะใช้วิธี อนุโลมปฏิโลม ( การต่อตามและย้อนลำดับ ) เรียกว่า คาบพระคาถาเมื่อนำหัวใจธาตุ 4 คือ นะมะพะธะ มาใช้ หลวงพ่อคูณจะภาวนาด้วยจิตอันเป็นหนึ่ง ( สมธิ ) ให้อัคขระทั้ง 4 นี้ เป็น 16 อัคขระ ดังนี้
นะ มะ พะ ธะ มะ พะ ธะ นะ พะ ธะ นะ มะ ธะ นะ มะ พะ
ระยะเวลาการปลุกเสกของท่านใช้เวลาไม่มากนัก ขื้นอยู่กับอารมณ์จิต ท่านเคยปรารภว่า เมื่อจะปลุกเสกวัตถุใด ใจต้องเป็นสมาธิ เมื่อใจมีสมาธิ ปลุกเสกสิ่งใดก็ขลัง ระยะเวลาหนึ่งนาทีก็ดีแล้ว แต่หากใจไม่เกิดสมาธิ ปลุกเสกทั้งคืนทั้งวันก็ไม่มีผล อย่างนี้สู้ไปทำอย่างอื่นดีกว่า
ท่านั่งยอง หลวงพ่อคูณ ให้เหตุผลว่า เป็นท่าที่สบายที่สุด อีกทั้งเป็ยลักษณะของคนเตรียมพร้อมลุกเดิน ไปไหนมาไหนได้ทันที จะหยิบจะจับอะไรก็ง่ายและสะดวกในการทำงาน
การบำเพ็ญประโยชน์ต่อสาธารณะ
หลวงพ่อคูณ ได้จัดสร้างโรงพยาบาลถึง 3 หลัง ตลอดจนโรงเรียนและอื่นๆ อีกมากมาย นอกจากนี้ ยังได้บริจาคเงินทองเพื่อช่วยเหลือสาธารณะสุขต่างๆ ทุกๆวัน แต่ละเดือนเป็นจำนวนหลายแสนบาท ” หลวงพ่อคูณ เป็นคนยากจนมาโดยกำเนิด จึงอยากช่วยเหลือคนอื่นๆ ถ้าเก็บไว้ จะทำให้ตนตาบอด ใจก็บอดอีกด้วย จึงอยากช่วยคนอื่นๆอยู่เรื่อยไป วันใดไม่มีคนมาขอเงิน ก็ไม่ค่อยสบายใจ ”
ข้อห้าม ข้อควรปฏิบัติ
หลวงพ่อคูณ สั่งว่า เมื่อมีพระเครื่องของหลวงพ่อคูณติดตัว ให้ภาวนา ” พุทโธ ” ทำจิตให้เป็นสมาธิแน่วแน่ ละเว้นถ้อยคำด่าทอ ฆ่าพ่อแม่ตน และพ่อแม่บุคคนอื่น และอย่าผิดสามีหรือภรรยาผู้อื่น ให้สวดมนต์ก่อนเข้านอนทุกคืน ไม่ว่าจะอยู่ที่ใด และหลวงพ่อคูณย้ำว่า ” ถ้ามีใจอยู่กับ พุทโธ ให้เป็นกลาง ไม่สอดส่ายไปที่ไหน นั่นหมายความว่า ใจเป็นสมาธิ จะช่วยปกป้องคุ้มครองเราได้ดียิ่ง….ยิ่งกว่ามีวัตถุมงคลใดๆในโลก ” คาถาที่ หลวงพ่อคูณใช้บริกรรมเวลานั่งสมาธิ เวลาหายใจเข้าให้บริกรรมว่า ตาย เวลาหายใจออกให้บริกรรมว่า แน่ เป็นตายแน่…ตายแน่…ตายแน่ไปเรื่อยๆ จะรู้สึกสบาย จิตสงบ.