การสร้างพระสมเด็จฯพุฒาจารย์ (โต)
ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพุฒาจารย์ (โต) เป็นพระภิกษุที่มีอัจฉริยภาพ และ มีบารมีสูงมาก เป็นที่เคารพนับถือตั้งแต่สามัญชน จนถึงเจ้านาย และ พระมหากษัตริย์ ท่านได้สร้างปูชนียวัตถุขนาดใหญ่ไว้หลายแห่งเช่น
พระนอนที่วัดสะตือ กล่าวกันว่า เพื่อระลึกว่าท่านเกิด ณ ที่นั้น
พระมหาพุทธพิมพ์ วัดไชโย จ.อ่างทอง เป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ ว่าท่านได้สอนนั่งที่นี่
พระยืน หลวงพ่อโต วัดอินทร์ บางขุนพรหม กรุงเทพฯ เป็นที่ระลึกว่าท่าน หัดยืนและเดิน ที่นั่น
เจดีย์นอน ที่หลังโบสถ์ วัดละครทำ ต.ช่างหล่อ กรุงเทพฯ ว่าถูกรื้อไปแล้ว
ทั้งหมดนี้ เป็นปูชนียวัตถุขนาดใหญ่ทั้งนั้น ส่วนปูชนียวัตถุขนาดเล็ก เป็นที่นิยมแพร่หลายก็คือ พระสมเด็จ วัดระฆัง , พระสมเด็จ วัดบางขุนพรหม และ พระสมเด็จเกศไชโย ทั้งหมดเป็นที่นิยมตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
การสร้างพระสมเด็จ วัดระฆัง
ตามคำบอกเล่าของ เจ้าคุณธรรมถาวร ( ช่วง ) ลูกศิษย์ของ สมเด็จพุฒาจารย์ (โต) ทราบว่าท่านเริ่มพระพิมพ์ในราว พ.ศ 2409 เมื่อท่านมีอายุ 78 ปี สร้างอยู่ในราว 6 ปี จึงมรณภาพในปี พ.ศ 2415
สาเหตุของการสร้างพระสมเด็จฯ นั้นมี 2 กระแสคือ
ประการแรก ว่ามีพระภิกษุในเมืองเขมร ที่มีความนับถือในตัวท่าน อาราธนาขอให้สร้างพระพิมพ์ เพื่อเป็นที่ระลึก เมื่อท่านกลับมาจึงสร้างพระสมเด็จฯ ตามที่ถูกร้องขอ ในเรื่องนี้ น่าสงสัย คือ ในประเทศเขมร หรือ กัมพูชานั้นไม่มีคติในการสร้างพระพิมพ์เลย เหตุใดพระภิกษุเขมรที่ว่า จึงมีแนวคิดขอให้ท่านสร้างพระเครื่องได้
ประการสอง พระสมเด็จพุฒาจารย์ (โต) ได้ธุดงค์ไปจ.กำแพงเพชร ในปี พ.ศ 2391 ได้ไปพบแผ่นศิลาให้รายละเอียดเกี่ยวกับการสร้างพระเจดีย์บรรจุพระพิมพ์ พระซุ้มกอ พระเม็ดขนุน ฯลฯ เมื่อกลับมากรุงเทพฯ หลังจากนั้นได้กว่า 10 ปี ท่านจึงสร้างพระสมเด็จฯขึ้นมาเพื่อแจกชาวบ้าน
แม่พิมพ์พระสมเด็จฯพิมพ์มาตร
พิมพ์มาตรฐาน ที่วงการพระยอมรับ มีอยู่เพียง 5 พิมพ์คือ
1. พิมพ์ใหญ่ ( พระประธาน )
2. พิมพ์เจดีย์
3. พิมพ์เกศบัวตูม
4. พิมพ์ฐานแชม
5. พิมพ์ปรกโพธิ์
เนื้อมวลสารของพระสมเด็จฯ
มวลสารของพระสมเด็จฯ ส่วนใหญ่เป็นปูนขาว ผสมผงพุทธคุณคือ ผงมหาราช อิทธิเจ ปถมัง ตรีนิสิงเห ฯลฯ โดยท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ เป็นผู้ทำผงกรรมวิธีแบบโบราณ คือ เขียนบนกระดานชนวน เขียนแล้วลบรวบรวมผงนำมาสร้างพระ นอกจากนี้ยังมีอิทธิวัตถุอื่นเช่น ใบลานเผา ว่าน อิฐหัก ดอกไม้บูชาพระ ฯลฯ ทั้งหมดนำมาโขลกผสมผสานด้วยน้ำมันตังอิ้ว ทำให้เนื้อพระไม่เปราะ หรือ แตกหักง่าย