พระพิมพ์ของหลวงพ่อโต วิหารทอง-พระดีมีมนต์ขลัง
การที่พระเถราจารย์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ แต่ก่อนเก่าสามารถปลุกเสกพระเครื่อง เครื่องราง ของขลัง ที่มีประสิทธิภาพ เปี่ยมอานุภาพ ทั้งๆที่อักษรเลขยันต์ก็พื้นๆ มิได้พิสดารดังเช่นในปัจจุบัน เป็นเพราะอำนาจจิตที่ท่านได้ฝึกฝนมานั้น ชำนาญดีแล้ว โดยเฉพาะธาตุทั้งสี่ มี ดิน น้ำ ลม ไฟ นั้นโบราณเรียก มหาภูต ทั้ง 4 เป็นพื้นฐานที่สำคัญ เป็นบ่อเกิดแห่งอำนาจอิทธิฤทธิ์ ทางใจเลยที่เดียว สฎฆรับการสำเร็จวิชาชั้นสูงเรียกว่า มายาการ คือความสามารถในการใช้อำนาจเหนือธรรมชาติ บังคับให้สิ่งทั้งหลาย เป็นไปตามที่ตนต้องการ เช่น ท่านเสกใบมะขาม ให้เป็นต่อเป็นแตน เสกหัวปลี ให้เป็นกระต่าย ผูกหุ่นหญ้าสารพัด หนึ่งในสำนักที่เกรียงไกรแห่งยุค สยามยุทธ-พุทธาคมนี้ ก็ต้องยกให้ สำนักวัดปากคลองมะขามเฒ่า เป็นหนึ่งในนั้น จึงขอนำเรื่องราว ของศิษย์ยุคเก่าของวัดปากคลองมะขามเฒ่า มาแนะนำให้ท่านผู้อ่าน ได้รู้จัก หลวงพ่อโต วัดวิหารทอง
การอุปสมบท
หลวงพ่อโต ท่านเกิดที่ ต.ดงคอน อ.สรรคบุรี ปี พ.ศ 2401 โยมบิดาชื่อนายเงิน โยมมารดาชื่อนางปุ้น เมื่อท่านอายุได้ 7 ขวบ ได้บรรพชาเป็นสามเณร และ เมื่ออายุได้ 20 ปีบริบูรณ์ ท่านจึงได้อุปสมบทที่ วัดท่าทวน อ.สรรคบุรี โดยมีพระอุปัชฌาย์อ่วม เป็นพระอุปัชฌาย์
เมื่อท่านอุปสมบทแล้ว ก็ได้เดินทางมาศึกษาบาลี ที่วัดจักรวรรดิ กรุงเทพฯ ต่อมาภายหลัง จึงได้กลับมาจำพรรษาอยู่ที่ วัดวิหารทอง อ.สรรคบุรี จ.ชัยนาท ระหว่างนี้ท่านก็ได้ศึกษาวิปัสสนากรรมฐาน และ วิทยาคมกับ พระอุปัชฌาย์อ่วม , หลวงพ่อเฒ่า วัดค้างคาว องค์นี้เป็นสหธรรมิก ของ หลวงปู่สุข แต่อาวุโสกว่ามาก มีเรื่องเล่าต่อๆกันมาตั้งแต่สมัยโบราณจนถึงสมัยปัจจุบันว่า” หลวงพ่อเฒ่า ท่านนี้เป็นผู้วิเศษ จุดเทียนเดินใต้น้ำ มาหา หลวงปู่สุขได้โดยที่เทียนไม่ดับ จีวรไม่เปียก ,ผ้ายันต์อาฬาวกยักษ์ ของท่าน ตัดขายกัน ตัวอักขระละ 100 บาท ตั้งแต่ยุคทองคำบาทละไม่ถึง 4 พัน ”
นอกจากนี้ หลวงพ่อโต ท่านยังมาศึกษาวิชาต่างๆ กับ หลวงปู่สุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า จะเรียกว่าเป็นศิษย์ ยังแทบไม่ได้ เพราะทั้งสองท่านมีอายุที่แก่-อ่อนกว่ากันไม่กี่ปี ต้องเรียกว่าศิษย์ผู้น้องด้วยช้ำ หลังจากที่หลวงพ่อเมฆ เจ้าอาววาสวัดวิหารทองได้มรณภาพลง ชาวบ้านต่างพร้อมใจกันนิมนต์ หลวงพ่อโต ขึ้นเป็นเจ้าอาวาสสืบแทนต่อมา
หลังจากที่ ท่านได้เป็นเจ้าอาวาสแล้ว ท่านก็ได้ก็ได้บูรณปฏิสังขรณ์ และ พัฒนาวัดวิหารทอง และ วัดวาอารามในเขตนั้น ให้มีความเจริญรุ่งเรือง โดย หลวงพ่อโต ท่านเป็นศูนย์รวมใจของชาวบ้านสร้าง มณฑปพระพุทธบาทจำลองวัดวิหารทอง , ศาลาการเปรียญวัดบ้านเชี่ยน , สร้างพระอุโบสถ , วอหาร , หอประชุม , ศาลาการเปรียญวัดดงคอน , ศาลาการเปรียญวัดสระแก้ว , ศาลาการเปรียญวัดนก , ศาลาการเปรียญวัดบางขุด , ศาลาการเปรียญวัดท่าโบสถ์ , ศาลาการเปรียญวัดมหาธาตุ , ศาลาการเปรียญวัดกำแพง , ศาลาการเปรียญวัดสระไม้แดง เป็นต้น
การสร้าง และ ปลุกเสกวัตถุมงคล
หลวงพ่อโต ท่านเริ่มสร้างวัตถุมงคลเป็นครั้งแรก ราวปี พ.ศ 2457 โดยสร้างเป็น พระเนื้อชินตะกั่ว , พระพุทธลีลา บนบัวสองชั้น ด้านหลังเรียบ และ มักจะจารอักขระตัว นะ ไว้แทบทุกองค์ , นอกจากนี้ ท่านยังสร้างพระพุทธรูปปางนั่งสมาธิ พิมพ์เล็บมือด้านหลังเรียบ และ จารอักขระขอมไว้เช่นเดียวกัน และยังมี พระพุทธพิมพ์เสมา ที่เชื่อกันว่า พระเนื้อชินตะกั่วของ หลวงพ่อโต นั้นท่านได้นำเนื้อชนวนตะกั่ว ที่เหลือจากการสร้างพระของ หลวงปู่สุข มาหลอมผสมเป็นชนวนด้วย และ ยังได้นิมนต์ หลวงปู่สุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า มาร่วมปลุกเสกด้วย , เหรียญหล่อทองเหลือง พิมพ์ลีลา , เหรียญปั๊มรูปท่าน และ เหรียญพระพุทธลีลาก็มีสร้างไว้เช่นกัน เหรียญปั๊มรูปท่านมีลักษณะ เป็น เหรียญรูปไข่ เป็นรูปท่านครึ่งองค์ ไม่ปรากฏอักขระใดๆ ด้านหลังเป็นยันต์ซ้อนกันอยู่สองยันต์ เป็นเหรียญเนื้ออัลปาก้า อีกเหรียญที่เป็นพระพุทธลีลานั้นเป็นเหรียญรูปทรงเสมา ไม่มีอักษรระบุไว้เช่นกัน แต่มีอักขระขอม มะ อะ อุ ด้านหลังเป็นยันต์ เป็นเหรียญเนื้อทองแดงกะไหล่ทอง
พระเครื่องของ หลวงพ่อโต วัดวิหารทองนี้เป็นที่นิยมกันมาก และ เป็นที่หวงแหนของชาว สรรคบุรี เป็นอย่างมาก ปัจจุบันหาชมได้อยาก ไม่ค่อยได้พบเห็นกันนัก
นอกจากที่กล่าวมาแล้ว ยังมีเครื่องรางของขลังอีกหลายอย่าง ที่ท่านได้สร้างไว้เช่น ตะกรุด ผ้ายันต์ เสื้อยันต์มงคลแขน โดยท่านจะเขียนยันต์เป็นภาษาไทย ก พุทธคุณวัตถุมงคลของ หลวงพ่อโต วัดวิหารทอง เด่นในด้าน คงกระพัน แคล้วคลาด และมีประสบการณ์ต่างๆมากมาย พระเครื่องหลวงพ่อโตนั้น เชื่อมั่นได้ในพุทธคุณได้เหมือนกับ พระเครื่องของ หลวงปู่สุข ดีครบในทุกๆด้าน เรียกได้ว่าหากหาพระเครื่องของ หลวงปู่สุขซึ่งขณะนี้แพงมาก อยู่ในหลักหมื่น หลักแสนหมดแล้ว หาพระเครื่องของ หลวงพ่อโตใช้แทนได้สบาย อีกทั้งหลวงพ่อโต ท่านเองก็ขึ้นชื่อผู้เลืองลือวิทยาคมสุดยอดอยู่แล้ว
การมรณภาพ
หลวงพ่อโต ท่านมรณภาพ เมื่อปี พ.ศ 2485 สิริอายุได้ 84 ปี พรรษาที่ 63