ชาตะ ประมาณ พ.ศ 2372
มรณภาพ ประมาณ พ.ศ 2447
หลวงพ่อโต ท่านเป็นอมตะเถระองค์ที่ 3 ที่เป็นคนเมืองเพชร , องค์ที่ 1 คือ หลวงหลวงพ่อแก้ว วัดเครือวัลย์ , องค์ที่ 2 คือ หลวงปู่ภู่ วัดนอก อพยพถิ่นฐานมาปักหลักทำอาชีพทำตาล ได้อุปสมบทที่ วัดเนินสุทธาวาส ในสมัย ร. 4 และต่อมาได้เป็นเจ้าอาวาส วัดเนินสุทธาวาส
หลวงพ่อโต เป็นพระที่แก้กล้ากฤตยาคม ท่านได้สร้างพิมพ์พระปิดตา “ควัมบดี” เรียบง่าย ไม่มากพิมพ์เช่น พิมพ์เข่ายก เข่าซ้อน แข้งขีด เม็ดกระดุม หลังพระส่วนมากจะเป็นหลังอูม และ หลังยันต์ เนื้อผงจะละเอียด หนึกนุ่ม สีดำอมน้ำตาล ส่วนมากไม่ค่อยปิดทอง คลุกรักปิดทองก็มี แต่เป็นส่วนน้อย ส่วนเนื้อตะกั่วก็มี พระของท่านอยู่ในชุดเบญจของจังหวัดชลบุรี ที่เป็นพระอมตะ ควรค่าแก่การอนุรักษ์อย่างยิ่ง อีกทั้งพุทธคุณที่สูงล้ำด้วยเมตตามหานิยม เพียบพร้อมคุณวิเศษทุกประการ เปรียบเสมือนแก้วสารพัดนึกทีเดียว
รายนามเจ้าอาวาสจากอดีต-ปัจจุบันของวัดสุทธาวาส อ.เมือง จ.ชลบุรี
1. หลวงพ่อทอง
2. พระอธิการโต
3. พระอธิการสันต์
4. พระครูพิศิฐชโลปการ ( เกลี้ยง มนุญโญ )
ประวัติความเป็นมาของวัด
จากการบอกเล่า… หลวงพ่อทองได้เดินธุดงค์มาจากอยุธยา ในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย ได้มาเห็นทำเล วัดที่ดีจึงปักกลด และ สร้างวัด ณ ที่นี้ และ ที่เรียกว่าวัดเนินเพราะอยู่บนเนินที่สูงกว่าที่อื่นโดยรอบ วัดนี้เริ่มสร้างเมื่อปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา ไม่ปรากฏนามผู้สร้าง และ วัน เดือน ปี ที่อนุญาตให้สร้างวัด ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ 2436
ปูชนียวัตถุที่สำคัญภายในวัด ได้แก่
วิหารพระพุทธไสยาสน์ สร้างปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา
วิหารพระอาจารย์วิเชียร วชิโร รองเจ้าอาวาส สร้างปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา
วิหารหลวงพ่อโต อดีตเจ้าอาวาสวัดเนินสุทธาวาส สร้างเสร็จเมื่อ พ.ศ 2506
สถานที่ตั้งวัด
ถนนสุขุมวิท ตำบลบางปลาสร้อย อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี