พระสมเด็จเกตศไชโย วัดไชโยวรวิหาร จ.อ่างทอง
“พระสมเด็จเกตศไชโย” เป็นพระเนื้อผงที่ได้รับการยอมรับว่า สร้างโดยสมเด็จพระพุฒาจารย์(โต พรหมรังสี) หนึ่งในสามพระสมเด็จสามวัด คือ วัดระฆังฯ วัดบางขุนพรหม และวัดไชโย ที่ได้รับการยอมรับเป็นพระมาตฐาน ได้รับความนิยมเช่าบูชาสูงที่สุดในเวลานี้
แหล่งกำเนิดของพระสมเด็จเกศไชโยนั้น พบพระด้านในองค์ “พระมหาพุทธพิมพ์” ซึ่งเป็นพระพุทธรูปองค์ใหญ่ที่สมเด็จพรพุฒาจารย์(โต)พรหมรังสี เป็นผู้สร้างในวัดไชโยมหาวรวิหาร เมืองอ่างทอง วัดนี้เป็นวัดที่เจ้าประคุณสมเด็จฯ สร้างขึ้นบนที่ดินของตาของท่าน เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้โยมมารดาและตา โดยนำชื่อของโยมมารดา “เกศ” มารวมกันเป็น “เกศไชโย”
ภายในวัดมีพระพุทธรูปประทับนั่งองค์ใหญ่ กล่าวกันว่า เจ้าประคุณสมเด็จฯ ได้สร้างไว้เป็นองค์ประธานของวัด และท่านได้สร้างพระเนื้อผงพิมพ์สมเด็จบรรจุกรุไว้ด้านในองค์พระประธาน เรียกกันว่า “พระสมเด็จเกศไชโย”
ในปีพ.ศ. 2430 มีการบูรณะปฏิสังขรณ์วัดขึ้นใหม่ การก่อสร้างทำให้พระพุทธรูปสั่นสะเทือนจนเสียหาย ต้องบูรณะขึ้นใหม่ สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงทรงรับไว้ในพระบรมราชูปถัมภ์ให้สร้างขึ้นใหม่จนแล้วเสร็จในปี 2434 พร้อมถวายพระนาม “พระมหาพุทธพิมพ์” และเปลี่ยนชื่อวัดเป็นวัดไชโยวรวิหารเป็นพระอารามหลวง นับแต่นั้นมา…
ป.ล.(การค้นคว้าหาข้อมูลความเป็นอัจฉริยะของท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสี ในยุคประวัติศาสตร์วิเคราะห์ ไม่ว่าผู้ค้นคว้าจะเก่งกาจรอบรู้สักเพียงใด สิ่งที่ขาดเสียมิได้ก็คือ หลักฐานพยานบุคคล อันเป็นวัตถุอุปจารของเรื่อง ยิ่งค้นคว้าวัตถุข้อมูลเป็นเครื่องยืนยันได้มากเท่าไหร่ ความถูกต้องถ่องแท้ก็มีมากเท่านั้น ถ้าสิ่งต่างๆดังกล่าวไม่มี หรือมีแต่คลุมเคลือไม่ชัดเจน เรื่องที่เขียนก็อาจกลายเป็นประวัติศาสตร์อุปโลกน์ คอยสร้างความเข้าใจผิดแก่ผู้อื่นอีกชั่วฟ้าดินสลาย…)