การสร้างวัตถุมงคลหลวงปู่ทิม อิสริโก วัดละหารไร่
การสร้างวัตถุมงคลเนื้อผงของหลวงปู่ทิม นับตั้งแต่รุ่นแรกเป็นต้นมา มีดังต่อไปนี้
พระชุดโสหสมหาพรหม
สร้างขึ้นประมาณ ปี 2503 จำนวนการสร้างแต่ละพิมพ์ไม่ค่อยแม่ขัด เพราะแม่พิมพ์ของแต่ละพิมพ์ได้นำพระเครื่องของชาวบ้านที่มีอยู่มากดพิมพ์ขึ้นมาเป็นต้นแบบ บางพิมพ์ก็สร้างมากบางพิมพ์ก็สร้างน้อย แต่ที่นิยมเล่นหาเป็นพิมพ์มาตรฐานมีไม่มากนัก พระชุดโสฬสมหาพรหมสร้างโดย คุณปถม อาจสาคร จำนวนการสร้างแต่ละพิมพ์ มากน้อยไม่เท่ากัน
พระนาคปรก สัตตะนาเค
สร้างขึ้นประมาณ ปี 2505 พระนาดปรกสัตตะนาเค มีด้วยกัน 2 พิมพ์ ได้แก่ พิมพ์ใหญ่และพิมพ์เล็ก ส่วนจำนวนการสร้าง ประมาณพิมพ์ละ 104 องค์พระชุดเนื้อผงพรายกุมาร
พระชุดเนื้อผงสร้างขึ้นประมาณ ปี 2505-2516 ลุงสาย แก้วสว่าง ผู้เป็นไวยาวัจกร วัดละหารไร่ เป็นผู้แกะแม่พิมพ์พระจากหินมีดโกน พระชุดเนื้อผงมีดังต่อไปนี้
พระผงพรายกุมาร พิมพ์นางพญาพราชเดี่ยว จำนวนสร้างประมาณ 100 องค์
พระผงพรายกุมาร พิมพ์นางพญาพรายคู่ จำนวนสร้างประมาณ 200 คู่
พระผงพรายกุมาร พิมพ์พระสิวลี จำนวนสร้างประมาณ 200 องค์
พระผงพรายกุมาร พิมพ์หัวโต จำนวนสร้างประมาณ 2000 องค์
พระผงพรายกุมาร พิมพ์หัวเล็ก จำนวนสร้างประมาณ 3000 องค์
พระปิดตา พิมพ์บัวผุด
สร้างขึ้นประมาณปี 2516 จำนวนสร้างประมาณ 22 องค์ และขุนแผนผงพรายกุมารมีด้วยกัน 2 พิมพ์ ได้แก่ พิมพ์ใหญ่ และพิมพ์เล็ก
พระสมเด็จไร่วารี
สร้างขึ้นในปี2517 มีด้วยกัน 2 พิมพ์ คือ พิมพ์ใหญ่พิเศษ จำนวนการสร้างน้อย ไม่เกิน 100 องค์ ส่วนพิมพ์เล็ก หลวงตาบาง เป็นผู้สร้างมาถวายให้หลวงปู่ทิมปลุกเสก จำนวนสร้างประมาณ 3000 องค์
พระชุดเนื้อผงผสมผงพรายกุมาร
พระชุดเนื้อผงผสมผงพรายกุมาร มีสร้างด้วยกันหลายพิมพ์ ดังนี้ :
พระปิดตา พิมพ์จัมโบ้ จำนวนสร้าง 26 องค์
พระปิดตาผสมผงพรายกุมาร พิมพ์ใหญ่ จำนวนสร้าง 96 องค์ มีด้วยกัน 2 ชนิด ได้แก่ :
ชนิดโรยตะไบพระกริ่งชินบัญชร จำนวนสร้าง 48 องค์
ชนิดไม่โรยตะไบพระกริ่งชินบัญชร จำนวนสร้าง 48 องค์
พระปิดตาหลังยันต์ห้า ฝังพลอย จำนวนสร้าง 9000 องค์พระปิดตาหลังยันต์ห้าเล็ก จำนวนสร้าง500 องค์ มีทั้งแบบ
หลังยันต์ห้า และหลังยันต์เรียบ
พระปิดตาหลังยันต์น้ำเต้า จำนวนสร้าง 2000 องค์ มีทั้งแบบฝังพลอย และไม่ฝังพลอย
พระพิมพ์ใบโพธิรูปเหมือนเจ้าคุณนรฯ วัดเทพศิรินทร์ฯ หลังยันต์น้ำเต้า จำนวนสร้าง 500 องค์
พระพิมพ์สมเด็จหลังยันต์สาม (ยันต์ใบพัด) จำนวนสร้าง 5,000 องค์
พระพิมพ์สมเด็จหลังยันต์ห้า (ยันต์กระบองไขว้) จำนวนสร้าง 5,000 องค์
พระนาคปรก ผงดำ วัดสุทัศน์ฯ จำนวนสร้าง 600 องค์
พระปิดตาจัมโบ้ (พิเศษ) คุณประชา ตรีพาลัย สร้าง จำนวนสร้าง16 องค์
พระปางลีลาทุ่งเศรษฐี หลังฝังพลอย จำนวนสร้าง 40 องค์
พระผงสุพรรณ หลังฝังพลอยโรยตะไบพระกริ่งชินบัญชร จำนวนสร้าง 40 องค์
พระรอด โรยตะไบพระกริ่งชินบัญชร จำนวนสร้าง 16 องค์
พระกำแพง พลูจีบ หลังฝังพลอย จำนวนสร้าง 30 องค์
พระรูปเหมือนลอยองค์ พิมพ์สามเหลี่ยม หลังยันต์ห้า ฝังพลอย จำนวนสร้าง30 องค์ เนื้อหลังล็อกเกต รุ่นไหว้ครู ผสม
เกศาหลวงปู่ทิม จำนวนสร้าง 2 องค์
พระปิดตา พิมพ์ยันต์ยุ่ง เนื้อผงขาว หลังเรียบ จำนวนสร้าง 9 องค์
พระพิมพ์เล็บมือ (พิมพ์ท้ายตลาด) จำนวนสร้าง 69 องค์
พระปิดตา พิมพ์เล็ก (คะแนน) เนื้อผงหลังล็อกเกตไหว้ครู ผสมเส้นเกศาหลวงปู่ทิม จำนวนสร้าง 2-3 องค์
ประวัติการสร้างพระเนื้อผงโสพสมหาพรหม
พระเนื้อผงโสหสมหาพรหม เป็นผงพุทธคุณที่วิเศษสุดยอดแห่งอานุภาพความศักดิ์สิทธิ์มีคุณค่าต่อการนำมาสร้างพระเครื่อง โดยท่านอาจารย์ ปถม อาจสาคร อดีตสหกรณ์ อ.บ้านค่าย จ.ระยอง เป็นผู้รวบรวมผง เพื่อสร้างพระถวายแด่หลวงปู่ทิม อิสริโก วัดละหารไร่อันเป็นที่มาของ “พระชุดผงโสฬสมหาพรหม” ซึ่งหาผู้ที่สำเร็จวิชา “โสฬสมหาพรหม” ได้ยากมาก นับเป็นวิชาที่มีความสลับซับซ้อน ต้องใช้ความเพียรพยายามในการลงด้วยอักขระตัวธรรม (ขอมลาว) เป็นกลยันต์ มีการลบถมเรียกสูตร อธิษฐานจิตปลุกเสกตามฤกษ์ยามมงคล โดยผู้ที่สำเร็จวิชาโสฬสมหาพรหม จะสามารถดลบันดาลให้เทพเทวะทั้ง 16ชั้นฟ้า 15ชั้นดิน 14บาดาล 20ชั้นพรหม ภควพรหม จนถึงพรหมสุทธาวาส ทุกพระองค์มาร่วมอนุโมทนาอำนวยพรผงวิเศษและวัตถุอาถรรพ์ที่นำมาผสมเพื่อสร้างพระชุดเนื้อผงโสพสมหาพรหม มีดังนี้
1. ผงวิเศษโสฬสมหาพรหม ของหลวงปู่ศรีทัต วัดท่าดอกแก้ว จ.นครพนม
2. ผงวิเศษโสฬสมหาพรหม ของโยคีฮาเร็บ (อาจารย์ชื่น จันทร์เพชร) แห่งอินเดีย
3. ผงนวโลกุตระ ของหลวงปู่สนธิ์ วัดท่าดอกแก้ว จ.นครพนม
4. ผงโสหสมงคลพิสดาร ของหลวงปู่เฮี้ยง วัดป่าอรัญญิกาวาส จ.ชลบุรี
5. ผงนะปัดตลอดลอดใต้กระดาน ของหลวงพ่อบุญมี วัดโพธิสัมพันธ์ จ.ชลบุรี
6. ผงรัตนมาลา ของฤๅษีสันตจิต หรือท่านเจ้าคุณพระอริยคุณาสาร (เส็ง ปุสโส) วัดเขา–สวนกวาง จ.ขอนแก่น
7. ผงเจ็ดจันทร์เพ็ญ ของพระอาจารย์วัง ฐิติสาโร แห่งภูลังกา
8. ผงพรหมโลก ของพระอาจารย์วัง ฐิติสาโร แห่งภูลังกา
9. ผงสัมพุทเธหงสา ของพระอาจารย์ฝั้น อาจาโร จังหวัดสกลนคร
10. ผงสัตตะนาเค หมายถึง พญานาค 7 ตน หรือ 7 เคียร ใช้วิชาเลขกลในคัมภีร์ตรีนิสิงเห ตั้งสูตรทวาทศลงในกระดานลบผงวิเศษ เอา7 คุณ 7 หารได้เศษตราไว้ เรียกยันต์ชักสูตรกลับไปให้เข้าอยู่ในรูป “องค์สัตตะนาเค” ถ้าสร้างเป็นองค์พระให้ปลุกเสกด้วยพระคาถา “บทภุชงค์บริพัตร“
11. ใบลานจารึกอักษรหนังสือใหญ่ ใบลานภาษาบาลี สันสกฤต ใบลานอักษรมอญ ใบลานจารึกอักษรธรรม 108 คัมภีร์ ดินยอดดอยปราศจากการเหยียบย่ำ ดินขุยปู 10 รูปู ดินสังเวชนียสถานทั้ง 4แห่ง ข้าวสารดำจากกรุโบราณ รังหมาล่าปิดพระกรรณ ไคลเสมา8 ทิศ กบิลว่านบดละเอียดเป็นผงทั้ง 108
12. ผงปถมัง, อิทธิเจ, ตรีนิสิงเห มหาราช, ผงธาตุทั้ง 4 นำมาผสมเข้าด้วยกัน ผสมด้วยรักสมุก
ประวัติการสร้างพระเนื้อผงพรายกุมาร
พระเนื้อผงพรายกุมาร เป็นพระผงที่สุดยอดเรื่องความศักดิ์สิทธิ์เข้มขลังพลังพุทธานุภาพ พุทธคุณครอบคลุมทุกด้าน “ผงพรายกุมาร” เป็นวิชาอาถรรพ์ที่หลวงปู่ทิมได้พบในตำราเก่าของหลวงปู่สังข์เฒ่า อดีตเจ้าอาวาสและเป็นสมภารองค์แรกที่ได้ก่อตั้งวัดละหารไร่ หลวงปู่สังข์เต่ามีศักด์เป็น “ทวด” ของหลวงปู่ทิมอีกด้วย
หลวงปู่สังข์เฒ่า ท่านเป็นพระที่มีอาคมแก่กล้ามาก มีวิชาสาลิกาหลงรัง ถ้าท่านถ่มน้ำลายลงพื้นเมื่อไหร่ พื้นนั้นจะแตกทันที หลวงปู่ทิมท่านได้ศึกษาตำราการสร้าง “ผงพรายกุมาร” ด้วยความสนใจเป็นอย่างยิ่ง
เมื่อประมาณกลางปี 2515 คณะกรรมการวัดละหารไร่ โดยมี นายสาย แก้วสว่าง ซึ่งเป็นไวยาวัจกร ได้ประชุมหารือกันเรื่องจะสร้างพระเครื่อง เพื่อเป็นการสมนาคุณให้แก่ชาวบ้านและสาธุชนทั่วไป ผู้ที่มีจิตศรัทธาบริจาคเงินร่วมทำบุญกับวัดละหารไร่ ซึ่งในครั้งนั้นหลวงปู่ทิมได้กล่าว ว่า “หากได้ผงพรายกุมารมหาภูติ ผสมใส่ลงไปด้วย พระเครื่องที่สร้างนี้จะมีความศักดิ์สิทธิ์มากขึ้น เพราะอานุภาพแห่งผงพรายกุมารมหาภูติแฝงอยู่ คอยช่วยเหลือเอื้ออำนวยพร”
เมื่อหลวงปู่ทิมมีความต้องการที่จะทำผงพรายกุมารมหาภูติ เพื่อนำมาเป็นมวลสารสำคัญในการสร้างพระเครื่องในครั้งนั้น “หมอกุหลาบ จ้อยเจริญ” ผู้ที่มีวิชาอาคมและสมาธิกล้าแข็งได้ขันอาสาในการไปนำ “กะโหลกพรายกุมาร” ซึ่งเป็นวัตถุอาถรรพ์สำคัญยิ่งจากหญิงตายทั้งกลม (หญิงชาวบ้านท้องแก่ที่เสียชีวิตจากอุบัติเหตุ ซึ่งทางญาติได้นำมาฝังไว้ที่ป่าช้าวัดละหารไร่) ในการเข้าไปนำกระโหลกพรายกุมารออกมานั้น หมอกุหลาบ ได้เจออิทธิ์ฤทธิ์จากนายป่าช้า แม่นางพราย และพรายกุมาร แต่ด้วยมูลเหตุแห่งวัตถุประสงค์เพื่อการสร้างบุญกุศลในพระพุทธศาสนา และบารมีของหลวงปู่ทิม ทำให้นายป่าช้า แม่นางพราย และพรายกุมาร ยินยอมและเต็มใจในกุศลผลบุญที่ตนเองจะได้รับ , หมอกุหลาบ จ้อยเจริญ จึงกระทำการในครั้งนี้ได้อย่างสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี.
หมอกุหลาบ จ้อยเจริญ กล่าวย้ำว่าการสร้างผงพรายกุมารมหาภูตินั้น ไม่ใช่เรื่องง่าย เมื่อได้กระโหลกพรายกุมารมาแล้ว ใส่ห่อผ้าเก็บไว้หลังพระประธานในพระอุโบสถหลังเก่า ประมาณสามถึงสี่เดือนจนแห้งสนิทไม่มีกลิ่น จึงนำมาโขลกตำให้ละเอียดแล้วผสมกับผงวิเศษสำคัญต่างๆ ที่หลวงปู่ทิมมอบให้จบครบทั้งหมด ผสมน้ำแช่เกสรบัว ทั้งปั้นเป็นแห่งขนาดใหญ่ แล้วตากแดดจนแห้ง รอฤกษ์งามยามดี ตามที่หลวงปู่ทิมได้กำหนดไว้ จึงทำแท่งปั้นมาเขียนอักขระยันต์ต่างๆ บนกระดานชนวน กระทำพิธีในพระอุโบสถหลังเก่า ท่ามกลางการเจริญพระพุทธมนต์ของพระสงฆ์ 9 รูป โดยหลวงปู่ทิม เป็นประธานสงฆ์ หลังจากเสร็จพิธีได้ผงพรายกุมารมหาภูติอันบริสุทธิ์เรียบร้อยแล้ว จึงนำไปเก็บรวบรวมไว้ในกุฏิหลวงปู่ทิม เมื่อจะสร้างพระเครื่อง ก็จะนำมาผสมผงกดเป็นพิมพ์พระ