ภาพชี้ตำหนิ พระปิดตาสายชลบุรี ( จุดเป็น และ จุดตาย )
ภาพชี้ตำหนิ ทุกภาพมีการตกแต่ง เพื่อง่ายต่อการชี้ตำหนิ โดยผู้เรียบเรียงตกแต่งขึ้นมา ไม่ได้ใช้เทคนิค เป็นการใช้ฝีมือล้วนๆ
1. พระปิดตาพิมพ์ใหญ่ หลวงปู่แก้ว วัดเครือวัลย์
หมายเหตุ การชี้ตำหนิ หลวงปู่แก้ว วัดเครือวัลย์ ตลอดจนพระปิดตาของจังหวัดชลบุรี มีการสร้างหลายพิมพ์ หลายรูปแบบ ผู้เรียบเรียงชี้เฉพาะพิมพ์ที่พบเห็นกันมาก จึงไม่ใช่เป็นหลักมาตรฐาน การชี้ขาดของพิมพ์อื่นได้ ขอให้รักทองเก่า ตลอดจนมวลสารเนื้อหาเก่าถึงยุคของ หลวงปู่แก้ว ธรรมชาติความเก่าจะเป็นการชี้วัด ตลอดจนศิลปะเชิงช่างที่เป็นยุคเดียวกัน
2. พระปิดตา เนื้อตะกั่ว พิมพ์ขาแตก และ พระปิดตาพิมพ์กลาง หลวงปู่แก้ว วัดเครือวัลย์
– พระปิดตา เนื้อตะกั่ว พิมพ์ขาแตก เป็นพิมพ์นิยมมาตรฐาน กับ พิมพ์เล็ก มีทั้งแก่ตะกั่วปรอท จะมีเม็ดขาวขึ้นตามผิวพระ ส่วนเนื้อพระที่แก่เงิน ผิวพระจะดำ บางองค์จะมีการระเบิดจากผิวพระเป็นตุ่มนูนลายฝีแตก ส่วนพิมพ์ใหญ่หาชมได้ยาก ที่พิมพ์ทรงที่เหมือนกับพิมพ์ใหญ่ เนื้อผง ด้านหลังส่วนมากจะจารพุทโธนอน
– พระปิดตาพิมพ์กลาง หลวงปู่แก้ว วัดเครือวัลย์ ลักษณะ องค์พระโดยส่วนรวม จะล่ำ ขาจะเฉี่ยงสลับ เป็นพิมพ์หนึ่งที่คณาจารย์รุ่นหลังต่อมา นำพิมพ์มาเลียนแบบ เช่น วัดป่าแทบทุกพิมพ์ ปิดตาหลวงพ่อเอื้อน วัดราษฎร์สโมสร พระปิดตากวนข้าวทิพย์ เจ้าคุณวิเชียร วัดเครือวัลย์ ฯลฯ
3. พระปิดตาหลวงปู่ภู่ วัดนอก และ พระปิดตา พิมพ์แข้งขีดหลวงพ่อโต วัดเนินสุทธาวาส
– พระปิดตาหลวงปู่ภู่ วัดนอก ถือว่าเป็นพิมพ์หนึ่งที่แทบไม่ค่อยพบเห็น มีหลายพิมพ์ แต่มีเอกลักษณ์ของเชิงช่างศิลป์ส่วนตัว ขาซ้ายทับขาขวา หลังมียันต์เป็นส่วนมาก เช่น ยันต์อุ องการ ยันต์เฑาะว์ ยอดมีอุณาโลม ซึ่งต่อมา หลวงพ่อเจียม หลวงพ่อเหมือน ก็ได้หลังยันต์หลวงปู่ภู่ มาเป็นต้นแบบ ดัดแปลงแก้ไข ไม่ให้ซ้ำซ้อนกัน
– พระปิดตาพิมพ์แข้งขีด หลวงพ่อโต วัดเนินสุทธาวาส เป็นพระเนื้อละเอียด คลุกรักหนา นุ่ม ซึ่งรักจะออกน้ำตาลเข้มดำ ด้านหลังส่วนมากจะหลังเบี้ย หลังยันต์ ไม่ค่อยพบเห็นปิดทองก็มี 3 พิมพ์นิยม คือ พิมพ์เข่ายก แข้งขีด แข้งซ้อน เม็ดกระดุม เนื้อตะกั่วก็มี พิมพ์อื่นอาจจะมี แต่ไม่ค่อยนิยม
4. พระปิดตาหลวงพ่อเจียม วัดกำแพง และ พระปิดตาพิมพ์เศียรเล็กหลวงพ่อครีพ วัดอุทยานนที ( สมถะ )
– พระปิดตาหลวงพ่อเจียม วัดกำแพง ซึ่งสร้างไว้หลายพิมพ์ทั้งมีกริ่ง และ ไม่มีกริ่ง ลงรักปิดทอง ด้านหลังเป็นหลังยันต์ อุ องการ เป็นพิมพ์โยงก้น เอกลักษณ์เฉพาะต้ว เป็นพระยุคเดียวกับหลวงพ่อครีพ วัดสมถะ ซึ่งเป็นลูกศิษย์ของ หลวงพ่อเจียม
– พระปิดตาเศียรเล็กหลวงพ่อครีพ วัดอุทยานนที ( สมถะ ) มีทั้งแก่ว่าน และ เนื้อผงคลุกรัก ไม่ค่อยพบที่มีการปิดทอง พระแท้เนื้อจะหนึกนุ่ม มัน ( เฉพาะองค์ที่ไม่แก่ว่าน ) ถ้าแก่ว่านจะมีเสี้ยนว่าน ส่วนเนื้อขาวบรรจุกรุ พบเห็นไม่มาก ส่วนมากหลังจะอูม ไม่ค่อยพบเห็นหลังยันต์ ( เฉพาะพิมพ์เศียรเล็ก )
5. พระปิดตาหลวงพ่อเอื้อน วัดราษฎร์สโมสร พิมพ์แขนไม่มีติ่ง และพิมพ์แขนติ่ง
พิมพ์แขนติ่ง ( นิยม ) เดิมที่พิมพ์แขนไม่ติ่งเป็นพิมพ์ยุคแรก มีทั้งมีการลงรักปิดทอง และ ลงรักอย่างเดียว ส่วนเนื้อขาวรุ่น 2 องค์พระจะใหญ่กว่ารุ่นแรก หลังยันต์ ฆะ มีทั้ง 2 แบบ เนื่องจากเกิดจากทำบล็อกตกแตกอ้า ทำให้มีเนื้อเกินที่ร่องแขน เรียกกันว่า พิมพ์แขนติ่ง ( นิยม )
พิมพ์แขนติ่ง และ พิมพ์แขนไม่ติ่งเป็นพระสร้างยุคเดียวกัน มีผงพุทธคุณของหลวงปู่แก้ว วัดเครือวัลย์ ผสมใส่ในองค์พระปิดตา และ พิมพ์สมเด็จยุคต้น ถอดเลียนแบบมาจากพระปิดตา หลวงปู่แก้ว พิมพ์กลาง
6. พระปิดตาพิมพ์สะดือเล็ก หลวงพ่อเฮี้ยง วัดป่า ( ด้านหน้า-ด้านหลัง )
ลักษณะพระปิดตาพิมพ์สะดือเล็กที่นิยมกว่าพิมพ์สะดือใหญ่มาก ทั้งด้านราคา และ การเช่าหา สร้างเพียงครั้งเดียว ปี พ.ศ. 2495 โดยส่วนรวมองค์พระจะล่ำอ้วน สมบูรณ์กว่าพิมพ์สะดือใหญ่ ซึ่งถอดพิมพ์ ล้อพิมพ์ พระปิดตาหลวงปู่แก้วพิมพ์กลาง ดัดแปลงแก้ไข ทั้งด้าานหน้า และ ด้านหลังแบบ ซึ่งโบราณคณาจารย์ จะไม่สร้างให้เหมือนกันกับองค์ครู
7. พระปิดตาพิมพ์สะดือใหญ่ มีไฝ หลวงพ่อเฮี้ยง วัดป่า ( ด้านหน้า-ด้านหลัง )
ลักษณะพิมพ์สะดือใหญ่ ซึ่งมีการสร้างต่อเนื่องจาก ปี พ.ศ. 2496 จนถึง ปี 2503 โดยประมาณ ให้ดูลักษณะองค์พระสะดือใหญ่ ส่วนรวมจะเล็กไม่อวบล่ำเหมือนสะดือเล็ก ตลอดจนเนื้อหาถ้าสร้างครั้งแรกๆ แทบจะแยกกันไม่ออก ทั้งเนื้อหา รักทองซึ่งคล้ายกันมาก
8. ข้อเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่าง ด้านหลังของ พระปิดตาปิดตาพิมพ์ใหญ่หลวงปู่แก้ว วัดเครือวัลย์ กับ พระปิดตาพิมพ์สะดือใหญ่ มีไฝ หลวงพ่อเฮี้ยง วัดป่า
9. พระปิดตาหลังตะแกรง หลวงพ่อเฮี้ยง วัดป่า
พระปิดตาวัดป่าทุกรุ่น จะใช้กรรมวิธีแบบกดบังคับ พิมพ์ทรง ขอบข้างจะเรียบร้อย และ เหมือนกันทุกองค์ ถ้าผิดพิมพ์แล้วไม่ต้องดูเนื้อ