เบญจภาคี พระเครื่องคู่บารมีของคนไทย
นับตั้งแต่ ตรียัมปวาย ได้ขนานนามสุดยอดพระเครื่องแห่งสยามประเทศที่มีมาแต่โบราณกาล จนถึงปัจจุบัน โดยจัดเข้าชุดกันในชื่อ เบญจภาคี ซึ่งประกอบด้วย พระสมเด็จของเจ้าประคุณสมเด็จพุฒาจารย์(โต พรหมรังสี) , พระนางพญา วัดนางพญา จังหวัดพิษณุโลก , พระรอด วัดมหาวัน จังหวัดลำพูน , พระกำแพงซุ้มกอ จังหวัดกำแพงเพชร และพระผงสุพรรณ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดสุพรรณบุรี พัฒนาการแห่งการศึกษาความรู้เกี่ยวกับพระเครื่อง เริ่มเป็นรูปแบบและมีมาตรฐานมากขึ้น มีการแยกแม่พิมพ์และแบ่งประเภท พระชุดเบญจภาคีอย่างเป็นระบบ สามารถพิสูจน์ และอรรถาธิบายได้ด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ประวัติศาสตร์ อันเป็นหลักแห่งเหตุและผล ส่งผลให้มีผู้ให้ความสนใจศึกษาค้นคว้า ในแวดวงที่กว้างขวาง เป็นที่ยอมรับในระดับประเทศ
นอกจากนี้ พระเครื่อง ยังผูกพันกับคติความเชื่อที่หยั่งรากลึกในมโนคติของสังคมไทยมาช้านาน ลักษณะการแห่งพิมพ์พระที่จำลองมาจากองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า หากเพียงแตกต่างทางด้านศิลปะสกุลช่างตามยุคสมัยที่ปรากฏ ทำให้ เบญจภาคี ทวีความสำคัญมากขึ้นในฐานะรูปแบบแห่งความศักดิ์สิทธิ์ ประกอบไปด้วยพุทธานุภาพ อันเป็นพื้นฐานของความเชื่อทางศาสนา ซึ่งแสดงให้เห็นเอกลักษณ์สำคัญของสังคมไทยเรานั่นเอง….
ปล.
พระราชพิธีตรียัมพวาย ตรีปวาย เป็นพิธีกรรมในศาสนาพราหมณ์–ฮินดู เป็นการรับเสด็จพระอิศวรที่จะเสด็จมาเยี่ยมโลกมนุษย์ เป็นเวลา 10 วัน ปัจจุบันประกอบการพระราชพิธีในเทวสถานสำหรับพระนคร 2 หลัง ได้แก่ สถานพระอิศวร สถานพระมหาวิฆเนศวร โดยมีกำหนดพิธี เริ่มตั้งแต่คณะพราหมณ์ผู้ประกอบ วิกิพีเดีย