ประวัติ หลวงปู่หมุน ฐิตสีโล แห่งวัดบ้านจาน
วาจาสิทธิ์ของหลวงปู่หมุน ที่ได้กล่าวไว้ก่อนละสังขาร
“ตัวกูลูกพระพุทธองค์ ครูสิทธิ์ ครูธงค์ องอาจไม่ประมาทครู พบรอยก้มดู เจอครูกราบไหว้”
อิมะมะมามา อิมะมะมามา อิมะมะมามา อิมะมะมามา อิมะมะมามา อิมะมะมามา อิมะมะมามา
ซึ่งลูกศิษย์และชาวบ้านต่างจดจำได้ติดหูคือ
“ของๆฉันสร้างเองกับมือ ใครมีไว้บูชาจะหมุนโชคหมุนลาภ ทำมาค้าขึ้น ไม่มีวันจน ประกอบสัมมาอาชีพใดก็รุ่งเรือง เจริญลาภยศสรรเสริญ จะมีชื่อเสียงหอมขจรขจาย ขอให้เป็นคนดี คิดดี ทำดี ละเว้นชั่ว คุณพระจะรักษา เทวดาจะคุ้มครอง แม้นว่าจะตายไป ของๆฉันจะขลังกว่านี้อีกหลายๆเท่า น้ำลาย ไอปาก ลมปราณที่ประจุลงไป ด้งพลังจิตอันเข้มขลังของฉัน ย่อมเป็นหนึ่ง บ่เป็นสอง ครบเครื่องเป็นองค์พระ ที่ดีทั้งนอก ดีทั้งใน ฝากไว้ในแผ่นดิน ให้เลื่องชื่อลือนาม ลือเรื่องถึงเมืองแมน”
– หลวงปู่หมุนท่านกำเนิดเมื่อปี พ.ศ.2437 – 2546 อายุยืนยาวถึง 109 ปี พระเครื่องของท่านออกมาช่วงบั้นปลายชีวิต ในปีพ.ศ.2542-45 จึงดูเหมือนพระเครื่องใหม่ อายุพระไม่เกิน 10 ปี ความนิยมในตลาดพระเครื่องยังมีไม่มาก มีเฉพาะกลุ่มลูกศิษย์ที่เคารพศรัทธา แต่ก็มีแนวโน้มกลุ่มลูกศิษย์มากขึ้น จากปากต่อปากของผู้บูชาพระเครื่องหลวงปู่ ที่ได้พบเจอประสบการณ์เหนือธรรมชาติมากมาย
สาเหตุที่ท่านอนุญาติให้สร้างพระเครื่อง ในช่วงบั้นปลายชีวิต
เพราะยุคแรกๆนั้น ท่านใช้เวลาส่วนใหญ่ ในการออกธุดงค์ไปในป่าดงดิบ และธุดงค์ไปแดนพุทธภูมิในต่างประเทศ เป็นระยะเวลาหลายๆสิบปี จึงไม่ได้ทำวัตถุมงคลออกมาเพื่อให้ชาวบ้านบูชาไว้ยืดเหนี่ยวจิตใจ ให้เป็นคนดีมีศีล และ รวมถึงหาทุนมาสร้างวัด ซ่อมอุโบสถ บำรุงเสนาสนะให้ดำรงคงอยู่ สืนสานวัฒนธรรมประเพณีอันดีงาม ในแผ่นดินสยาม
คำอาราธนา บูชาหลวงปู่หมุน ฐิตสีโล
ท่องนะโม 3 จบ (แล้วว่าต่อ)
หลวงปู่หมุน ฐิตสีโล มะ อะ อุ
หลวงปู่หมุน ฐิตสีโล อุ อะ มะ
หลวงปู่หมุน ฐิตสีโล สกุลเดิม ศรีสงคราม เกิดเมื่อวันพฤหัสบดี เดือน 5 ปีชวด พ.ศ.2437 ณ บ้านจาน อ.กันทรารมย์ จ.ศรีสะเกษ บิดาชื่อ ดี มารดาชื่อ อั๊ว บรรพชาเป็นสามเณรเมื่ออายุ 14 ปี ครอบครัวได้นำไปฝากตัวกับพระอาจารย์สีดา เจ้าอาวาสวัดบ้านจาน ผู้เป็นพระที่เชี่ยวชาญด้านกัมมัฎฐาน และ มีวิชาอาคมที่เก่งมาก กระทั่งปี พ.ศ.2460 จึงได้รับการอุปสมบท โดยมีหลวงพ่อสีดา เป็นพระอุปัชฌาย์ หลวงพ่อเพ็ง เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า “ฐิตสีโล” แปลว่า ผู้มีศีลตั้งมั่น
หลังจากบวชแล้วได้จำพรรษาที่วัดบ้านจาน ศึกษาเล่าเรียนอักษรไทย อักษรขอม ฝึกกัมมัฎฐาน ในหมวดสมถะ และ วิปัสสนากรรมฐาน จากพระอุปัชฌาย์ ครูบาอาจารย์ต่างๆ เป็นเวลา 4 ปีเต็ม จากนั้นท่านก็เริ่มแสวงหาครูบาอาจารย์ท่านอื่นๆอีก เพื่อศึกษาคันถธุระ และ วิปัสสนาธุระในชั้นที่สูงๆขึ้นไปอีก ท่านจึงออกธุดงค์ไปตามที่ต่างๆ และ ร่ำเรียนวิชาอาคม กับ พระเถระชื่อดังหลายรูปเกือบทั่วประเทศ จนถึงประเทศลาว มาเลเซีย และ อินโดเนเซีย
หลวงปู่หมุน พระเถระ 5 แผ่นดิน
หลวงปู่หมุน ท่านเคยให้สัมภาษณ์ในราการ “เปิดบันทึกตำนาน” ทางช่อง 5 เมื่อปี 2543 นอกจากสืบทอดสายวิชาสมเด็จลุน แล้วท่านยังสืบสานวิชาสายวัดช้างให้ และ สายตำนานสงฆ์ ระดับเทพอย่าง หลวงพ่อจาด
- ท่านเคยฝากตัวเป็นศิษย์รับใช้ หลวงพ่อจาด วัดบางกระเบา ( จตุสงฆ์ในตำนานสงครามอินโดจีน ในนาม จาด จง คง อี๋ )
- ท่านเป็นพระสหายธรรม อยู่ศึกษาแลกเปลี่ยนวิชาความรู้กับ หลวงท่านทิม วัดช้างให้ 1 ปีกว่า
ในปี พ.ศ.2464 หลวงปู่หมุน เริ่มออกศึกษา แสวงหาประสบการณ์โดยได้ร่ำเรียนทั้งเวทย์วิทยา และ สมถะกัมมัฏฐาน จากอาจารย์หลายสำนัก อาทิ สำนักตักศิลาแห่งบ้านจิกใหญ่ อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี ท่านศึกษาคัมภีร์มหาพุทธาคม อันเป็นแม่บทของคัมภีร์ปถมัง คัมภีร์อิธิเจ คัมภีร์มหาราช คัมภีร์ตรีนิสิงเห ซึ่งเป็นพื้นฐานแห่งอำนาจจิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งตำราพิชัยสงคราม เช่น คัมภีร์นิติประกาศิต คัมภีร์ธนูรเวทว่าด้วยการแต่งเครื่องครอบมนต์ในสงคราม เป็นต้น
ช่วงระยะปี พ.ศ.2475-2482 เมื่อหลวงปู่ ท่านสำเร็จการศึกษาการสายวิชาสายต่างๆ ท่านได้เดินทางเข้ากรุงเทพฯ และได้เข้าพักที่วัดเทพธิดาราม เป็นการชั่วคราว โดยมีครูทองอินทร์ เป็นครูสอนของวัดเทพธิดาราม เป็นผู้จัดหาที่พำนักให้ท่าน ให้หลวงปู่ไปอยู่ที่วัดอรุณราชวราราม พำนักอยู่กับพระพิมลธรรม(นาค) ศิษย์สายสมเด็จพระสังฆราชแพ โอกาสนี้ หลวงปู่หมุน ได้ร่ำเรียนวิชาคัมภีร์มูลกัจจายน์สูตร ซึ่งเป็นหลักสูตรโบราณอันเก่าแก่ของคณะสงฆ์ไทยที่สืบทอดกันมาหลายชั่วอายุคน เป็นตำราที่ละเอียดลึกซึ้ง แตกฉานพระบาลีด้วยคัมภีร์อรรถกถายากยิ่งที่จะมีผู้เรียนได้สำเร็จ
หลวงปู่หมุน ได้เข้าสอบวิชามูลกัจจายน์ ในสมัย ร.6 ยุคนั้นมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประธาน และ สมเด็จพระสังฆราช แพ เป็นประธานกรรมการฝ่ายสงฆ์ พระเถราจารย์เป็นผู้ทดสอบด้วย สอบแบบมุขปาฐะ(ปากเปล่า) ถ้าถามตอบบาลีผิดเกิน 3 คำ ให้ปรับเป็นตกทันที ด้วยความรู้ความสามารถที่แตกฉานในพระคัมภีร์ หลวงปู่สามารถสอบได้เปรียญธรรมถึง 5 ประโยคในครั้งเดียวเท่านั้น หลังจากนั้นท่านจึงได้เป็นครูสอนมูลกัจจายน์ อยู่ที่วัดหงส์รัตนาราม(ฝั่งธนบุรี)เป็นเวลานานหลายปี
จากนั้น ท่านก็ได้ออกธุดงค์ติดตามพระอาจารย์ทองดี ที่มาจาก จ.หนองคาย ธุดงค์ไปทางภาคเหนือเข้าเขตพม่าเป็นเวลา 1 ปี จากนั้นก็เดินทางไปพำนักกับ พระอาจารย์ทิม วัดช้างให้ เพื่อปฏิบัติกรรมฐาน และ แลกเปลี่ยนวิชาอาถรรพณ์เวทมนต์ กับพระอาจารย์ทิมเป็นเวลาปีกว่าๆ ก่อนธุดงค์ไปประเทศมาเลเซีย เพื่อจะเรียนวิชากับพ่อท่านครน วัดบางแซะ ใช้เวลาอยู่แค่ 7 วัน แต่ไม่พบจึงเดินทางกลับวัดช้างให้ และ ได้มาเรียนวิชากับพ่อท่านคล้าย วาจาสิทธิ์ วัดสวนขัน จ.นครศรีธรรมราช ท่านได้ของที่ระลึกจากพ่อท่านคล้าย คือ ชานหมากเม็ดใหญ่เป็นที่ระลึก จากนั้นก็เดินธุดงค์เรื่อยมาจนกลับเข้าสู่เขตอิสานอีกครั้ง และได้พบกับ หลวงปู่สี ฉันทสิริ ในป่าแถบ จ.หนองคาย และได้เรียนวิชาลบผงจาก หลวงปู่สี ซึ่งได้สืบทอดมาจากพุฒจารย์โต วัดระฆังโฆสิตาราม
ช่วงที่ธุดงค์แถบภาคอิสาน ท่านได้พบกับหลวงปู่มั่น ครั้งนั้นหลวงปู่หมุนได้ศึกษาธรรม ที่สหธรรมมิกที่เป็นศิษย์ของหลวงปู่มั่น รู้จักสนิทสนมกับหลวงปู่ทุกองค์ เช่น หลวงปู่แหวน สุจิณโณ เป็นต้น , หลวงปู่มั่น เคียแนะให้หลวงปู่หมุนว่า “ท่านหมุน ท่านพอตัวเก่งอยู่แล้ว หากไม่เจอกัน หรือ มีข้อสงสัยเกี่ยวกับปริยัติปฏิบัติ และ ปฏิเวธ ให้สอบถามท่านแหวนได้ เพราะเขาเก่งมาก” หลังจากนั้น หลวงปู่หมุน ท่านก็มักไปกราบ และ ศึกษาร่ำเรียนขอความรู้เพิ่มเติมจาก หลวงปู่แหวน สุจิณโณ อยู่พักใหญ่
จากนั้นก็ออกธุดงค์ต่อไป จึงได้มาเรียนวิชามีดหมอมหาปราบกับ หลวงพ่อขำ วัดเขาแก้ว และ หลวงพ่อเงิน วัดมะปรางค์หลวง ซึ่งวิชานี้หลวงพ่อเดิม พุทธสโร วัดหนองโพ จ.นครสวรรค์ก็เรียนจาก หลวงพ่อขำ และ หลวงพ่อเงิน เช่นกัน , ในช่วงที่หลวงปู่ธุดงค์มาสู่ภาคตะวันออกแถบจันทบุรี ท่านได้พำนักอยู่กับ หลวงพ่อสอน วัดเสิงสาง กระทั่งหลวงพ่อสอนไว้ใจ ฝึกวิชาอาคม และ ครอบครูให้กับหลวงปู่
หลวงปู่หมุน เป็นหนึ่งในทายาทผู้สืบสายเวทวิทยาพุทธาคมในสายสมเด็จลุน แห่งนครจำปา ศักดิ์ราชอาณาจักลาว ที่ยังดำรงขันธ์อยู่ในปัจจุบัน ซึ่งเป็นที่เชื่อถือกันว่า หลวงปู่หมุน ท่านสำเร็จวิชาสำเร็จธาตุ 4 มาจากสายสมเด็จลุน เป็นที่รู้กันว่าวิชาสายนี้ลึกลับเกินปุถุชนคนธรรมดาจะเรียนสำเร็จได้ ผู้ที่จะเข้าถึงได้ ต้องเป็นผู้มีบารมีสูงส่งมาก เพราะการควบคุมธาตุ 4 ได้นั้น ผู้ที่จะสามารถทำการนี้ได้ ต้องสำเร็จจตุตฌานเป็นบาทฐานในการทำ และ ยังต้องมีความเชี่ยวชาญในเรื่องของกสิณจตุธาตุทั้ง 4 ได้แก่ ดิน น้ำ ลม ไฟ อีกด้วย
การกลับมายังวัดบ้านจาน
หลังจากนั้น หลวงปู่หมุน ก็กลับมาจำพรรษาที่วัดบ้านจาน จนได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาส และ พระอุปัชฌาย์ , สมณศักดิ์เป็นพระครูชั้นประทวนที่ “พระครูหมุน ฐิตสีโล” หลวงปู่ ท่านได้ปฏิบัติศาสนกิจตามที่ได้มอบหมายเป็นเวลาถึง 20 ท่านก็ได้ลาออก เนื่องจากต้องการใช้ชีวิตที่เหลือบำเพ็ญสมณธรรมปฏิบัติพระวิปัสสนาธุระ อย่างเดียว ประมาณปี 2487 ท่านได้ออกธุดงค์บำเพ็ญเพียรอยู่ในป่าดงค์ดิบโดยลำพัง และ ช่วงนี้เองที่ หลวงปู่ได้พบกับอาจารย์จ่อย และ อาจารย์ขวัญ วัดป่าหนองหล่ม โดยบังเอิญ อาจารย์ทั้งสองจึงได้นิมนต์หลวงปู่โปรดญาติโยมที่วัดป่าหนองหล่ม
ช่วง พ.ศ.2520 หลวงปู่หมุนเดินธุดงค์แสวงหาธรรมอยู่หลายปี ก็กลับมายังวัดบ้านจาน ซึ่งวัดบ้านจานในยามนั้นเป็นวัดที่เก่าแก่ อยู่ในสภาพทรุดโทรม ท่านก็ได้นำพาบรรดาลูกศิษย์ และ ชาวบ้านพัฒนาวัด สร้างอุโบสถขึ้นมาใหม่ได้สำเร็จ และท่านยังช่วยเหลือลูกศิษย์ และ สหธรรมมิก อีกหลายวัดเช่น วัดป่าหนองหล่ม , วัดโนนผึ้ง , วัดซับลำไย และ คณะศิษย์วัดสุทัศน์ ในการสร้างถาวรวัตถุของวัด จึงเป็นที่มาของวัตถุมงคลที่ได้รับความนิยมในหลายรุ่นที่ท่านได้จัดสร้างขึ้นนั้น เป็นที่นิยมในหมู่ลูกศิษย์ และชาวบ้านที่เคารพสรัทธาท่าน ด้วยความเชื่อในพลังแห่งบุญฤทธิ์จิตตานุภาพของหลวงปู่หมุน
การมรณภาพ
หลวงปู่หมุน ฐิตสีโล ฉายาพระอมตะเถระ 5 แผ่นดิน แห่งวัดบ้านจาน อ.กันทรารมย์ จ.ศรีสะเกษได้มรณภาพลงอย่างสงบที่กุฏิท่านเอง ในวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ.2546 เวลา 07.30 น. สิริอายุ 109 ปี 86 พรรษา